วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

"โตโยต้า" กับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ Eco-Forest "ป่านิเวศในโรงงาน"

เอื้อมพร สิงหกาญจน์ ด้วยเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการที่จะพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีให้ เติบโตควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น จึงได้ขยายแนวคิดนี้ไปยังโรงงานต่างๆ ทั่วโลก

ล่าสุดได้ผลักดันโรง งานโตโยต้า บ้านโพธิ์สู่องค์กรที่มีความยั่งยืนโดยการเดินหน้าเปิดโครงการ "ป่านิเวศในโรงงาน" (Eco-Forest) ไปเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา มีคาราวานผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตโยต้าฯตัวแทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้แทนจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน บริษัทในเครือ ชุมชนฉะเชิงเทรา สื่อมวลชน รวมถึงพนักงาน โตโยต้าและครอบครัวเข้าร่วมปลูกป่าจำนวนมากกว่า 10,000 คน เพื่อปลูกป่า 100,000 ต้นบริเวณหน้าโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ใน เบื้องต้นโตโยต้า บ้านโพธิ์ได้จัดพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ที่พลิกฟื้นเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งไม่ใช่เพียงการเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศให้แก่ชุมชนบริเวณโดยรอบโรง งานเท่านั้น แต่การปลูกป่าครั้งนี้ยังจะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้อีก ด้วย

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ กิจกรรมปลูกป่าครั้งนี้ไม่ได้สร้างสีสันแค่การเติมพื้นที่สีเขียวให้กับผืน โลกแบบที่ทำกันโดยทั่วไป แต่โครงการนี้ยังได้มืออาชีพด้านการปลูกป่าอย่าง "ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ" ศาสตราจารย์เกียรติคุณมหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่า และผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยานานาชาติประจำประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นผู้สืบทอดแนวคิดการสร้างผืนป่าโดยดำรง ไว้ซึ่งสภาพตามธรรมชาติ และยังเป็นที่ปรึกษาในโครงการฟื้นฟูผืนป่าให้กับหลายแห่งมาเป็นที่ปรึกษา กิตติมศักดิ์

แนวคิดการปลูกป่าอย่างยั่งยืนที่ ศ.ดร.มิยาวากิ ถ่ายทอดให้แก่บุคลากรของโตโยต้าในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าที่ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการปลูก ป่าของโตโยต้าทั่วโลกจนประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 1,500 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นป่าเขตร้อนในประเทศไทย พื้นที่ราบต่ำในป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล ป่าบีชที่ประเทศชิลี ป่าต้นโอ๊กบริเวณโดยรอบกำแพงเมืองจีน ฯลฯ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นได้ว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีป่าผืนใหญ่ที่มีลักษณะเป็น ป่าธรรมชาติอย่างแท้จริงขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง

นายยะสุฮิโร มิชิม่า รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้พูดถึงทฤษฎีการปลูกป่าของ ศ.ดร.มิยาวากิ ว่าจะเน้นการคัดเลือกสายพันธุ์ไม้สูงสุดของระดับการวิวัฒนาการของป่าในแต่ละ พื้นที่นั้นๆ มาปลูก ซึ่งการเลือกใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองนั้นไม่เพียงแต่จะส่งผลดีทำให้ต้นไม้มี การเติบโตอย่างเต็มที่เท่านั้น ยังทำให้ต้นไม้เหล่านั้นดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเมื่อ 3 ปีผ่านไปต้นไม้เหล่านี้จะมีความแข็งแรงพอที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งนั่นหมายถึงการอยู่อย่างยั่งยืนของต้นไม้เหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นแหล่ง อาหารที่สำคัญของสัตว์ได้ในอนาคต

ในการปลูกป่าครั้งนี้โตโยต้าจึงได้คัดพันธุ์ไม้พื้นเมืองกว่า 34 ชนิดมาปลูก แต่ที่เน้นเป็นพิเศษคือต้นยางนาและต้นตะเคียน

ด้าน "อภิชัย สิทรัตตะกุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า การดำเนินโครงการป่านิเวศในโรงงานครั้งนี้โตโยต้าได้ทำมากกว่าการเพิ่ม พื้นที่ สีเขียวในโรงงาน แต่ยังได้มีการจัดวางรูปแบบให้มีการใช้ทรัพยากรและวัสดุที่เหลือจากกระบวน การผลิตให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น การสร้างศาลาไทยและสะพานจากไม้ที่ใช้แล้ว การนำขี้เลื่อยมาใช้โรยเส้นทางเดินป่า การผลิตเก้าอี้นั่งพักจากไม้เก่าหรือพลาสติกที่ใช้แล้ว การสร้างเส้นทางเดินชมป่าสร้างโดยใช้วัสดุรีไซเคิลที่ได้จากกระบวนการผลิต เช่น อิฐบล็อกจากกากตะกอนสี การนำน้ำจากกระบวนการผลิตที่บำบัดแล้วมาใช้ใหม่ การเก็บกักน้ำฝนเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และใช้ในบ่อเลี้ยงปลา รวมไปถึงการนำเศษอาหารของพนักงานมาหมักเป็นปุ๋ย การนำเศษใบไม้และกิ่งไม้ไปแปรรูปเป็นถ่านไม้

อย่างไรก็ตาม "อภิชัย" ยังบอกอีกว่า ที่ผ่านมาโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้คัดเลือกโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าที่มีความโดดเด่นในด้านการดำเนินงาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก 5 ประเทศ ได้แก่ โรงงานซึซึมิ ประเทศญี่ปุ่น โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ มิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศอังกฤษ โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส และโรงงาน โตโยต้า บ้านโพธิ์ ประเทศไทย มาเป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการ "โรงงานแห่งความยั่งยืน" (Sustainable Plant) ที่จะสามารถดำเนินการอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างกลมกลืนนับร้อยๆ ปีให้แก่โรงงานโตโยต้าทั่วโลก

ซึ่งสาเหตุที่โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโรงงานต้นแบบในการดำเนินโครงการ "โรงงานแห่งความยั่งยืน" นั้น ส่วนหนึ่งมาจากความโดดเด่นของเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน ทุกๆ กระบวนการผลิต ตั้งแต่การติดตั้งแผงกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด การติดตั้งเตาเผาสารระเหยไฮโดรคาร์บอน การใช้ระบบพ่นสีโดยไม่ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย

นอกจากนั้น ยังมีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่มีคุณภาพสูงกว่าค่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีการวางระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การนำกลับมาใช้ใหม่และนำกลับมาใช้ซ้ำ

ที่สำคัญบริษัทโต โยต้าฯยังได้มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ขั้นตอนของการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรในทุกหน่วยงานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งในส่วนของตัวแทนจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน และบริษัทคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามคำว่า โรงงานแห่งความยั่งยืนที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดไว้ว่าจะต้องอยู่ภายใต้หลักการ 3 ข้อ นั่นคือ 1.ลดการใช้พลังงาน โดยการพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ในกระบวน การผลิต รวมถึงปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน 2.เปลี่ยนรูปพลังงาน เน้นการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ 3.อนุรักษ์ระบบนิเวศและให้ชุมชนมีส่วนร่วม ดูแลรักษาระบบนิเวศเพื่อชุมชนโดยรอบด้วยการปลูกต้นไม้ภายในโรงงานเพื่อ "สิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต"

ที่มาหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: