วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

เส้นทางเพื่อสังคม

"เกียรตินาคิน" จาก "งานการกุศล" ถึง "CSR"


ถ้า พูดถึง "งานการกุศล" นี่อาจจะถือเป็นวิถีปฏิบัติขององค์กรธุรกิจไทย ซึ่งไม่น้อยให้ความสำคัญเรื่องนี้มายาวนานกว่า 37 ปีบนเส้นทางการเติบโตของ "ธนาคารเกียรตินาคิน" ก็เช่นเดียวกัน "งานการกุศล" ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทมาตลอด

จำนวนนักเรียนกว่า 37,000 คน ตลอด 37 ปีที่ผ่านมาที่มีโอกาสได้ทุนการศึกษาเพื่อเรียนหนังสือ

จำนวนประชาชนกว่า 1 แสนคนในช่วงเวลา 15 ปีที่เข้าถึงธรรมะและยกระดับจิตใจ

เป็นเพียงบางส่วนที่เป็นผลจากการทำงาน "การกุศล" อย่างต่อเนื่องมายาวนาน

หาก แต่ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนผ่าน กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ที่ธนาคารเริ่มปรับมุมคิดและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่ ที่มีเป้าหมายสู่การยกระดับการทำงานเพื่อสังคมหรือกิจกรรม CSR ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น

ผ่านการจัดระบบระเบียบใหม่ ด้วยการก่อตั้ง "มูลนิธิเกียรตินาคิน"

" มูลนิธิทำให้เราทำงานง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องไปผูกพันกับผลการดำเนินงานของบริษัทว่าจะกำไรหรือขาด ทุน ทำให้สามารถทำงานเพื่อสังคมได้อย่างต่อเนื่อง และเราถือว่าเป็นหน้าที่" "ฐิตินันท์ วัธนเวคิน" ประธานสายธุรกิจเงินฝากและการตลาด ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ในฐานะรองประธานมูลนิธิ เกียรตินาคินกล่าว

การทำงานภายใต้มูลนิธิ เป็นการคัดเลือกและรวบรวมโครงการเพื่อสังคมในอดีต พร้อมทั้งใส่โครงการใหม่ ด้วยแนวคิด "พัฒนาคน พัฒนาชาติกับเกียรตินาคิน" ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ และพัฒนาคุณภาพของประชาชนในสังคมเป็นหลัก

เป็นการส่งเสริม "คนดีและเก่ง" เพราะเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะขยายผลไปสู่การสร้างสังคมที่ดีได้ !!

" ฐิตินันท์" กล่าวว่า "เป้าหมายของเราอยากให้มีคนดีเยอะๆ พอเขาดีและเก่งเขาก็ไปช่วยเหลือสังคมต่อได้ โดยเราส่งผ่านความเชี่ยวชาญของเรากับเงินไปสนับสนุน อย่างการเลือกเด็กให้ทุนการศึกษาเราไม่ได้ให้คนที่เก่งเป็นตัวตั้ง แต่เราจะเลือกเด็กที่ดี มีความประพฤติดีและขาดแคลน เพราะเราเห็นว่าคนเก่งมีคนสนับสนุนมากแล้ว แต่เราต้องการส่งเสริมคนดีให้มีโอกาสเก่งด้วย เพราะถ้าสนับสนุนคนให้เก่งแต่ไม่มีจริยธรรมก็เหมือนเป็นดาบสองคม"

กิจกรรม CSR ของธนาคารและมูลนิธิ ภายใต้โครงการนี้ ประกอบด้วย 1.ด้านการศึกษา ในเรื่องการให้ทุนการศึกษา โครงการทุนการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีที่เริ่มในปี 2551 เป็นทุนต่อเนื่อง 6 ปีจำนวน 468 ทุน ใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท โครงการ Kiatnakin Responsibility Award@Sasin ในการให้ทุนลงทะเบียนกับนักศึกษาเอ็มบีเอ ศศินทร์ฯ ให้ลงทะเบียนข้ามประเทศ ฯลฯ

2.ด้านจริยธรรม ภูมิคุ้มกันสังคม การสนับสนุนยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เยาวชนสัมพันธ์ตำรวจนครบาล ที่ทำให้เยาวชนกว่า 40,000 คนรู้โทษยาเสพย์ติด โครงการสนับสนุนการออมให้แก่ชุมชนของมูลนิธิดวงประทีป และ 3.ด้านบรรเทาทุกข์และการกุศลอื่นๆ ช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

จึงให้ความสำคัญกับการที่พนักงานและผู้บริหารที่เข้าไปมีส่วนร่วม

เรื่องนี้ "ฐิตินันท์" กล่าวว่า "CSR ในความหมายของเราไม่ต้องใช้เงินเป็นหลัก แต่เป็นจิตสำนึกของคนในองค์กร"

สิ่ง ละอันพันละน้อย จึงถูกสร้างขึ้นในธนาคารในการ "สร้างจิตสำนึกที่ดี" และเป็นจุดเล็กๆ ที่เชื่อว่าจะกลายเป็นจุดใหญ่และเกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เรื่อง เล็กๆ เรื่องหนึ่งที่ "ฐิตินันท์" เล่าให้ฟัง อย่าง "วันแม่" ที่ธนาคารซื้อดอกมะลิจากสภาสังคมสงเคราะห์และแจกพนักงานทุกคน เพื่อให้เอาไปให้แม่ ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เชื่อว่าจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว

"ไม่ว่าเขาจะ เอาไปมอบให้แม่หรือไม่ แต่เราก็พยายามจะทำ พยายามจะสร้างในสิ่งที่ไม่เป็นภาระกับเขา เพราะทุกเรื่องเชื่อมโยงกัน และเราก็เชื่อว่าจิตสำนึกก็เริ่มจากเรื่องเล็กๆ แบบนี้ เราเชื่อว่า CSR ที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มที่ผู้บริหาร มีนโยบายให้ชัด แต่เมื่อมีนโยบายแล้วต้องเริ่มจากจิตสำนึกข้างล่าง และทำทั้งองค์กร

ใน ปี 2551 สิ่งที่จะถูกเพิ่มเข้าไปในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กรของธนาคาร เกียรตินาคิน คือ การเพิ่มพลังขับเคลื่อนจากข้างล่างให้มากที่สุด โดยพยายามกระจายงบประมาณลงสู่สาขา สาขาละ 1-2 ล้านบาท ในการทำงาน CSR ในแต่ละพื้นที่ โดยมีโจทย์อยู่ว่าไม่ใช่แต่การให้เงินบริจาค แต่ทุกโครงการที่ทำ จะต้องให้พนักงานเข้าไปมีส่วนร่วม

"แม้จะเชื่อ ว่าการจะทำงานเรื่องนี้ให้สำเร็จ การทำในคราวเดียวอาจจะเป็น เรื่องยาก แต่ถ้าค่อยๆ ทำนี่ไม่ใช่เรื่องที่ยาก" ฐิตินันท์กล่าวในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04010951&day=2008-09-01&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: