วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

ความรับผิดชอบ ต่ออนาคตของชาติ


ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
กลุ่ม บริษัททรู เป็นบริษัทไลฟ์สไตล์ที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งส่งผลต่อทิศทางในการดำเนินงาน CSR ของบริษัทอย่างยิ่ง คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น ได้ให้วิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายการทำ CSR ไว้ว่า

การ เข้าถึงสาระความรู้โดยผ่านสื่อต่างๆ ของคนไทยนั้น ยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน...ทรูจึงถือได้ว่าการมีส่วน ร่วมในการนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างครบวงจรของเรามาช่วยสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นใน ประเทศไทย เป็นพันธกิจที่สำคัญยิ่งและเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มทรูที่จะต้อง มีส่วนร่วมและเป็นเสาหลักในการทำกิจกรรม เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ รวมถึงคนไทยทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ได้ผ่าน สื่อทีวี, คอมพิวเตอร์, อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งมือถือ

องค์ ประกอบการเป็นสังคมของการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1.โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีทั้งมีสายและไร้สายมาผสมผสานกัน องค์ประกอบที่ 2 คือ เรื่องของ content หรือเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ content ที่ดีก็จะนำไปสู่แรงบันดาลใจซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด ถ้าเด็กทุกคนมีแรงบันดาลใจและสามารถที่จะบริโภค content ที่ดีได้ สิ่งที่จะได้ตามมาคือกำลังใจในการขวนขวายหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ในที่สุด

"โครงการ ปลูกปัญญา" ปลูกความรู้สู่อนาคต ถือกำเนิดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปิดโลกทัศน์ให้เด็กและเยาวชนไทยได้มี โอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ทัดเทียมเด็กและเยาวชนทั่วโลก เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองให้เท่าทันโลก และนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นให้มีโลกทัศน์ทางความคิดและปัญญา ซึ่งในระยะแรกนี้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอสาระความรู้ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและสมบูรณ์พร้อมทั้งภาพและเสียง

ใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ทรูได้เปิดตัวกิจกรรมหลักภายใต้โครงการปลูกปัญญาคือ "โครงการเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้สู่ 800 โรงเรียนทั่วประเทศ" โดยมอบชุดอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม เครื่องรับโทรทัศน์ และช่องรายการคุณภาพที่มีเนื้อหาสาระเพื่อการเรียนรู้และการศึกษาที่คัดสรร แล้วจากทรูวิชั่นส์แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนห่างไกลทั่วประเทศ การริเริ่มโครงการปลูกปัญญานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กิจกรรมในระยะสั้น แต่ยังมองไกลไปถึงอนาคต เหมือนกับการแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ การพัฒนาความคิดของมนุษย์จะไม่มีวัน จบสิ้น

ซึ่งในอนาคตโครงการดัง กล่าวจะมีการขยายไปยังโรงเรียนที่ยังขาดแคลนอีกกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และนอกจากการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมแล้ว ยังมีแผนที่จะดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตมัลติมีเดียให้กับโรงเรียนที่ขาด แคลน เพื่อให้นักเรียนในชนบทได้มีโอกาสสัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังแนวคิดรักการค้นคว้าและศึกษาสิ่งที่มี ประโยชน์ให้เพิ่มขึ้นต่อไปอีกด้วย นอกจากกิจกรรมที่เน้นการสร้างการเรียนรู้แล้ว ทางโครงการยังสร้างแนวคิด (theme) เพื่อการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละปีตามเหตุการณ์ปัจจุบันของ โลก โดยในปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมาโครงการปลูกปัญญาจะมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักเรื่อง "ภาวะโลกร้อน" ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติและโลก ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ภายใต้ชื่อกิจกรรม 2 รูปแบบคือ

โครงการค่ายเยาวชนทรู "สกัดภัยโลกร้อน" สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา

โครงการ True Young Producer Award การประกวดภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสังคม ภายใต้หัวข้อ "ร่วมกันลดวิกฤตภาวะโลกร้อน" สำหรับเยาวชนในระดับอุดมศึกษา

รวมทั้ง ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกหลายโครงการ ซึ่งเราตระหนักอยู่เสมอว่า คนไทยต้องการโอกาสในการเข้าถึงสาระความรู้ใหม่ๆ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดการพัฒนา พึ่งพาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชาติในที่สุด "โครงการปลูกปัญญา" จึงเป็นโครงการ CSR ที่มุ่งหมายให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องการให้เด็ก เยาวชน และคนไทยทั่วประเทศเข้าถึงสาระความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะทำให้เกิดการพัฒนา การพึ่งพาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาชาติในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04260551&day=2008-05-26&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: