วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ซีเอสอาร์แบบไหนที่คุณต้องการ

2 ปีมานี้จะเห็นว่าเรื่องซีเอสอาร์มาแรงจริงๆ ซึ่งหากมองย้อนไปประมาณสามถึงห้าปีจะพบว่าความตื่นตัวในเรื่องซีเอสอาร์ยัง เป็นแบบ บางคนทำ คือมีบางแห่งเห็นความสำคัญ มีวิสัยทัศน์ ซุ่มทำเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จักคำว่า CSR ด้วยซ้ำ

เริ่ม ตั้งแต่ปีที่แล้วพัฒนาการของซีเอสอาร์ได้เริ่มขยับเป็นแบบบางคนร่วมกันทำ โดยมีตัวอย่างจากเศรษฐีโลกอย่างวอร์เรน บัฟเฟต์ บริจาคเงินจำนวน 31,000 ล้านดอลลาร์ ให้มูลนิธิของบิล เกตส์ เพราะเห็นว่ามูลนิธิบิลและเมลินดาจะช่วยการศึกษาได้ดีกว่า และดูแล้วจะเกิดผลดีต่อสังคมได้มากกว่า ซึ่งกระแสความร่วมมือกันทำดีนี้เริ่มปรากฏให้เห็นในประเทศไทยมาบ้างแล้วใน รูปแบบของการแบ่งปันทรัพยากร สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม ซึ่งด้วยการทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การศึกษา เยาวชน ในช่วงนี้ออกมาเยอะมาก ในขณะที่ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นทุกวัน หลายแห่งก็เริ่มถามกลับไปแล้วว่า ใช้งบประมาณตั้งเยอะขนาดนี้ ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ จะทำอย่างไร ซึ่งพัฒนาการซีเอสอาร์แบบบางคนร่วมมือกันทำก็จะเป็นคำตอบ

จาก พัฒนาการบางคนร่วมกันทำที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ในปีนี้เราน่าจะได้เห็นรูปธรรมของความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่ชัดเจนขึ้น และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ จากบริษัทพันธมิตรร่วมกันทำ ก็จะกลายเป็นบริษัทที่เป็นคู่แข่งจับมือร่วมกันทำ

ซึ่งในที่สุดอีก 2-3 ปี เราน่าจะได้เห็นการทำซีเอสอาร์แบบหลายคนร่วมกันทำ ในที่สุด

อย่าง ไรก็ตามในปีนี้ที่กระแสซีเอสอาร์มาแรงสุดๆ นั้น สำหรับองค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มทำ การทำความเข้าใจบทบาทขององค์กรกับสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด สถานการณ์การทำซีเอสอาร์อย่างครบถ้วนทุกมิติ ก็จะเป็นจุดเริ่มที่ดีที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าวันนี้ องค์กรหรือธุรกิจหลักของท่านได้สร้างผลกระทบ หรือมีส่วนสร้างสรรค์สังคมอย่างไรบ้าง และควรจะเดินไปทิศทางไหน แบบใด อย่างไหนเรียกว่าใช่ หรือไม่ใช่ และจะเริ่มลงมือทำอย่างไร

ส่วน องค์กรที่ได้เริ่มทำและทำนานแล้ว จนตั้งหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ การทบทวนแนวคิดการทำซีเอสอาร์กับกลุ่มคนภายในและภายนอกก็จะทำให้เห็นภาพชัด ว่าจริงๆ แล้วนโยบายและตัวตนขององค์กรที่สนใจจะทำเรื่องนี้เป็นอย่างไร องค์กรควรปรับกระบวนทัศน์และกระบวนยุทธ์อย่างไร ที่จะทำให้เป็นองค์กรซีเอสอาร์ และจะดึงกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างไร ซึ่งการเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ และการทำความเข้าใจบทบาทขององค์กรกับสังคม จะทำให้แนวคิดซีเอสอาร์ผสานเข้าไปสู่องค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยฝังรากลึกอยู่ในจิตสำนึกของทุกส่วนจนเรียกว่าเป็น CSR day to day ที่เมื่อถูกถามจากใครๆ และเมื่อพูดถึงก็จะเจอเนื้อแท้และเป็นตัวจริงเสียงจริงของคนทำซีเอสอาร์

จะ เห็นได้ว่าทิศทางการทำซีเอสอาร์ที่เข้มข้นนี้ท้าทายและน่าสนใจทีเดียว ด้วยปัจจุบันลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเริ่มมีการรับรู้มากขึ้น และเริ่มสื่อสารความคาดหวังออกไปดังๆ แล้วว่า พวกเขาเชื่อ และอยากเห็น บทบาทของธุรกิจและองค์กรใหญ่ๆ ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และใช้ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทรัพยากร นำและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมในภาพรวมดีขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกๆ ที่เริ่มคิดตั้งองค์กรกันเลยทีเดียว ซึ่งความท้าทายที่มาพร้อมกับความคาดหวังของคนในสังคมนี้ทำให้ในต่างประเทศ กระแสซีเอสอาร์ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิด จากเดิมทำธุรกิจแล้วค่อยทำสังคม หรือทำกำไรแล้วค่อยคืนกำไรให้ หรือใช้ทรัพยากรของสังคมไปก่อนแล้วค่อยปลูก ทำ สร้าง เพื่อชดเชยและชดใช้สังคม สู่แนวคิดใหม่ที่ผสานมุมมองทางสังคมเข้าสู่การดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่วันแรก ด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมควรทำที่สุดที่เรียกว่า Socially Aligned Business Initiative (SABI) แนวคิดนี้เชื่อว่าการเกิดขึ้นของธุรกิจเป็นมากกว่าผลกำไร แต่ต้องเกิดผลดีต่อการพัฒนาสังคมระยะยาว และสุดท้ายแล้วทุกส่วน รวมทั้งผลประกอบการและกำไร ชื่อเสียง ก็จะตามมาและดำรงอยู่อย่างยั่งยืน

แล้ว เราจะยึดแนวไหนกันดี...เชื่อว่า คำตอบก็อยู่ที่ความต้องการของสังคม คิดแบบไหน อยากได้แบบไหน สื่อสารออกมาก็จะเป็นทางดีที่สุด


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาติธุรกิจ 14 เมษายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05140451&day=2008-04-14&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: