วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตามล่าจิตอาสาสุดขอบฟ้า

โดย อนันตชัย ยูรประถม anantachai@yahoo.com



Q : แนวทาง CSR ขององค์กรมุ่งเน้นเรื่องการอาสาสมัคร แต่จนแล้วจนรอด...ถ้าไม่บังคับยังไงพนักงานก็ไม่สมัคร

ขุม ทรัพย์สุดขอบฟ้าเริ่มตั้งแต่ CSR เป็นกระแสฮอตฮิตในบ้านเรา ของล้ำค่าที่บรรดาเหล่าอินเดียนน่าโจนส์ทั้งหลายตามหาในเขาวงกตองค์กรก็คือ "จิตอาสาแห่ง CSR" เพราะเชื่อกันว่าองค์กรใดได้ ครอบครองจิตอาสาแห่ง CSR แล้ว ถือว่าได้ บรรลุสุดยอดของการเป็นองค์กรแห่งความรับผิดชอบ ตราบจนเท่าปัจจุบัน แม้อินเดียนน่าโจนส์เหล่านั้นอาจจะต้องย้ายเขาวงกตใหม่แต่เป้าหมายก็ยัง เหมือนเดิม

อินเดียนน่าสาวท่านหนึ่งเคยถามผมว่า สาวกจิตอาสาในองค์กรนี่มักจะหน้าเดิมๆ อยู่เสมอ ประเภทที่ว่าออกผจญภัยมา 5 ครั้งแทบจะเขียนรายชื่อสาวกรอไว้ก่อนได้เลย บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายก็มีแนวคิดว่า สาวกทั้งหมดควรจะมีโอกาสได้ออกผจญภัยไปสัมผัสกับดวงจิตอาสาอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่แต่สาวกหน้าเดิมๆ ดังนั้นออกเป็นประกาศคำสั่งซะเลยให้มันรู้แล้วรู้รอด ผมก็เลยบอกไปว่า ถ้าอย่างนั้นมันไม่ศักดิ์สิทธิ์แล้วละครับ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า "จิตอาสา" เล่นไปฉุดกระชากลากถูกันแบบนี้ของเสื่อมหมดกัน

ล่าสุดก็ เจอกับอินเดียนน่ารุ่นเยาว์เหมือนกัน พึ่งย้ายเขาวงกตเจออาถรรพ์แบบเดียว กันเป๊ะ ลองมาหลายวิธีแล้วพยายามหากิจกรรมผจญภัยใหม่ๆ มาหลอกล่อสาวก ให้ออกจากถ้ำ ท่านก็ไม่ยอมไปกันซะที เจอแต่หน้าเดิมสม่ำเสมอ

ที่ว่า มาไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไรกับสาวกชุดเดิมๆ หรอกครับ มันเป็นธรรมดาและธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ทัศนคติและความเชื่อที่ฝังใจ ลบยังไงก็ "ไม่ออกซิแม่" จริงๆ สาวกชุดเดิมๆ ที่มีนะดีสุดยอดอยู่แล้วครับ เลื่อนฐานะมาเป็นหัวหน้าหมู่ CSR ไปเลย อย่าให้เป็นแค่สาวกต๊อกต๋อย เชิญเข้ามาเป็นผู้นำไปเลยครับ ช่วยกันคิดช่วยกันวางแผน และช่วยกันกระจายออกไป ใช้กลยุทธ์ดาวกระจายที่กำลังฮอตฮิตให้เป็นประโยชน์ครับ

อีกแบบหนึ่ง ก็คือ การทบทวนถึงเป้าหมาย CSR ขององค์กรว่าคืออะไร เราติดกับดัก "จิตอาสา" จนไปไหนไม่ได้หรือเปล่า เพราะเราคิดว่า CSR คือจิตอาสา หรือว่า CSR ของเรายกตัวอย่างนะครับ คือ "ความรับผิดชอบในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคม" และแนวทางหลักของเราก็คือ จิตอาสาของพนักงาน หรือ volunteering ที่นำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้น ตัววัดความสำเร็จหลักของเราก็คือ "คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของเราในสังคม" ไม่ใช่จำนวนของอาสาสมัคร เพราะอะไรครับ จำนวนสาวกที่มากันเยอะๆ นะ บอกไม่ได้ว่ามันทำให้กิจกรรมของเราสร้างคุณภาพชีวิตที่ให้กับสังคมได้เสมอไป บางครั้งคนน้อยแต่ได้เรื่องได้ราวก็มีถมไป แถมถ้ามาแบบแฟชั่นพานจะพาให้อินเดียนน่าโจนส์ทั้งหลาย ปวดหัวกับสาวก มิหนำซ้ำกลับไปยังมีเมาท์กันไม่รู้จบอีกต่างหาก ปัญหาต่อมาก็คือ การหาประเด็นที่จะพาสาวกออกไปลุย ก็ต้องเอาไอ้ที่มันเร้าใจสาวกไว้ก่อน จนบางครั้งก็ต้องทำอะไรซ้ำๆ อยู่ แต่ในกระแส ผลกระทบและคุณค่ามากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ แล้วก็ดึงกลับมาเชื่อมโยงกับองค์กรไม่ได้เนื่องจากมัวแต่ห่วงตัวเลขสาวก

การ เปลี่ยนเป้าหมายมาเป็นเรื่อง "คุณภาพชีวิต" ทำให้เรามุ่งเน้นไปยังประเด็นที่มีคุณค่าของทั้งสองฝ่าย ส่วนจำนวนตัวเลขของสาวกเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปรับปรุงกระบวนการในการดำเนิน กิจกรรม CSR ของเรา ซึ่งช่วยให้เราเข้าถึงการสร้างคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักของเราที่ได้ตั้งไว้

งาน นี้อินเดียนน่าโจนส์ได้ทั้งความ อิ่มเอมใจในเป้าหมายแล้วก็ความท้าทายของการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆไปพร้อมๆ กัน... เพราะเขาเหล่านั้นหลุดออกจากเขาวงกตได้แล้วครับ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หลากมุมมอง "ความรับผิดชอบ"

" การที่สถาบันการเงินจะปฏิบัติตามหน้าที่พื้นฐาน ควรเป็นสิ่งที่ต้องบังคับกัน หากไม่มีแรงจูงใจก็ต้องใช้กฎหมายเปิดเผยข้อมูล ส่วนแนวทางมากกว่านั้นก็คือการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน อันนี้อาจจะต้องใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนให้เซ็กเตอร์ที่ยั่งยืนโดย เฉพาะธุรกิจเพื่อสังคมได้เจริญเติบโตขึ้น" สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระกล่าว

............

"สถาบันทางการเงินต้องมี ความซื่อสัตย์ในการบอกข้อมูลและไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ที่ผ่านมามีการใช้ข้อความโฆษณาที่ผิดกฎหมาย สคบ.พยายามยกมาตรฐานความรับผิดชอบ

ต่อสังคม และใช้มาตรการของความเท่าเทียมกันทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ" ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ รองเลขาธิการสำนัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

............

"ปัญหาธรรมาภิบาลจะแก้ปัญหาที่ 2 ส่วนเสมอ คือ ระบบและคน ระบบต้องดีคนต้องดี 2 อย่างอยู่คู่กันจึงจะแก้ปัญหาได้ ในแง่ระบบก็ต้องกลับมาที่สถาบันการเงิน ผู้กำกับดูแลในหลายฝ่ายที่จะเข้ามาประสานและดูว่าปัญหาคืออะไร ส่วนคนก็จะนึกถึงศีลธรรม การพูดถึงคนดีก็มักจะเป็นคนที่ปฏิบัติตามกฎ และมีความรู้ในการปล่อยกู้ที่ควรจะมีเกณฑ์มาตรฐานกำหนด เรามักจะได้ยินว่าเวลามีปัญหาก็มักจะเพิ่มกฎหรือแก้กฎ ซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะคนที่ทำไม่ดี 2-3 ราย จะทำให้คนที่ทำดีอยู่แล้วทำงานยากขึ้น" ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

............

"แม้ผู้ประกอบการ จะแสวงหากำไรเป็นหลัก แต่ในมุมมองการบริหารความเสี่ยงแล้วการให้บริการทางการเงินอย่างมีความรับ ผิดชอบไปด้วยกันได้ เพราะผู้ประกอบการเองก็ไม่ได้ต้องการให้ปล่อยกู้เยอะแล้วกลายเป็นหนี้เสีย ถ้าคิดกำไรต่อเงินทั้งก้อนที่จะสูญเสียไปไม่คุ้มกันเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราปฏิบัติมาตลอด คือเราเป็นบริษัทที่เน้นการมีวินัยทางการเงินทั้งผู้ประกอบการเองและลูกค้า ด้วย" กุสุมาลย์ โลว์ศลารักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานบริหารความเสี่ยง บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552


วิกฤต...จุดเริ่มต้น ปฏิวัติสถาบันการเงินไทย สู่ความรับผิดชอบ (ที่แท้)


สถาบัน การเงินจำนวนกว่า 117 แห่งจาก 42 ประเทศทั่วโลก ที่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดบนเวที Sustainable Banking Awards 2009 ซึ่ง นิตยสารไฟแนนเชียล ไทม์ และ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) หน่วยงานหนึ่งของธนาคารโลก ร่วมกันจัดขึ้นในปีนี้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา

นับเป็นสัญญาณหนึ่งของความตื่นตัวของสถาบันการเงิน ทั่วโลก ที่มีต่อแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เวทีนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพราะจำนวนสถาบันการเงินที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมมีเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ การจัดประกวดครั้งแรกเมื่อ 4 ปีก่อนที่มีส่งผลงานเพียง 48 แห่ง

การ พัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบัน การเงิน (sustainable banking) จึงเป็นแนวโน้มและวิถีใหม่ในโลกการเงิน ที่กำลังเปลี่ยนวิธีคิดการทำธุรกิจในแบบเดิมๆ

แค่เพียงถ้าลองใช้ เสิร์ชเอ็นจิ้นและค้นหาด้วย คำว่า sustainable banking ผลที่ปรากฏจำนวนเรื่องราวกว่า 17,000,000 เรื่องเป็นอีกเครื่องสะท้อน

" เหตุผลทางธุรกิจเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินทั่วโลก ต้องปรับตัวโดยเฉพาะในแง่ของการมองหาตลาดใหม่และการลดความเสี่ยง" สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระและนักการเงิน ที่ติดตามเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

สำรวจความตื่นตัวในต่างประเทศ

Deutsche Bank ถือเป็นสถาบันการเงินในกระแสหลัก ที่เชื่อในแนวคิดนี้ โดยเข้าไปสนับสนุนธุรกิจที่ธนาคารคิดว่ามีความยั่งยืนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ ที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนสินเชื่อเพื่อคนจน อุตสาหกรรมอาหาร ปลอดสารพิษ ฯลฯ เพราะไม่เพียงเป็น การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ในเวลาเดียวกัน ยังเชื่อว่าในระยะยาวการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ ที่มีความยั่งยืนเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกับธนาคาร เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจแบบดั้งเดิม

มีธนาคารอีกหลายแห่งที่มีการ พัฒนาอย่างยั่งยืนที่แหวกแนวและมีนวัตกรรม โดยเฉพาะในตลาดคนจน อย่าง "Triodos Bank" ที่มีสาขา 5 ประเทศในยุโรป ที่เปิดธนาคารขึ้นมาเพื่อให้บริการกับ 5 เซ็กเตอร์ที่บอกว่ายั่งยืน คือ ธุรกิจเพื่อสังคม อาหารปลอดสารพิษ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม และการค้าที่เป็นธรรม (fair trade)

หรือ "root capital" ที่ตั้งขึ้นมาเป็นสมาคมไม่ใช่ธนาคาร เป็นลักษณะกองทุนที่ลงทุนด้านสังคม ในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งให้ สินเชื่อกับคนจน ในประเทศโลกที่สาม

"ไม่ ใช่แค่เหตุผลทางธุรกิจอย่างเดียว วันนี้ยังมีเสียงที่เรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้บริโภค สังคม สื่อ และแรงกดดันจาก ต่างชาติ เพราะในวิกฤตซับไพรมซึ่งมีต้นเหตุมาจากความไม่รับผิดชอบของสถาบันการเงิน ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าสถาบันการเงินต้องมีความรับผิดชอบและสนับสนุนการ เติบโตที่ยั่งยืนและไม่หลอกลวงผู้บริโภค"

"การที่ทั่วโลกพูดเรื่อง sustainable banking ก็เพราะว่ามองว่าสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นความกังวลระดับโลกและการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ดังนั้นสถาบันการเงินในฐานะที่เป็นตัวแทนหลักในการจัดสรรเงินในระบบเศรษฐกิจ ก็จะต้องทำอะไรที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย เช่น มีโครงการอะไรที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่มีมาตรการฟื้นฟู ก็ต้องไม่ปล่อยสินเชื่อให้ หรือพฤติกรรม

ที่รู้อยู่แล้วว่าจะไปทำให้ ฟองสบู่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คือการกู้เงินไปต่อเงิน พอกหนี้ไปเรื่อยๆ ธนาคารก็ต้องไม่พยายามปล่อยกู้ให้กับคนเหล่านั้น"

"ที่ผ่านมาแม้ว่า ธนาคารอาจจะบอกว่ารับผิดชอบแล้วเพราะดูความสามารถในการชำระหนี้ของ เฮดจ์ฟันด์และทุกอย่างตรงตามเงื่อนไขหมด อันนี้ถือว่ารับผิดชอบ แต่หากเอาเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาจับก็จะเห็นว่ายังไม่รับผิดชอบต่อ สังคมเพราะไปสนับสนุนให้เกิดการเก็งกำไรเกินควรในตลาด" สฤณีกล่าว

ย้อนมองจุดอ่อนประเทศไทย

แม้ ปัจจุบันสถาบันการเงินในไทยจะ มีความตื่นตัวในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมและโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ขณะที่บางธนาคารก็เริ่มมี นโยบายในการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างในรายงานการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2551 ของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มีการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อกรุงไทยประหยัดพลังงาน (KTB-Green Loan) ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนในโครงการหรือมาตรการที่ก่อให้เกิดการ อนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยังไม่รวมถึงการประกาศกลยุทธ์ CSR ของธนาคารจำนวนไม่น้อยในช่วงเวลาที่ผ่านมา

แต่ในทางกลับกันถ้าดู ตัวเลขคดีที่ศาลแพ่ง รัชดา รายงานนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551-ธันวาคม 2551 พบว่ากว่า 230 คดีที่ผู้บริโภคฟ้องร้องผู้ประกอบการ ส่วนมากจะเป็นคดีการเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต คดีการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งบริษัทสินเชื่อ

" ไม่มีประโยชน์เลยที่จะประกาศว่าคุณมีโครงการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ สิ่งแวดล้อม แต่พนักงานกลับไปเปิดบัญชีในชื่อคนอื่นแล้วเล่นหุ้น front-running (การลงทุนตัดหน้ากองทุน) ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่เสมอ ประเด็นสำคัญก็คือสถาบันการเงินต้องมีกลไกอะไรบางอย่างเพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานของตนเองจะรักษาหน้าที่พื้นฐานได้อย่างเต็มที่" สฤณีกล่าวย้ำ

จริยธรรมพื้นฐานสำคัญที่สุด

และ เสนอแนะว่า เพื่อให้เข้าใกล้ความรับผิดชอบที่แท้จริง สถาบันการเงินไทยต้องเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับ "หน้าที่พื้นฐานของนักการเงิน"

"นี่เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนที่จะ พูดว่าคุณรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร กล่าวคือ หน้าที่พื้นฐานก็คือการรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าและไม่ทำให้ตนเองตกอยู่ใน สถานการณ์ 3 อย่าง คือ 1.มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตนเองกับลูกค้า 2.มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างลูกค้า 2 ราย เช่น ถ้าเราทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับลูกค้าในธุรกิจเหล็ก ก็ต้องคิดว่าจะเป็นที่ปรึกษาให้กับคู่แข่งเขาด้วยหรือไม่ เพราะเราอาจไม่รักษาผลประโยชน์ของคนทั้งสองได้อย่างเต็มที่ และ 3.ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจหน้าที่โดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม หรือในทางที่เอาเปรียบผู้เล่นคนอื่นในตลาดรวมถึงการรับสินบนจากลูกค้า"

ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ใน แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) หลักการคือวิถีการพัฒนาใดก็ตามที่จะตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดย ไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา โดยต้องให้ความสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรหรือ ความเท่าเทียมของโอกาสที่จะพัฒนาตนเองเพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดของความเป็น มนุษย์และให้ความสำคัญต่อความยุติธรรม ขณะเดียวกันต้องมีมุมมองระยะยาว และต้องคิดอย่างเป็นระบบในการเชื่อมโยงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด triple of bottom line ซึ่งจะเดินไปสู่ทิศทางนั้นได้ต้องบริหารจัดการความต้องการของการมีส่วนได้ ส่วนเสียหลายๆ ฝ่าย ซึ่งในทางปฏิบัติอาจมีคำถามว่าเราจะทำได้อย่างไร เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการไม่เหมือนกัน"

สฤณีกล่าวด้วย ว่า "ถ้ามองในมุมภาคการเงินขณะที่ผู้ถือหุ้นต้องการกำไรสูงสุด และเห็นสถาบันการเงินโปร่งใสและมีความเป็นมืออาชีพ ผู้ฝากเงินก็อยากจะได้ ดอกเบี้ยสูง มีความเป็นธรรมและโปร่งใส หากเป็นผู้กู้ยืมเงินก็ต้องการเห็นธนาคารให้ดอกเบี้ยต่ำในเงื่อนไขที่เป็น ธรรมและโปร่งใส ในวิกฤตซับไพรม ข้อเท็จจริงก็ปรากฏแล้วว่าเงื่อนไขในการปล่อยกู้ของธนาคารเป็นเงื่อนไขที่ เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เยอะ คือซุกซ่อนเงื่อนไขที่ลูกหนี้รู้ไม่ทัน แต่นั่นถือว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหนี้ด้วยเหมือนกัน เวลาปล่อยกู้ก็ควรดูความสามารถในการชำระหนี้ไม่ใช่ว่ารู้จักกับ ผู้บริหาร ซึ่งถ้าทั้งหมดสถาบันการเงินทำได้ก็ถือได้ว่ามีความรับผิดชอบ"

เป็น ความรับผิดชอบ (ที่แท้) และเป็นเสียงเรียกร้องที่ผู้คนในสังคมโลกมีต่อสถาบันการเงิน ที่วันนี้สถาบันการเงินไทยฟังแล้วต้องได้ยิน !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เคลื่อนขบวนซีเอสอาร์แคมปัส ปี 2 เจาะกลุ่ม Young CSR


หลัง จากที่สถาบันไทยพัฒน์ฯและพันธมิตรอย่าง กสทฯ ดีแทค และโตโยต้า ได้จัดโครงการ "ซีเอสอาร์แคมปัส" ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดโรดโชว์ไปให้ความรู้ด้านซีเอสอาร์ทั่วประเทศ มีผู้ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วกว่า 4,000 คน ใน 75 จังหวัด

ในการเปิดตัว โครงการ "ซีเอสอาร์แคมปัส" ปี 2 เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงถือเป็นก้าวต่อไปในการเคลื่อนขบวนไปให้ความรู้เรื่องซีเอสอาร์สู่ภูมิภาค โดยมีพื้นที่เป้าหมาย 75 จังหวัด และปิดท้ายที่กรุงเทพฯเช่นเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ เข้าอบรมมากยิ่งขึ้น

ทำให้เนื้อหาการอบรมในปีนี้จะมีการ ยกระดับเนื้อหาเข้าสู่การทำซีเอสอาร์เชิงระบบที่คำนึงถึงตัวบ่งชี้ความ สำเร็จทั้งในระดับปัจจัยนำเข้า (input) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผลกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร

ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากการเข้าไปขับเคลื่อนซีเอสอาร์ในทุกจังหวัดก็มีการสำรวจความต้องการของผู้ เข้าอบรมว่า หากต้องมีการจัดโครงการซีเอสอาร์แคมปัสต่ออยากได้เนื้อหาแบบไหน ก็พบว่า 61% ต้องการรู้เรื่องการทำซีเอสอาร์เชิงระบบ ในขณะที่ 20% ต้องการวิธีการวัดและประเมินผลในการทำซีเอสอาร์ และมีเพียง 10% ที่ต้องการเรียนรู้ในด้านพื้นฐาน จากข้อมูลตรงนี้ทำให้เราตัดสินใจที่จะพัฒนาเนื้อหาสู่การทำซีเอสอาร์เชิง ระบบ นอกจากนี้จะเน้นไปที่กลุ่ม Young CSR ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อน ธุรกิจควบคู่กับซีเอสอาร์ในอนาคต

"ปีที่แล้วเรามีผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลากหลาย ทั้งผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐ แต่ปีนี้จะเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กลุ่มทายาทนักธุรกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการสังคมที่เป็นความเคลื่อนไหวใหม่ในสังคมไทย รวมถึงกลุ่ม นักศึกษาภายใต้โมเดล Young CSR ส่วนเนื้อหาจะเพิ่มวิชาหน้าที่พลเมือง ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะ"

สำหรับโครงการซีเอสอา ร์แคมปัส ปี 2 จะเริ่มเดินสายในเขตภาคกลาง 25 จังหวัดในเดือนมิถุนายนนี้ ต่อเนื่องด้วยเขตภาคอีสาน 15 จังหวัดในเดือนสิงหาคม และเขตภาคใต้ 14 จังหวัดในเดือนตุลาคม และ ปิดท้ายโครงการที่กรุงเทพฯ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552


1 เปอร์เซ็นต์กับสังคมที่ดีขึ้น

โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com



"เราจะจัดสรรปันส่วน งบประมาณขององค์กรมาเพื่อสนับสนุนความรับผิดชอบต่อสังคมเท่าไรดี"

คำ ถามนี้มีคนถามมากมาย ทั้งผู้ที่คิดวางแผนอยากเริ่มต้นทำ CSR อย่างจริงจัง ผู้ที่ตั้งใจทำ CSR มาสักระยะหนึ่ง รวมไปถึงองค์กรต่างๆ ที่ทำ CSR มาอย่างช่ำชองสม่ำเสมอ คำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่แปลกและดิฉันมองว่านี่เป็นจุดเล็กๆ อีกจุดหนึ่งที่อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ถามมีความสนใจในการอยากทำ CSR อย่างมีระบบที่ดี เชื่อว่าแม้ผู้ที่ศึกษาค้นคว้าด้าน CSR มาเป็นเวลานาน ก็ไม่ง่ายที่จะสามารถตอบคำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จให้ทุกองค์กรนำไปใช้ได้เพียง พริบตา เนื่องจากคำถามนี้ไม่ได้มีคำตอบเพียงหนึ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายในองค์กร

บางองค์กรเลือกที่จะไม่ตั้งงบ ประมาณใดๆ ใช้วิธีดูเอาตามความเหมาะสม บางองค์กรเลือกที่จะตั้งงบประมาณประจำปีเป็นตัวเลขกลมๆ เหมือนกับการตั้งงบฯในส่วนงานอื่นๆ บางแห่งเลือกที่จะตั้งขอบเขตงบประมาณว่าต้องไม่มากกว่าเท่านั้นและ ไม่น้อยกว่าเท่านี้ในแต่ละปี

บางองค์กรก็กำหนดตัวเลขไว้เป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ขององค์กร หรือจากยอดขาย กำไร แตกต่างกันไป

ความ แตกต่างนี้ดิฉันไม่แนะนำให้เราต้องมานั่งสืบเสาะหาคำตอบกันต่อนะคะว่า แบบไหนดีที่สุดในโลก เพราะเรื่องอย่างนี้มันเหมือนกับถามว่า ผู้หญิงคนไหนดีที่สุดในโลกนั่นเอง ถ้าตอบได้ก็ต้องมีคนไม่ยอมแน่ๆ แต่ดิฉันอยากชวนให้เราถามตัวเราเองว่า สำหรับองค์กรเราแล้วแบบไหนเหมาะที่สุดหลังจากพิจารณาทุกปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กรเราอย่างละเอียดรอบคอบแทน

เชื่อว่าทุกแบบต่าง ก็ถูกสรรค์สร้างขึ้นจากเจตนาในความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งนั้น ซึ่งไม่ว่าจะจัดสรรแบบใดสังคมก็จะได้รับประโยชน์อยู่ดี ดังนั้นทำแบบใดก็ได้ดี ทั้งนั้น ในฉบับนี้ดิฉันมีตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มที่เลือกจะกำหนดงบประมาณขั้นต่ำในการ บริจาคเพื่อสนับสนุนองค์กรที่ช่วยเหลือสังคมไว้ที่ 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (net worth)

กลุ่มนี้เรียกตัว เองว่า "One Percent Club" ซึ่งก่อตั้งจากกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่มุ่งมั่นที่จะมอบสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมโดยไม่มีการกำหนดว่าต้องช่วยใคร ช่วยอย่างไร มีเพียงสัญญาใจที่ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าร่วมกลุ่มว่าจะบริจาคอย่างน้อย 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นประจำทุกปี

สัญญาใจของกลุ่ม นี้ใช้พื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์ ไม่มีการบังคับให้สมาชิกเปิดเผยข้อมูล สมาชิกไม่ต้องเข้าร่วมประชุมประจำปี ไม่มีกำหนดเวลาใดๆ ไม่มีการรับเงินบริจาคผ่านกลุ่มหรือเก็บเงินบริจาคใดๆ ไม่มีการตรวจสอบการบริจาคให้สมาชิกตะขิดตะขวงใจใดๆ กลุ่มจะรบกวนสมาชิกเพียงแค่การส่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมูลนิธิ องค์กรการกุศล ที่สมาชิกสนใจ และข่าวเกี่ยวกับงานสังสรรค์ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกผู้ที่สนใจมาพบปะแลก เปลี่ยนประสบการณ์กันและกันตามความสมัครใจ รวมถึงมีการเชิญให้เข้าร่วมการตอบแบบสำรวจประจำปีตามความสมัครใจโดยไม่ต้อง ระบุชื่อ

วัตถุประสงค์ของกลุ่มนี้ คือ ต้องการชักชวนให้องค์กรและผู้คนทั่วไปให้ร่วมกันสนับสนุนการให้ความช่วย เหลือแก่สังคมให้มากขึ้น กลุ่มยังมีความตั้งใจที่จะขยายฐานเพิ่มเติมไปยังผู้คนที่ไม่เคยช่วยใครหรือ มีความสามารถในการให้ได้มากขึ้น เช่น เจ้าของกิจการใหม่ๆ คนรุ่นใหม่วัย 20-40 ปีผู้ซึ่งอาจจะเคยอาสาแรงกาย เวลาและความสามารถมาบ้างแล้วแต่ยังไม่เคยได้บริจาคเป็นเงินมาก่อน นอกจากนี้ "One Percent Club" ยังร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริจาคเพิ่มขึ้น

ข้อดีของการให้ที่ "One Percent Club" เชิญชวนให้เรารู้จักให้นั้น ไม่เพียงแต่ทำให้เราได้ช่วยเหลือสังคมตามเจตนารมณ์หลักของเราแล้ว แต่ยังช่วย ลดหย่อนภาษีได้ตามฐานภาษีในระดับต่างๆ ได้อย่างมากอีกด้วย ตัวอย่างที่กลุ่มยกขึ้นมา คือ หากเราบริจาค 50,000 เหรียญ และมีฐานภาษีที่ 40% เงินสุทธิที่เราบริจาคจริงๆ จะไม่ใช่ 50,000 เหรียญ แต่ต้อง หักด้วยภาษีที่เราได้ลดหย่อนถึง 20,000 เหรียญ ทำให้กลายเป็นเงินบริจาคสุทธิเป็นแค่ 30,000 เหรียญเท่านั้น

"One Percent Club" นี้ใครก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ เพียงแค่กรอกใบสมัครผ่านทางออนไลน์ หรือส่งทางไปรษณีย์ก็ได้ ณ ตอนนี้กลุ่มมีสมาชิก ส่วนใหญ่อยู่ที่มินนิโซตา และตั้งใจจะขยายจำนวนสมาชิกออกไปในวงที่กว้างขึ้นในมุมอื่นๆ ของโลก

ณ วันนี้ "One Percent Club" มีสมาชิกมากกว่า 1 พันคนแล้ว จากในปีแรกที่มีสมาชิกเพียง 45 คนเท่านั้น จากแบบสำรวจในปี 2550 ซึ่งมีสมาชิกของกลุ่มที่ตอบแบบสำรวจกลับมาเป็นจำนวน 158 คน พบว่า 63% มีการเพิ่มเงินบริจาคจากปีก่อนหน้า 38% ระบุว่าตนได้เพิ่มจำนวนเงินการบริจาคเนื่องจากผลของการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ของ "One Percent Club" ในจำนวน 158 คนนี้มีการบริจาครวมเกือบ 700 ล้านบาทภายในปีเดียว ซึ่งได้ร่วมกันทำประโยชน์ดีๆ ให้กับสังคมหลากหลายด้านในแง่มุมที่แตกต่างกัน

ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่ม นี้ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ยังมีอีกหลายกลุ่มมากมายที่รวมตัวกันเพื่อผนึกกำลังให้สังคมได้รับประโยชน์ ที่เร็วขึ้นและมากขึ้น ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะชอบกลุ่มไหน แนวใด ไม่มีข้อใดผิดค่ะ มีแต่ดีทั้งนั้น ขอให้ลงมือทำก็ดีมากแล้ว

ไม่ว่าจะ เป็นเศษเสี้ยวหรือ 1 เปอร์เซ็นต์ หากทำให้เกิดความแตกต่างที่ดีขึ้นต่อคุณภาพชีวิตอื่นๆ ในสังคม มันก็น่าชื่นชมทั้งสิ้นมิใช่หรือ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552



คิดนอกตำรา Fusion CSR ฉบับ "เดอะมอลล์"


จะ ว่าไปในห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่มีการปรับ-เปลี่ยน-วางกลยุทธ์-จัดระบบ กิจกรรมสังคมที่เคยทำมาใน อดีตให้เข้ารูปเข้ารอยและเข้ากับยุคสมัยที่แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กร(corporate social responsibility : CSR) เดินทางมาถึงเมืองไทยเมื่อ 4-5 ปีก่อน

"เดอะมอลล์ กรุ๊ป" เป็นหนึ่งในนั้น 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีการทบทวนและเปลี่ยนผ่านจากการให้ (social contribution) สู่การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ในแบบของตัวเอง

" แรกๆ ตอนที่ผมพูดคำว่า CSR เมื่อ 4-5 ปีก่อนมีคนบอกว่าผมกระแดะ" ชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายการตลาด เดอะมอลล์ กรุ๊ป กล่าวติดตลกถึงบรรยากาศในห้องประชุมของวันวานหลายปีก่อน เมื่อลงนั่งพูดคุยกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

"เพราะเราทำมานาน ทำมาเป็น 10 กว่าปีแล้วก่อนที่จะมีการบัญญัติศัพท์นี้ เพียงแต่ข้อดีของการที่มีคำนี้ คือ ทำให้เราได้มานั่งกรุ๊ป มานั่งทบทวนสิ่งที่เราเคยทำ เป็นการทบทวนอดีต มองปัจจุบันและสานต่อไปในอนาคต"

"การทำ CSR ของเดอะมอลล์ก็มีวิธีคิดเดียวกับการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ดังนั้นพื้นฐานของ CSR ที่เราวางไว้คือต้องยึดสังคมและผูกโยงกับธุรกิจ"

17 ปีของการปักหลักทำงานที่เดอะมอลล์ในฐานะนักการตลาด สารพัดกิจกรรมการตลาด กิจกรรมเพื่อสังคม ที่ผ่านการลองผิดลองถูกของ "ชำนาญ" และทีม ทำให้เขาเชื่อแบบนั้น

"คนอาจจะมีมุมมองต่อการทำ CSR หลายมุม บางคนอาจจะตั้ง มูลนิธิ แต่เราไม่ได้ทำแบบนั้น เพราะเราคิดว่าทุกเรื่องเป็นความรับผิดชอบได้หมด เราถึงมีแกนหลักในการทำงานข้อแรกโดยคำนึงถึงสังคมและธุรกิจไปพร้อมๆ กัน เพราะในเชิงรีเทิร์นก็วัดได้ เราเป็นธุรกิจการทำอะไรที่เชื่อมโยงถึงธุรกิจก็น่าจะดีกว่า"

"อาจวัด เป็นตัวเลขไม่ได้ชัดแต่ก็วัดได้ เพราะการทำห้างก็วัดยากอยู่แล้ว ว่าโตเพราะอะไร อย่างถ้าธุรกิจโตคนก็บอกว่าโตเพราะอันนั้นอันนี้ แต่เราก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งเพราะกิจกรรม CSR ที่เราทำ ดังนั้นถึงแม้จะวัดยากแต่ก็ไปได้ดีทีเดียว"

ตอบโจทย์ triple C

หลัง จากทบทวนบทเรียนเมื่อต้องกำหนดทิศทางหลักจึงวาง "แกนหลัก CSR" โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ การสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจและสังคม ส่วนที่ 2 เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในองค์กรเอง ผู้บริโภคและซัพพลายเออร์ และส่วนสุดท้าย ที่การเชื่อมโยง CSR ไปสู่การทำการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM (customer relationship management) และ CEM (customer experience management) ที่เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

"การกำหนดทิศทางที่ ชัดเจน ทำให้สามารถควบคุมการทำงานของทุกฝ่าย จากเมื่อก่อนต่างคนต่างทำ วันนี้ทุกๆ งานในห้างจะถูก CSR แทรกซึม และคิดงานไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อก่อนเราอาจจะไม่ต้องทำอะไรมากเพราะองค์กรยังเล็ก เรื่องการทำให้สังคมอยู่ในใจ แต่พอองค์กรใหญ่ขึ้น ตอนนี้เราก็ต้องมีการเทรนนิ่งเรื่องพวกนี้กันมากขึ้น กระทั่งผู้บริหารก็ต้องมาเทรนนิ่ง"

เพราะกลไกในการเคลื่อนต้องเริ่ม จากพนักงาน ซัพพลายเออร์ กระทั่งการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร บทเรียนที่ผ่านมาสอนว่าต้องเข้าใจว่า "ลูกค้า" ต้องการอะไร แค่ไหนจึง "พอเหมาะ" และถูกเวลา

เช่นครั้ง หนึ่ง "เดอะมอลล์" เคยทำ แคมเปญ "safe the forest" ในปี 2536 แม้ว่าในด้านหนึ่งจะประสบความสำเร็จในแง่ของการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวด ล้อม แต่ในเวลาเดียวกันผู้บริโภคไทยยังไม่พร้อมการใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติกใน เวลานั้นยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้ ผิดกับการเริ่มต้นเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ในโครงการ "Think Green" การใช้ถุงที่ย่อยสลายได้ และรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าทดแทนถุงพลาสติกที่ได้รับการตอบรับและสร้างผลกระทบได้ ในระดับที่น่าพอใจ โดยสามารถลดการใช้ ถุงพลาสติกได้ถึง 30% จาก 100 ล้านใบที่เดอะมอลล์เคยใช้ ซึ่งถือเป็นสัดส่วน 0.02% ของการใช้ถุงพลาสติกในไทยที่มีกว่า 5,200 ล้านใบต่อปี

"ตอนนี้เวลา ที่เราไม่มีถุงผ้าขายก็จะมีลูกค้าเขียนมาถามว่าหายไปไหน ซึ่งก็เป็นเหมือนการวัดได้อย่างหนึ่งว่ากิจกรรมรณรงค์ที่เราทำมีผลกับความ ผูกพันของลูกค้าและธุรกิจ"

"การเข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งละอันพันละ น้อยในกิจกรรม CSR มากมายที่เราทำ ยังเป็นการเชื่อมโยง CSR ให้เข้ากับเครื่องมือการตลาดอย่าง CRM ในการจัดทำฐานข้อมูลและ CEM ในการสร้างประสบการณ์และความผูกพันกับผู้บริโภค ซึ่งเราเชื่อว่าเราน่าจะผ่านมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ที่สูงกว่านั้นและที่เราต้องการคือการสร้างความผูกพันในระดับ engagement กับลูกค้า ซึ่งเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งก็บอกว่าเรามาถึงระดับที่ว่านี้"และจะเป็นไปได้ ต้องทำงานหนักและทำพร้อมๆ กันทุกส่วนขององค์กร

Green & White Marketing

ใน กลยุทธ์ CSR ของ "เดอะมอลล์" จึงวางไว้ในกระบวนการทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับ "องค์กร" (corporate) "ระดับแผนก" (category) และ "อีเวนต์ มาร์เก็ตติ้ง" (event marketing) โดยแบ่งกิจกรรม CSR ออกเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ green marketing ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากกระบวนการทำธุรกิจไปจนถึงกิจกรรมทางการตลาด อีกด้านหนึ่งคือ white marketing ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคม การแบ่งปัน การสร้างเสริม และสร้างจิตสำนึกในการ ช่วยเหลือดูแลสังคมไทย

"green marketing มีตั้งแต่การณรงค์การใช้ถุงผ้า นโยบายประหยัดพลังงาน การปรับเปลี่ยนถุงภาชนะให้เป็นแบบย่อยสลายได้ภายในซูเปอร์มาร์เก็ต การเพิ่มพื้นที่และประเภทสินค้า "สีเขียว" ซึ่งเป็นสินค้าที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในหมวดอาหารและผลิตภัณท์เครื่อง สำอาง ออร์แกนิก รวมไปถึงกิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น Begreen Betrend ประมงน้อมใจ ไทยทั่วหล้า พฤษภาสยาม Flora Fauna Exotica ฯลฯ เพราะการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมได้มี 3 ระดับ 1.เรียกร้องให้เขาสนใจผ่านกิจกรรมที่มีสีสันต่างๆ 2.เปลี่ยนทัศนคติ และ 3.เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กิจกรรมที่มีสีสันจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเป้าหมายที่ต้องการเดินไปให้ ถึง

จาก "โลคอล" ถึง "โกลบอล"

การทำงานด้านสิ่งแวด ล้อมและสังคมในเชิงลึก ด้วยการทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง UNEP องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจากการเข้าร่วมโครงการ "Climate Neutral Network" ถือเป็นห้างสรรพสินค้า รายเดียวในโลกที่เข้าโครงการจึงถือเป็นการยกระดับ CSR และเป็นก้าวต่อที่สำคัญในการเดินตามรอยแนวปฏิบัติในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ของ UNEP

"ชำนาญ" ยอมรับว่า "การทำงานร่วมกับ UNEP ทำให้เราได้เรียนรู้มากขึ้น และสร้างผลกระทบเชิงบวกในมวลรวมได้มากขึ้น เช่น โครงการ SEAL THE DEAL ที่เรากำลังจะมารณรงค์ในการให้ลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วมทำข้อตกลงของคนทั่ว โลกในด้านสิ่งแวดล้อม

ซึ่งจะได้นำไปร่วมในงานประชุมด้านสิ่งแวด ล้อมที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคม หรือโครงการ "Plant for the planet"ซึ่งทาง UNEP ตั้งเป้าหมายว่าจะปลูกป่า 7,000 ล้านต้นทั่วโลก ซึ่งเป็นโครงการที่เรากำลังจะทำในปีนี้"

มากกว่าเรียนรู้ยังเป็นการปรับเปลี่ยน พัฒนาองค์กรไปให้ใกล้ คำว่า "green retail business" เป้าหมายที่เดอะมอลล์วางไว้ให้มากที่สุด

เพราะ ถ้าในสายตาของคนทำงาน "ชำนาญ" บอกว่า "ทุกอย่างยังอยู่ในระหว่างทางที่จะต้องดำเนินไป เพราะโลกนี้มีของใหม่ทุกวัน และเราต้องยอมรับว่าแต่ละคนเรียนรู้หรือตระหนักเรื่องเหล่านี้ได้ไม่เท่ากัน การทำงาน CSR ของเขาจึงต้องขับเคลื่อนพร้อมๆ กันในหลายระดับ การทำงานก็เหมือนกับทำเค้ก เค้กเราอร่อยแต่ก็เปลี่ยนหน้าตลอด เราจะไม่เอาของใหม่มาจนหมด จนทำให้สุดท้ายเค้กไม่อร่อย ผมเรียกว่า ฟิวชั่นมาร์เก็ตติ้ง เป็นการเอาสิ่งที่ทำอยู่แล้วมามิกซ์กันให้ดูดีขึ้น เป็นเรื่องใหม่ซึ่งยังคงสาระไว้เหมือนเดิม"

เป็นการผสมผสานของเก่าและของใหม่ โดยต้องไม่ลืมรากเหง้าและความเป็นตัวตนของตัวเอง !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขนาดองค์กรไม่ใช่อุปสรรค

โดย อนันตชัย ยูรประถม anantachai@yahoo.com



Q : อยากเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่คงยังทำไม่ได้เพราะไม่ได้มีเงินมากหรือเก่งขนาดองค์กรใหญ่ๆ

ตอน นี้ผมเจอคนมีปัญหาเรื่องขนาดบ่อยมาก ก็แหม...นะที่รู้ที่เห็นกันเขาก็เอาของใหญ่ๆ โตๆ มาอวดกันทั้งนั้น เล็กๆ อย่าง พี่ไทยเราก็เลยหลบๆ อยู่ไม่กล้าเอาออกมาอวดกลัวโดนคนเขาหัวเราะเยาะ...เที่ยวนี้เริ่มต้นซะวาบ หวิวเลย CSR นะครับที่คุยอยู่นี่ อย่าเข้าใจผิด

หลายๆ คนที่เจอทั้งหน่วยงานรัฐและธุรกิจ บ่นตลอดว่าองค์กรเล็กไซซ์ S ไซซ์ M อย่างเขาจะทำอะไรได้ เราไม่ได้ใหญ่โต มีตังค์เยอะๆ ทั้งๆ ที่ใจไปกะเขาแล้ว ต้องอธิบายครับ องค์กรก็เหมือนคนครับ บอกได้เลย ความเก่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดครับ

เพราะตัวอย่างของ CSR ที่เราได้ยินหรือเห็นๆ กัน มักจะมาจากองค์กรใหญ่ๆ ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนามา ประกอบกับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เรารับภาพของ CSR แต่เพียงเรื่องของกิจกรรมการบริจาค การช่วยเหลือชุมชนซึ่งเป็นภาพของโครงการที่อาจจะต้องลงทุน หรือการพัฒนาอย่างยั่งยืนก็เป็นเรื่องของสังคมกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นกิจกรรม คล้ายๆ กัน ขนาดเมื่อไม่กี่วันไปร่วมปรึกษาเรื่องการจัดทำแผน CSR เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับองค์กรขนาดที่เรียกว่าไม่เล็ก ยังมีอาการขยาด ออกตัวก่อนเลยว่าเราไม่ได้ใหญ่หรือมีเงินมากขนาดองค์กรระดับประเทศที่มีงาน สื่อสารระดับมวลชนถึงกิจกรรมด้านสังคม และก็ยกประเด็นแต่เรื่องกิจกรรมอาสาที่ยังมีปัญหาการเข้าร่วมของพนักงานอยู่ โดยคาดว่าถ้ามีแผน CSR แล้วจะทำให้คนในองค์กรเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น...จบ แต่ผมไม่จบ...ต้องอธิบายให้ฟังก่อนว่า CSR มันไม่ใช่เรื่องการบริจาคหรือเอาคนมาร่วมกิจกรรมอาสา อีกหลายเรื่องครับ

นี่ แหละครับประเด็นใหญ่ที่ยังคงใหญ่อยู่ ผู้ใหญ่จากหน่วยงานรัฐท่านหนึ่งเปรยให้ผมฟังด้วยความเป็นห่วงว่า อยากช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กในบ้านเรามีแนวปฏิบัติด้าน CSR เพราะในอนาคตแม้เราจะชอบหรือไม่ชอบแต่ประเด็นนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราต้องติดต่อค้าขายกับธุรกิจต่างประเทศหรือในประเทศที่เขาเองก็ต้อง ติดต่อกับ ต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง ผมก็เรียนไปว่า ยากไม่ยากอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจครับ เบื้องต้นต้องรู้ให้ทัน เข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนว่า ถ้าพูดถึง CSR เขาหมายถึงอะไร ธุรกิจของเราเกี่ยวข้องอย่างไร และถ้าต้องนำมาปฏิบัติเราต้องทำอย่างไร ที่น่ากลัวก็คือ หยิบซ้ายที ขวาทีแล้วก็เอามาประโคมกัน มันก็เลยมีปัญหาเพราะพากันงงไปหมด แถมที่สำคัญทำไปแล้วพอเขาบอกว่าไม่ใช่ ทีนี้ละเหี่ยวแห้งเพราะเสียแรงไปเยอะ

จริงๆ เรื่องนี้ผมพูดบ่อยมาก CSR ควรเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ก่อน เรียน...จริงๆ นะครับ เพื่อให้รู้ พอรู้แล้วเราจะมีคำตอบว่ามันมีอะไรและเราต้องทำยังไง เพราะถ้ามองว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์กร ด้าน CSR นั้นมีอยู่ประมาณ 3 ระดับด้วยกันครับ คือ ตระหนักรู้ บูรณาการ และผ่านเปลี่ยน

ระดับแรก ตระหนักรู้ องค์กรเริ่มเรียนรู้ทำความเข้าใจ มีการนำมุมมองใหม่ๆ ด้าน CSR เข้ามามอง ตรงนี้องค์กรจะเริ่มต้นประเมินตนเองในวิถีทางใหม่ๆ และเริ่มนำมุมมองทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่กระบวนการตัดสินใจทาง ธุรกิจครับ

ระดับต่อมา บูรณาการ ขั้นนี้มีการพัฒนาสู่ระดับกลยุทธ์ องค์กรมีพันธสัญญาในการสร้างความก้าวหน้าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยนำไปสู่กลยุทธ์องค์กรผลก็คือ องค์กรได้รับประโยชน์ เช่น ลดค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติการ มีภาพลักษณ์ที่ดี

และสุดท้ายขั้นเปลี่ยน ผ่านไปสู่การเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายที่สูงส่ง วิธีคิด แนวทาง และการปฏิบัติในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ พนักงาน องค์กร มีการพัฒนาโดยมุ่งไปสู่ความยั่งยืน

ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับขนาด แต่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติให้เข้ากับองค์กรอย่างเหมาะสม ตรงนี้แหละครับที่ผมว่า ไม่ต้องเป็นคนตัวใหญ่ ใจเกินร้อย แต่เป็นประเภทเล็กดี...แต่รสโต จะดีกว่า นะครับ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คิดต่าง ฉบับ "ธนชาต" "สะพานเชื่อม" ผู้ให้-ผู้รับ


อาจ เป็นเพราะอัตลักษณ์แบรนด์ของ "ธนชาต" คือ การริเริ่ม เติมเต็ม ที่หมายถึง การผนวกรวมการมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง เข้าใจผู้คน เป็นมิตรและเข้าใจสังคม

กลิ่นอายแห่ง "ความกล้า" จึงปรากฏ ให้เห็นในกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR)

เพราะ ในขณะที่องค์กรจำนวนมากเลือกที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเน้นทุ่มเททรัพยากรไปที่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นหลัก "ธนชาต" กลับเลือกทำในสิ่งที่แตกต่างโดยวางบทบาทตัวเองเป็น "คนกลาง" ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง"ผู้ให้" และ "ผู้รับ" ผ่านโครงการ "ริเริ่ม เติมเต็ม" ซึ่งเป็นแกนในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคาร โดย "ริเริ่ม" ในการมองการให้ในแบบที่ต่างออกไปและเติมเต็มให้กับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรูปแบบที่สนองความต้องการอย่างมีประสิทธิผล

"วิชา กุลกอบเกียรติ" ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) บอกว่า "เราอาจจะแตกต่างจากคนอื่นที่มอบของจนคนจำได้ สำหรับเราเรายอมรับว่าคนอาจจะยังไม่รู้มากนักว่าเราทำอะไร แต่ทั้งหมดที่เราพยายามทำคือการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ให้และผู้รับ เช่นเดียวกับทุกกิจกรรมจะมีความต้องการของผู้รับเป็นศูนย์กลาง"

สะพาน เชื่อม ในความหมายของ "ธนชาต" สะท้อนผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยจับมือกับพันธมิตรกว่า 20 องค์กร อาทิ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น หน่วยทหารพราน โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ฯลฯ ในการ "ริเริ่ม เติมเต็ม" ด้วยการใช้เครื่องมือในการสื่อสารความต้องการของสังคมที่ยังถูกมองข้ามและ ไม่ได้รับการดูแล

ผ่านรายการคนค้นฅน เพื่อเผยแพร่แง่มุมความต้องการของสังคม

หาก ปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้น โครงการ "ริเริ่ม เติมเต็ม ตอน มหกรรมออมบุญ" ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 10-11 มิถุนายน 2552 ที่จะถึงนี้ ที่ลานเอ็มบีเค ฮอลล์ เซ็นเตอร์ จึงเป็นเหมือนการต่อยอดโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เพื่อประชา สัมพันธมูลนิธิเพื่อให้เป็นที่รู้จักกับคนในสังคมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการร่วมระดมทุนให้กับองค์กรเหล่านั้น และวางแผนว่าจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนับจากนี้

ในงานที่จะจัดขึ้นยัง จะเปิดตัวบริการ "ออมบุญ" ผ่านบัตรเอทีเอ็มของธนชาต โดยลูกค้าที่ถือบัตรสามารถบริจาคเงินให้กับ 7 มูลนิธิผ่านเอทีเอ็ม โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

"การทำเอทีเอ็มออมบุญถือเป็นความพยายามในการ จะใช้ทรัพยากรที่ธนาคารมีอยู่ทั้งหมดในการช่วยเหลือสังคม ซึ่งไม่ได้เฉพาะแต่เอทีเอ็มที่ปัจจุบันมี 390 จุด แต่สำหรับสาขาที่มีอยู่กว่า 240 แห่งทั่วประเทศ เราก็มีความพยายามที่จะใช้เพื่อช่วยสังคมด้วย"

ปัจจุบันสำนักงานสาขาทั้งหมดก็ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์กลางในการเป็น สะพานเชื่อมระหว่าง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ" เช่นกัน

โดย ไม่เพียงแต่กิจกรรมหลักที่ดำเนินการโดยสำนักงานใหญ่ ในสำนักงานภาค (hub) แต่ละแห่งจะมีกิจกรรมเพื่อสังคมที่แตกต่างกัน ด้วยความเชื่อที่ว่าพื้นที่แต่ละแห่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน กิจกรรมเพื่อสังคมยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนและสาขาของธนาคารด้วย และเป็นเส้นทางในการผูกมิตรที่จะสร้างความผูกพันที่มีต่อ แบรนด์ในระยะยาว "วันนี้อาจจะยังวัดผลไม่ได้ วัดได้แค่ความรู้สึก แต่ในระยะยาวก็เชื่อว่าใครๆ ก็คงอยากคบคนดี ซึ่งจะเพิ่มพลังความสำเร็จของแบรนด์ ที่เป็นแบรนด์ไอเดีย ของเรา" วิชากล่าว

การ ตัดสินใจใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท ในการเดินต่อโครงการเพื่อสังคมในปีนี้ของธนาคาร จึงเป็น การเพิ่มพลังจุดสัมผัสที่ผู้คนมีต่อแบรนด์ธนชาต

ที่แม้ "วิชา" จะยอมรับว่า "คนอาจจะยังจำไม่ได้และไม่เข้าใจว่าเราทำ CSR อะไร แต่เราก็จะยังคงทำต่อไป"

และรอคอยเวลาที่จะพิสูจน์ ความเชื่อที่แตกต่างในแบบฉบับของตัวเอง !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ใช้หัวใจแบบ CSR เพื่อสร้างคน (จบ)


โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย

3.การนำแนวคิด CSR ไปใช้เป็นเป้าหมายในการบริหารสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัย รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เอาหลักการของ CSR มาเป็นเป้าหมายหลักสำหรับบทบาทใหม่ของสถาบันการศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยต้องการสร้างจิตสำนึก สังคมธรรมาธิปไตยผ่านการผลักดันในงาน วิชาการ งานวิจัย ชีวิต การฝึกอบรม การสร้างแสงสว่างและปัญญาให้กับเยาวชน

สังคมธรรมาธิปไตยในทรรศนะของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ คือ สังคมที่ยึดถือธรรมเป็นใหญ่ไม่ใช่ทุน หรือเงินเป็นใหญ่

บทบาท ของมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติ สร้างเยาวชนและสร้างบ้านเมืองตามแนวทางของสังคมธรรมาธิปไตย ดังนั้นคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทั้ง 28 คณะ จึงจะต้องเข้ามามีบทบาทอย่างสอดคล้องกันในการให้การศึกษา ในการค้นคว้าวิจัย และในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

แนวคิด CSR ของมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยมองเห็นว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยนั้นไม่เพียงแต่จะให้ความรู้เท่านั้น แต่ยังจะต้องสร้างคุณธรรมควบคู่กันไปด้วย คนที่มีคุณธรรมก็คือ คนดี มีความประพฤติที่เหมาะสม มีความคิดที่เป็นบวก เสียสละอุทิศตนเพื่อสังคมและประเทศชาติ เพื่อส่วนรวม เป็นคนที่ ใฝ่หาความรู้และแบ่งบันความรู้ให้กับผู้อื่น โดยมีความเมตตา กรุณา มองการไกล และที่สำคัญที่สุด คือ "มีความรับผิดชอบ" ต่อตนเองและต่อสังคม

แนว คิดนี้อาจจะค่อนข้างยากและคงจะต้องใช้ความพยายามและเวลาที่ค่อยๆ เพาะบ่มจิตใจ ทั้งของอาจารย์และนักศึกษา แต่ก็เป็นการริเริ่มที่ดี และน่าจะเป็นตัวอย่างของอุดมคติการศึกษาให้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ด้วย

4. การใช้หัวใจของ CSR เพื่อสร้างคน ในองค์กรCSR ส่วนใหญ่มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับสังคม แต่จิตสำนึกของ CSR จะต้องเริ่มภายในองค์กร CSR จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรก่อน หัวใจหลักของ CSR คือ สร้างธรรมาภิบาลให้กับองค์กร นั่นก็คือสร้าง "คุณธรรม" และ "ความรับผิดชอบ" ให้กับพนักงาน สร้างบุคลากรที่มี "คุณภาพ" และมี "คุณค่า" ทั้งกับองค์กรและกับสังคม

คุณภาพและคุณค่า หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจทักษะและความชำนาญในสิ่งที่ตนทำ ด้วยความระมัดระวัง ด้วยการเพิ่มคุณค่าให้กับงาน ให้กับชีวิต ให้กับสังคม

คุณภาพ ยังครอบคลุมไปสู่ความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตน สำหรับทีมงานและสำหรับสังคม ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีความบากบั่น อุตสาหะ ความเพียรพยายาม การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม

คุณธรรมยังครอบคลุมไปถึง ความซื่อสัตย์" ความตรงไปตรงมา ความยุติธรรม และการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น องค์กรที่ปลูกฝังคุณธรรม ความรับผิดชอบ คุณภาพ และความมีคุณค่าให้กับพนักงานจะเป็นองค์กรที่สร้างคน สร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคม

ทุกวันนี้เรามีปัญหามากมายในสังคม ทั้งปัญหาระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และการเมือง เราก็หวังกันว่าเราจะต้องไปปฏิรูปการศึกษา ไปเริ่มต้นกันใหม่ที่เยาวชน ถ้าเป็นเช่นนี้เราจะต้องมานั่งรอกันอีกกี่ปี กว่าจะเริ่ม กว่าจะดำเนินการ กว่าจะสามารถปลูกฝังคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความรู้ ความเข้าใจให้กับคนของเรา

เมื่อปีที่แล้วผมมีโอกาสไปเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้ไปเยี่ยมบ้านและสุสานของ Bertolt Brecht (1898-1956) นักวรรณกรรมและนักการละครของเยอรมนี Brecht ได้ให้ตัวอย่างที่ดีไว้กับสังคม เขาเห็นสภาพของสังคมในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เห็นความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมและการเอารัดเอาเปรียบกัน เห็นสภาพของคนจนที่ถูกเอาเปรียบจากชนชั้นปกครองและนายทุน Brecht จึงเริ่มเขียนวรรณกรรมและบทละครขึ้นหลายเรื่อง เพื่อ "สอน" และปลูกจิตสำนึกให้กับผู้คนในสังคม เขาใช้ตัวละครของเขาเป็นตัวอย่างของการต่อสู้เพื่อสิทธิ เพื่อความเป็นธรรมและความยุติธรรมของสังคม การใช้ละครเพื่อ "สอน" หรือให้การศึกษากับสังคม ผลงานของ Brecht ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งจนกลายเป็นตัวอย่างที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

บท เรียนที่ผมได้รับจาก Brecht ก็คือ การให้การศึกษานั้นเราไม่จำเป็นจะต้องกลับไปเริ่มต้นที่โรงเรียน หรือระบบการศึกษา เราจะเริ่มที่ไหน หรือโดยวิธีใดก็ได้ที่เหมาะสมกับผู้รับและสถานการณ์ CSR เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะให้การศึกษากับคน และถ้าองค์กรเริ่มใช้ CSR เพื่อ "สอน" เพื่อ "สร้าง" คนในองค์กร เราก็จะได้จุดเริ่มต้น จะได้องค์กรที่มีธรรมาภิบาล องค์กรที่ประกอบด้วย คนดี คนที่มีความซื่อสัตย์ คนที่ใส่ใจกับคนอื่นๆ คนที่ใส่ใจกับปัญหาของสังคม เมื่อมีองค์กรเช่นนี้มากขึ้น จิตสำนึกของคนก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งก็จะแผ่ขยายออกไปถึงส่วนอื่นๆ ของสังคมต่อไป

เรามาใช้หัวใจของ CSR เพื่อสร้างคนกันเถอะครับ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บริหารจัดการ ความรับผิดชอบ ทำแค่ไหนจึงจะพอเหมาะ-พอดี !



" ไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรจะลดงบประมาณในการบริจาคลงในช่วงภาวะเศรษฐกิจ ปัจจุบัน" "แอนดรู ชาน" ผู้อำนวยการบริหารส่วนงานให้คำปรึกษา การบริหารจัดการความยั่งยืน ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศมาเลเซีย กล่าวถึงความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่ทิศทางที่ว่าเกิดขึ้นทั่วโลก

เพราะแม้ความรับผิดชอบต่อสังคมจะมี ความจำเป็น แต่การบริหารจัดการองค์กรเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ยังต้องสร้างสมดุลให้กับทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม "ถ้าเราให้น้ำหนักกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากโดยไม่พิจารณาปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจ ขององค์กรก็อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กร เพราะธุรกิจก็ต้องมีรายได้และต้องอยู่รอดให้ได้เช่นกัน" ชานกล่าว

ระหว่าง การเดินทางมาเยือนไทยเพื่อเปิดให้บริการที่ปรึกษา CR ในไทย เขาร่วมกับ "กุลเวช เจนวัฒนวิทย์" จากไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย พูดคุยถึง "ความพอเหมาะ พอดี" ของการขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบขององค์กร ในภาวะวิกฤตเช่นนี้

"ชาน" บอกว่า "ในช่วงเศรษฐกิจขาลง เราจะพูดถึงการอยู่รอดขององค์กร พูดถึงเรื่องการลดต้นทุน ดังนั้นในระยะสั้นจึงทำให้เราเห็นการบริจาคลดลงไปบ้าง แต่แนวโน้มจะไปอยู่ที่การลงทุนด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่เห็นผลเร็ว อย่างการลดต้นทุนด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (cost efficiency)"



บริหารพลังงานเทรนด์ในวิกฤต

จาก การสำรวจของ 2 Degrees ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอเมื่อปลาย ปี 2551 พบว่า 90% ของซีอีโอมองว่า กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียวถือว่ามีความสำคัญ ในช่วงเศรษฐกิจขาลง

ขณะ ที่ผลสำรวจของ "อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่พบว่ากว่า 50% ของผู้นำองค์กรมองว่า การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การลดต้นทุนขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยใดที่จะมีความสำคัญในการนำองค์กรในช่วง 2 ปีนับจากนี้

" ในการดำเนินธุรกิจมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี ในช่วงวิกฤตจึงต้องกลับมาดูว่าอะไรเร่งด่วน ซึ่งต้องกลับมาดูที่กรอบในการดำเนินงานด้าน CR ที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญ และต้องดูว่าจะสร้างคุณค่าอย่างไรให้เกิดขึ้น"

CR ก้าวต่อของ CSR

อย่าง น้อยที่สุดคุณค่าที่จะเกิดขึ้นได้ "ความรับผิดชอบ" ต้องก้าว ข้ามมากกว่า "การให้" (corporate philanthropy) ผ่านกิจกรรมการบริจาคโดยเชื่อมโยงความรับผิดชอบสู่กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

ใน มุมมองของ "ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์" เรียกว่า การบริหารจัดการความรับผิดชอบขององค์กร (corporate responsibility : CR) ซึ่งเป็นพัฒนาการมาจาก "ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร" (CSR) ที่ทุกวันนี้คน ส่วนใหญ่มักให้น้ำหนักกับความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านโครงการเพื่อสังคม มากกว่าการแสดงความรับผิดชอบในอีกหลายพื้นที่

จากผลการวิเคราะห์ของ "ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์" โดยศึกษาเปรียบเทียบ บริษัทชั้นนำในไทย มาเลเซีย และ"ท็อป 25" ของบรรษัทข้ามชาติพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ในไทยและมาเลเซียยังให้ความสำคัญในมิติของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่บรรษัทข้ามชาติจะให้น้ำหนักใน 4 ด้านใกล้เคียงกัน คือ ชุมชน (commu nity) สิ่งแวดล้อม (environment) สถานที่ทำงาน (workplace) และตลาดสินค้า (marketplace)

"เราไม่ได้มองว่าต้องตามฝรั่ง และไม่ได้มองว่าอะไรผิดอะไรถูก เพียงแต่เราพยายามชี้ให้เห็นว่าในการทำในด้านอื่นๆ มากกว่าทำเพียงชุมชนเพียงด้านเดียวนั้นจะเป็นการช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับ องค์กร"

"โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ เราอยากชี้ให้เห็นเรื่องความรับผิดชอบในส่วนของตลาดสินค้า เพราะความรับผิดชอบในพื้นที่นี้จะช่วยในการลดต้นทุนและยังต่อยอดในเรื่องราย ได้ ซึ่งสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ อย่างโตโยต้า พรีอุส ซึ่งกลายเป็นเจ้าตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก เป็นต้น"

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการความ รับผิดชอบที่จะอยู่อย่างถาวรและยั่งยืน ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ CR และการวางกรอบแนวปฏิบัติ

" บางบริษัทใช้เงินมากแต่อาจจะไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มาก เพราะไม่มีกลยุทธ์ CR ขณะที่บางบริษัท เงินไม่มาก จำนวนกิจกรรมก็ไม่มากนัก แต่สร้างผลกระทบได้มาก เพราะทำอย่างมีหลักการในแบบที่ควรจะทำ"

"หลัก การของ CR ต้องกลับมาที่การเชื่อมโยงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยในทุกกระบวนการภายในองค์กรต้องให้ CR เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ก็อาจกำหนดให้คู่ค้าต้องใช้วัตถุดิบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีการประเมินผล"

สู่ความเป็นไปได้

รวมถึงการจัดทำ รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD report) ที่มี "เธิร์ด ปาร์ตี้" เป็นผู้รับรอง รวมถึงการวิเคราะห์ และพัฒนาการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่ามีความคาดหวังต่อองค์กรอย่างไร โดยไม่ต้องระมัด ระวังการให้ความสำคัญของผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ถูกเหตุผลที่ทำให้องค์กรล้มเหลว

"ความล้มเหลวส่วนใหญ่ที่ เราเห็นที่ผ่านมาเกิดจากเรื่องที่พื้นฐานมากที่สุด คือไม่รู้ว่า CR คืออะไร เพราะเมื่อบอร์ด ฝ่ายบริหาร ไม่เข้าใจโครงการ สิ่งที่เสนอไปก็ไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่เข้าใจหลักการก็ทำกลยุทธ์ CR ไม่ได้ และยังไปฝากงานไว้กับคนที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีความถนัด" ซึ่งทำให้ ความรับผิดชอบก้าวไปไม่ถึงความยั่งยืน

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จาก เอดิสัน ถึง หลอดไฟพร้อมรีไซเคิล

โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com



สมัย ประถมศึกษาเราเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ว่า หลอดไฟดวงแรกของโลกได้ถูกคิดค้นโดย โธมัส เอดิสัน และดิฉันกับเพื่อนๆ ก็ท่องจำกันอย่างนั้นมาจนทุกวันนี้

เมื่อวานดิฉันลองหาข้อมูลดู เล่นๆ ว่า โธมัส เอดิสัน คิดค้นหลอดไฟมาได้อย่างไร และก็ตื่นเต้นเมื่อพบว่าเอดิสันนั้นเป็นคนแรกที่ผลิตหลอดไฟที่ใช้งานได้หลาย ชั่วโมงจนที่สุดได้พันกว่าชั่วโมง ฉีกแนวจาก หลอดไฟในสมัยนั้นมากและยังสามารถนำไปผลิตเพื่อการค้าได้ เขาเป็นผู้คิดต่อยอดจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนหน้านั้น หลอดไฟดวงแรกสุดจริงๆ แล้วถูกคิดค้นโดย เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี่ ชาวอังกฤษ ก่อนเอดิสันประมาณเจ็ดสิบปี แต่ว่ายังขายไม่ได้ เนื่องจากสว่างอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็ดับ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก เรื่องนี้ คือไม่จำเป็นว่าใครจะต้องคิดค้นเป็นคนแรก หากแต่การพัฒนาต่อยอดเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นต่างหาก ที่ช่วยทำให้โลกของเราก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับการมาถึงของ "หลอดไฟพร้อมรีไซเคิล" แบบแรกของโลก ซึ่งผลิตโดยเอิร์ทเมต (Earthmate) ภายใต้บริษัทไลท์ทรอนิคส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ไม่เพียงสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 3 ใน 4 ของหลอดไฟแบบเดิม แต่สามารถลดปริมาณสารปรอทได้เป็น 1 มิลลิกรัม นับเป็นการลดปรอทได้ถึง 75% เมื่อเทียบกับปริมาณปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบมาตรฐานอื่นๆ ที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม

อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถลดปริมาณสารปรอทได้มากขนาดนี้ แต่ "เอิร์ทเมท" ยังมองว่าการกำจัดต้องผ่านกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี จึงให้ความสำคัญกับกระบวนการนำกลับมารีไซเคิลที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้บริโภค เมื่อหมดอายุการใช้งาน ผู้บริโภคเพียงแค่หยิบหลอดไฟใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุตอนซื้อหลอดนี้มาวาง หลอดลงไป ปิดบรรจุภัณฑ์ด้วยแถบกาวที่มีอยู่บนบรรจุภัณฑ์อยู่แล้วก็หย่อนตู้ไปรษณีย์ ได้เลย แสตมป์หรือค่าส่งก็ไม่ต้องเสียจุกจิก เพราะบรรจุภัณฑ์นี้ทำเตรียมไว้เป็นแบบจ่ายค่าส่งล่วงหน้าแล้ว โดยร่วมมือกับบริษัทรีไซเคิลที่ชื่อ Waste Management, Inc. ในเท็กซัส ซึ่งให้บริการจัดการของเสียอย่างครบวงจรในทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อทำให้การรีไซเคิลง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในบรรจุภัณฑ์ของ หลอดไฟนี้ใช้หมึกที่ทำจากถั่วเหลืองในการพิมพ์ และถูกออกแบบป้องกันการรั่วไหลของสารปรอทด้วย เทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งกำลังรอการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับการรั่วไหลหรือรั่วซึมของสารปรอท ด้วยการฉาบที่ชื่อ Mercury VaporLok TM technology ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับปรอทได้ทั้งตอนเก็บหลอดไฟในคลังสินค้าและในระหว่างการขนส่ง กล่องบรรจุภัณฑ์นี้ยังออกแบบมาเพื่อหลอดไฟโดยเฉพาะและได้รับการอนุมัติว่า ปลอดภัยเพียงพอในการขนส่งทางไปรษณีย์ของสหรัฐอเมริกา

ที่ผ่านมา รัฐบาลของอเมริกามีการรณรงค์ผลักดันและสนับสนุนให้เปลี่ยนจากการใช้หลอดไฟ แบบเก่ามาเป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ยอดการขายหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ประหยัด พลังงานในตลาดโดยรวมยังเพิ่มจาก 20 กว่าล้านหลอดในปี 2543 เป็น 400 ล้านหลอดในปี 2550 และยังมีการคาดการณ์ว่าจำนวนจะเพิ่มอีกอย่างมากเป็นกว่า 4,000 ล้านหลอดในปี 2555

ถ้าถามว่า การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทำได้อย่างไร ส่วนใหญ่เรามักจะตอบกันว่า ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ให้ใช้หลอดผอม ใช้ตู้เย็นเบอร์ 5 ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ ใช้ไฟอย่างประหยัด ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้ ความพยายามเหล่านี้แม้จะช่วยแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมไม่ได้ครบทุกขั้นตอน แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีและเราควรทำต่อไป

แต่ อีกส่วนที่สำคัญมากคือผู้ผลิตที่สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางโดยการจัด เตรียมและออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงบริการที่มีความพร้อมในการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมลดสารพิษ ส่งเสริมการรีไซเคิลได้ง่ายๆ ไม่ลำบาก เอิร์ทเมทเป็นอีกตัวอย่างที่หวังจะช่วยเป็นอีกแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตนำไป ต่อยอดสร้างสรรค์ดูแลผลิตภัณฑ์ของตนตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำได้อย่างดี

เพราะการเป็นรายแรก อาจไม่สำคัญเท่าความมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่ง ที่ดีขึ้น !!

ที่มา ประชาชาติ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr04010652&sectionid=0221&day=2009-06-01

3 ยุค "การให้" มูลนิธิ ซี.พี. โรงเรียนฝึกผู้นำ ฉบับเจ้าสัวธนินท์



หาก "เวลา" เป็นเครื่องพิสูจน์ "การกระทำ"22 ปีของมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ที่ก่อตั้งโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) อาจยาวนานเพียงพอที่จะพิสูจน์ "การรู้จักให้" ในแบบที่ยั่งยืน !

"สุปรี เบ้าสิงห์สวย" ในฐานะผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท บอกเล่าถึงมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท มีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชนบทด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้าน เกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน

ด้วยความ เชื่อ "คนพัฒนาอาชีพ อาชีพพัฒนาคน" การพัฒนาคนและส่งเสริมอาชีพจึงเป็นยุทธศาสตร์แรกที่มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ใช้ โดยคัดเลือกลูกหลานของเกษตรกรที่มีแววเข้าพัฒนาอาชีพทางการเกษตรที่ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี พร้อมอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อบ่มเพาะต้นกล้าเกษตรกรรุ่นใหม่ให้กลับ มาทำงานในถิ่นฐานบ้านเกิด แม้จะมีผู้ผ่านการฝึกจากศูนย์ไปแล้วกว่า 1,000 คน แต่กลับพบว่ามีคนที่ทำงานด้านเกษตรไม่กี่คนจึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน

พอ มาถึงยุคที่ 2 ในปี 2537 ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตจึงเกิดขึ้น บริษัทส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากธุรกิจในเครืออย่างซีพีเอฟเข้าไปให้ ความรู้แก่เกษตรกรในแต่ละด้านตามความแตกต่างของพื้นที่ ในหลายพื้นที่ ฯลฯ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเสริมความรู้เดิมเพิ่มความรู้ใหม่ เน้นทักษะการบริหารจัดการเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดพลังในการพึ่งพาตนเองและพัฒนาชุมชน

" ตอนนั้นยังมีคนอีกมากมายที่เข้าไม่ถึงวิชาการความรู้ เราจึงส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่บริษัทมีอยู่เข้าไปให้คำปรึกษาแก่ เกษตรกร รวมทั้งหาช่องทางการตลาดและให้เงินทุนดำเนินการ เมื่อมีกำไรแล้วต้องใช้คืน เราต้องการสอนเรื่องของการให้ที่ไม่ใช่การให้เปล่า แต่อยากให้เห็นคุณค่าและมีแรงผลักที่จะหาเงินมาต่อยอด"

ในยุค ปัจจุบันแม้จะประสบความสำเร็จแต่ผลของการทำงานที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดในแง่ พื้นที่ที่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ บทบาทของมูลนิธินับจากนี้จึงก้าวจากที่ปรึกษาสู่การเป็นนักบริหารจัดการที่ จะช่วยจุดประกายและรวบรวมหน่วยงานรัฐบาล เอ็นจีโอ หรือบริษัทเอกชน มาทำงานร่วมกันให้มากที่สุด โดยใช้ชุมชนต้นแบบที่มีอยู่เป็นโมเดลความสำเร็จ

" คิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้วจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ถ้าเปรียบกับพวงมาลัย เราขอเป็นเส้นด้ายที่ยึดโยงดอกไม้หลากสีเข้ามาไว้ด้วยกัน เหมือนหน่วยงานต่างๆ ที่มีศักยภาพและข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามาร่วมกันแล้วจะลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ เราจะเป็นผู้ประสานงานจัดระบบการทำงานให้ โดยไม่ต้องการเครดิต แล้วจะพบว่าผลจากความร่วมมือนั้นจะทำให้เราทำงานได้กว้างขวางขึ้น"

และ ผลจากการทำงานของมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท อีกด้านยังเป็นโรงเรียนฝึกผู้นำชั้นดี เพราะหากดูรายชื่อของคณะกรรมการมูลนิธิแล้ว ล้วนพบแต่ผู้บริหารระดับสูงของ ซี.พี. ไม่ว่าจะเป็นธนากร เสรีบุรี อดิเรก ศรีประทักษ์ ประเสริฐ พุ่งกุมาร ฯลฯ

อาจจะอย่างที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เคยกล่าวไว้ว่า "คนจะเป็นผู้บริหารที่เก่งและดีได้ ต้องเข้าใจสังคมและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น"

ที่มา ประชาชาติ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr03010652&sectionid=0221&day=2009-06-01


ใช้หัวใจแบบ CSR เพื่อสร้างคน (1)

โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย



ผม อยากจะเขียนเรื่องราวของ CSR (corporate social responsibility) ในแง่มุมของการศึกษามาหลายหนแล้ว แต่ก็พบว่ามีการเขียนบทบาทของ CSR กับการศึกษามากพอประมาณ และก็หามุมมองใหม่ๆที่แตกต่างไปจากมุมมองของผู้เขียนอื่นๆ ยาก จึงลองพยายามรวบรวมว่ามุมต่างๆ ของ CSR เกี่ยวกับการศึกษามีอะไรบ้าง และมองมุมที่แตกต่างออกไปนั้นทางด้านใด

บทบาทของ CSR ในทางการศึกษาทั่วๆ ไป พอจะประมวลได้ว่ามี 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. องค์กรเอกชน ทำโครงการ CSR โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา นี่อาจจะเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมากที่สุด และอาจจะเป็นประเด็น CSR ที่นิยมทำกันมากที่สุด

บริษัท BMRS Asia ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม CSR ในปี 2007 พบว่าในกลุ่มผู้สนใจที่จะทำกิจกรรม CSR นั้น

26% เห็นว่ากิจกรรมที่น่าทำที่สุด คือ กิจกรรมการศึกษา

18% เห็นว่าควรทำกิจกรรมเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม

เมื่อ เจาะลึกลงไปก็จะพบว่าองค์กรใหญ่ๆ ในประเทศไทยมักจะเลือกนำเอากิจกรรมการศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของ CSR ในทำนองเดียวกับในต่างประเทศ กิจกรรม CSR จำนวนมากก็มามุ่งเน้นด้านการศึกษากัน ตัวอย่างของกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ โครงการของ Hong Kong Shanghai Bank ในประเทศฟิลิปปินส์ที่สร้างโครงการ "มาอ่านหนังสือกัน" (Read with Me) โดยไปเจาะเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 จากโรงเรียนหนึ่ง แล้วทดลองสร้างโครงการที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่าน โดยมีการประเมินผลนักเรียนก่อนเริ่มโครงการระหว่างโครงการและหลังโครงการ ปรากฏว่านักเรียนมีการปรับปรุงการอ่านดีขึ้นมาก องค์กรจึงขยายโครงการนี้ออกไป โดยให้สาขาของธนาคารเป็นเจ้าภาพเลือกโรงเรียนที่อยู่ใกล้สาขาสอนในโครงการ นี้

บริษัท Texas Instrument ในสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญของการศึกษาด้าน technology

จึง เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับ technology กับชุมชนและกับส่วนงานการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาความสามารถของเยาวชนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลักสูตรพิเศษหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตร Summer Camp Program ในช่วงปิดเทอม เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในวิชาฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้วิชายากๆ พวกนี้ สนุกน่าเรียนและเห็นประโยชน์อย่างจริงจัง

2.CSR กลายเป็นวิชาหรือหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

เมื่อ องค์กรและบริษัทต่างๆ เริ่มสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับ CSR มากขึ้น ก็เริ่มมีคำถามเกี่ยวกับ CSR เกิดขึ้นมากมาย มีการวิเคราะห์ว่ามีทั้ง CSR จริงและ CSR เทียม เริ่มมีการค้นหาว่าใครที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ CSR อย่างลึกซึ้ง สามารถนำ CSR ลงไปบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ ยิ่งองค์กรหรือบริษัทเห็นว่า CSR มีคุณค่ามากและควรจะต้องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำธุรกิจ การค้นหาคนที่มีความรู้ และองค์ความรู้เกี่ยวกับ CSR ก็ยิ่งมีมากขึ้น

สถาบัน การศึกษาหลายแห่งเริ่มตอบสนองความต้องการเหล่านี้อย่างฉับพลัน Harvard Business School บรรลุหลักสูตรเกี่ยวกับ CSR ลงไปในโครงการ Executive Education มีหลักสูตรที่น่าสนใจหลักสูตรหนึ่งที่ชื่อว่า "Corporate Social Responsibility : Strategies to create Business and Social Value" หลักสูตรนี้ครอบคลุมตั้งแต่การวางกลยุทธ์องค์กรที่มี CSR เป็นส่วนสำคัญไปจนถึงการวิเคราะห์ทางด้านการเงินเกี่ยวกับผลประโยชน์และค่า ใช้จ่ายของการทำ CSR ไปจนถึงแนวทางการสร้างจิตสำนึกในองค์กรที่จะทำให้ CSR เป็นส่วนหนึ่งที่สมาชิกทุกคนในองค์กรเข้าใจและนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง

Queen"s School of Business ในประเทศ Canada เป็นอีกตัวอย่างที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตร CSR ให้กับโปรแกรม MBA ของคณะโดยแฝงแนวคิดของ CSR ลงไปในหลักสูตรเดิม เช่น หลักสูตรการตลาด หลักสูตรเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ การสร้างธุรกิจข้ามชาติ การสร้าง brand และการสร้างผู้นำทางธุรกิจ สำหรับประเทศไทยเองก็เริ่มมีการเรียกร้องให้มีหลักสูตร CSR ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจ หลายสถาบันการศึกษาเริ่มให้ความสนใจและได้บรรจุแนวคิดเกี่ยวกับ CSR ลงในหลักสูตรแล้ว แต่เดิมเรามีเพียงหลักสูตรที่เรียกว่า Business Ethics หรือจรรยาธรรมในการทำธุรกิจ แต่แนวคิด CSR ในปัจจุบันไปไกลกว่าแค่เพียงจรรยาธรรม และสมควรอย่างยิ่งที่จะกลายเป็นหลักสูตรหลักในการเรียนการสอนวิชาธุรกิจ

ที่มา ประชาชาติ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr02010652&sectionid=0221&day=2009-06-01

7 เคล็ดลับ จูนเครื่อง CSR คว้า "โอกาส" ใน "วิกฤต"




"โอกาส" นั้นเกิดขึ้นเสมอกลาง "วิกฤต" สุดแท้แต่ใครจะมองเห็น

แนว คิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ก็เช่นกัน ในขณะที่ผู้บริหารจำนวนหนึ่งมองว่าเป็นภาระ เป็นต้นทุนที่องค์กรต้องจ่าย ในเวลาเดียวกันหลายคนมองว่านี่คือ "โอกาส" ครั้งสำคัญ

ความเชื่อของผู้บริหารองค์กรในกลุ่มหลังยังเป็น "ความเชื่อ" ที่ครอบคลุมทั้งในระดับบริษัทข้ามชาติมาจนกระทั่งองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก พันธุ์ไทย

ทำไมพวกเขาจึงเชื่อเช่นนั้น "ประชาชาติธุรกิจ" รวบรวมความคิด ของผู้บริหารที่มองเห็นพื้นที่แห่งโอกาสที่ว่า ผ่าน 7 เคล็ดลับที่จะช่วยจูนเครื่อง CSR องค์กรให้สามารถคว้า "โอกาส" ใน "วิกฤต" ที่กำลังเกิดขึ้น

1.เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อ CSR

สิ่ง ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอโทรทัศน์ในไทยอาจจะเบี่ยงเบนให้กิจกรรมเพื่อสังคมกลายเป็นหนึ่งใน เรื่องที่องค์กรธุรกิจในบ้านเราทุกวันนี้เรียกสิ่งเหล่านั้นว่า CSR แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะหากจะมอง CSR ในมุมของการสร้าง "โอกาส" ให้กับองค์กร ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ ในฐานะกูรูด้าน CSR "อเล็กซ์ มาโวร" ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท โซเชียล อิมแพ็ค เวนเจอร์ เอเชีย จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้าน CSR บอกไว้ชัดเจนว่า "ถ้าเรามอง CSR ในมุมมองแบบวิน-วิน ธุรกิจก็ได้ประโยชน์และองค์กรก็ได้ประโยชน์ ต้องย้อนกลับไปถาม ตัวเองก่อนว่า เรามอง CSR แบบใด เวลาเราพูดถึงโอกาสที่จะได้จากการทำ CSR คงไม่ได้พูดถึงการคืนกำไรให้สังคมอีกต่อไป สิ่งที่ธุรกิจต้องทำคือ

การ บริหารจัดการโดยสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (steakholders engagement) และทำในสิ่งที่จะลด ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และคิดถึงการก้าวเป็นบริษัทที่ยั่งยืน โดยทำให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ ภายใต้โลกที่มีทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด" ซึ่งถือเป็นความคิดพื้นฐาน

2.คิดนอกกรอบ

อย่าง ไรก็ตามไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการทำ CSR ในแง่มุมนี้ซึ่งต้องใช้เวลาและการ "คิดนอกกรอบ" (think out of the box) เราอาจจะไม่ได้คิดเพียงจะปลูกต้นไม้กี่ต้น จะทำกิจกรรมอะไรกับเด็ก แต่ควรกลับไปมอง "คุณค่าหลัก" (core value) ขององค์กร และใส่ความรับผิดชอบลงไปในนั้น โดยคิดถึงทุกกระบวนการของความรับผิดชอบในธุรกิจ เช่นเดียวกับกรณีศึกษา CSR สุดคลาสสิกอย่าง "อินเตอร์เฟด" ซึ่งเป็นบริษัทผลิตพรม ที่ใช้ความพยายามกว่า 15 ปี ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจจากธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายพรมมาเป็นธุรกิจที่บริการ "ให้เช่า" พรม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันไม่เพียงแต่เป็นผู้นำตลาดยังสามารถนำพรมที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่ ได้ถึง 80% ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่จะหาโอกาสจากวิกฤตนี้ไม่เพียงแต่คิดว่าจะคืนกำไรให้ กับสังคมอย่างไร แต่ควรมองว่าจะปรับปรุงคุณค่าหลักขององค์กรอย่างไรมากกว่า

3.คิดอย่างสร้างสรรค์

เรื่อง เล่าของ "ยูนิลีเวอร์" ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นตัวอย่างของการมองไปที่ความรับผิดชอบในคุณค่าหลัก ด้วยการคิดอย่างสร้างสรรค์ แม้เราอาจจะเคยชินกับสารพัดโครงการเพื่อสังคมที่ "ยูนิลีเวอร์" ทำ แต่สิ่งที่ "Hein Swinkels" รองประธานด้านการเงินและไอที กลุ่มยูนิลีเวอร์ไทย เล่าให้ฟังมองให้เห็นว่า นั่นเป็นเพียงบางส่วน แต่การสร้างสรรค์ "ความรับผิดชอบ" ซึ่ง "ยูนิลีเวอร์" เรียกว่า corporate responsibility นั้นรวมตั้งแต่ห่วงใยคนที่ทำงาน ดูแลกระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบตั้งแต่ภายในองค์กรไปสู่สังคมภายนอก ด้วยการสร้างสรรค์ใน 3 เรื่อง 1.สร้างความตระหนัก (create awareness) เช่น กิจกรรมเล็กๆ ที่ทำในองค์กรอย่างธนาคารขยะ 2.สร้างสรรค์ การมีส่วนร่วม และ 3.สร้างพันธมิตร (create partnership) เขาบอกด้วยว่า "CSR ไม่ได้มีอะไรที่พิเศษมากไปกว่าการสร้างความรู้สึกที่ดีให้พนักงานรู้สึกว่า เขาเป็นเจ้าของและการที่บริษัทเดินออกจากประตูบ้านตัวเองไปคุยกับผู้คน"

4.ก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

แม้ จะเป็นองค์การข้ามชาติ แต่ "วิกฤต" ก็คือ "วิกฤต" การลดงบประมาณกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจึงเป็นสิ่งที่ "ยูนิลีเวอร์" ทำ แต่การแสดงความรับผิดชอบภายในองค์กรก็ยังคงดำรงอยู่ โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะ ของเสียอย่างดีที่สุด พร้อมๆ กับความพยายามในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ลดการใช้น้ำและพลังงานมากที่สุด ในขณะเดียวกันสำหรับวิธีคิดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อมาทำโครงการเพื่อสังคม นั้นน่าสนใจ โดยความพยายามที่จะเชื่อมการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบจากคนภายในองค์กรสู่ ภายนอก โดยใช้งบประมาณที่เคยสูญเสียไปกับสิ่งที่ต้องเสียไประหว่างการผลิตมาใช้ ดำเนินการโครงการเพื่อสังคม ซึ่งต่อปีเป็นเม็ดเงินนับร้อยล้านบาท ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิผล ขณะเดียวกันยังสร้างคุณค่าให้กับสังคมไปพร้อมๆ กัน

5.ตั้งเป้าหมายให้ชัด

และ ยังมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตั้งเป้าใน การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศ ที่มีเป้าหมายสูงสุดถึง 400 ล้านตันในอนาคต โดยใช้วิธีคิด "รอยเท้านิเวศ" หรือ "คาร์บอนฟุตปรินต์" (carbon footprint) ซึ่งเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการผลิต

6.ทำจากเรื่องที่ง่ายที่สุด

ใช่ ว่าเฉพาะองค์กรข้ามชาติและ "บิ๊กเฟิร์ม" เท่านั้นจะดำเนินการเรื่อง CSR ได้ เอาเข้าจริงบริษัทเอสเอ็มอีสัญชาติไทยอย่าง "เอเชีย พรีซีชั่น" บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งแม้กำลังเผชิญมรสุมจากเศรษฐกิจขาลงใน อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า CSR จะเกิดขึ้นไม่ได้

" อภิชาติ การุณกรสกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียพรีซิชั่น บอกว่า "แม้ว่าเรามองว่า CSR นั้นเป็นเรื่องที่มาก กว่าการให้ แต่การให้หรือการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดที่จะปลูกความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับพนักงานใน องค์กร ก่อนพัฒนามาเป็นการให้ด้วยทักษะของพนักงาน รวมทั้งการบริจาคความดี ที่พนักงานทุกคนที่ทำดี เช่น งดเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกซื้อหวย ฯลฯ เมื่อมาลงชื่อ บริษัทก็จะบริจาคเงิน 20 บาทต่อหนึ่งลายเซ็นเพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป" ซึ่งเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมแบบง่ายๆ ด้วยความเชื่อที่ว่า การทำให้คน (ในองค์กร) เป็นคนดีถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ดี

7.เพียงผู้บริหารเปิดใจรับฟัง

การ ให้ความสำคัญกับพนักงานดูจะใช้การได้ดียิ่งในภาวะวิกฤต อย่างที่ "มาร์ติน่า สแปรงเกอร์ส" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเดอร์ติกส์ ออฟ คอนเวอร์เซชั่น เอสเอ็มอีอีกรายที่เล่าประสบการณ์ว่า ในภาวะเช่นนี้ผู้บริหารเองก็อาจจะอยู่ในภาวะจิตตกจากผลกระทบในวิกฤตที่เกิด ขึ้นเช่นเดียวกับเรา แต่ในที่สุดเราก็เปลี่ยนวิธีคิดและหันกลับไปมองที่พนักงานที่มีอยู่กว่า 120 คน ว่าไม่เฉพาะเรา พนักงานเองก็มีปัญหาของเขา จึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญและเปลี่ยนแนวคิดมาดูแลวิถีชีวิตพนักงาน ด้วยเริ่มจากการรับฟัง ถึงวันนี้ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนมีปัญหาอะไรเราก็เล่าสู่กันฟัง จากองค์กรที่จิตตกทั้งพนักงานและผู้บริหารก็กลายมาเป็น "องค์กรที่เข้มแข็ง" ขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ จากการเปิดใจและรับฟัง

บางที เพียงแค่เปลี่ยนมุมคิด บางเรื่องที่ว่ายากก็อาจกลายเป็นเรื่องง่ายอย่างเหลือเชื่อ สำหรับองค์กรที่เริ่มต้นแม้อาจจะยังไปไม่ถึงการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ แต่โอกาสเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบย่อมสะสมและกลายมาเป็นพลังเข้มแข็งในอนาคตของ องค์กรได้ ขอเพียงเชื่อและลงมือทำ !!

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr01010652&sectionid=0221&day=2009-06-01

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

CSR Day @ เกียรตินาคิน

" จะเห็นว่ามีธุรกิจที่ทำซีเอสอาร์สู่ภายนอกจน ได้รับรางวัลมากมาย แต่กลับพบว่าพนักงานไม่ได้มีความรู้สึกภาคภูมิใจกับรางวัลนั้นเลย ไม่ใช่เพราะว่า พนักงานขาดความรู้เรื่องซีเอสอาร์ แต่เป็นเพราะขาดพื้นที่ที่พนักงานจะเข้ามามีส่วนร่วม" ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์กล่าว

กิจกรรมวันซีเอสอาร์ หรือ CSR Day ในสถานประกอบการจึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องของความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และสร้างให้เกิดช่องทางของการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ธนาคารเกียรตินา คิน จำกัด (มหาชน) เป็นสถานประกอบการแรกที่คิกออฟกิจกรรม CSR DAY ตลอดเวลา 3 ชั่วโมงของบ่ายวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 ที่ชั้น 20 อาคารเค ทาวเวอร์ พนักงานของธนาคารเกียรตินาคินทั้งสาขาในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดกว่า 25 คนจากหลายส่วนงานร่วมฟังความรู้จากวิทยากรอย่างตั้งใจเพื่อใช้เป็นฐานความ รู้ในช่วงที่ให้รวมกลุ่มเพื่อเสนอประเด็นซีเอสอาร์ขององค์กร

เมื่อ รวมกลุ่มกันความคิดในการเสนอประเด็นของแต่ละคนก็พรั่งพรูเป็นโครงการปลูก ต้นไม้ 1 คน 1 ต้น ที่เป็นวิธีดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายๆ ที่ให้พนักงานทุกคนร่วมดูแลต้นไม้คนละ 1 ต้น หรือโครงการให้สิทธิพิเศษสำหรับพนักงานในการทำประกันภัยรถยนต์ที่นำไปใช้ใน งานของบริษัท โครงการส่งต่อความรู้ที่นำผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ ของบริษัทเข้ามาอบรมกันเองเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณของบริษัท หรือจะเป็นโครงการที่นำหมอดูชื่อดังมาให้ความรู้กับลูกค้าที่ทำธุรกิจ ฯลฯ หลังจากออกมานำเสนอโครงการให้ทุกคนทราบโดยมีผู้วิจารณ์โครงการของแต่ละกลุ่ม แล้ว โครงการปลูกต้นไม้ 1 คน 1 ต้นได้รับการโหวตสูงสุดในประเด็นที่เร่งด่วนที่ควรทำมากที่สุด

หลัง จากจบการอบรม ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า "เริ่มโครงการครั้งแรกวันนี้ก็เห็นถึงความตื่นตัวของผู้เข้าร่วมอบรมที่แข่ง กันเสนอประเด็นซีเอสอาร์อย่างชัดเจนและมีความเป็นไปได้ และสะท้อนความเป็นธนาคารเกียรตินาคินได้อย่างดีว่า การทำงานที่นี่ไม่ได้มองที่ตัวเงินหรือสิ่งที่จะได้รับอย่างเดียว แต่มองไปถึงกิจกรรมเชิงผลกระทบที่ดีในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สังคม สิ่งแวดล้อม เมื่อพนักงานและองค์กรมีเป้าหมายร่วมกัน การจะผลักดันเรื่องใดๆ ต่อไปจากนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งหลังจากนี้เราจะมีการส่งผลสรุปให้อีกครั้งหนึ่ง"

"ฐิตินันท์ วัธนเวคิน" ประธานสายธุรกิจเงินฝากและการตลาด ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับการสร้างค่านิยมให้พนักงานร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าการดำเนินกิจกรรม CSR จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับการขับเคลื่อนอย่างจริงจังจากจิตสำนึก ของ พนักงานทุกคน การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นการปรับมุมมองใหม่ที่จะปลูกฝังให้ทุกคนมีส่วนร่วม รับผิดชอบต่อสังคมได้ทุกๆ วัน ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ของคนด้วยความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ต่อลูกค้า ต่อองค์กร รวมถึงชุมชนและสังคม

แม้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมซีเอส อาร์เดย์ครั้งนี้จะเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ ที่เทียบกับจำนวนพนักงานกว่า 2,000 คน ของธนาคารเกียรตินาคิน แต่หลังจากกลับไปทำงานทั้ง 25 คนนี้ก็จะกลายเป็นตัวแทนของธนาคารที่เรียกว่าผู้แทนด้านกิจกรรม CSR หรือ "KK CSR Agents" เข้าไปจุดประกายการทำซีเอสอาร์ที่เริ่มได้ง่ายๆ จากตนเองให้กับเพื่อนในองค์กร และเป็นผู้นำที่จะขับเคลื่อนงานซีเอสอาร์ให้กับองค์กรในอนาคต เพราะ CSR ในองค์กรจะสำเร็จได้ ต้องเกิดจากทุกคนในองค์กรที่ต้องมีสำนึกของความรับผิดชอบในทุกวัน

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


CSR Club รวมพลองค์กร ทำดี

CSR Club รวมพลองค์กร ทำดี สร้างเครือข่าย-ยกระดับความรับผิดชอบ บจ.

" ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีความตื่นตัวกับแนวคิดเรื่องความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมาก เพียงแต่ยังอาจไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น และยังมีช่องว่างที่ห่างกันมากระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก" เพ็ญศรี สุธีรศาสนต์ ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) กล่าวถึงเหตุผลและทำให้เป็นที่มาของความพยายามในการก่อตั้ง "TLCA CSR Club" ที่มีสมาคมบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ประสานงานและได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน ธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยคาดหวัง ว่า "TLCA CSR Club" จะกลายเป็นศูนย์รวมของผู้ที่ทำงานขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ของบริษัทจดทะเบียน และกลายเป็นชุมทางความคิดและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรระหว่างกัน โดยมีปลายทางไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบริษัทจด ทะเบียนในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมที่นำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

โดยต้องการส่งเสริมให้ความรับผิดชอบเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร

ด้วย ความเชื่อที่ว่าไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่า "ผู้ปฏิบัติงาน" ในองค์กร การก่อตั้ง "TLCA CSR Club" จึงเน้นไปที่ "นักปฏิบัติ" ขององค์กรผู้นำด้าน CSR

โดยการประชุมนัดแรกในการก่อตั้ง "TLCA CSR Club เมื่อสัปดาห์ก่อนจึงระดมพลคนทำงาน CSR จาก 13 องค์กร ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.ซีเอ็ด ยูเคชั่น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.บ้านปู ปูนซิเมนต์ไทย ปูนซีเมนต์นครหลวง บมจ.การไฟฟ้าฯ บมจ.แพรนด้า จิวเวลรี่ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เพื่อร่วมหารือแนวทางในการเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป

"บทเรียนจากการขับ เคลื่อนเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาของสมาคม เช่น การบริหารจัดการความเสี่ยง ฯลฯ เราพบว่าวิธีการที่ดีที่สุดคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทำงานในด้าน นั้นจริงๆ ที่ทำงานประสบความสำเร็จมาแล้ว เราไม่ต้องพูดถึงภาพใหญ่มาก แต่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และจับต้องได้ โดยมีองค์กรที่มีประสบการณ์และทำแล้วเห็นผลมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์"

ใน การประชุมนัดแรกที่ผ่านมา นอกจากจะพูดคุยกันเรื่องหลักการในการก่อตั้งแล้ว ยังมีหลายโครงการที่พร้อมจะเดินหน้าได้ในทันที อาทิ CSR Sharing ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนที่สนใจ ไปเยี่ยมการทำงานในองค์กรและลงพื้นที่จริง เพราะไม่เพียงจะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานภาคปฏิบัติ ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ทำงานอีกด้วย โดยมีการนัดประชุมกันทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน และในครั้งหน้าจะมีการเลือกตั้งประธานและตำแหน่งต่างๆ เพื่อเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป

"คลับนี้จะเปิดกว้างให้กับบริษัทจด ทะเบียนที่สนใจเข้ามาเป็นสมาชิก เราไม่ได้คาดหวังว่าจะมีสมาชิกมากๆ แต่เราต้องการเริ่มจากคนที่ชื่อคล้ายๆ กันกลุ่มเล็กๆ โดยในปีแรกอาจจะมี 20-30 องค์กร แต่สิ่งสำคัญที่เราอยากให้เกิดคือการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ซึ่งสมาคมเป็นเพียงผู้ประสานงาน ส่วนแนวคิดในการทำงานขึ้นอยู่กับบริษัทที่เป็นสมาชิกมองว่าจะเดินหน้าต่อไป อย่างไร" เพ็ญศรีกล่าว

และยอมรับว่า แม้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในวันนี้ยังมีความแตกต่างทางความ คิด แต่เป็นความแตกต่างที่ไม่ได้แตกแยก เพราะในท้ายที่สุดหากตั้งอยู่บนความเชื่อแบบเดียวกันว่าการรับผิดชอบต่อผู้ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็เป็นพื้นฐานสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

CSR ก็เป็นเพียงการทบทวนบางสิ่งบางอย่างที่ผู้บริหารและองค์กรธุรกิจอาจจะหลงลืม !!

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (จบ)

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

บริษัท ที่ทำ CSR สามารถเข้าร่วมในการแก้โดยใช้ CSR เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดผลดีแก่ภาพลักษณ์บริษัท พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และสังคมโดยรวม

แน่นอนผู้ที่ทำ CSR จะต้องใช้ทักษะในการมองวิกฤตด้วยความเข้าใจ และมองหาช่องทางที่จะแปลงมาเป็นโอกาส ซึ่งการกระทำนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่ทำงาน CSR และฝ่ายบริหารของบริษัทที่จะจัดวิเคราะห์วางแผนตรงนี้

ผู้ที่ รู้จักหมวก 6 ใบในการคิดของ Edward De Bono สามารถไล่ประเภทความคิดแต่ละแบบทั้งใบ เพื่อให้ได้แนวทางในการเชื่อมโยง CSR และการตอบโต้วิกฤต ไม่ว่าจะหมวกสีขาวที่ใช้ในการพิจารณาข้อมูลด้วยความเป็นกลาง หมวกสีแดงของไหวพริบ และการมองแง่มุมของสถานการณ์ หมวกสีดำที่ตั้งข้อสงสัย ไว้ก่อนในแง่มุมที่อาจจะมีความเสี่ยง หมวกสีเหลืองที่มองโลกในแง่ดี และมี ความหวังในแนวทางที่จะมีการคลี่คลาย หมวกสีเขียวแห่งความคิดริเริ่ม หรือหมวก สีฟ้าแห่งการกำกับระบบและกระบวนการให้เกิดผล

เครื่องมือ การวางแผนที่สำคัญที่คนทั่วไปมักจะใช้กันอยู่แล้วระดับหนึ่ง คือการวิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน ภายใน และโอกาส ข้อจำกัด ภายนอก

ตาม หลักของ SWOT (strengths, weaknesses, opportunities and threats) แต่แทนที่จะใช้โจทย์ เช่น เป้าหมายการตลาด เราใช้ SWOT จับประเด็นด้านจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท ซึ่งรวมถึงจุดแข็งจุดอ่อนของงาน CSR ที่ทำอยู่ และโอกาส/ข้อจำกัดในการทำงานในวิกฤตแต่ละเรื่อง

ผม ได้ลองตั้งตุ๊กตา คำถามง่ายๆ ที่อาจจะใช้ใน SWOT โดยที่แต่ละคำถามอาจจะตอบเป็นจุดแข็ง หรือจุดอ่อนก็ได้ หรือเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลดี หรือเป็นข้อจำกัดที่ภายนอกองค์กร (ดูตารางประกอบ)

คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ SWOT มาจากความเห็นของทีมงานที่ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และไม่ควรลืมว่าทุกประเด็นที่เป็นจุดอ่อน หรือเป็นข้อจำกัด เราสามารถวางแผนแก้ไขได้

ดังนั้นเครื่องมือนี้ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือก และสามารถช่วยคนในการทำงานได้

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


สร้าง "คุณค่า" เหนือ "คุณค่า" Creating Shared Value Forum



ไม เคิล อี. พอตเตอร์ กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขันและเป็นผู้นำกฎการแข่งขันมาเชื่อมโยงกับแนวคิด ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่เคยเสนอแนวคิด triple bottom line ที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่ความยั่งยืนย่อมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

แต่ความคิดย่อมเป็นแค่ความคิด เมื่อมีสิ่งใหม่มาลบล้าง

ปลาย เดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา บนเวทีการประชุมอภิปรายระดับโลก ที่เนสท์เล่ร่วมกับคณะทูตแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประจำสำนักงานสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ได้จัดการประชุมอภิปรายระดับโลกเพื่อระดมความคิดเรื่องการสร้างสรรค์คุณค่า เพิ่มร่วมกันให้กับสังคม Creating Shared Value Forum

"พอตเตอร์" ยอมรับว่า "triple bottom line อาจจะเป็นได้แค่แรงบันดาลใจ แต่ creating shared value (CSV) กำลังพยายามสร้างวิธีการที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มให้แก่ สังคมและผู้ถือหุ้นได้จริง"

creating shared value หรือการสร้างสรรค์ คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม ซึ่งเป็นมุมมองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ "เนสท์เล่" ซึ่งพัฒนามาจากรากฐานการดำเนินธุรกิจของตัวเองและเผยแพร่แนวคิดที่ว่านี้ อย่างเป็นทางการเมื่อ 2 ปีก่อน โดยไม่ได้มองแค่การบริจาค กิจกรรมเสริม แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน ครอบครัว และคนในสังคมไว้ในกลยุทธ์หลัก ในการดำเนินธุรกิจ

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ "พอตเตอร์" ให้ความเห็นว่า "เป็นมากกว่า CSR"

เขา อธิบายไว้ว่า "แนวคิด CSV จะก้าวข้ามไปอีกขั้น คือการที่องค์กรธุรกิจมุ่งมั่นดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้"

"ตัวอย่างเช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา ได้จัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร วิธีการคิดง่ายๆ ในการจัดซื้อ ก็คือให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ต่ำที่สุด ซึ่งสำหรับแนวคิดแบบ CSV จะบอกว่า ก้าวข้ามไปอีกขั้น ลองหันมาถามว่า เราจะสามารถทำงานร่วมกันกับเกษตรกรเหล่านั้นได้อย่างไร ช่วยเหลือพวกเขาปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มพูนผลิตผล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ"

CSV เป็นการพยายามหาพื้นที่แห่งความสำเร็จร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม เช่นเดียวกับ CSV forum

" ฟอรั่มนี้มีความน่าสนใจในแง่ของการเปลี่ยนบทบาทของคนที่เคยอยู่คนละฝั่ง อย่างธุรกิจเอ็นจีโอ ฯลฯ ให้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น เพราะยิ่งวิกฤต ปัญหายิ่ง ซับซ้อน เราต้องการแก้ปัญหาเร็วขึ้น เปลี่ยนบทบาท โดย

เฉพาะ ธุรกิจต้องมีความเป็นผู้ร้ายน้อยลง เอ็นจีโอเองก็อาจจะต้องเปลี่ยน "นภดล ศิวะบุตร" ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าว

บนเวที CSV Forum ที่จัดขึ้นไม่เพียงมีผู้นำทางความคิด เช่น ไมเคิล อี. พอตเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังมีผู้นำทางความคิดนักพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก อย่าง ซี.เค. ปราฮาลัด แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน น.พ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และโภชนาการระดับแนวหน้าของไทย และผู้นำความคิดรวม 13 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับ สังคม ของเนสท์เล่ (Nestle Creating Shared Value Advisory Board) มาถกกันถึงทางออกของปัญหาที่มองว่าจะสร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจในอนาคต

เพราะ การสร้างคุณค่าต่อสาธารณะเพื่อให้เกิดการพัฒนาโภชนาการที่ดี การปกป้องเรื่องน้ำและการผลิตอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงและเป?นหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะ ยาว ในฐานะผู้ผลิตอาหาร

และเป็นการขยายการทำงานในทางลึกและทางกว้าง ที่ตอกย้ำความเชื่อที่ว่า หากสังคมวิกฤต ย่อมส่งผลกระทบถึงธุรกิจอย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงการสร้างคุณค่าให้สังคมจึงเป็นคุณค่าเหนือคุณค่า กว่าผลลัพธ์และประโยชน์ตื้นเขินเพียงสร้างภาพลักษณ์

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

22 องค์กร รับผิดชอบยอดเยี่ยม อย. Quality Award 2009

ข่าว การเสียชีวิตของเด็ก 4 ราย และล้มป่วยกว่า 60,000 คน ในประเทศจีนเมื่อปลายปีที่แล้วจากการบริโภคนมที่มีการปนเปื้อนของสารเมลามีน เป็นบทเรียนที่สะท้อนถึงความ รับผิดชอบของผู้ผลิตที่มีต่อผู้บริโภคได้ อย่างชัดเจน

ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพและ ความปลอดภัยของผู้ผลิต จึงกลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ซึ่งทำงานโดยตรงในเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคหันมากระตุ้นผู้ผลิตและจำหน่าย สินค้าในความควบคุมของ อย.ผ่านการประกาศ "รางวัล อย. Quality Award 2009" ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเป็นครั้ง แรกในไทย จากเดิมที่ทำเพียงด้านการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด

นายแพทย์ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า "เนื่องจาก อย.มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ผลิตสินค้าตั้งแต่กระบวนการการผลิตจนกระทั่งสินค้า ออกสู่ตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์รวมไปถึงสุขภาวะของคนงาน แต่ละปีเราลงโทษผู้ประกอบการที่ทำผิดไปแล้วกว่า 1 พันราย เมื่อทำแง่ลบแล้วก็ทำแง่บวกบ้าง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนทำดีอยู่แล้วให้ทำดีต่อไป ขณะที่ผู้ผลิตในภาพรวมจะอยากพัฒนาตามเพราะรางวัลมีผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท"

ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล "อย. Quality Award 2009" ที่พึ่งประกาศผลไปแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์ชุมชน มีผู้ผ่านการคัดเลือก 22 องค์กร

ได้แก่ 1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายสี จ.จันทบุรี 2.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร 3.บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์เฮลท์แคร์ จำกัด 4.บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 5.บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 6.บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 7.บริษัท โชควิวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด ผู้ผลิตและ ส่งออกอาหารแช่แข็ง 8.บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด 9.บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตสินค้ามาม่า 10.บริษัท ไบรด์ บิวตี้ แคร์ คอสเมติก จำกัด ผู้ผลิต ก.ย.15

11.บริษัท ไบโอแลป จำกัด ผู้ผลิตยา 12.บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็น จำกัด ผู้ผลิตแคปซูลและยา 13.บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค 14.บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง 15.บริษัท โรเดีย ไทย อินดัสตรีส์ จำกัด ผู้ผลิตสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค 16.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด 17.บริษัท วันไทยอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตยำยำ, จัมโบ้ 18.บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด ผู้ผลิตถุงมือแพทย์ 13.บริษัท สุรพลนิชิเรฟูดส์ จำกัด 20.บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออชีววัตถุ จำกัด 21.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องสำอาง BSC และ 22.บริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

สำหรับเกณฑ์ ในการพิจารณาการมองรางวัลครั้งนี้ พิจารณาจากองค์กรที่มีคะแนนมาตรฐาน GMP ระบบประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยสูงสุดและคงมาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภครองรับและไม่เคยถูกลงโทษ ซึ่ง อย.ถือเป็นความรับผิดชอบ หลักของ "ผู้ผลิต"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05180552&day=2009-05-18&sectionid=0221


จากคำครู

งาน นี้ บินหลาและจุ้ยถูกผู้ต้องขังกว่า 20 ชีวิต ยกย่องให้เป็น "ครู" ของชีวิต และไม่เพียงเขาทั้งสองจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ยังได้รับประสบการณ์และข้อคิดใหม่ๆ จากโครงการนี้มากมาย

"ผมไม่ เคยเข้ามาอยู่ในสถานที่ที่ถูกตีกรอบแบบนี้ ได้เห็นทั้งความทุกข์และความสุขในตาของผู้ต้องขังเหล่านั้น ได้รับรู้ความรู้สึกของคนที่เป็นแม่และความรู้สึกของลูกกับการอยู่ในสถานที่ ที่ซึ่งไร้อิสรภาพบ่งบอกอยู่ภายในแววตาของเขา และสิ่งดีๆ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ ทำให้เราเรียนรู้ว่า คนเรามักจะมีเรื่องราวดีๆ อยู่ในตนเอง แต่ปัญหาคือไม่สามารถจะถ่ายทอดออกมาได้ การอบรมครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้สิ่งที่เขาต้องการสื่อออกมาเป็นที่รับรู้ของ คนอื่น และจะพบ ความจริงว่าพวกเขามีความดีอยู่ในก้นบึ้งของใจ"

บินหลา สันกาลาคีรี

นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2548

" จากงานนี้ทำให้กลับมามองตนเองว่า เรารู้แล้วว่า การทำบุญเป็นอย่างนี้เอง วิทยาทาน คือการให้ความรู้กับคน นั้นมีค่า เราสอนเขาเรื่องการเขียนชีวิต เห็นได้จากสถิติที่มีอยู่ คนที่ผ่านปัญหาใดๆ มาในชีวิตก็มักจะกลับไปประสบปัญหาเดิม ผู้ต้องขังก็จะกลับเข้ามาในห้องขังอีกครั้งเป็นจำนวนมาก อาจเป็นเพราะว่าเขาเขียนชีวิตไม่ได้ เขาเลยวนอยู่กับสิ่งเดิมๆ ผมคิดว่าถ้าเขาเขียนชีวิตเป็น ก็น่าจะเขียนชีวิตไปสู่สิ่งที่งามที่ดี ที่ชอบได้ ผมเชื่ออย่างนั้น"

ศุ บุญเลี้ยง

นักร้อง-นักเขียน


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



เปิดประตูจินตนาการ นำผู้ต้องขังหญิงสู่เส้นทาง นักเขียน


" แม้จะเป็นผู้ต้องขัง แต่สิ่งที่ไม่ถูกกักขังเลยคือจินตนาการและความคิดต่างๆ หากใครมีความคิดที่ดีและมุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้าแล้ว เชื่อว่าประสบการณ์ที่มีอยู่จะทำให้สามารถเป็นนักเขียนที่ดีได้ใน วันข้างหน้า" เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวในพิธีปิด โครงการ "เปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียน" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน-1 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา

และ เป็นก้าวต่อจากความสำเร็จของ โครงการมติชน-เอสซีจี เปอร์เปอร์ จุดประกายปัญญา "Young Writer Camp" ในปีที่ผ่านมา ที่จัดขึ้นเพื่ออบรมเทคนิคการเขียนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ในปีนี้บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์นำแนวคิดเดียวกันมาต่อยอดในโครงการ "เปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียน" เพียงแต่ครั้งนี้นักเขียนที่ถูกปลุกปั้นนั้นไม่เด็กวัยใส แต่เป็นผู้ต้องขังหญิงจากทั่วประเทศที่ไม่ได้ถูกจองจำความคิดด้วยเครื่อง พันธนาการใดๆ เหมือนกับร่างกาย

หลังจากเปิดตัวโครงการ มีผู้ต้องขังหญิงสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 93 คน และมีผู้ผ่านการคัดเลือก 20 คนที่เข้าสู่การ อบรมเวิร์กช็อปการเขียนกับวิทยากรนักเขียนชื่อดังอย่าง บินหลา สันกาลาคีรี และ ศุ บุญเลี้ยง เมื่อได้รับความรู้เต็มที่ ทั้ง 20 คนก็ต้องแสดงผลงานเขียนออกมาใหม่อีก 1 เรื่อง เพื่อหาผู้ชนะมารับเกียรติบัตรและเงินรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจ ส่วนงานเขียนที่ดีเด่นจะถูกส่งให้สำนักพิมพ์มติชนพิจารณาเพื่อรวมเล่มจัด พิมพ์ต่อไป

"ชลิต กิติญาณทรัพย์" รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มติชนมีโครงการกับกรมราชทัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อย่างการสนับสนุนห้องสมุดพร้อมปัญญาให้กับทัณฑสถานกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้กับ ผู้ต้องขัง และหลังจากได้ทราบว่าผู้ต้องขังมีความสามารถในการเขียนหนังสือจึงนำแนวคิด ของโครงการ Young Writer Camp เข้ามาใช้ จึงหวังว่าโครงการเปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียนจะสร้างโอกาสและให้กำลังใจกับ ผู้ต้องขังได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคต

"เราไม่รู้ได้ว่า วันข้างหน้าผู้ต้องขังหญิง ที่ร่วมโครงการครั้งนี้จะออกไปเป็นนักเขียนหรือไม่ แต่บรรยากาศระหว่างทำกิจกรรมในโครงการที่เต็มไปด้วยความรู้ ความสุข และความภาคภูมิใจทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นความสำเร็จที่เราสัมผัสได้ เร็วๆ นี้จะมี โครงการต่อเนื่องให้กับผู้ต้องขังแน่นอน"ชลิตกล่าว

ตลอดระยะ เวลา 3 วันของการอบรม ในชายคาของทัณฑสถานหญิงกลาง บรรยากาศที่คละเคล้าความสุข สนุกสนานที่ชวนให้เกิดแรงบันดาลใจก็เกิดขึ้น วิทยากรทั้ง 2 คือ บินหลาและจุ้ย ร่วมกันสอนถึงวิธีการสังเกตสิ่งรอบตัวให้กับผู้ต้องขังหญิงทั้ง 20 คน เพื่อเรียบเรียงกระบวนการคิดก่อนเขียนรวมถึงแนะนำการใช้ภาษาและเทคนิคในการ เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย หรือวิธีการเขียนใบแบบอื่นก่อนที่จะถึงเวลาลงมือสร้างงานเขียนแล้วส่งผลงาน ให้วิทยากรทั้ง 2 ได้วิจารณ์กัน

หลังจากประกาศผล ผู้ต้องขังหญิงที่ได้รับรางวัล ร่วมกันสะท้อนความรู้สึกถึงโครงการนี้ว่า หลังจากผ่านการอบรมทั้งการเขียนและวิธีคิดของพวกเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

" แม้ว่าการติดคุกจะไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนา แต่วันนี้รู้สึกโชคดีที่ได้มาติดคุก ไม่คิดว่าสังคมจะให้โอกาสขนาดนี้ จากนี้ตั้งใจว่าจะเป็นนักอ่านที่ดี มองโลกให้สดใส และจะใช้หนังสือเป็นครูสอนชีวิต และพัฒนาการเขียนเพื่อสอนให้กับเพื่อนที่สนใจ"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03180552&day=2009-05-18&sectionid=0221


วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (1)

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

ปี 2552 เป็นปีที่มีวิกฤตระดับชาติ และระดับบุคคลที่หลากหลาย รุมกระหน่ำภาวะที่เราเคยชิน หรือที่เรียกว่า "ภาวะปกติ" แต่ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าขณะนี้ พ.ศ.นี้ เราทุกคนยอมรับว่าไม่ปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ดูเหมือนกำลังคืบคลานในอัตราความเร็วที่มั่นคง ไปสู่ความเป็นวิกฤตในระดับชาติ

หากมาไล่แบบสั้นๆ วิกฤตเหล่านี้ รวมถึง

1. ภาวะเสื่อมทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ และภาวะโลกร้อน - หลายคนยอมรับว่าอากาศปีนี้ผันผวน ทั้งช่วงเวลาที่หนาว เวลาที่ร้อน และร้อนจัด รวมถึงความถี่ของพายุต่างๆ นานา พร้อมกันนี้เกิดความวิตกว่าการเพิ่มของอุณหภูมิโลกที่กำลังเกิดขึ้นจริงจะ ส่งผลกับฤดูกาล ทำให้มีภัยพิบัติมากขึ้น โรคระบาด และภัยต่องานด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่สุดของมนุษย์ ซึ่งภาวะโลกร้อนมีผลจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่ยั่งยืน และความเสื่อมทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมลพิษ และสารที่มนุษย์ผลิต

2. โรคระบาดรุนแรง ทุกวันนี้เราติดตามข่าว ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ A H1N1 ที่เริ่มระบาดจากประเทศเม็กซิโก ก่อนหน้านี้ก็มีโรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส นอกจากนั้นโรคติดต่อรุนแรงเก่าๆ เช่น เอดส์ วัณโรคชนิดดื้อยา และโรคมาลาเรีย ก็ยังเป็นภัยที่เห็นชัด เราอย่าลืมว่าโรคเอดส์ที่ส่งผลให้คนเสียชีวิตในประเทศไทยเป็นแสนคนนั้น ก็เป็นเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศเช่นเดียวกับอีกหลายโรค

3. เศรษฐกิจครัวเรือนทรุดหนัก วิกฤตเศรษฐกิจก็เสมือนโรคระบาดที่ติดต่อจากระบบเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกา และส่งผลแก่ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแน่นอนผลที่รุนแรงเกิดแก่ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว ในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ต้มยำกุ้ง จำนวนคนไทยที่จัดว่ายากจนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 11.4 เป็นร้อยละ 15.9 ของประชากร ซึ่งจากการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ สัดส่วนคนจนได้ลดลงอีกครั้งหนึ่ง มาคราวนี้ก็เชื่อว่าสัดส่วนคนจนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อวิกฤตในครอบครัว โอกาสการเรียนหนังสือของเด็กและเยาวชน และคุณภาพชีวิต โดยรวม

4.ความ ขัดแย้งในสังคม วิกฤตที่ต่อเนื่องจากวิกฤตทางการเมือง ส่งผลให้คนไทยทุกวันนี้เหมือนต้องมีอะไรเก็บไว้ในใจ ขณะมองคนอื่นเหมือนไม่สนิทใจเท่าเดิม ความแตกแยกนี้ได้ก่อเกิดวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจหลายครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ ปี และยังอยู่ในภาวะอึมครึม ยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดการปะทุอีกหรือไม่

5. ความเครียด ในช่วงที่มีวิกฤตต้มยำกุ้ง ภาวะความเครียดของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปี 2552 วิกฤตต่างๆ มีความซับซ้อนและทับซ้อนมากขึ้น ทำให้ความเครียดในการทำงาน ความ เครียดในครอบครัว หรือในส่วนบุคคลยิ่งสูงขึ้น วิธีการลดความเครียดโดยใช้ทางศาสนาหรือการรับการรักษาเป็นช่องทาง

เลือก แต่วิกฤตทำให้คนไม่มีเวลาในการดูแลตนเอง หรือดูแลครอบครัวอย่างเพียงพอ

หาก เรามองวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กำลัง กระหน่ำสังคมไทยทุกวันนี้ เป็นการง่ายจะสรุปว่าตัวใครตัวมันแล้วกัน ไม่ใช่สิ่งที่คนคนเดียว บริษัท หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ แต่หากท่านใส่หมวก CSR ท่านย่อมมองหาโอกาสในการทำงาน CSR ที่เกี่ยวข้องหรือลดผลกระทบจากวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น รวมถึงวิกฤตอื่นๆ ด้วย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



ภารกิจปลายทางของ "มีชัย วีระไวทยะ"



คล้าย กับการประกาศวางมือของ "มีชัย วีระไวทยะ" จากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ในวันที่สมาคมที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งกำลังจะมีอายุครบ 35 ปี ในอีกไม่กี่วันนี้ เมื่อเขาตัดสินใจเข้าไปนั่งในตำแหน่ง "ครูใหญ่" โรงเรียนมัธยมลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเพิ่งจะก่อตั้งขึ้นและเปิดเรียนเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็น การขยายผลจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โรงเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาซึ่งสมาคมและผู้บริจาคอย่าง "เจมส์ คลาร์ก" ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยปฏิวัติการเรียนการสอนที่เคยมีมาในระบบการศึกษาไทย และกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานเทียบ เคียงระดับนานาชาติ เป็นโรงเรียนเรียนฟรีที่สามารถทำให้ "เด็กจาก ท้องนา" สามารถ "เทียบชั้นระดับสากล"

"จะว่าไปผมก็ยังทำงาน 2 อย่างไปด้วยกัน สมาคมก็ยังคงทำ แต่ก็ดูในระดับนโยบาย ส่วนเรื่องการบริหารอื่นๆ ก็ปล่อยให้คนอื่นทำก็ได้ และจากนี้ไปผมจะไปทำงานเรื่องเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น คือเป็นทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก โลกของเด็ก ชีวิตส่วนรวมของเด็ก พ่อแม่ยากจนก็ช่วย โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา เพราะถ้าการศึกษาดี คนจะมาชักจูงเราแบบโง่ๆ ไม่ได้"

และเป็นเหตุที่ทำให้เขาสนใจ ลงมาบุกเบิก เรื่องนี้เองแบบเต็มตัว

" ผมเดินมาถึงปลายทางของชีวิตแล้ว ทุกคนก่อนที่ไฟจะหมดชีวิต ควรเป็นครู ผมอยากสอนหนังสือและอยากให้คนในสังคมเป็นครู ผมว่านายธนาคารใหญ่ก็เหมือนกันควรจะลองเป็นครูดูเสียบ้าง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์คือการศึกษา เราสามารถทำให้เด็กเดินได้ เป็นเด็กที่บินได้ ด้วยโอกาสและระบบที่ดีขึ้น ผมว่าคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการควรเก่งกว่านายกรัฐมนตรี ตำแหน่งครู ควรได้รับการยกย่อง และเป็นความจริงจัง ที่ทำให้ผมอยากเป็นครู"

" ปัญหาของการศึกษาไทยอยู่ที่การสร้างมาตรฐานของคนที่เก่งที่สุดในชั้น แต่ที่ ลำปลายมาศ เราไม่ได้บอกว่าเด็กจะเก่งหรือไม่เก่ง แต่จุดสำคัญคือเราต้องการผลิตคนที่ดี คนที่สามารถค้นหาคำตอบได้ คนที่นึกถึงสังคมและมีจิตสาธารณะ เราต้องการเพียงแค่การพัฒนาเด็กให้สามารถใช้ศักยภาพที่มีได้อย่างสูงที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุดในชั้น"

ต่อยอด "ความสำเร็จ"

" ตอนนี้เด็กที่เรียนกับเรามาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจบชั้นประถมกำลังจะขึ้นชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงจะขึ้นชั้นมัธยมศึกษา เราก็ยังคงเชื่อในการจัดการศึกษาแบบเดิม คือเด็กจะได้เรียนใน

สิ่งที่เขาอยากเรียน เพราะธรรมชาติของเด็กถ้าเขาสนุกแล้วก็จะทำได้ดี เขาอยากเรียนอะไรเราก็จัดให้แบบนั้น"

เป็น การเดินต่อจากสิ่งที่เคยทำที่ "ลำปลายมาศพัฒนา" ซึ่งทุกอย่างในโรงเรียนตั้งแต่วิธีการสอน ห้องเรียนถูกออกแบบอย่างละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนหกเหลี่ยม ที่จะทำให้ไม่มีเด็กหน้าห้องหลังห้อง หรือทุกๆ เช้าเด็กๆ และครูต้องกอดกัน เพราะการได้รับสัมผัสที่อบอุ่นจะทำให้สร้างความมั่นใจให้กับเด็ก การจะเรียนอะไรในแต่ละภาคเรียน เด็กจะเป็น ผู้เลือก เช่น ถ้าเขาเรียนเรื่องไดโนเสาร์ ฯลฯ ชั้นนั้นก็จะเรียนเรื่องไดโนเสาร์ ครูมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลว่าสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการให้เด็กรู้ อะไรบ้าง และก็มีการใส่เรื่องต่างๆ ไปในสิ่งที่เด็กอยากเรียน

"เรา เรียนกันแบบนี้ ไม่มีการสอบ แต่พอเราลองให้เด็กไปสอบวัดผล ปรากฏว่าเด็กเราก็ทำได้ดีกว่าโรงเรียนอื่น และเราก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเด็กจนก็พัฒนาได้ ถ้าคุณจัดการศึกษาที่ดี และที่ผ่านมาเราให้เด็กเรียนฟรี คนเรียนต้องยากจน ใช้วิธีจับสลากเข้าเรียน และใช้งบประมาณต่อหัวต่อคนประมาณปีละ 30,000 บาท ซึ่งสูงกว่าภาครัฐไม่มาก"

ไม่แปลกที่วันนี้จะมีหน่วยงานจากภาครัฐ ผู้บริหารโรงเรียน และครู เข้ามาดูงานและฝึกอบรมที่นี่แล้วกว่า 200 โรงเรียน

โมเดลใหม่การพัฒนา

การได้รับการยอมรับอาจเป็นบทพิสูจน์เพียงก้าวแรก "ก้าวต่อ" ที่เขาวางไว้จึงน่าสนใจ

" มีชัย" เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่วางไว้ในอนาคตว่า "วันนี้เราทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงเพราะลูกคนในชุมชนไปเรียนหนังสือ แต่ต่อไปเราจะเปลี่ยนทัศนคติ เศรษฐกิจ สร้างสังคมประชาธิปไตย และช่วยคนในชุมชนขจัดความยากจน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง"

"ใน ระดับมัธยมศึกษา เราจะสอนเรื่องธุรกิจให้กับเด็ก สอน แบ ฟุต เอ็มบีเอ และจะเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาในหมู่บ้าน และจะใช้พื้นที่ของโรงเรียนให้เป็นที่สอนผู้ใหญ่ในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ ในการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพอย่างที่เขาต้องการจะรู้ และในที่สุดก็จะขยายเป็นโครงการพัฒนาในระดับหมู่บ้านและชุมชน ต่อไปเด็กที่เรียนที่โรงเรียนนี้ พ่อแม่ก็จะเลิกจนด้วย และผมว่าคงไม่มีโรงเรียนอื่นที่จะเป็นแบบนี้ ต่อไปเราจะไม่ได้เป็นแค่ต้นแบบของการศึกษาเท่านั้น แต่เราจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาด้วย"

เป็นการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสังคม ในรูปแบบใหม่ที่ใช้ "โรงเรียน" เป็นศูนย์กลาง

" เราจะทำให้โรงเรียนเป็นมากกว่าโรงเรียน โรงเรียนไม่ใช่สถานที่ที่เปิด 7 โมงเช้า ปิดตอน 4 โมงเย็น ในวันจันทร์ถึง วันศุกร์ และเป็นที่เก็บฝุ่นในวันเสาร์ อาทิตย์ แต่เราสามารถใช้สิ่งที่โรงเรียนมีมาต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้ด้วย เรื่องแบบนี้ต้องคิดนอกกรอบ และเราจะไปหวังพึ่งรัฐอย่างเดียวไม่ได้"

"ผมว่าถ้าทำได้ เขาคงทำไปนานแล้ว แต่เราก็จะไปโทษเขาไม่ได้"

ไม่ใช่หน้าที่ "รัฐ" แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน

" มีชัย" กล่าวว่า "เราต้องยอมรับว่าไม่ว่าประเทศใดในโลก กระทั่งสหรัฐอเมริกา ที่รัฐไม่สามารถทำทุกอย่างให้ประชาชนได้ ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วย อะไรที่คิดออกนอกกรอบ แหวกแนว รัฐไม่กล้าทำเพราะไม่ใช่วิสัยของระบบราชการ เพราะฉะนั้นปล่อยราชการทำคนเดียวก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าทำได้เขาคงทำไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จึงไม่ยุติธรรมที่บอกว่ารัฐต้องเป็นคนทำ ผมว่ารัฐต้องมีหน้าที่ตาม คนนำคือประชาชน สังคม คนนำคือธุรกิจต่างหาก"

"เรื่องช่วยในการพัฒนา สังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน คนข้างนอกเองก็ต้องคิด ผมอยากให้ลองคิดว่าเราไม่ใช่เจ้าของสังคมหรือ เราไม่เจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือ อย่างปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น คนที่ไม่เคยสนใจการเมืองเพราะไม่ใช่เรื่องเรา แต่พอเกิดขึ้นแล้ว ไม่เห็นหรือว่าทำให้ธุรกิจทรุดแค่ไหน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคน อย่าคิดว่าเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว มีหน้าที่อย่างเดียวคือล้างมือด้วยไวน์ขาว ล้างเท้าด้วยไวน์แดง คนเราต้องมีความพยายามที่จะช่วยทำให้สังคมดีขึ้นบ้าง"

"สิ่งที่เรา ต้องการจากภาครัฐคือ การช่วยสนับสนุน จุดสำคัญอยู่ที่กระทรวงการคลังต้องช่วยลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจที่ต้องการ บริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียน เพราะขณะนี้การสร้างโรงเรียนสามารถลดหย่อนได้ 200% แต่ในรูปแบบของเรายังไม่ได้ การลงทุนในการสร้างโรงเรียนใหม่ที่เราใช้เริ่มต้นประมาณ 30 ล้านบาท และจากนั้นใช้เงินดำเนินการอีก 6 ปี ปีละประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งในเวลาเดียวกันโรงเรียนก็จะต้องพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม หมายถึงการหารายได้เองจากการทำธุรกิจเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูตัวเอง ซึ่งตอนนี้อย่างลำปลายมาศพัฒนาก็เริ่มหาเงินได้ปีละ 2 ล้านบาท บวกกับเงินรายหัวที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐก็เกือบจะพอแล้ว ซึ่งมีธุรกิจหลายแห่งก็สนใจอยากลงทุน เพราะการสร้างโรงเรียนที่ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในชุมชน ด้วยเงินจำนวนเท่านี้ไม่ได้มากเลย อาจถูกกว่ารถของเศรษฐีบางคนอีก"

เพียงแต่ทุกคนต้องคิดว่า นี่เป็นหน้าที่ เช่นเดียวกับที่รัฐต้องสนับสนุน !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หาที่ให้ CSR




โดย อนันตชัย ยูรประถม anantachai@yahoo.com

Q : เมื่อองค์กรกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นมาแล้วจะนำเข้าไปปฏิบัติในช่องทางไหนดี

เห็น มั้ยครับท่านผู้ฟัง CSR ปัญหาไม่กล้วย ไม่มีก็เป็นปัญหา มีก็เป็นปัญหา ผู้ฟังท่านหนึ่งมาพบมาเจอกัน บอกว่าตอนนี้องค์กรเริ่มวางแผน CSR สำหรับองค์กร แล้ว ในระยะแรกสร้างกรอบแนวปฏิบัติด้าน CSR ในประเด็นสังคมแต่ละด้านขึ้นมาก่อน เช่น บรรษัทภิบาล ความรับผิดชอบต่อลูกค้า สังคม เป็นต้น โดยกะว่าเริ่มทำเป็นประเด็นไปก่อนแล้วค่อยปรับเข้าสู่กระบวนการดำเนินธุรกิจ ในระยะต่อไป ทีนี้ปัญหาก็เกิดเพราะว่าเวลาจะนำกรอบแนวทางนี้เข้าไปวางไว้ในกรอบแนวทางการ ดำเนินธุรกิจขององค์กรจะเอาไปไว้ตรงไหนดี เพื่อให้เชื่อมต่อกับสิ่งที่องค์กรมีมา ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหรือแม้แต่จรรยาบรรณขององค์กร เพื่อให้ CSR ไหลไปสู่ระบบขององค์กรมาตั้งแต่ข้างบน เนื่องจากถ้าตั้งเป็นโครงการหรือเป็นกิจกรรมแล้วนำไปประกบด้านข้าง คือเอาไปฝากไว้แต่ฝ่ายหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องก็กลัวว่าจะถูกมองว่าเป็น กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ แล้วพนักงานก็จะรู้สึกว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น ปีหน้าจะยังไงต่อก็ไม่รู้ ที่สำคัญเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับระยะต่อไปที่แผนการพัฒนาความรับผิดชอบจะนำ ไปสู่การพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งองค์กร

ตอบแบบฟันธง คอนเฟิร์ม "ขึ้นอยู่กับองค์กรครับ" ผู้ฟังผมก็บ่นทันที...เอาอีกแล้วอาจารย์คอนเฟิร์มทีไร คอนฟิวส์ทุกทีเลย...ก็จริงนี่ครับ CSR ไม่มีของสำเร็จรูปประเภทตัวเดียวอันเดียว เที่ยวทั่วโลก เราตั้งต้นที่หลักแนวคิดเดียวกัน แต่เวลานำมาปฏิบัติต้องพัฒนาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรเพื่อให้ได้ตาม ที่แนวคิดนั้นได้วางเอาไว้ครับ ดังนั้นเมื่อเราต้องการให้แนวปฏิบัติ CSR ไหลมาจากข้างบน บางองค์กรเรานำไปฝากไว้กับนโยบายแล้วให้ซึมไปสู่กลยุทธ์องค์กรเข้าไปสู่ ระดับฝ่ายส่วนอีกทีหนึ่ง แต่มีบางองค์กรครับ อันนี้ก็น่าสนใจ เราเอาไปไว้กับแนวปฏิบัติด้านจรรยาบรรณ เพราะองค์กรเขามีระบบการนำองค์กรที่ค่อนข้างเข้ม นับตั้งแต่ปรัชญาองค์กรเป็นชั้นสูงสุด มีวิสัยทัศน์เป็นชั้นที่ 2 และแนวปฏิบัติกับหลักจรรยาบรรณเป็นชั้นที่ 3 เชื่อมต่อกันอย่างแนบแน่น พอเห็นอย่างนี้ปุ๊บเราก็เลยทำตัวลีบหาช่องแทรกเข้าไปแอบไปอยู่ชั้นที่ 2 ใต้ปรัชญา ไปขอแอบอิงเคียงข้างกับวิสัยทัศน์ที่อยู่เหนือแนวปฏิบัติ โดย CSR นี่อยู่บนจรรยาบรรณโดยตรงครับ จากนั้นเราก็เริ่มต่อท่อ CSR เข้าไปสู่จรรยาบรรณครับ ทีนี้ก็ได้การแล้วละครับ จัดงานประชันของขลังประจำองค์กรกันทันทีครับ...จรรยาบรรณปะทะความ รับผิดชอบต่อสังคม...รอบแรกเป็นระดับผู้จัดการครับ แล้วรอบ 2 ก็เป็นระดับหัวหน้างาน รอบแรกนี่เอาของขลังมา แจกกันเลยครับ จรรยาบรรณครับที่เคยอยู่แต่บนหิ้ง เอาเข้ามาส่องกันเลยว่าพอมาปะทะกับ CSR แล้วอะไรอยู่ตรงไหน ชี้ให้เห็นกันจะจะ ทุกคนถือคู่มือจรรยาบรรณแย่งกันตอบ สนุกสนานไปเลยครับ กลายเป็นว่าจรรยาบรรณนี่เป็นของสนุกไปเลย รอบ 2 เหมือนเดิมแต่มีของขลังมาอีกหนึ่งครับ พอส่องจรรยาบรรณกับ CSR กันเสร็จ มีโปสเตอร์รุ่น "นายให้มา" เอาไปติดเป็นมงคลด้วยว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีมงคลตามจรรยาบรรณแล้วนำไป สู่ความ รับผิดชอบต่อสังคมกัน ทำกันได้ทุกคน ทุกวัน เห็นมั้ยครับของดีมีอยู่ถ้าจะใช้แนวนี้ก็ไปรื้อๆ ค้นๆ ของขลังของเราลงมาจากหิ้งได้แล้วนะครับ ก่อนที่ของจะเสื่อมซะหมอ...คอนเฟิร์ม

อนันตชัย ยูรประถม เป็นนักวิชาการและที่ปรึกษาด้าน CSR ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกลยุทธ์และการบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์กรเชิงระบบ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDI) นับจากนี้เขาจะมาตอบคำถามทุกข้อข้องใจเกี่ยวกับ CSR ทุกสัปดาห์ สำหรับผู้ต้องการไขคำตอบที่เคยข้องใจสามารถส่งคำถามมาได้ที่ anantachai@yahoo.com


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05110552&day=2009-05-11&sectionid=0221