วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

ความเปลี่ยนแปลงที่ "ดีแทค" กับ "ความรับผิดชอบ" ที่ไม่เคยเปลี่ยน


ข่าว บนหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏข่าวการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ "ดีแทค" เมื่อซีอีโอมือดีอย่าง "ซิคเว่ เบรคเก้" จะต้องย้ายไปเป็นซีอีโอของ เทเลนอร์ เอเชีย ที่ผ่านมา "ซิคเว่" ไม่เพียงแต่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงองค์กรในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ หากแต่มิติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ของดีแทค ที่แม้จะมีรากฐานมาจาก "บุญชัย เบญจรงคกุล" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) นับตั้งแต่วันเริ่มต้นธุรกิจ แต่ต้องไม่ลืมว่า "ซิคเว่" ถือเป็นซีอีโอที่มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรด้าน CSR ของ "ดีแทค" ในช่วงที่ผ่านมา และเขาเป็นหนึ่งในซีอีโอเพียงไม่กี่คนในไทยที่เข้าใจเรื่องที่ว่านี้เป็น อย่างดี

ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงผู้นำองค์กรครั้งนี้จึงถูกตั้งคำถามว่า การให้น้ำหนักเรื่อง CSR ของ "ดีแทค" จะยังหนักแน่นเช่นที่ผ่านมาหรือไม่ โดยเฉพาะเกมรุกอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ตั้งฝ่าย CSR มาตั้งแต่ต้นปี

ระหว่าง การไปร่วมงานมอบรางวัล "เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด" 76 จังหวัด ในโอกาสครบรอบทศวรรษมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่าน มา "ซิคเว่" กล่าวถึง 3 เป้าหมายที่เชื่อว่า "ดีแทค" จะต้องเดินหน้าต่อแม้เขาจะไม่ได้เป็นซีอีโอ

หนึ่งใน 3 สิ่งนั้นคือ แผนการรับรู้เรื่องเกษตรกร ผ่าน "เครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด" ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง "ดีแทค" และมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด โดยจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม 2551 ที่จะถึงนี้ และถือเป็นการต่อยอดโครงการ "ทำดีทุกวัน" ของบริษัทที่เป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อน CSR

"บุญชัย เบญจรงคกุล" ที่สวมหมวกทั้งประธานกรรมการบริหารดีแทคและประธานมูลนิธิรักบ้านเกิด กล่าวว่า ที่ผ่านมากิจกรรม CSR ของดีแทคมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ จะเปิดเกมรุกในเรื่องการเกษตร ซึ่งเป็นการ ต่อยอดโครงการของมูลนิธิที่ทำงานอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี และถือเป็นการยกระดับการขับเคลื่อน CSR ของดีแทคสู่การมองประเด็นสังคมในระดับชาติ

การมอบรางวัลให้เกษตรกรดี เด่นที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นเพียงการคิกออฟ และเป็นเหมือนเชื้อไฟในการทำงาน CSR นับจากนี้ ภายใต้โครงการ "เครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด" ด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท โดยเป็นการนำศักยภาพของสถานีวิทยุและเครือข่ายการสื่อสารของโทรศัพท์มือถือ มาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน

โดย สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน แฮปปี้สเตชั่นที่จะเป็นสื่อกลางในการสร้าง คอนเทนต์ด้านการเกษตรและเผยแพร่องค์ความรู้ทางเกษตรจากปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 76 จังหวัดสู่เกษตรกรใน 7 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยวางตัวเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้กับเกษตรกรที่สามารถโทร.เข้ามาถามคำ ถามผ่านสถานี

สำหรับกลไกในการทำงาน ทันทีที่โครงการเริ่มต้นขึ้น แต่ละสถานีจะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเตรียมไว้สำหรับตอบคำถามสำหรับเกษตรกรที่มี ปัญหาทางการเกษตร สถานีละ 2 คน หลังจากได้รับทราบปัญหาก็จะนำปัญหาเหล่านี้ไปสอบถามยังปราชญ์ชาวบ้านซึ่งมี อยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเกษตรกรดีเด่นที่เชี่ยวชาญการเกษตรในด้านต่างๆ ก่อนจะนำทั้งคำถามและคำตอบที่ได้ไปออกอากาศผ่านสถานีวิทยุ โดยที่ลูกค้าของแฮปปี้และ ดีแทคสามารถโทรศัพท์เข้าไปในรายการผ่านเบอร์ 1677 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

"คนในชนบทใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น แต่เราสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้โดยเยาวชนทั้ง 62 คนที่ประจำอยู่ตามสถานีวิทยุ ซึ่งจะกลายเป็นสื่อกลางให้ความรู้เรื่องเกษตรกรรมที่กระจายไปทั่วทุกภาคของ ประเทศ ที่เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนหนึ่งไปสู่ชุมชนหนึ่งโดยเครือข่าย วิทยุของเราเป็นผู้สื่อสารให้ทุกคนมาทำงานช่วยเหลือกัน"

จากองค์ความ รู้เหล่านี้ ในที่สุดจะทำให้เกษตรกรแข็งแกร่งขึ้น สามารถปลูกพืชได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัท สามารถพัฒนาไปสู่การสร้างตลาด และสร้างเครือข่ายที่กำหนดได้เอง และเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตอาหารได้ในที่สุด

"บุญชัย" บอกด้วยว่า "เป็นสิ่งที่ผมกับคุณซิคเว่เห็นเหมือนกัน คือเมื่อเกษตรกรอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ ดีแทคก็อยู่ได้"

เพราะ ถ้าดูฐานลูกค้าของ "ดีแทค" วันนี้กว่า 50% เป็นเกษตรกร และ 70% ของลูกค้าดีแทคเพิ่มขึ้นมาจากภาคอีสานซึ่งไม่เคยมีโทรศัพท์ใช้มาก่อน และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สิ่งเหล่านี้ตอกย้ำคำพูดของ "บุญชัย" ได้ดี

" บุญชัย" ยังบอกถึงการขับเคลื่อนครั้งนี้ว่า "CSR เป็นเหมือนการทำสงครามที่ไม่ได้ทำง่ายๆ แต่มีความท้าทาย อะไรก็ตามที่ยากเพียงแค่เราเจอจุดอ่อนที่สุด เราก็จะสามารถเอาชนะได้ วันนี้อยากเห็นความสำเร็จของการช่วยกัน และเกษตรกรรมของเราสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้

ความเคลื่อนไหวเหล่า นี้เป็นอีกครั้งของการคิดนอกกรอบฉบับ "ดีแทค" และดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรดูจะไม่ส่งผลสะเทือนกับความรับผิดชอบที่เกิดจากการวาง ระบบการทำงานเข้มแข็งและการบ่มเพาะความรู้จากการทำงานเพื่อสังคมซึ่งจะผลิ ดอกออกผลใน ไม่ช้า


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาธุรกิจ วันที่ 14 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03140751&day=2008-07-14&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: