วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

พัฒนา Social Intelligence ทีมงานธุรกิจผ่านงานพัฒนาใน CSR

พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการ มูลนิธิรักษ์ไทย ผม เคยเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ที่มีความถนัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสู่ตลาดญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญ คนนี้ใช้เวลานานอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์จักสาน โดยฝีมือชาวบ้านในหมู่บ้านอีสาน และออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งหีบห่อ แบบญี่ปุ่น ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ผลปรากฏว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญคนนั้น ออกจากหมู่บ้านไป ชาวบ้านก็เลิกทำกิจกรรมนั้น พอผมสอบถาม ก็บอกว่า วิธีการใหม่ นั้นต้องลงทุนอีกเยอะ อีกทั้งไม่มีความแน่นอนเรื่องตลาด ดังนั้นความเสี่ยงดูจะไม่คุ้มกับความน่าสนใจ ในผลิตภัณฑ์ใหม่นี้

เรื่อง นี้ทำให้คิดว่า หากคนทำงานในธุรกิจต่างๆ ให้เวลาในการช่วยเหลือ พัฒนาธุรกิจของชุมชนในภาคชนบท คงจะเกิดผลดี แต่ไม่น่าจะเป็นกิจกรรม 4-5 วัน และหายกันไป แต่ต้องทำอย่างเป็นระบบขั้นตอน อันรวมถึงทักษะในการออกแบบ ที่ตรงกับความต้องการตลาด ทักษะการ บริหาร ควบคุมคุณภาพการผลิต และทักษะการตลาด

สิ่งที่ผิดพลาดในการกระบวนการทำงานของผู้เชี่ยว ชาญญี่ปุ่นนั้น คือขาดการวิเคราะห์และแก้ไข โดยใช้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย หรือ multidisciplinary ปัญหานี้สะท้อนในงานพัฒนาโดยระบบราชการหลายโครงการเช่นกัน คือการทำงานหน้าเดียว

ในยุคของ CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจต่างๆ นั้น เปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับการร่วมมือระหว่างชุมชนที่ยากจน หรืออยู่ห่างไกลการพัฒนา กับการได้รับประโยชน์ทางเทคนิค หรือวิธีการด้านธุรกิจและการตลาดสมัยใหม่ได้มากขึ้น ความคิดเช่นนี้ที่จริงไม่ใช่ความคิดใหม่ เพราะรัฐบาลในยุคต่างๆ ก็เคยมีความพยายามให้ คนทำงานในด้านธุรกิจออกไปช่วยเหลือชุมชนชนบท แต่ในอดีตมีช่องว่างมากระหว่างการทำธุรกิจและงานพัฒนา

ปัจจุบัน CSR ลดช่องว่างนั้นลงไป เพราะความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ ไม่ใช่การให้เงินบริจาคเป็นครั้งคราว หรือการทำ CSR ในรูปแบบ "โฆษณา" แต่ความรับผิดชอบทางสังคม คือการสร้างคุณค่าต่อสังคม ไม่เพียงแต่รักษามาตรฐาน จรรยาบรรณของธุรกิจ แต่เป็นการสร้างสังคมที่ดี

การ พัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาคน ดังนั้นไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นชาวบ้าน พนักงาน ลูกค้าของบริษัท ผู้บริหาร หรือ กรรมการ ดังนั้นผมจึงมีข้อเสนอต่อธุรกิจงาน CSR ของบริษัท คือต้องวัดที่การเพิ่มคุณค่าที่เกิดกับคน คุณค่าที่เกิดกับชาวบ้าน เมื่อเข้าร่วมโครงการ อาจจะเป็นคุณค่าด้านการศึกษา การเกิดรายได้ครอบครัว หรือสุขภาพ ขณะที่คุณค่าที่เกิดกับบริษัทที่เกิดในตัวคนนั้น น่าจะอยู่ที่การเกิดมุมมองต่อโลก world view หรือค่านิยมต่อสังคม ที่กว้างไกลจากงานธุรกิจที่ทำอยู่ วันละหลายๆ ชั่วโมง เพราะหากพนักงาน และโดยเฉพาะผู้จัดการรุ่นใหม่ ไม่มีมิติทางสังคม แต่เกิดจากเบ้าหลอม ของคนเมืองอย่างเดียว ผู้จัดการนั้นกำลังขาดมิติ ที่สำคัญในการทำงาน และการตัดสินใจของนักบริหาร ซึ่งผมเรียกตรงนั้นว่า social intelligence ผู้จัดการรุ่นใหม่จะต้องมองโลกที่กว้างไกล และได้สัมผัสการวิเคราะห์แก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่เขาอาจจะไม่คุ้นเคย เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นที่มองมิติงานของตนเองด้านเดียว คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยฝีมือชาวบ้านสู่ระดับความพอใจของลูกค้าคนญี่ปุ่น

ทั้ง นี้ ทิศทางการพัฒนาธุรกิจที่พัฒนา ผู้จัดการใหม่ สามารถใช้กระบวนการทาง CSR เพื่อเกิดการพัฒนาสติปัญญาทางสังคม social intelligence ประเด็นทักษะที่สำคัญในการ

พัฒนานั้น คือ 1) ทักษะการฟัง 2) ทักษะการวิเคราะห์ นอกระบบที่คุ้นเคย 3) ความยืดหยุ่นในวิธีการแก้ไขปัญหา 4) การประเมินความสำคัญ ด้านปัจจัยวัฒนธรรม 5) การมองการลงทุนทางเศรษฐกิจ ในปัจจัยที่วัดได้ยาก 6) การเชื่อมโยงตลาด

แต่ในทักษะทั้งหลาย เหล่านั้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การฟัง ซึ่งตรงกับการบริหารสมัยใหม่ เรียนรู้การฟัง ฟังและคิดตาม คิดตามได้แล้ว จึงเสนอแนะได้

หากภาค ธุรกิจส่งเสริมให้ผู้จัดการระดับกลาง เกิดประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ชนบทแล้ว โดยถอดเนกไท ถอดสูท ทีมงานภาคธุรกิจนั่นเอง จะได้รับคุณค่าทั้งในชีวิต ส่วนตัว และชีวิตการทำงาน และรวมถึงความมั่นคงของบริษัทนั่นเอง

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: