วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

วันเอดส์โลก : เสียงเล็กๆ ที่โลกควรฟัง

ชาญณรงค์ วงศ์วิชัย การพูดคุยครั้งนี้อาจจะเน้นหนักไปในเรื่องของการรณรงค์ ถามว่าเกี่ยวข้องกับ CSR ไหม คำตอบก็คือเกี่ยวข้องกัน แต่เกี่ยวในแง่ของความร่วมมือในภาคส่วนต่างๆ ที่ร่วมมือกัน

หลายท่าน คงทราบว่า วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีนั้นเป็น วันเอดส์โลก โดยเป็นการกำหนดตามองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวเช่นกัน เพราะประเทศไทยให้ความสำคัญในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มา นานกว่า 25 ปี

ซึ่งเรื่องดังกล่าวเองก็เป็นวาระแห่งชาติเรื่อง หนึ่งที่ต้องดำเนินการและให้ความสำคัญ ขณะเดียวกันภาคประชาสังคมก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และนำเสนอกิจกรรมข้อเรียกร้องต่างๆ ในวันเอดส์โลก เพื่อเป็นการเน้นย้ำการดำเนินงานเรื่องเอดส์ โดยเป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องดำเนินการ ร่วมกัน

วันเอดส์โลกบทสะท้อนการทำงาน

หาก แต่ว่าบทการสะท้อนหนึ่ง แม้ว่ามีความพยายามระดมความร่วมมือทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ องค์กรชุมชน อาจนับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยสามารถลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ลงได้ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการดูแลรักษา จากการสำรวจร่วมกันของ องค์การยูนิเซฟ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า กลุ่มที่สำรวจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเอดส์รายภาคสูงสุดเพียง 55% เท่านั้น และยังพบว่าข้อน่าเป็นห่วงคือ 79% ตั้งข้อรังเกียจผู้ติดเชื้อไว้อย่างน้อย 1 ข้อ 65% จะไม่ซื้ออาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีขาย 29% ครูที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรมาสอนหนังสือ

จากการสำรวจข้อมูลเบื้อง ต้นดังกล่าวยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า การรณรงค์และสร้างความเข้าใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ไม่เฉพาะภาครัฐเท่านั้น ภาคประชาสังคม และทุกหน่วยงานต้องมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะหากไม่เร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ การรังเกียจ การกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี และยิ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อที่ว่า "เอดส์เป็นแล้วตาย" หรือ "คนเป็นเอดส์น่ากลัว" ยังฝังแน่นอยู่ในสังคมไทย

วันเอดส์โลก : ครั้งแล้วครั้งเล่า

ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป


วัน เอดส์โลกเป็นวันหนึ่งที่ทุกส่วนได้ออกมารณรงค์การทำงานเรื่องเอดส์กันอย่าง เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ทุกเสียงสะท้อนทุกกิจกรรมนับเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารให้สังคมเกิด ความรู้ความเข้าใจกับเรื่องเอดส์อย่างเท่าทัน เพราะโจทย์ที่สำคัญโจทย์หนึ่งคือ การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อ (social environment) หากสภาพแวดล้อมสังคมเอื้อแล้ว คือในสังคมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์ จะนำมาสู่การป้องกัน การเข้าใจ และดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง แต่การสร้างความเข้าใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องรณรงค์สร้างความเข้าใจ หรือเรียกในเชิงคนทำงานด้านเอดส์ คือ งานด้านการป้องกัน (prevention) ซึ่งก็เป็นตามสถานการณ์คือ ขณะนี้งานด้าน ดังกล่าวได้ลดลงไปมาก อาจเพราะทั้ง งบประมาณ กำลังคน หรืออะไรก็ตามแต่ โดยเหตุผลการทำงานด้านการป้องกันนั้น เมื่อประสบความสำเร็จจะเกิดประโยชน์อย่างมาก 2 อย่าง คือ 1.ลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ และลดรายจ่ายของประเทศด้านการดูแลรักษา รวมถึงมีประชากรในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น 2.สังคมเกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากการรังเกียจ การละเมิดสิทธิ รวมทั้งในด้านอื่นๆ ที่ตามมา

ดังนั้น วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม เป็นวันที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานท้องถิ่น ออกมาแถลงจุดยืนการทำงาน จุดหมายต่างๆ และก็คงต้องทำงานดังกล่าวอย่างหนักต่อไป ไม่ให้เป็นเหมือนวันวานที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หากเป็นเช่นนั้นปัญหาเอดส์จะเป็นปัญหาหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

การรณรงค์ก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน CSR ซึ่งถ้าจะทำจริงๆ มีอีกมากมายที่สังคมกำลังต้องการอยู่

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: