วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ตามรอย "ดีแทค" ลงใต้ "ดีที่สุดคือการรับฟังจากชาวบ้าน"



หลัง จากที่ดีแทคปรับโครงสร้างองค์กร จัดตั้งฝ่ายซีเอสอาร์ขึ้นมาเพื่อความชัดเจนและคล่องตัวในการทำงานไปเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ได้ "พีระพงษ์ กลิ่นละออ" มารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายซีเอสอาร์ ดีแทค วางแผนในกลยุทธ์ทะเลสีขาวหรือ "white ocean" ที่เป็นกลยุทธ์ในรูปแบบที่ไร้การแข่งขันแต่เป็นการร่วมมือกันทำความดี ทำแล้วทุกฝ่ายได้แต่บวกกับบวก เขาได้เริ่มต้นการทำงานด้วยการกำหนดให้โครงการ "ทำดีทุกวัน" ถูกใช้เป็นธีมหลักของการทำงานด้านซีเอสอาร์ของดีแทคนับจากนี้ โดยแบ่งรูปแบบของการทำความดีเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ทำดีด้วยใจ ทำดีด้วยเทคโนโลยี และทำดีด้วยความรู้

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ ผ่านมาทีมงานฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมของดีแทคได้ลงไปติดตามงานและสานต่อความ ช่วยเหลือใน 5 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดภูเก็ต สงขลา ยะลา กระบี่ และพังงา โครงการแรกคือ "ทำดีด้วยความรู้" ที่ดีแทคร่วมกับพันธมิตรอย่างบริษัท ยามาฮ่า จำกัด และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน แฮปปี้สเตชั่น มอบรถจักรยานยนต์ต้นแบบจำนวน 2 คัน และชุดหนังสือวิชาการให้กับโรงเรียนอาชีวะ 17 แห่งทั่วประเทศ โดยครั้งนี้ได้มอบสิ่งของดังกล่าวให้แก่ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต วิทยาลัยการอาชีพพะโคะ จ.สงขลา และวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดยะลา เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับนักเรียนในอนาคต

โครงการ ที่ 2 เป็นการติดตามการใช้งานของเรือกู้ภัยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ที่ได้ รับมอบจากมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดและดีแทค เพื่อนำไปเสริมศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจด้านการกู้ภัย ช่วยเหลือชาวบ้านและนักท่องเที่ยวในกรณีเกิดอุบัติภัยฉุกเฉินทางทะเล และช่วยหนุนภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปลายปีที่ ผ่านมา ที่ผ่านมาเรือกู้ภัยที่ดีแทคให้การสนับสนุนได้ช่วยเหลือชาวบ้านและนักท่อง เที่ยวในอุบัติเหตุกว่า 670 ครั้งอย่างทันท่วงที

และโครงการสุด ท้ายที่ จ.พังงาซึ่งดีแทคเคยให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านเมื่อตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิ โดยร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถานีวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน ก่อสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ชาวบ้านบางขยะ ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา จำนวน 80 หลัง หลังจากนั้นได้ช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน เช่น ส่งเสริม ชาวบ้านให้ฝึกอาชีพที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับมาประกอบอาชีพทางเลือก ให้การสนับสนุนโครงการร้านค้าชุมชน กองทุนไบโอดีเซล กองทุนของกลุ่มประมง เกษตร และธนาคารขยะ ในลักษณะกองทุนยืมที่จะออกให้เฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในการสร้าง อาชีพเท่านั้น เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ที่ทำให้ชาวบ้านกว่า 743 คน จาก 287 ครัวเรือน มีอาชีพเป็นหลักแหล่งกว่า 80%

"พีระพงษ์" กล่าวถึงการลงพื้นที่เพื่อติดตามโครงการในครั้งนี้ว่า "การที่บริษัท ดีแทคเปิดกว้างในการดำเนินนโยบายเรื่องการช่วยเหลือสังคม พูดจริง ทำจริง ให้ทีมงานลงไปสัมผัสของจริง จะได้โครงการต่อเนื่องที่ตรงกับความต้องการของชุมชนและบริษัทซึ่งเป็นจุด สมดุล การทำงานที่ดีที่สุดคือการรับฟังจากชาวบ้าน การบริหารงานในห้องแอร์แล้วคิดโครงการขึ้นเองไม่สามารถทำได้ เพราะความแตกต่างในโลกนี้มีเยอะมาก

บางทฤษฎีไม่สามารถใช้ได้ใน พื้นที่ที่มีความแตกต่างกันได้ แม้กระทั่งในหมู่บ้านเดียวกันก็ยังไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามีจุดศูนย์รวมเดียวกัน มีใจร่วมกันในการพัฒนา ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ และโครงการก็จะเดินต่อ ส่วนเราเองก็คอยสนับสนุนเขา ไม่ใช่ใช้รูปแบบโครงการของเราเข้าไปครอบอย่างเดียว แต่เรานำสิ่งที่เรามีและเขาต้องการนำไปถ่ายทอด แล้วปรับให้เข้ากับชีวิตเขา แบบนี้จะยั่งยืนกว่า"

การเดินสายเพื่อติดตามและประเมินผลการทำงาน เพื่อสังคมที่ผ่านมา จะยังนำไปสู่ความต่อเนื่องในการ "ทำดี" ซึ่งจะมีการประมวลผลความต้องการในพื้นที่ไปสู่โครงการที่จะเกิดขึ้นใหม่ใน อีกไม่ช้านี้


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19 มิถุนายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04160651&day=2008-06-16&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: