วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ระดมสมองเตรียมตั้ง "สมาคม CSR"


แม้ ปัจจุบันจะมีองค์กรธุรกิจที่กระโดดเข้ามาในวง CSR (corporate social respon sibility) โดยนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ รวมไปถึงการตื่นตัวขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

แม้ ว่าวันนี้จะมีการตั้งองค์กรใหม่ๆ ไม่ว่าจะฝั่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) หรือกระทั่งการรวมตัวกันเองของนักธุรกิจซึ่งให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่อง นี้มายาวนานอย่างเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (เอเชีย) ประเทศไทย (SVN) หรือคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) หรือในระดับสถาบันที่เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้าน CSR อย่างสถาบันไทยพัฒน์ ฯลฯ

หากแต่ในความเป็นจริงแล้ววันนี้ไทยยังไม่มี เวทีกลางและมีช่องทางซึ่งจะสามารถรวบรวมเครือข่ายและองค์กรธุรกิจที่ดำเนิน แนวคิดอยู่ให้สามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปถึงการรวบรวมฐานข้อมูล CSR ในไทยอย่างแท้จริง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมามีการรวมตัวกันของ CSR แชมเปี้ยนในวงการซึ่งมาจากทั้งองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ เอกชน และเอ็นจีโอ โดยมี "กษิต ภิรมย์" อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในฐานะประธานสมาคมส่งเสริมบรรษัทภิบาลเป็นแกนนำ โดยมีการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างการประชุม CSR Asia ซึ่งจัดขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยต้องการให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย CSR ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการพยายามที่จะรวมพล "นักทำ CSR" ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติอยู่ในแต่ละบริษัทให้มีการรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกัน ในอันที่จะสามารถขับเคลื่อน CSR ในภาพใหญ่ระดับประเทศให้เกิดขึ้น

"กษิต์" กล่าวถึงการรวมตัวในครั้งนี้ว่า ความร่วมมือครั้งนี้ต้องการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันในการขับเคลื่อน โดยมุ่งหวังให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ด้าน CSR ในไทยซึ่งยังกระจัดกระจายอยู่ รวมไปถึงการแบ่งปันทรัพยากรในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคม รวมไปถึงการผลักดันให้ CSR สามารถขับเคลื่อนได้ในระดับประเทศ

"การ ขับเคลื่อน CSR ในระดับประเทศ แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับ 1 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ระดับ 2 บริษัทไทยขนาดกลาง ซึ่งอยู่ในสภาอุตสาหกรรมและหอการค้าไทย และระดับ 3 คือกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งทั้ง 3 ระดับควรมีการเชื่อมโยงระหว่างกัน และการขับเคลื่อน CSR ในไทยจะเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน ยังจะต้องอาศัยกำลังสนับสนุนจากภาครัฐ"

ด้าน "สุกิจ อุทินทุ" รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า แม้ปัจจุบันจะมีกลุ่มต่างๆ ที่ทำในเรื่องนี้ แต่ในฐานะนักทำ CSR ที่เป็นตัวจริงในองค์กรยังไม่มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจน และการที่คนขับเคลื่อน CSR จริงมารวมกันไม่เพียงจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ยังสามารถสนับสนุนทรัพยากรระหว่างกันในการดำเนินกิจกรรม CSR ในอนาคต

" บางครั้งการที่เราต่างคนต่างทำก็สร้างประโยชน์ให้สังคมได้ในระดับหนึ่ง แต่การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรต่างๆ จะเป็นการรวมพลังกันในการใช้ทรัพยากรที่จำกัดให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกได้ มากกว่า แม้วันนี้เรายังไม่มีชื่อที่ชัดเจนว่าจะใช้ ฟอรั่ม เครือข่าย หรือสมาคม แต่เร็วๆ นี้จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้งว่าความร่วมมือครั้งนี้จะออกมาในรูปแบบใด" สุกิจกล่าวในที่สุด

แม้ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกของความพยายามในการสร้าง เครือข่าย CSR แต่หากเกิดขึ้นได้นี่จะถือเป็นมิติใหม่ ส่วนจะเกิดขึ้นจริงได้แค่ไหนต้องติดตามในระดับห้ามกะพริบตา !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04101151&day=2008-11-10&sectionid=0221

เกาะติดเวที CSR Asia ยิ่งวิกฤต CSR ยิ่งจำเป็น



จำนวน คนเข้าร่วมงานซึ่งเป็นทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ และเอ็นจีโอ กว่า 350 คน ที่บินตรงมาจากทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย เพื่อเข้าร่วมงานการประชุมสุดยอด CSR Asia ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "ก้าวต่อไปของความ รับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจขยายวงความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวด ล้อมและสังคม" นับเป็นครั้งแรกที่ไทยมีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมทั้งยังเป็น ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะทั้งวิกฤตทางการเงินที่รุมเร้า รวมไปถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในไทย เพียงแต่น่าเสียดายว่า เวทีนี้กลับไม่ได้รับความสนใจจากผู้ฟังชาวไทยมากนัก

เสียงสะท้อนจากบนเวทีเปิดการประชุม ที่ว่า "ท่ามกลางภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยู่นี้ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR ยิ่งทวีความสำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน" ย่อมเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า เพราะเหตุใดคนจากทั่วทุกทวีปจึงยังคงให้ความสนใจกับเรื่องนี้ แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤตที่คาดว่าหลายบริษัทจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ ไม่จำเป็น

อย่างที่ ดร.ริชาร์ด เวลฟอร์ด ประธาน บริษัท CSR Asia กล่าวว่า "บริษัทที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้าน CSR ที่มีคุณค่าจะสามารถเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ดีกว่าบริษัทที่ละเลยความ สำคัญของการดำเนินการด้าน CSR"

เช่นเดียวกับที่ "เอิร์นเนส หว่อง" ผู้จัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสายการผลิตจาก ฮิวเลตต์-แพคการ์ด กล่าวว่า การทำ CSR ที่ดีย่อมมีผลต่อกำไรของบริษัท และย้ำว่า การตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจ

ผล จากการดำเนินการด้าน CSR ของ โคคา-โคลา ซึ่งให้ความสำคัญของการจัดการน้ำอย่างสมดุล เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่ชี้ให้เห็นว่า CSR เข้าไปมีส่วนช่วยธุรกิจได้อย่างไร โดยความรับผิดชอบของโคคา-โคลา ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะลดการใช้น้ำ สร้างความหมุนเวียนน้ำจากแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง "เกร็ก โคช" กรรมการผู้จัดการ Global Water Stewardship ของโคคา-โคลา กล่าวว่า "ในฐานะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ ทั่วโลกด้านเครื่องดื่ม การใช้น้ำอย่างมีความรับผิดชอบมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการผลิตของเรา"

ใน งานนี้ยังมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับบริษัทในเอเชียของ CSR Asia โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า barometer ในการวัดการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรธุรกิจที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม (ดูรายละเอียดย้อนหลังได้ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 3-พุธที่ 5 พฤศจิกายน 2551) แง่มุมหนึ่งของการจัดอันดับครั้งนี้สะท้อนให้เห็นจุดอ่อนของการทำ CSR ขององค์กรธุรกิจในเอเชีย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลทั้ง 6 ด้าน ตั้งแต่นโยบายและแนวปฏิบัติ กลยุทธ์ CSR และการสื่อสาร ตลาดและซัพพลายเชน สถานที่ทำงานและพนักงาน สิ่งแวดล้อม และการลงทุนในชุมชนและการพัฒนาสังคมแล้ว จะเห็นว่าในประเด็นด้านซัพพลายเชน สถานที่ทำงานและ พนักงานนั้นอยู่ในกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับเรื่องอื่น

"เวลฟอร์ด" สะท้อนผ่านการนำเสนอของเขาด้วยการนำรูปแรงงานทาสและแรงงานเด็ก "เราจะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าธุรกิจเราไม่ได้มีส่วนในการส่งเสริมเรื่อง เหล่านี้ แต่เรื่องยากก็คือส่วนใหญ่ธุรกิจมักจะไม่สามารถเข้าถึงคนที่อยู่ปลายทางได้ อย่างแท้จริงนอกจากบริษัทที่รับงานซึ่งติดต่อด้วย"

ซึ่งทำให้วันนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินไปพร้อมกับการดูแลซัพพลายเชน ทั้งในแง่ของความรับผิดชอบในการดำเนินธุกริจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการสร้างส่วนร่วมกับพนักงาน การให้ความสนใจเรื่องการได้มาซึ่งแรงงาน รวมไปถึงการพัฒนาและการขยายโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน

ทิศ ทางและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับ CSR ที่ได้รับการหยิบยกมาพูดถึงตลอดทั้ง 2 วันของการประชุมกว่า 24 หัวข้อ ยังให้น้ำหนักในเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจกับการลดปัญหาโลกร้อน ธุรกิจกับการขจัดปัญหาความยากจน การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร (stakeholders engage ment) แนวโน้มการเติบโตของผู้ประกอบการทางสังคม (social enterprise) ฯลฯ

ใน ด้านปัญหาธุรกิจกับการลดปัญหาภาวะโลกร้อน แมคเคนซีย์รายงานว่า หัวใจสำคัญของการลดภาวะโลกร้อนคือความเร็ว โดยหากจะทำให้การแก้ปัญหานี้ได้ผล จะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมอย่างน้อยสามเท่า และปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลจะมีส่วนในการส่งเสริมเรื่องนี้แต่ก็เป็นไปในลักษณะ ที่ช้าเกินไป อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่น่าสนใจในวันนี้ก็คือบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งในเอเชีย กำลังให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล ด้านการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกับภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการตั้งเป้าหมายที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อการเปิดเผยข้อมูลได้รับความสนใจ ในวันนี้ "เคพีเอ็มจี" ได้ศึกษา และพบว่าปัจจุบันมีบริษัทที่ทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมี มากขึ้น โดยจากการสำรวจ 250 บริษัท พบว่ามีถึง 83% เมื่อเทียบกับเมื่อ 3 ปีก่อนที่มีบริษัทที่จัดทำรายงานเพียง 52% เท่านั้น โดยปัจจุบันเอเชียถือเป็นภูมิภาคที่มีการทำรายงานเพื่อความยั่งยืน เป็นสัดส่วน 8% ของการทำรายงานทั่วโลก โดย 25% ของทั้งหมดใช้แนวทางของ GRI (global reporting initiative)

นั่นเป็นแนวโน้มที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของบริษัทในเอเชียที่มีต่อ CSR

แต่ หากเจาะลึกเฉพาะในเรื่องโครงการเพื่อสังคม การขับเคลื่อนขององค์กรส่วนใหญ่ที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนมักทำงานใน ลักษณะการเป็นพันธมิตรกับเอ็นจีโอ ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นปัญหานั้นๆ ผ่านประเด็นการแก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยแต่ละองค์กรมี เป้าหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นซิตี้ ที่ทำงานร่วมกับ "เดอะ ฟาวเดชั่น ฟอร์ ดีเวลอปเมนต์" ในการทำเรื่อง "ไมโครไฟแนนซ์" เพื่อจะแก้ไขปัญหาความยากจน แบ่งโครงการเป็น 2 ประเภทอย่างชัดเจน คือการทำเพื่อหวังผลกำไร และการให้แบบการกุศล ขณะที่ เมอร์ค ประเทศไทย ซึ่งทำงานร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ไม่เพียงจะใช้รูปแบบพันธมิตรในการร่วมกันพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน แต่ยังใช้หลักการในการประสาน จุดแข็งของทั้ง 2 องค์กร ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพของชุมชนได้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ในวงสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ว่า ด้วยการประเมินผลการลงทุนในชุมชน มีประเด็นหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นว่า การทำกิจกรรมเพื่อชุมชนนั้นส่งผลดีหรือส่งผลลบกับภาพลักษณ์ของบริษัท หลายคนมองว่าเป็นภาพลบ หากบริษัททำด้วยความไม่จริงใจและหวังเพียงเอาหน้าอย่างเดียว ในขณะที่อีกมุมหนึ่งมองว่า กิจกรรมเพื่อสังคมจะช่วยบริษัทสร้างภาพบวกหรือลบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ บริษัทนั้นๆ มากกว่า

เหล่านี้เป็นความจริงมุมหนึ่งที่สะท้อนจากคนใน วง CSR และเป็นมุมมองอีกด้านที่สะท้อนว่า CSR เป็นมากกว่ากระแส แฟชั่น และถึงวันนี้เป็นเรื่องธุรกิจต้องดำเนินการอย่างจริงจังและจะเป็นตัวช่วย ก้าวผ่านวิกฤตอย่างยั่งยืน

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03101151&day=2008-11-10&sectionid=0221

CSR กับคนพิการ


โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการ มูลนิธิรักษ์ไทย ที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มบริษัททีม

เมื่อ 2540 ผมมีโอกาสพบกับสมาคมคนพิการในขณะนั้น และเรียนถามท่านอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระทบจิตใจท่านว่า ภาษาไทยมีคำไพเราะๆ ที่เรียกคนพิการ เพื่อไม่ให้เขาเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจหรือเสียใจ คำตอบก็คือ คนพิการในประเทศไทยยอมรับว่าเขาพิการและไม่รู้สึกมีปมด้อยแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่เขาต้องการคือ ความเสมอภาค ความสามารถที่จะพึ่งตนเองในการดำรงชีวิต โดยการให้โอกาสคนพิการได้มีโอกาสทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของแรงงาน และมีส่วนในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐ เอกชนและสังคมควรจะปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย เด็ก และคนพิการ

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550 สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่ามีคนพิการที่ขึ้นทะเบียนทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 721,490 คน เป็นชาย 422,929 คน และหญิง 298,561 คน ในจำนวนดังกล่าวมีผู้พิการทางกายมากที่สุดถึง 349,332 คน พิการด้านการได้ยิน 98,349 คน

พิการทางสติ 91,992 คน พิการด้านการเห็น 75,562 คน และพิการซ้ำซ้อน 66,228 คน

ความหมายของคำว่าพิการ

1.Impairment ความบกพร่องจากการสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

2.Disability ทุพพลภาพที่ไม่สามารถกระทำกิจกรรมในชีวิตปกติได้ มีสาเหตุจากสภาพความพิการ

3.Handicap ความเสียเปรียบเนื่องจากทุพพลภาพ เช่น ไม่มีขาทำให้เดินไม่ได้ ทำให้ขึ้นตึกที่มีบันไดสูงๆ ไม่ได้ เป็นต้น

ใน ต่างประเทศเขาจะไม่ใช้คำว่า crippled (พิการ) แต่จะใช้คำว่า handicapped person และสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารต้องสามารถให้คนพิการเข้าออกสะดวก รถเมล์และรถไฟออกแบบให้คนพิการสามารถเดินทางได้สะดวก แม้แต่พนักงานบริการก็ได้รับการอบรมให้บริการคนพิการเป็นอย่างดี

ความสามารถพิเศษของคนพิการแบ่งเป็น 6 ประเภทคือ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ-อารมณ์ สติปัญญาและการเรียนรู้

ดัง นั้นจะเห็นว่าผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวนั้น มีสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ บางคนมีสมองที่ไวมาก สามารถเรียนรู้ และทำงานได้หลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันความต้องการคนที่มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ด้านโปรแกรมและการออกแบบ website เพื่อทำการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตมากมาย คนพิการที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ก็มีมากมายเช่นเดียวกัน

ธุรกิจจะช่วยคนพิการได้อย่างไร

ปี 2540 ผมได้มีโอกาสพบท่านอธิบดีกรมแรงงาน คุณนิทัศน์ ธีระวิทย์ และ ผู้อำนวยการคือ ม.ล.บุณฑริก สมิติ ท่านทั้งสองแนะนำให้ผมสนับสนุนคนพิการให้ได้รับการแนะแนวอาชีพ การฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทห่างไกลออกไป ในการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนพิการพึ่งพาตนเองได้ ตอนนั้นองค์กรของผมจึงให้เงินสนับสนุนโครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับคนพิการ ซึ่งรุ่นนั้นมีผู้สมัครเข้าอบรมทั้งหมด 18 ท่าน โดยมีหลักสูตร 2-3 เดือน และเป็นหลักสูตรที่ต้องกินอยู่ประจำ เพื่อลดปัญหาการ เดินทาง หลักสูตรนี้เน้นการเสริมทักษะและการทำคอมพิวเตอร์กราฟิกในธุรกิจ ผู้จบการอบรมสามารถเขียนแบบและออกแบบสื่อโฆษณาสิ่งตีพิมพ์ ตลอดจนใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านกราฟิกที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ

เมื่อ จบหลักสูตรแล้วผู้เข้าอบรมทั้ง 18 ท่านสามารถหางานกับองค์กรเอกชนได้ และมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้คนพิการได้ปรับคุณภาพชีวิตของเขา ให้ดีขึ้น ได้รับเงินเดือนดีๆ และได้รับความเสมอภาคในสังคม

ท่านพร้อมหรือยัง

หาก องค์กรของท่านสามารถที่จะสนับสนุนคนพิการสัก 5 หรือ 10 คนเข้าอบรมหลักสูตรการเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ หรือเข้าอบรมการเขียน โปรแกรมสร้าง website เพื่อการตลาด ท่านจะช่วยให้คนพิการได้มีฐานะที่ดีขึ้น ไม่เป็นคนยากจนไร้ซึ่งประโยชน์ต่อไป

หรือหากองค์กรสามารถช่วยเหลือ ง่ายๆ โดยให้พนักงานอ่านหนังสือลงเทปหรือซีดี เพื่อเปิดให้คนตาบอดได้ฟัง และรับทราบความเคลื่อนไหวในโลกทุกวันนี้ก็จะเป็นการช่วยเหลือผู้พิการทางสาย ตาอีกทางหนึ่ง

ถ้าท่านพร้อมท่านอาจจะติดต่อองค์กรเอกชน (NGOs) หรือขอความร่วมมือเพื่อจัดการอบรมวิชาชีพของคนพิการด้านใดด้านหนึ่ง หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนพิการที่ถูกลืมจากสังคมไทย ให้ได้รับความสุขจากสังคมไทย

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

เมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2550 ได้มีการตรา "พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ" คอยดูแลและเสนอแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อการคุ้มครองคนพิการ และยังมี "กองทุนส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" ที่จัดสรรเงินช่วยเหลือคนพิการเพิ่มเติมจากงบประมาณปกติจากทางรัฐ

พระ ราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2550 กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน 1 คน หรือส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแทน ห้างร้านและบริษัทจำนวนมากเลือกที่จะไม่จ้างคนพิการเข้าทำงาน เพราะเห็นว่าการส่งเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นทางออกที่ง่ายกว่า เพราะไม่ต้องมีภาระคอยดูแลคนพิการเหล่านั้น

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02101151&day=2008-11-10&sectionid=0221

บริหาร CSR ในภาวะวิกฤต



ไม่ ใช่เรื่องที่ยากเกินกว่าจะคาดเดาอีกต่อไปสำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลัง เข้าสู่ภาวะถดถอย จากปัจจัยทั้งเสถียรภาพการเมืองในประเทศ และผลพวงจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่กำลังลุกลาม และคาดว่าผลกระทบจะรุนแรงและชัดเจนขึ้นอีกเมื่อถึงปี 2552 ฉะนั้นถือเป็นความท้าทายขององค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ที่จะต้องปรับตัวรับมือกับ เหตุการณ์ครั้งนี้ การทยอยปลดพนักงาน การลดงบประมาณที่ใช้ในการโฆษณา และการพยายามตัดลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นในทุกด้านของธุรกิจ จึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของการขับเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร (CSR) ซึ่งมีการคาดการณ์กันในวันนี้ว่า งบประมาณที่องค์กรจะใช้ในกิจกรรม CSR จะเป็นส่วนที่ลดลงก่อนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นที่มีความจำ เป็นมากกว่า แม้ว่าในปีที่ผ่านมาองค์กรจำนวนมากจะประกาศจุดยืนในการเป็นองค์กรที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคมก็ตาม

"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายยิ่งในภาวะ วิกฤตสิ่งแรกที่บริษัททำก็คือต้องพยายามลดงบประมาณรายจ่ายในส่วนต่างๆ ซึ่งงบประมาณในการทำ CSR ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะถูกลดลง อาจจะไม่ใช่ตัดทั้งหมด อย่างที่เคยมีสัดส่วน 10% ก็อาจจะถูกลดลง เหลือ 5% ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคนทำงานCSR ในองค์กรรวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชนที่กำลังมองหาช่องทางในการ ระดมทุนจากองค์กรธุรกิจในปีนี้" วรรณา ธรรมร่มดี ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์องค์กร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ซึ่งดูแลนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร (CSR) ในภาพรวมของ กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน บนเวที Pre-workshop Session on Social Enterprise trainning at CSR Asia Summit 2008 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานประชุม CSR Asia Summit ซึ่งจัดขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งเพิ่งจบลงไปเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

วิกฤตคือโอกาส

การ ตัดลดงบประมาณด้าน CSR จึงกำลังจะเกิดขึ้นในองค์กรจำนวนไม่น้อย ในภาวะที่องค์กรต้องการรัดเข็มขัด แต่เมื่อตั้งคำถามเรื่องนี้กับ "สุกิจ อุทินทุ" รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่น แนล เขากลับบอกว่า "ในความเป็นจริงขึ้นอยู่กับว่าเราจะมอง CSR ในมุมไหนถ้ามองCSR เป็นเพียง แคมเปญการให้ อย่างนี้ งบประมาณลดลงอย่างแน่นอน แต่ถ้ามองว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นหนึ่งในกระบวนการทางธุรกิจ เหมือนอย่าง โคคา-โคลา จะเห็นว่าการที่เขามาดูแลทรัพยากร น้ำ เป็นเพราะในอนาคตน้ำจะหายากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับธุรกิจว่าในอนาคตถ้าไม่ดูแล ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจก็จะแพงขึ้น ถ้ามองในมุมแบบนี้งบประมาณที่จะทำ CSR ก็จะลดลงไม่ได้ ฉะนั้นยิ่งเราทำให้ CSR อยู่ในกระบวนการธุรกิจเท่าไหร่ก็ยิ่งลดงบประมาณไม่ได้เพราะอันตรายกับองค์กร ในระยะยาว"

ฉะนั้นในด้านหนึ่ง "วิกฤต" ครั้งนี้กลับจะเป็น "โอกาส" ให้คนที่รับบทบาทในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร สามารถกระตุ้นคนในองค์กรได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในแง่มุมของการลดต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

อย่างที่ "จันทิมา นียะพันธ์" ผู้จัดการงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "CSR ไม่ใช่แค่การเป็นคนดี แต่รวมถึงการลดต้นทุนในกระบวนการธุรกิจไม่ว่าจะประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ซึ่งเป็นการช่วยทั้งธรรมชาติและช่วยองค์กรประหยัด ดังนั้นยิ่งวิกฤต การขับเคลื่อน CSR ภายในองค์กรยิ่งต้องรีบทำ เพราะในภาวะอย่างนี้จะยิ่งทำให้คนคิดได้มากขึ้น จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นเรื่องแบบนี้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งอาจจะดีกว่าไปพูดเรื่องนี้ตอนที่ภาวะดีๆ ด้วยซ้ำ"

แนะธุรกิจคิดใหม่ ทบทวนตัวเอง

ท่าม กลางภาวการณ์ที่บีบรัด องค์กรจึงต้อง "คิดใหม่" หรือที่ "มัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา" ที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และที่ปรึกษาด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียกว่า เป็น "การเปลี่ยนความคิดหลังจากได้รู้ความจริง" เขาบอกว่า "บริษัทต้องเปลี่ยนมุมมอง ไม่ใช่ว่าภาวะวิกฤตแล้วจะหยุดพัฒนา หยุดใช้เงิน ในการทำ CSR บริษัทก็ต้องปรับปรุงไปตามแนวปฏิบัติ CSR หรือเข็มทิศธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งกระบวนการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันต้องหันมาให้ความสนใจกับเรื่อง สินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR Product) ซึ่งในขณะที่วิกฤตกำลังซื้อจากภายนอกอาจจะลดลง แต่บริษัทสามารถสร้างสินค้าที่ตรงกับความต้องการในประเทศที่มีอยู่และสามารถ มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมได้ที่เราเรียกว่า นวัตกรรมเพื่อสังคม"

อย่าง ไรก็ตามในภาวะเช่นนี้ เขายังเชื่อว่าเป็นเวลาสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจต้องทบทวนตัวเอง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแนวปฏิบัติและมาตรฐานต่างๆ มากมายที่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบองค์กร อาทิ Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการจัดทำรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งขณะนี้ทางตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในระหว่างการ เตรียมการที่จะส่งเสริมเรื่องนี้เพราะเชื่อว่าไม่เพียงจะเป็นช่องทางในการ สื่อสารให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรเท่านั้น ในเวลาเดียวกันยังเป็นโอกาสให้องค์กรสามารถประเมินและทบทวนการดำเนินความรับ ผิดชอบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ต้องทำงานฉลาดขึ้น

สอดคล้อง กับสิ่งที่ "สุกิจ" เสนอแนะว่า "การบริหาร CSR ในภาวะวิกฤต จึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การทบทวนตัวเอง ว่าความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรทำอยู่นั้น ดีหรือไม่ สามารถใช้ทรัพยากรจากผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ให้เข้ามามีส่วนร่วมมากเพียงพอหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น คู่ค้า ลูกค้า ฯลฯ รวมไปถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานในบริษัท เพราะบ่อยครั้งที่การทำ CSR ใช้เงินเป็นตัวตั้ง โดยอาจลืมมองการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ที่มี และการจะสร้างการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยในองค์กรได้ต้องพยายามทำความเข้าใจ ให้เรื่องนี้ให้ตรงกัน และสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นคือ การเลือกพันธมิตรในการดำเนินกิจกรรม CSR ที่เหมาะสม และอาจจะก้าวไกลไปถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการทำ CSR ไม่ว่าจะกับองค์กรภาครัฐ องค์กรธุรกิจด้วยกัน รวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ)" สุกิจกล่าว

แม้เงินจะเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ในการขับเคลื่อน CSR แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด ความท้าทายจากนี้ไปคือการหาวิธีการและช่องทางที่ "สุกิจ" มองว่า นักทำ CSR จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ให้ชัดและต้องฉลาดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามในการเชื่อมโยงและสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจกับการทำดีกับ สังคม ทั้งความรับผิดชอบภายในกระบวนการธุรกิจและการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนขึ้นสำหรับ การทำงานในลักษณะกิจกรรมเพื่อสังคม

"เราต้องยอมรับการบริหารภายใต้ ทรัพยากรที่จำกัดเป็นเรื่องที่ทำให้การทำงาน CSR นั้นยากขึ้น การที่ต่างคน ต่างทำก็อาจจะได้ผลในระดับหนึ่งแต่การที่ระดมทรัพยากรมาทำงานร่วมกันจะสร้าง ผลกระทบในเชิงบวกได้มากกว่า" เขากล่าวในที่สุด

"มีชัย" แนะสร้างพลังด้วย "พันธมิตร"

และ เป็นมุมมองที่คล้ายกับสิ่งที่ "มีชัย วีระไวทยะ" นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจมากที่สุดกว่า 400 บริษัท ให้ความเห็นว่า การร่วมมือระหว่างธุรกิจกับเอกชนนั้นเหมาะสมอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เพราะไม่เพียงธุรกิจจะประหยัดเงินมากขึ้นในการทำโครงการ CSR ขณะเดียวกันองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนที่สั่งสมมากว่า 30 ปีของพีดีเอ ทำให้การทำโครงการต่างๆ มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ธุรกิจสามารถนำความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นส่วนเสริม

"ตอน นี้โมเดลการพัฒนาชุมชนของเรายิ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพราะในวิกฤตจะต้องมีคนจำนวน หนึ่งซึ่งเป็นแรงงานที่ทำงานในเมืองต้องกลับไป และตอนนี้นอกจากเราพยายามจะเอาความรู้ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์กลับไปใน ชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน ในขณะนี้ยังจะพยายามเพิ่มการผลิตอาหาร อย่างการปลูกผัก การจัดตั้งโรงสี เพื่อให้เขาสามารถอยู่ได้เองในหมู่บ้าน ให้เขาสามารถอยู่ได้ในภาวะเช่นนี้" มีชัยกล่าวในที่สุด

จากจุดเริ่ม ต้นเพียงการจุดเล็กๆ ของการทำ CSR ในองค์กร ไม่เชื่อต้องเชื่อว่า ในที่สุดเมื่อองค์กรมีความเข้าใจและเกิดการระดมทรัพยากรอย่างถูกทิศถูกทาง แล้ว ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจอย่างไร CSR จะเป็นตัวช่วยหนึ่งในการตอบโจทย์ความยั่งยืนของทั้งองค์กรและสังคม !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01101151&day=2008-11-10&sectionid=0221

ทำความรู้จัก CSR ในวิกฤต "เมลามีน"


นับ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2551 จนถึงวันนี้กรณีข่าวการปนเปื้อนของสารเมลามีนในนมที่ประเทศจีนเป็นเหตุให้ เด็กเสียชีวิต 4 ราย ล้มป่วยกว่า 60,000 คน และอีก 150 ราย เกิดอาการไตวาย สถานการณ์ยังลุกลามไปอีกหลายประเทศ เนื่องจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนก็ดูจะยังไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะจบ ง่ายๆ เฉพาะไทยทุกวันนี้สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ยังเดินหน้าประกาศรายชื่อสินค้าที่ปนเปื้อนสารเมลามีนแบบรายวัน

ตลอด ระยะเวลาเกือบ 2 เดือนของเหตุการณ์นี้ ไม่เพียงคำถามจะพุ่งตรงไปถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบถึงกลไกการเฝ้าระวังเรื่อง ความปลอดภัยทางอาหาร ว่าสำหรับประเทศไทยมีมาตรการที่เข้มแข็งเพียงพอหรือไม่ ในการคุ้มครองสุขภาพและชีวิตของผู้คนในประเทศ

แต่คำถามที่สำคัญไม่แพ้กันย่อมพุ่งตรงไปที่ "ผู้ผลิตและจำหน่าย" ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อน ถึง "ความรับผิดชอบ" ที่เกิดขึ้น !!

" หากบริษัทมีความรับผิดชอบจริงๆ ควรรีบแจ้งว่า ตนเองใช้นมจากเมืองจีนหรือไม่ อย่างไร ซึ่งอันนี้เป็นขั้นตอนที่หากบริษัทคิดว่ามี CSR บริษัทควรจะแจ้งไม่ใช่รอให้ อย.ตรวจพบ ส่วนใหญ่ต้องรอให้ตรวจเจอ เราต้องไปตรวจเองทั้งนั้น ไม่มีใครแจ้ง อย. เลย" "สารี อ๋องสมหวัง" บรรณาธิการบริหารวารสารฉลาดซื้อและผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว

นี่เป็นเหตุการณ์ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำคัญในการที่องค์กรธุรกิจไทยจะทำความรู้จักกับ CSR อย่างแท้จริง

ผศ. ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี ผู้เชี่ยวชาญ CSR คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นบทเรียนราคาแพงที่ตอกย้ำกับเราว่า แท้จริงแล้วความรับผิดชอบของ บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ปนเปื้อน ไม่ใช่เพียงสร้างสนามเด็กเล่น ให้ทุนการศึกษา พาเด็กออกค่าย แต่หมายถึงความรับผิดชอบจริงในกระบวนการธุรกิจซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท"

สำหรับ "เขา" มองว่า กลไกความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีที่สุดของบริษัท เหตุการณ์แบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นเลย แต�ในกรณีที่เป็นเรื่องสุดวิสัย ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เช่นในปัจจุบันควรดึงสินค้าออกจากชั้นทั้งหมด และรอให้ตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อน หากไม่พบก็สามารถนำกลับมาจำหน่ายต่อได้ แต่จากเหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความรับผิดชอบของบริษัทยังมีไม่มาก พอ

"นี่เป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับการทำ CSR ของบริษัทที่ไม่ได้เฉพาะอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เท่านั้น ว่าในท้ายที่สุดการทำ CSR ควรให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างการดำเนินธุรกิจกับการให้ ซึ่งผมมองว่าเราควรจัดการกับสาระสำคัญภายในกระบวนการผลิตก่อน จากนั้นถ้าจะให้ (philanthropy) กับสังคมภายนอกก็เป็นเรื่องที่ตามมา แต่ดูเหมือนว่าส่วนใหญ่เรามักจะเริ่มที่เรื่องกิจกรรมซึ่งทำง่าย มากกว่าการแสดงความรับผิดชอบในธุรกิจหลัก" ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์กล่าว

อย่างไรก็ตามไม่เฉพาะองค์กรธุรกิจ หากแต่กลไกการปกป้องผู้บริโภคของไทยยังมีปัญหา

เรื่อง นี้ "สารี" บอกว่า "ในยุโรป หากมีการตรวจพบสารปนเปื้อน สินค้าจะถูกบล็อกทันที หลังจากนั้นจะแจ้งว่าสินค้ายี่ห้อนี้เป็นแบล็กลิสต์ และจะประกาศทุกอาทิตย์ว่าอาทิตย์นี้ประเทศไหนตรวจเจอหรือไม่ โดยไม่ต้องรอให้มีคนฟ้อง ถือเป็นการยกระดับสินค้า โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนธุรกิจ เป็นสิ่งที่ อย.ควรทำอย่างยิ่ง"

"ในประเทศไทยการสุ่มตรวจประจำปีของ อย.มีอยู่แล้ว แต่ไม่เคยถึงหูผู้บริโภคและไม่เคยประกาศออกมา ทั้งที่จริงแล้วต้องประกาศในหลายช่องทาง อย่างรวดเร็ว โดยการวิเคราะห์การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญในการใช้การตรวจสอบที่มีงบประมาณ จำกัด ปัญหาอยู่ที่ว่าเราไม่ค่อยกล้าเปิดเผย"

ดังนั้นปัญหาการคุ้ม ครองผู้บริโภคไทยจึงมีมากกว่าระบบ หากแต่สำคัญอยู่ที่ทัศนคติของคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทและหน่วยงานกำกับดูแลที่จำเป็นต้องเปลี่ยน !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04031151&day=2008-11-03&sectionid=0221

บุก Tetra Pak สิงคโปร์ ตามดูวงจรชีวิต "บรรจุภัณฑ์สีเขียว"



จาก เดิมที่คนไม่เห็นค่าของ กล่องนมเพราะยากต่อการจัดเก็บและผลตอบแทนต่ำ จึงไม่มีใครอยากเก็บมารีไซเคิล ทำให้กล่องนมถูกทิ้งเป็นขยะวันละหลายสิบล้านกล่อง ยังไม่นับกล่องน้ำผลไม้และอื่นๆ ที่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมอย่างมาก แม้ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รายใหญ่อย่าง เต็ดตรา แพ้ค ได้พยายามออกมาประกาศว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ของเต็ดตรา แพ้คสามารถรีไซเคิลได้ ผุดโครงการ "เด็กไทยหัวใจรีไซเคิล" เพื่อชวนให้เด็กๆ ที่ดื่มนมในโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาลมาร่วมแกะ ล้าง เก็บกล่องนม แต่ก็ยังได้ผลในวงแคบเท่านั้น

ปีนี้เต็ดตรา แพ้คเลือกพันธมิตรถูกคน โดยร่วมกับรายการ 30 ยังแจ๋ว ที่ออกอากาศทางช่อง 3 ทำโครงการ "แจ๋วรักษ์โลก" ร่วมรณรงค์ให้คนเก็บกล่องนมมารีไซเคิล ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ระยะเวลา 6 เดือนที่โครงการถูกสื่อสารออกไป ถึงขณะนี้มีกล่องที่ส่งเข้ามาแล้วมากกว่า 6.3 ตัน หรือ 63 ล้านกล่อง ถ้านำมาผลิตเป็นสมุดได้ประมาณ 13,500 เล่ม หรือถ้านำไปผลิตโต๊ะ-เก้าอี้นักเรียนก็จะสามารถผลิตได้ 1,800 ชุด ก่อนที่จะนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในภายหลัง นอกจากนี้การรีไซเคิลแทนการเผาทำให้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปได้ถึง 56.7 ตัน ที่สำคัญแนวคิดนี้ได้กระจายออกไปทั่วประเทศ หลายแห่งมีการจัดตั้งเป็นจุดรับกล่องนมและมีการบอกกันปากต่อปากจนกลายเป็น จิตสำนึก นับว่าโครงการนี้สำเร็จอย่างถล่มทลาย แต่นั่นเป็นเพียงกิจกรรมที่รณรงค์มุ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของคนในสังคม ซึ่งเป็นปลายทางของวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์จะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

หากย้อนไปดูที่ต้นทางของการผลิตบรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้คก็ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

" ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเต็ดตรา แพ้ค ที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมจูล่ง ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล่องนมและน้ำผลไม้ส่วนใหญ่ที่มาจำหน่ายในไทย

"นา ยอง ไล ฮวต" ผู้จัดการด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและ อาชีวอนามัยเต็ดตรา แพ้ค จูล่ง ซึ่งได้รับรางวัลอีโค เฟรนด์ อะวอร์ด ในสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชน จากสถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ ขยายให้ฟังว่า ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของเต็ดตรา แพ้คมาจากปรัชญาธุรกิจที่ล้ำสมัยตลอดของ ผู้ก่อตั้ง นายรูเบน เราส์ซิงค์ ที่ว่า "A package should save more than it costs" หรือบรรจุภัณฑ์ควรจะประหยัดได้มากกว่าราคาของบรรจุภัณฑ์เอง ซึ่งก็หมายความว่า หัวใจการผลิตของเต็ดตรา แพ้คไม่ได้อยู่ที่การออกแบบและวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ เท่านั้นแต่ยังมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะอาด ปลอดภัยและคงคุณค่าของผลิตภัณฑ์จนส่งถึงมือผู้บริโภค และยังคำนึงถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องมาจากทรัพยากรที่สามารถหามาทดแทนได้และคิดค้น เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนให้กับลูกค้า เช่น ลดการใช้พลังงาน มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียกว่าคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทุกวงจรการผลิตจนถึงปลายทางของบรรจุภัณฑ์

" เต็ดตรา แพ้ค จูล่ง เป็นผู้ริเริ่ม นวัตกรรมการผลิตใช้กระดาษเยื้อใยยาวและการเคลือบอะลูมิเนียมและพลาสติกใน ความหนาที่เหมาะสม จึงทำให้สามารถรีไซเคิลได้ และผลิตบรรจุภัณฑ์ขนส่งให้กับลูกค้าเป็นม้วนกระดาษขนาดใหญ่เพื่อไปขึ้นรูป ที่โรงงานของลูกค้าที่มีเครื่องจักรของเราตั้งอยู่ ทำให้ส่งบรรจุภัณฑ์ได้คราวละมากๆ ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและยังคงคุณค่าของสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังออกรณรงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงโรงเรียนว่าผลิตภัณฑ์ของเราสามารถ รีไซเคิลได้ ทำให้ได้กล่องนมจำนวนมากที่พร้อมสำหรับการรีไซเคิล และยังให้ความสำคัญกับการทำคาร์บอนฟรุตพรินต์ (carbon footprints) ที่เป็นตัววัดผลกระทบของคาร์บอนที่เกิดขึ้นและตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนให้ ได้ 10% ภายใน 5 ปี"

เต็ดตรา แพ้คไม่ได้มองเพียงการผลิตใน 43 โรงงานเท่านั้น ทั่วโลกยังมีโรงงานผลิตเครื่องจักรตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในกว่า 170 ประเทศ และมีศูนย์วิจัย 12 แห่งเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมของการเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจร แปรรูปอาหารที่มีความหลากหลาย

และจากความเป็นผู้นำในด้านความสะอาด ปลอดภัยที่ เต็ดตรา แพ้ค จูล่ง กลายเป็นผู้กำหนดมาตรฐานให้กับประเทศสิงคโปร์ และเป็นผู้นำของเทคโนโลยีในระดับโลก เช่น การทำยูเอชที ขณะนี้ที่จูล่งมีศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลืองซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ ของตลาดยุโรป ต่อจากนี้จะมีนักวิจัยจากทั่วโลกมาทำงานในศูนย์วิจัยนี้เพื่อการพัฒนาสู่ สิ่งที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ในหลายประเทศเต็ดตรา แพ้คมีการทำธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อให้เด็กมีอาหารบริโภคอย่างปลอดภัย เช่น ไนจีเรีย แอฟริกา รวมทั้งทำงานร่วมกับ ต้นสายอย่างเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเกษตรกรพัฒนาปรับปรุงการเลี้ยงวัวที่ให้ได้นมมากที่สุด มีการแปรรูปที่สะอาดปลอดภัย จัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ส่งถึงมือผู้บริโภคโดยคงคุณภาพของ อาหารและมีความสะอาดปลอดภัย นับจากนี้อีก 7 ปีทุกผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้คจะมีบาร์โค้ดเพื่อบอกได้ถึงต้นทางของผู้ผลิตว่าใช้วัตถุดิบจากที่ใด เพื่อให้ตรวจสอบได้ถึงต้นทางของผลิตภัณฑ์

สำหรับระบบการจัดการขยะของ ประเทศสิงคโปร์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาดในเขตจูล่ง บริษัท ซูโล จำกัด ได้รับสัมปทานกำจัดขยะจากรัฐบาลสิงคโปร์ ทางบริษัทได้จัดส่งถุง 3 สีไปตามบ้านเรือนเพื่อง่ายต่อการคัดแยกขยะส่งต่อมารีไซเคิลที่โรงงาน

และ ถึงแม้เป็นประเทศที่มีกฎหมายเข้มงวดแต่ในพื้นที่สารธารณะที่มีการตั้งถังแยก ขยะกลับไม่รับความร่วมมือมากนัก เมื่อขยะถูกส่งมาถึงโรงงานก็จะทำการคัดแยกขยะ ส่วนที่รีไซเคิลได้จะถูกส่งไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียหรือไทย ซึ่งรวมถึงกล่องนมของเต็ดตรา แพ้คด้วย ส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จะเผาแล้วนำเถ้าไปรวมไว้ที่เกาะหนึ่งของ สิงคโปร์ ซึ่งทางบริษัทให้ความสนใจในระบบธนาคารขยะของประเทศไทย และคิดที่จะเข้าไปทำในโรงเรียนของประเทศสิงคโปร์อีกไม่นานนี้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03031151&day=2008-11-03&sectionid=0221

การร่วมกันสร้างประโยชน์แก่สังคม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในด้านต่างๆ


โดย ไฮน์ซ ลันดาว ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ เมอร์ค ประเทศไทย

พนักงาน ของ เมอร์ค ประเทศไทย กว่า 200 คนยังไม่รวมลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรของบริษัท กว่า 1,000 คนเดินทางมาร่วมกันอาสาสมัครปลูกป่าชายเลนที่บางปู บริเวณ "สถานตากอากาศบางปู" จ.สมุทรปราการ จ่าสิบเอกนิเวศน์ ชูปาน ได้อธิบายให้อาสาสมัครทุกคนเข้าใจถึงประโยชน์ของการปลูกป่าชายเลน เพื่อให้รับทราบว่าป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เนื่องจากป่าชายเลนจะช่วยปกป้องแนวชายฝั่ง แต่ป่าชายเลนกลับเป็นพื้นที่ที่ถูกคุกคามอย่างมาก

จ่าสิบเอกนิเวศน์ ได้แสดงขั้นตอนการปลูกป่าชายเลนที่ถูกวิธี หลังจากนั้นอาสาสมัครจำนวนกว่า 1,200 คนก็ตะลุยฝ่า ไอแดดร้อนระอุลงโคลนป่าชายเลน อาสาสมัครบางคนก็พาลูกหลานมาร่วมปลูกป่าด้วยเพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยมือตนเอง ซึ่งสำหรับเด็กๆ เหล่านี้การได้ลงเล่นในโคลนและปลูกต้นไม้ก็สร้างประสบการณ์ที่สนุกและได้ เรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน ช่วงเวลาประมาณบ่ายโมง ภารกิจการปลูกป่าชายเลนก็ประสบความสำเร็จ ต้นไม้กว่า 12,000 ต้นได้ถูกปลูกขึ้น

พันเอกชนินทร์ โพธิ์พูนศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก บางปูกล่าวว่า "ตั้งแต่รับตำแหน่งมาเป็นเวลา 1 ปี นี่เป็นโครงการแรกที่เห็นอาสาสมัครเข้าร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากที่สุดภาย ในวันเดียว ผมจะดูแลต้นไม้ที่ทุกท่านปลูกในวันนี้ให้อยู่อย่างยั่งยืน และจะนำต้นไม้ที่ทุกท่านปลูกวันนี้เข้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี" ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน อาสาสมัครทุกคนต่างเต็มอิ่มกับการได้มีส่วนร่วมสร้างความตระหนักลดภาวะโลก ร้อน และได้ร่วมกันรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้เป็นอย่างดี สมกับหยาดเหงื่อแรงใจของอาสาสมัครที่ศาลาสุขใจ ณ สถานตากอากาศบางปู

เมอร์ค ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรม ข้างต้นขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ด้วยความร่วมมือจากมูลนิธิ Plant-A-Tree-Today (PATT) กิจกรรมในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี เมอร์ค ประเทศไทย มิได้เอาใจใส่เพียงแต่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น บริษัท มีนโยบายที่ให้ความเอาใจใส่ต่อพนักงาน ลูกค้า และสังคมไทย ซึ่งเมื่อบริษัทเชิญชวนพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าให้มาเข้าร่วมในกิจกรรมรักษ์ผืนป่ากับเมอร์ค ประเทศไทย ก็ได้รับการตอบรับและสนับสนุนเป็นอย่างดี มีอาสาสมัครพนักงานและลูกค้ากว่า 1,200 คนสละเวลาในช่วงเช้าวันอาทิตย์เพื่อร่วมกันต่อสู้ปัญหาภาวะโลกร้อน เมอร์ค ประเทศไทย ได้ซื้อต้นไม้จำนวน 2,008 ต้น พนักงาน ลูกค้า และครอบครัวรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในหลายๆ ด้านได้ร่วมกันบริจาคต้นไม้เพิ่มเติมอีก 9,767 ต้นในราคาต้นละ 40 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้รวมค่าต้นไม้และค่าใช้จ่ายในการดูแลและปลูกป่าทดแทนในป่า ชายเลนโดยทหารจะเป็นผู้ดูแลเป็นระยะเวลาอีก 2 ปี

โครงการรักษ์ผืนป่า กับเมอร์ค ประเทศไทย เป็นตัวอย่างที่ดีของการร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมระหว่างกลุ่มผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในด้านต่างๆ ในกรณีนี้คือการร่วมมือกันของพนักงานเมอร์ค ประเทศไทย ลูกค้า ครอบครัว คู่ค้า และองค์กรไม่แสวงผลกำไร อันได้แก่ PATT กองทัพบก เทศบาลเมืองสมุทรปราการ สถานตากอากาศบางปู ผศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ และคณะนิสิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รวมถึงคณะนักเรียนและครู จากโรงเรียนวัดตำหรุมิตรภาพที่ 65 โรงเรียนอำนวยวิทย์ โรงเรียนสงขลาสุทธีราอุปถัมภ์ ทุกคนต่างร่วมใจกันอาสาเพื่อทำสิ่งดีๆ ตอบแทนให้แก่สังคม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับคนในรุ่นต่อๆ ไป นี่เป็นอีกหนึ่งการแสดงถึงความมุ่งมั่นและพลังใจที่บ่งบอกว่า เมื่อบริษัทและผู้บริหารดำเนินการด้วยหัวใจและทำให้ผู้อื่นสัมผัสได้ด้วยใจ แล้ว ก็ย่อมจะได้การตอบรับที่ดียิ่ง

หากว่าคุณมีตำแหน่งหน้าที่การ งานระดับสูงที่มีอำนาจในการตัดสินใจในบริษัท หวังว่าคุณจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะริเริ่มโครงการเพื่อสังคมไทยในลักษณะข้าง ต้น หรือหากคุณเป็นบุคคลทั่วไป หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณมองหาโอกาสที่จะเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครใน โครงการเพื่อสังคม ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกดีต่อตัวเอง อิ่มเอมในจิตใจ คุณจะได้รับความรู้สึกดีๆ ในใจคุณเองตอบด้วยมูลค่าที่ไม่ใช่เงิน แต่คือความสุขที่แม้แต่เงินจำนวนมากก็ไม่สามารถหาซื้อได้


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02031151&day=2008-11-03&sectionid=0221

เปิดผลท็อป 20 CSR ไทย ข่าวดี-ข่าวร้าย ว่าด้วย "การเปิดเผยข้อมูล"



" การเปิดเผยข้อมูล" ถูกนำมาเป็นโจทย์ของ CSR Asia ผู้ให้บริการด้านข้อมูล การฝึกอบรม การทำวิจัยและการให้คำปรึกษาด้าน CSR ชั้นนำในเอเชีย ในการสำรวจและจัดอันดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน "ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร" (CSR) ในเอเชียซึ่งเพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ และเชื่อด้วยว่าเรื่องการเปิดเผยข้อมูลถือเป็นความจำเป็นยิ่งในปัจจุบันที่ มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อนและความหวาดระแวงของประชาชนที่มีต่อความเชื่อถือสินค้าต่างๆ

" เราเชื่อว่า CSR ที่ดีก็คือการมีธรรมา ภิบาลที่ดี การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เราจึงเชื่อว่าการเปิดเผยข้อมูลถือเป็นส่วนสำคัญของการที่จะเป็นบริษัทที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม" "ดร.ริชาร์ด เวลฟอร์ด" ประธาน CSR Asia บอกเหตุผลถึงที่มาที่ไปในการจัดอันดับครั้งนี้จากการพิจารณาข้อมูลจากกว่า 700 องค์กรซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย โดยพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทใน 6 ด้าน คือ 1.นโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัท 2.กลยุทธ์ CSR และการสื่อสาร 3.ตลาดและซัพพลายเชน 4.สถานที่ทำงานและพนักงาน 5.สิ่งแวดล้อม 6.การลงทุนในชุมชนและการพัฒนาสังคม

เปิดเผยข้อมูลไทยยังล้าหลัง

ข่าวดี ก็คือ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั้งหมดไทยนั้นก้าวแซงหน้า "สิงคโปร์" ในการเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR และมีบริษัทไทยอย่าง "บมจ.ซิเมนต์ไทย" ที่ก้าวเป็น 1 ใน 10 บริษัทในเอเชีย โดยบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงถือเป็นผู้นำด้านการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 42% ในขณะที่มาเลเซีย ไทยและสิงคโปร์มีคะแนนเฉลี่ย 29% 25% และ 24% ตามลำดับ

แต่ข่าวร้ายก็คือ การเปิดเผยข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรของไทยในภาพรวมไม่เพียง ยังห่างกับประเทศอย่างฮ่องกงและมาเลเซีย แต่การเปิดเผยข้อมูลของไทยส่วนใหญ่ยังทิ้งห่างแทบไม่เห็นฝุ่นและมีช่องว่าง จากบรรดาบริษัทที่ติดอันดับท็อปเทนในเอเชีย



โดย ผลการศึกษาครั้งนี้ได้จัดอันดับในระดับภูมิภาคเอเชีย พบว่าบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับแรก ได้แก่ "ไชน่า ไลต์ เพาเวอร์" และ "เอชเอสบีซี" ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงที่มีคะแนนการเปิดเผยข้อมูล CSR เท่ากันโดยสูงถึง 97% และเป็นที่น่าสังเกตว่าใน 5 อันดับแรกของบริษัทในเอเชียนั้นล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ฮ่องกงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลำดับ 3 ไชน่า โมบิล ลำดับ 4 ฮั่งเส็งแบงก์ และลำดับ 5 ปิโตรไชน่า ขณะที่บริษัทไทยมีเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ คือ บมจ.ซิเมนต์ไทย โดยอันดับ 7 คือ ซิตี้ ดีเวลอปเมนต์ ในสิงคโปร์ อันดับ 8 เอ็มอาร์ที ฮ่องกง อันดับ 9 บีเอที มาเลเซีย และอันดับ 10 มีคะแนนเท่ากัน 2 แห่ง คือ เซมป์คอร์ป อินดัสทรี่ สิงคโปร์ และ เทเลคอม มาเลเซีย

"เราคงไม่ แปลกใจที่บริษัทซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงนั้นมีคะแนนที่ทิ้งห่าง เพราะความแข็งแกร่งของตลาดที่มีมายาวนาน แต่ที่น่าสนใจก็คือ มาเลเซีย ซึ่งในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ที่นั่นมีการส่งเสริมเรื่อง CSR และพยายามพัฒนาการทำ CSR อย่างมีกลยุทธ์ รวมทั้งการพัฒนามุมมอง CSR ให้กับบริษัทที่จดทะเบียน ทำให้เราเห็นบริษัทในมาเลเซียก้าวหน้ามากขึ้น" เวลฟอร์ดตั้งข้อสังเกต

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับมาดูผลการจัดอันดับการเปิดเผยข้อมูล CSR ของไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย 2.บมจ. ปตท.สำรวจและผลิต 3.บมจ. ปตท. 4.บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น 5.บมจ.ไทยออยล์ 6.บมจ.บ้านปู 7.บมจ.ผลิต ไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง 8.บมจ.ท่าอากาศยานไทย 9.บมจ.กรุงไทย 10.บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา นั้นช่องว่างในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่อยู่ในอันดับแรกที่ได้คะแนน 70.2% ขณะที่บริษัทในลำดับ 20 ของไทยได้คะแนนเพียง 11.3%

ต้องเน้นที่การกระทำ

" อเล็กซ์ มาโวร" หุ้นส่วนบริหาร โซเชียล อิมแพ็ค เวนเจอร์ เอเชีย ที่ปรึกษาด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งติดตาม CSR ในไทยมายาวนานให้มุมมองจากผลการจัดอันดับครั้งนี้ว่า "ถ้าดูชื่อบริษัทเราจะไม่น่าแปลกใจเลย แต่ต้องไม่ลืมว่านี่เป็นมุมมองเพียงเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ไม่ใช่มุมมองในทางปฏิบัติ ซึ่งผมคิดว่าการตั้ง ข้อสังเกตเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง 2 เรื่องนี้จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกัน"

สอด คล้องกับสิ่งที่ "สิริลักษณา คอมันตร์" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้ความเห็นว่า "การเปิดเผยข้อมูลอย่างเดียวนั้นไม่พอ แต่ต้องมองในเรื่องการกระทำของบริษัทด้วย ซึ่งที่ผ่านมาบางครั้งพฤติกรรมจริงกับการรายงานอาจจะต่างกันมากเลย ถ้าเอาเครื่องมือนี้ไปวัดเอ็นรอนในช่วงก่อวิกฤตก็เชื่อว่าผลจะออกมาดีมากๆ แต่เขาไม่ได้เปิดเผยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรายงานนั้น ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างการเปิดเผยข้อมูลกับพฤติกรรมจริง แต่ถ้าดูเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลในมิติเดียว ที่น่าสังเกตก็คือในบ้านเราธนาคารแทบจะไม่ติดอันดับท็อปเทนเลย ทั้งๆ ที่การเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเป็นสิ่งสำคัญมาก"

ในฐานะหน่วย งานที่เป็นผู้จัดอันดับครั้งนี้ "เอริน ลีออน" กรรมการบริหาร CSR Asia กล่าวว่า มีบริษัทจำนวนหนึ่งในไทยที่ทำได้ดีมาก อย่างไรก็ตาม เห็นว่าบริษัทยังต้องดำเนินการอีกหลายอย่างเพื่อปรับปรุงในแง่ของความโปร่ง ใส และการเปิดเผยข้อมูล ดังนั้นจึงเป็นที่น่าจับตามองถึงความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในการ จัดอันดับครั้งต่อไป

แนะ ตลท.-ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์

ประเด็นเรื่อง ของ "ความโปร่งใส" และ "การเปิดเผยข้อมูล" จึงเป็นอีกประเด็นที่ท้าทายทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรธุรกิจไทยใน อนาคต

"สฤณี อาชวานันทกุล" นักวิชาการอิสระ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า "แม้ว่าเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย จะไม่ได้ย่ำแย่เสียทีเดียว ในทางกลับกันมาตรฐานบางอย่างในการเปิดเผยข้อมูลระหว่างทางนั้นเข้มงวดมาก เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ เพียงแต่เรายังไม่มีเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับทัศนคติ CSR อย่างแท้จริง"

พร้อมทั้งอธิบายว่า "ทุกวันนี้เรามอง CSR เป็นการส่งเสริมการทำเรื่องดีๆ และมองในเชิงกิจกรรมมากกว่า ซึ่งปัจจุบันประเทศที่จริงจังกับ CSR มีการใช้กรอบรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI) ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการจัดทำรายงานที่ซีเรียสกว่ารายงานประจำปีที่บริษัทไทย ทำอยู่ ดังนั้นถ้าเกิดตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เห็นว่า CSR เป็นเรื่องสำคัญและทุกบริษัทต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสีย (steakholders) กฎเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลก็ต้องสะท้อนการให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสีย และสามารถเริ่มต้นด้วยการแก้ไขเกณฑ์ บางอย่าง เช่น การกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลจากเดิมที่ต้องเปิดเผยเฉพาะเมื่อมีคดีพิพาทมา เป็นการเปิดเผยข้อพิพาท รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น"

เพราะ "สฤณี" ยังเชื่อว่าประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลไม่ได้เป็นเพียงการเปิดเผยสถานะและ ความโปร่งใส แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะมีกลไกทางอ้อมที่จะทำให้บริษัทต้องจัดการ ปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้ามีข้อพิพาท

ก็ต้องพูดถึงวิธีการบริหาร จัดการกับข้อพิพาทนั้น และถ้าเขาไม่เคยมีวิธีการบริหารจัดการมาก่อน มันก็เป็นการบังคับให้เขาต้องคิดและมีกระบวนการในการบริหารจัดการปัญหาในที่ สุด"

ซึ่งนั่นเป็นความรับผิดชอบที่แท้จริงที่องค์กรต้องดำเนินการต่อผู้ได้รับผลกระทบมากกว่าเรื่องดีๆ บนหน้ากระดาษ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01031151&day=2008-11-03&sectionid=0221

วิพากษ์ "CSR" ร่วมสมัย


โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

ผม รู้สึกว่า "ประชาชาติธุรกิจ" เป็นหนังสือพิมพ์ที่เสนอแนวคิด CSR มากที่สุดแห่งหนึ่ง และนับเป็นคุณูปการสำคัญในการนำแนวคิดนี้มาใช้ แต่แนวคิดนี้ที่มีผู้นำเสนอดูออกผิดแผกไปบ้าง ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อวิพากษ์แนวคิด CSR ร่วมสมัยโดยอาศัยข้อเขียนใน "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับวันที่ 6-8 ตุลาคม และ 13-15 ตุลาคมศกนี้เป็นกรณีศึกษา

เอ็นจีโอกับ CSR

เอ็นจีโอ หรือสมาคม/มูลนิธิที่ดูแรงๆ ก็อาจมาเกี่ยวข้องกับ CSR ในแง่ที่วิสาหกิจเอกชนที่ต้องการทำดีมาจับมือกับตน จะสังเกตได้ว่าในช่วงแรกวิสาหกิจเอกชนช่วยเอ็นจีโอมาก แต่พอวิสาหกิจเหล่านี้ "ปีกกล้าขาแข็ง" ก็มักตั้งมูลนิธิของตนเองมาทำเอง วิสาหกิจข้ามชาติบางแห่งก็ชอบญาติดีกับเอ็นจีโอเหมือนกัน นัยหนึ่งก็เพื่อป้องกันไม่ให้เอ็นจีโอต่อต้านธุรกิจของตน

อย่างไรก็ ตาม ถ้าเอ็นจีโอใดทำงานเข้าตาสังคมก็สามารถอยู่รอดและเติบโตได้เองโดยไม่ต้อง พึ่งบริษัทต่างชาติหรือรับการอุปถัมภ์จากวิสาหกิจเอกชนใดโดยเฉพาะเพราะสังคม จะโอบอุ้มเอง เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู เป็นต้น

CSR เป็นของทุกคน

มี คำถามว่าองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ควรทำ CSR หรือไม่ ซึ่งย่อมมีคำตอบว่า "ควร" เพราะ CSR เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องเริ่มต้นที่การมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่ ละเมิดผู้บริโภค เช่น แม่ค้าขายขนมจีนจะเอาทิสชูใส่น้ำยาไม่ได้ ที่รองลงมาก็คือ SMEs ต้องมีจรรยาบรรณ หรือ soft laws เช่น มรรยาททนาย จรรยาบรรณแพทย์ เป็นต้น

และสุดท้ายจึงค่อยเป็นการบริจาค ผมเคยศึกษาว่าปีหนึ่งคนทั่วไปบริจาคเป็นเงิน 3% ของรายได้ ถ้าเช่นนั้นบริษัทใหญ่เล็กก็บริจาคไม่ต่างกัน เผลอๆ บริษัทใหญ่ที่ดูมีข่าวบริจาคหรือทำ CSR ครึกโครมก็อาจใช้เงินในสัดส่วนที่น้อยกว่าบริษัทเล็กด้วยซ้ำ

CSR ไม่ใช่การให้

ใน บทสัมภาษณ์บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ที่ว่า "การทำในสิ่งที่เชี่ยวชาญ" ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เช่นบริษัทโทรคมนาคมเน้นการช่วยเหลือสังคมในแนวทางด้านการสื่อสารที่ตนถนัด อย่างน่าชื่นชม

แต่การนี้ยังเป็นในรูปการให้ซึ่งเป็นเรื่องรอง บริษัทนี้ในฐานะองค์กรบริหารที่เป็นเลิศควรเสนอให้สังคมได้รู้เป็นแบบอย่าง ว่า การทำ CSR ในแง่มุมหลักคือความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า ชุมชนโดยรอบ สังคมและการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นธรรมนั้นทำอย่างไร

CSR กับการสร้างแบรนด์

ยัง มีความตะขิดตะขวงใจระหว่างการ ทำดี (โดยนึกว่าคือ CSR) กับการโฆษณา ซึ่งดูคล้ายเรื่องผิดบาป ผมอยากเรียนว่า การทำ CSR นั้นทำให้ชื่อเสียงกิจการดีขึ้น เพราะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือกับวิสาหกิจโดยตรง

ชื่อเสียงนั้น ไม่ได้เกิดจากการไปให้ ไปบริจาคหรือไปทำอะไรน่ารักน่าชัง เช่น ปลูกป่า ชื่อเสียงเกิดจากความรับผิดชอบต่อลูกค้า ลูกจ้าง คู่ค้าและอื่นๆ แสดงออกในแง่คุณภาพของสินค้าและบริการ ท่านทราบหรือไม่ว่ายี่ห้อ "โค้ก" มีราคาถึง 2.6 ล้านล้านบาท หรือมากกว่างบประมาณแผ่นดินไทยเสียอีก เพราะเขามี CSR ในแง่สาระไม่ใช่ในแง่บริจาคแต่อย่างใด

ธนาคารกับ CSR

ผม เห็นบทความสถานบันการเงินแห่งหนึ่งส่งเสริมให้พนักงานไปอาสาทำความดี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าส่งเสริม จะทำให้ พนักงานไม่มุ่งแต่หาผลประโยชน์หรือความสุขใส่ตัว สามารถที่จะเอื้ออาทรความสุขให้ผู้อื่นบ้าง

อย่างไรก็ตาม หน้าที่สำคัญตาม CSR และจะเป็นการสร้างแบรนด์ให้สถาบันการเงินอย่างยั่งยืนก็คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ละเมิดต่อผู้ฝากเงิน ไม่ "ล้มบนฟูก" ยามเกิดวิกฤต และที่สำคัญพนักงานระดับสูงไม่รับเงินใต้โต๊ะยามมีผู้ไปขอกู้เงิน ถ้าสถาบันการเงินดูแลพนักงานจนทำให้ลูกค้าประจักษ์ได้เช่นนี้ สถาบันการเงินแห่งนั้นก็มี CSR และมีแบรนด์ที่ดีจริง

CSR ในลมหายใจเข้าออก

ผม อยากสรุปว่าเราควรส่งเสริม CSR ตามมาตรฐานสากลที่ธุรกิจใหญ่น้อยต้องปฏิบัติ โดยจะละเมิด เอาเปรียบผู้บริโภค ลูกจ้าง หรือชุมชนไม่ได้ ส่วนใครจะทำดีก็เป็น "ของแถม" ถ้าเราจะเดินสายให้ความรู้กับประชาชน ก็ควรบอกประชาชนมีส่วนร่วมคอยตรวจสอบดูว่าบริษัทไหนผลิตสินค้าหรือบริการที่ รับผิดชอบต่อสังคมจริงจึงจะทำให้ CSR ยั่งยืน

เราไม่ควรบิดเบือน CSR ให้กลายเป็นการสอนศาสนา ยิ่งเอาคำบาลีมาใช้อาจทำให้ผู้นับถือศาสนาอื่นน้อยใจได้ เราสามารถอธิบายความดีได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องยกศาสนามาอ้าง เช่น ทุกคนก็รู้ว่า "ทำดี ได้ดี" "ยิ่งให้ ยิ่งได้" หรืออย่าง "ด้านได้ อายอด" เป็นต้น

เราไม่ควรมองเน้นกิจกรรม CSR ไปในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือการปลูกป่า ซึ่งเป็นเพียง "กระพี้" เพราะปีหนึ่งๆ ปลูกป่าได้แค่หมื่นไร่ (แล้วล้มตายไปเท่าไรก็ไม่รู้) แต่ปีหนึ่งๆ ป่าถูกทำลายไปนับแสนๆ ไร่ สังคมที่เดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เป็นเพราะคนทำดีน้อยไป แต่อยู่ที่การไม่อาจควบคุมคนทำผิดกฎหมายซึ่งมีอิทธิพลมากต่างหาก

CSR เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติโดยไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่ละเมิดจรรยาบรรณและร่วมกันทำความดีเพื่อความเป็นมงคลและยั่งยืนในธุรกิจของเราเอง


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04271051&day=2008-10-27&sectionid=0221

จุดประกายฝัน นัก (อยาก) เขียน

มติชน-เอสซีจี เปเปอร์ "Young Writer Camp"


" หนูชอบอ่านหนังสือและฝันมาตั้งแต่เด็กว่าอยากเป็นนักเขียน แต่ถ้าไม่มีค่ายนี้หนูคงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์" "มด" หมี่สะ แชเมิงกู่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน สันติคีรีวิทยาคม จ.เชียงราย 1 ใน 40 นักล่าฝันที่เดินทางไกลมาจากดอยแม่สลอง มีโอกาสเข้าร่วม โครงการมติชน-เอสซีจี เปเปอร์ จุดประกายปัญญาปี 4 "ยังก์ ไรเตอร์ แคมป์" (Your Writer Camp) ที่จัด ขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา

ค่ายนี้เป็นค่ายอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนอย่าง มืออาชีพกับนักเขียนชื่อดัง อาทิ อรสม สุทธิสาคร นักเขียนสารคดีอิสระ ทรงกลด บางยี่ขัน ไอดอลคนรุ่นใหม่แห่งนิตยสารอะเดย์ ศุ บุญเลี้ยง ศิลปินนักเขียน บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ ฯลฯ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และ ธุรกิจกระดาษเครือซิเมนต์ไทย (SCG Paper) โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ 40 คนจากการเปิดโอกาสให้เยาวชนส่งผลงานเข้ามาประกวดจากทั่วประเทศ

" อรสม สุทธิสาคร" นักเขียนสารคดีอิสระ หนึ่งในวิทยากรผู้เข้าร่วมโครงการบอกว่า "ในฐานะที่เราก็เคยเป็นเด็กและเคยเขียนหนังสือ และฝักใฝ่ในเรื่องแบบนี้มาก่อน แต่สมัยที่เราเป็นเด็กไม่มีค่าย เราก็ใช้วิธีแบบครูพักลักจำ มาแบบลูกทุ่งเราจึงคิดว่าเป็นโชคดีของเด็กยุคนี้ที่มีพื้นที่เปิดกว้างให้ สามารถหาความรู้ และได้เรียนรู้กับวิทยากรที่มีชื่อเสียงอยู่บนเส้นทางมืออาชีพ ตอนนี้มีค่ายแบบนี้หลายค่าย และเราก็พบว่าเด็กหลายคนมีฝีมือและก็ประมาทไม่ได้เลย จากที่ได้ดูผลงานเด็กที่เข้าร่วมโครงการเขียนแบบมืออาชีพทั้งนั้น จึงเชื่อว่าถ้าเขาได้รับการสนับสนุนในอนาคตเขาจะเก่งกว่าเรา และถ้ามีหลายๆ มือมาคอยสนับสนุน หลายคนจะกลายไปเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยยกระดับวงการวรรณกรรมไทย"

ปัจจุบัน แม้จะมีค่ายในลักษณะนี้หลายค่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ "ทรงกลด บางยี่ขัน" บรรณาธิการนิตยสารอะเดย์ บอกไว้นั้น น่าสนใจว่า "ผมว่าข้อดีของค่ายนี้ก็คือการที่เด็กจะได้รับความรู้ที่หลากหลาย ทั้งการเขียนสารคดี เรื่องสั้น สกู๊ปข่าว ซึ่งเขาอาจจะไม่สนใจทุกเรื่องแต่ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะสอนความเป็นมือ อาชีพ และทำให้พวกเขารู้ว่าบางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้เลย ทำไมจำเป็นต้องรู้เพราะจะสามารถสร้าง ไอเดียใหม่ๆ ให้เราได้"

และแม้ เวลาเพียง 4 วัน 3 คืนอาจจะไม่มากพอที่จะพัฒนาทักษะงานเขียนได้ในพริบตา แต่เขาก็เชื่อว่า "จากค่ายนี้ผมว่าเด็กๆ จะได้วิธีคิดและจุดประกายการเดินตามความฝันของพวกเขาในอนาคต"

เป็น การจุดประกายความฝันและจุดประกายปัญญา ซึ่งเป็นธงที่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี เปเปอร์ได้ ตั้งเป้าหมายไว้ เพราะแม้ค่ายนักเขียนครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กร 2 ค่ายผ่านโครงการจุดประกายปัญญาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่ 4

" สมหมาย ปาริจฉัตต์" กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "เราได้ทำงานร่วมกับเครือซิเมนต์ไทยมาแล้ว 3 ปี ปีนี้เป็นปีที่ 4 และ 2 ปีแรกเราเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เขียนจดหมายมาขอหนังสือบริจาค โดยทางคณะกรรมการจะคัดเลือกความจำเป็นเหล่านั้นก่อนที่จะพิจารณานำเงินไป ซื้อหนังสือเพื่อเข้าห้องสมุดแต่ละโรงเรียนก่อนที่ปีที่ 3 เมื่อปี 2550 ได้จัดกิจกรรมให้เยาวชนเขียนความเรียงเรื่อง "พ่อ" ส่งเข้าประกวด มีคณะกรรมการพิจารณาตัดสินและมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ได้รางวัลและ ซื้อหนังสือให้โรงเรียนที่เยาวชนคนนั้นเรียนอยู่ในปีที่ 4 นี้จึงได้ขยายกิจกรรมโดยจัดเป็นค่ายนักเขียนเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเขียนให้กับเยาวชนอายุ 15-22 ปี"

"สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับโครงการนี้ก็คือ มีเยาวชนส่งความเรียงเข้ามาประกวดถึง 820 คนมากกว่าที่ใดๆ ที่เคยจัดมา จากนั้นก็คัดเหลือเพียง 40 คนที่นับมาเป็นสุดยอดกระบวนยุทธ์ ซึ่งความสำเร็จของโครงการจะเกิดขึ้นได้ก็ขึ้นอยุ่กับผู้เข้าอบรมทุกคนที่จะ ต้องกลั่นผลงานออกมาให้ดีที่สุด" สมหมายกล่าว

เพราะงานนี้ไม่เพียง นักล่าฝัน 40 ชีวิตซึ่งมีโอกาสมาร่วมโครงการจะได้รับทุนการศึกษาคนละ 7,000 บาท พวกเขายังจะได้มีโอกาสมอบหนังสือมูลค่า 20,000 บาทให้กับโรงเรียนในโครงการ "โรงเรียน I see U มติชน 30 ปี" และที่สำคัญนี่จะเป็นครั้งแรกที่ทั้ง 40 คนจะได้เป็นเจ้าของผลงานหนังสือรวมเล่มเป็นครั้งแรกในชีวิต !!

ที่มี "มติชน" เป็นผู้จัดพิมพ์และ "เอสซีจี เปเปอร์" เป็นผู้สนับสนุนทุนการศึกษา กระดาษที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมในค่ายและกระดาษที่จะใช้ในการจัดพิมพ์ หนังสือรวมเล่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

"มัทนา เหลืองนาคทองดี" ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร เครือซิเมนต์ไทย (SCG) กล่าวว่า "สิ่งที่เราหวังคือการจุดประกายปัญญาที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการให้ สามารถเดินตามความฝันของตัวเอง เพราะเราเชื่อมั่นในคุณค่าของคน ซึ่งเป็นอุดมการณ์ข้อหนึ่งที่เครือซิเมนต์ไทยเชื่อมั่นว่า คนมีศักยภาพ มีคุณค่าและเราสามารถพัฒนาให้คนเป็นทั้งคนเก่งและ คนดี"

แม้นี่จะ เป็นเยาวชนเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่การจุดประกายฝันที่ทำให้เขาก้าวเดินไปบนเส้นทางนักเขียนมืออาชีพ อย่างที่พวกเขาใฝ่ฝัน ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ให้กับตัวเยาวชนเอง แต่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ อย่างที่ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร รองประธานที่ปรึกษา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ในตอนหนึ่งในการให้โอวาทกับเยาวชนที่มาร่วมในค่ายว่า "การเข้าค่ายครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นจุดประกายในชีวิตนักเขียน จะไปได้ไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน แต่ต้องพึงตระหนักว่า หน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ขอให้การเขียนเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ" !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03271051&day=2008-10-27&sectionid=0221

CSR กับจิตสำนึกขององค์กร


โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียลพลาซ่า กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย

เมื่อ เดือนกันยายน 2551 ผมได้อ่านบทความของท่าน ดร.อัศวิน จินตกานนท์ เรื่อง "ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน กิจกรรม CSR" (ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4040) และชอบการจัดแนวทางการทำ CSR ขององค์กรว่ามี 3 รูปแบบ คือ

1.CSR "ในบ้าน"

2.CSR "รอบรั้วองค์กร"

3.CSR "นอกรั้ว"

การ จัดแบบนี้ทำให้เรามองเห็นภาพของกิจกรรม CSR ว่าน่าจะมีขอบข่ายอย่างไร ควรจะทำกับใคร ด้วยจุดประสงค์อย่างไร และน่าจะมีพัฒนาการจากจุดใดไปสู่จุดใดบ้าง พอเห็นกรอบอย่างนี้เข้าผมก็เห็นตัวอย่างการทำงาน CSR ขององค์กรหลายองค์กรชัดเจนขึ้น

case ที่เรารู้จักกันดี คือ case ของ Starbucks ที่นำเอา CSR มาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและเฉียบแหลมขององค์กร Starbucks สร้างวัฒนธรรม "ในบ้าน" ของเขาที่เรียกว่า วัฒนธรรมแห่งความห่วงใย (be considerate) โดยความห่วงใยของ Starbucks นี้เชื่อมโยงไปถึงพนักงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และลูกค้า ซึ่งคงจะต้องใช้เวลานานกว่าที่วัฒนธรรม "ในบ้าน" จะฝังรากลึกลงไปในจิตใจของพนักงานแต่ละคน

นอกจากวัฒนธรรมห่วงใยแล้ว Starbucks ยังสร้างวัฒนธรรมที่ยื่นมือออกไปที่ "รอบรั้วองค์กร" คือวัฒนธรรมแห่งการมีส่วนร่วม (be involved) เพื่อให้พนักงานเป็น "พลัง" สำคัญในการที่จะนำตนเอง บริษัท เพื่อนพนักงาน หรือแม้แต่ลูกค้าเข้าไปมีส่วนร่วมกับ "ชุมชน"

วัฒนธรรมที่ยื่นออกไป ที่ "รอบรั้วองค์กร" นี้ทำให้เกิดเรื่องราวและวีรกรรมของพนักงาน Starbucks ที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมอย่างใกล้ชิด ทำให้ร้าน Starbucks กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ลูกค้านำ ข่าวสารและกิจกรรมของชุมชนมาติด มาประกาศ มาขอความร่วมมือ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างร้าน Starbucks กับชุมชน

นอกจากนี้ Starbucks ยังสร้างวัฒนธรรมที่ "ออกไปนอกรั้ว" ขององค์กร โดยพยายามปลูกฝังความเป็นตัวตนของ Starbucks ให้ประทับอยู่ในจิตใจของผู้บริโภค วัฒนธรรมนี้เรียกว่า "ช่วยกันประทับตรา" (leave your mark) โดยมี นโยบายที่จะส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและเลี่ยง ที่จะไม่ทำธุรกิจกับบริษัทที่ไม่สนใจกับ สิ่งแวดล้อม นโยบายที่จะซื้อเมล็ดกาแฟจากบริษัทหรือประเทศที่ดูแลพัฒนาชีวิตของ คนงาน ของชาวนา บริษัทหรือประเทศที่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนปลูกกาแฟ (ข้อมูลจาก : The Starbucks Experience ของ Joseph A Michelli) นโยบายเหล่านี้ถูกปลูกฝังและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังจน Starbucks สามารถประทับรอยแห่งความมั่นใจในการทำธุรกิจที่ถูกต้องให้กับผู้บริโภคและ ประชาชนทั่วโลก คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าผลสำเร็จทางธุรกิจของ Starbucks ส่วนหนึ่งมาจากการยึดมั่นใน "คุณธรรม" ดังกล่าวข้างต้น

ทั้งหมดนี้คง จะต้องเริ่มจาก "ในบ้าน" ก่อน "บ้าน" หรือองค์กรจะต้องวางแผนที่จะสร้าง "จิตสำนึก" แห่ง CSR ผ่านวิสัยทัศน์ (vision) ภารกิจ (mission) และคุณค่า (value) ขององค์กร

ถ้าลองศึกษากรอบวิสัยทัศน์และคุณค่าของบริษัท ชั้นนำ เราจะพบว่าเกือบทุกบริษัทจะฝังจิตสำนึกของ CSR ไว้แทบทุกบริษัท เช่น บริษัทเดลล์ คอมพิวเตอร์ มีวิสัยทัศน์คือนำสิ่งที่มีคุณค่าให้กับลูกค้า และเพิ่มคุณค่าให้แก่บริษัท เพื่อนบ้าน ชุมชน และโลกของเราโดยผ่านความเป็นผู้ริเริ่มเกี่ยวกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ทางด้านสิ่งแวดล้อม และทางด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก

บริษัท Fujisu มีวิธีทำงานของตนเอง ที่เรียกว่า Fujisu Ways โดยมีกฎกำกับการทำงาน (code of conducts) ไว้ 6 ข้อ ดังนี้

1.ให้ความเคารพกับสิทธิ มนุษยชน

2.ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

3.เคารพกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ

4.ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ผิดคุณธรรม

5.รักษาความลับอย่างเคร่งครัด

6.ทำธุรกิจอย่างเที่ยงธรรม

การ ปลูกฝังจิตสำนึกในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และคุณค่าไม่ใช่คำประกาศที่เอามาติดไว้โก้ๆ ให้พนักงานอ่านกันเล่นๆ แต่จะต้องถูกนำมาตอกย้ำ ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นคนแรกที่มีจิตสำนึก CSR ที่สอดคล้องกับ value ขององค์กร และจะต้อง "live the value" หรือ "ใช้ชีวิตไปตามแนวทางของคุณค่าองค์กร"

ตัวอย่างของการสร้างจิตสำนึก CSR ที่อยู่ใกล้ตัวผมมากๆ คือ การนำจิตสำนึกนี้มาใช้ในการบริหารและจัดการที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ เราจะเน้นวิสัยทัศน์และคุณค่าขององค์กรในงานทุกอย่างของเรา ตั้งแต่การทำ orientation ให้กับพนักงานใหม่ การทำ reorientation ซ้ำแล้วซ้ำอีกให้กับพนักงานเก่า การวางแผน business plan ประจำปี การทบทวนแผน หรือแม้แต่ ในการประชุมประจำเดือน ทีมบริหารจะย้ำถึงวิสัยทัศน์และคุณค่าควบคู่ไปกับงาน routine ที่ทำ ทบทวนประเมินแก้ไขงานให้อยู่ในกรอบคุณค่าตลอดเวลา ที่อิมพีเรียล เราเน้นเรื่องความสัมพันธ์ที่แฟร์กับพันธมิตรธุรกิจ เราเน้นชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทุกอย่างในการทำงานจะต้องสะท้อนถึงความห่วงใยดังกล่าวเสมอ

จิตสำนึก หลักประการหนึ่งที่เราพยายามปลูกฝัง คือ การประหยัดพลังงาน ศูนย์การค้าแต่ละศูนย์ใช้พลังงานมหาศาล เราจึงสร้างมาตรการสารพัดแบบที่จะช่วยให้เราประหยัดพลังงาน เพราะเรารู้ว่าการใช้พลังงานมากมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เราจ้างบริษัทที่ปรึกษามาเพื่อวางมาตรการประหยัดพลังงาน

เราเลือก ซื้อระบบปรับอากาศใหม่ที่จะให้ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เราสร้างนิสัยในการทำงาน และการใช้ชีวิตของพนักงานที่มุ่งประหยัดพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งหมดนี้เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่มันก็คุ้มแสนคุ้มทั้งทางด้านธุรกิจและด้านการสร้างทีมงานที่มีความรับผิด ชอบต่อภารกิจ ต่อชุมชน และสังคม

อย่างที่บอกแหละครับว่า จิตสำนึก "ในบ้าน" เป็นแค่จุดเริ่มต้น ถ้าปราศจากจิตสำนึกในองค์กรก็ยากที่เราจะสร้างจิตสำนึก CSR ที่จะออกไปที่ "รอบรั้วองค์กร" หรือ "นอกรั้ว" ได้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02271051&day=2008-10-27&sectionid=0221

ค้นความคิด "สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ" "ทีวีบูรพา" ต้นแบบองค์กรมีจิตสำนึก



เรา อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตา "สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ" และจดจำมาดสุขุมของเขาได้ในฐานะพิธีกรในรายการ คน ค้น ฅน และอีกหลายรายการของ "ทีวีบูรพา" บริษัทในเครือ "เจ เอส แอล" ผู้ผลิตรายการ "คน ค้น ฅน" "กบนอกกะลา" "จุดเปลี่ยน" "แผ่นดินไท" และ "พลเมืองเด็ก" รายการโทรทัศน์ที่น่าจะเรียกได้อย่างเต็มปากว่า เป็น "สื่อเพื่อสังคม" แต่ในหมวกของผู้บริหารที่เขานั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด นั้นน้อยครั้งนักที่เขาจะบอกเล่าถึงวิธีคิดในการทำงาน และวิธีการในการบริหารองค์กร เช่นเดียวกับที่กำลังนั่งลงบอกเล่าเรื่องราวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในวันนี้

เช่นเดียวกัน นี่เป็นครั้งแรกที่เขากำลังพูดถึงแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของ "ทีวีบูรพา"

ใน ออฟฟิศเล็กๆ ย่านรามคำแหง "สุทธิพงษ์" บอกเล่าที่มาของต้นทางความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาเชื่อ และวันนี้กลายมาเป็นรากฐานและวัฒนธรรมขององค์กร

"ถ้าย้อนกลับไป ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำบริษัททีวีบูรพา ความตั้งใจแรกคือบนอาชีพสื่อโทรทัศน์ เราก็น่าจะทำอะไรให้กับสังคมได้ผ่านสื่อ โดยที่ไม่ต้องทำงานโทรทัศน์แล้วเอาเงินที่ได้จากสิ่งที่ทำ จากนั้นจึงไปช่วยสังคม แต่สิ่งเหล่านี้น่าจะอยู่ในเนื้องาน ของเรา"

" เพราะฉะนั้นทุกรายการของทีวีบูรพา ปลายทางจะต้องสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และผมทำงานบนความเชื่อที่ว่า เราทำเพื่อสังคมบนอาชีพของเรา ก็เหมือนกับครูทำงานเพื่อสังคมโดยทำอาชีพครูให้ดี ตำรวจก็ทำได้ เราเป็นคนทำรายการโทรทัศน์ก็ทำเพื่อสังคมได้โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ อาชีพ"

องค์กรต้นแบบสร้างจิตสำนึก

รากฐานวิธีคิด เหล่านี้มาจากความเชื่อส่วนตัวของเขาที่ว่า "การทำประโยชน์ให้กับสังคมถือเป็นหน้าที่" ในช่วงแรกในชีวิตการทำงานเขาเคยลงพื้นที่ในหมู่บ้านห่างไกลเป็นระยะเวลาหลาย เดือน ไปกับพรรคพวกเพื่อนฝูงที่เป็นเอ็นจีโอ ก่อนจะมาทำงานแรกแบบเป็นเรื่องเป็นราวในฐานะคนทำรายการโทรทัศน์ ความเชื่อเช่นนี้ก็ยังมีอยู่ ผิดก็แต่ในช่วงเวลานั้นโปรดักต์หรือรายการที่ได้รับมอบหมายก็ไม่ค่อยเอื้อ ให้สามารถทำงานเหล่านี้ได้เต็มที่นัก กระทั่งเมื่อก่อตั้งบริษัททีวีบูรพา ภาพที่ว่าจึงค่อยๆ ปรากฏชัด จนวันนี้สามารถเรียกได้อย่างเต็มปากว่า องค์กรแห่งนี้คือ "องค์กรต้นแบบในการสร้างจิตสำนึก" และเป็น "องค์กรต้นแบบที่กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะ"

"ในฐานะสื่อ โทรทัศน์ที่มีอิทธิพลกับสังคม ผมว่าความรับผิดชอบของเราเริ่มตั้งแต่การทำรายการที่ไม่เน้นการขายเต็มที่ ก็ถือเป็นการแบ่งปันทรัพยากรของเราไปส่วนหนึ่ง เพราะทรัพยากรไม่ใช่เพียงเงินที่หามาได้แล้วใช้ไป แต่คือต้นทุนชีวิตของเรากับพนักงาน ซึ่งผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น จนพนักงาน ก็เข้าใจตรงกันว่าเราจะเป็นองค์กรเพื่อสังคม ดังนั้นสิ่งที่องค์กรทำคือการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้ผู้ชม โน้มน้าวชักจูงให้เกิดกลุ่มก้อนทางสังคม เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความเชื่อ จะช่วยให้เกิดพลังได้มากกว่าการที่เอาเงินไปช่วย"

ความเชื่อนี้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลจริงในสังคม

" เวลาทำงานเราอาจจะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ทำ แต่ทุกครั้งที่มีโอกาสได้สื่อสารกับแฟนรายการ พวกเขาบอกเล่าความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ งอกงามในตัวเขาจากที่ดูรายการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่องานครบรอบ 6 ปีทีวีบูรพาที่ผ่านมา มีคนมาร่วมงานเป็นหมื่นคน ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงจากตรงนั้น โดยส่วนตัว ผมสนใจความเปลี่ยนแปลงที่งอกงามในตัวมนุษย์ เพราะเชื่อว่าทุกอย่างต้องเปลี่ยนจากในตัวคน แล้วคนจะเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนที่จะค่อยๆ ขยายผลจากพื้นที่ที่เขา รับผิดชอบอยู่ในทุกๆ มิติและวันหนึ่งจะกลายเป็นพลังทางสังคมได้"

จุดเปลี่ยนที่เกิดจากพลัง

พลัง ทางสังคมที่ส่งให้เกิดผลกระทบในทางบวก ไม่ว่าจะเป็นการจุดกระแสการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำเพชรบุรี ให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หลังจากเรื่องราวชีวิตของ "ปู่เย็น" เฒ่าทระนงแห่งลุ่มน้ำเพชรบุรี ที่ใช้ชีวิตบนเรือแทนบ้านออกอากาศ หรือเรื่องราวของเกษตรอินทรีย์ ที่ขยายวงและสร้างเครือข่ายได้อย่างกว้างขวางผ่านรายการแผ่นดินไทย รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตที่จุดประกายโดย โครงการริเริ่ม เติมเต็ม ในรายการจุดเปลี่ยน ที่กำลังพยายามจะเปลี่ยนมุมมองต่อเรื่องการให้และการช่วยเหลือสังคม ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับอย่างแท้จริง

เขาขยายความว่า "การช่วยเหลือในสังคมไทยที่ผ่านมา มีการเกาไม่ถูกที่คันจำนวนมาก เช่น สมมติสถานสงเคราะห์ คนชราที่มีคนไปบริจาคเสื้อผ้า ไปเลี้ยงอาหาร แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่รู้เลยว่า เขาอาจจะต้องการฟันปลอม ขาดแพมเพอร์ส หรือไม่มีใครรู้หรอกว่ามีโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยากได้ล้อรถที่สามารถรับมือกับการวางเรือใบไว้ใช้ สำหรับเหตุฉุกเฉิน หรือการทำบุญคนอาจจะไม่เคยรู้เลยว่า พระต้องการแก้วหูเทียม เครื่องช่วยฟัง ไม่ใช่แค่ถังสังฆทาน"

ไม่ เฉพาะเนื้อหาผ่านรายการที่จะออกอากาศ ทุกกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทที่ถูกจัดวางไว้ในแต่ละปีว่า พนักงานของบริษัทจะต้องลงพื้นที่อย่างน้อย 3 ครั้ง ก็ต้องเป็นกิจกรรมที่ริเริ่ม...เติมเต็มเช่นกัน ล่าสุดที่เพิ่งจบไป บริษัทจัดโครงการทอดกฐินปลอดเหล้า โดยพนักงานลงไปเป็นอาสาสมัครและดึงคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม นัยหนึ่งเป็นการจุดประกายให้คนในชุมชนหันมาดูแลวัดของตัวเอง ขณะเดียวกันทุกกิจกรรมยังมีนัยสำคัญที่ซ่อนอยู่ ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับจิตสำนึก สาธารณะ

"เราเชื่อว่านี่เป็นวิธีในการหลอมรวมคนในองค์กร ซึ่งต้องพยายามหลอมให้คนเป็นชนิดเดียวกันมากที่สุด แล้วคนก็ไม่ใช่สิ่งที่ตั้งโปรแกรมและกดสวิตช์ได้ วิธีการที่ นุ่มนวลคือค่อยๆ ทำให้เป็นธรรมชาติ พนักงานบางคนไม่เคยเห็นความจริงในชนบท เห็นโลกเท่าที่เคยเห็นมา ฉะนั้น เมื่อทำแบบนี้เขาก็จะค่อยๆ ถอดเปลือกเขาออก และเริ่มมีใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำนี่เป็นต้นทุนที่บริษัทพยายามปลูกในคน เป็นเพราะการทำงานของเราเรียกร้องมากกว่าองค์กรทั่วๆ ไป สมมติว่าถ้าพนักงานไม่มีกรอบคิดและความเข้าใจในอะไรบางอย่าง ไม่มีจิตเสียสละ จิตสาธารณะต่อองค์กร ซึ่งเป็นจิตเดียวกับจิตสาธารณะต่อสังคม ถ้าไม่มีตัวนี้ก็เป็นเรื่องยากในการจะนำพาองค์กรให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ และสามารถอยู่ได้มาถึงวันนี้"

ถึงวันนี้แม้ในทางธุรกิจ "ทีวีบูรพา" อาจจะไม่สามารถฟันฝ่าคลื่นกระแสหลัก และเติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นเดียวกับหลายองค์กร แต่การดำรงอยู่และเติบโตอย่างมั่นคงในตลาดเฉพาะกลุ่ม ก็น่าจะเป็นบทพิสูจน์ความคิดและความเชื่อที่ "สุทธิพงษ์" กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า "เราสามารถทำเพื่อสังคมได้โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาชีพ"


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01271051&day=2008-10-27&sectionid=0221

แนวทางสรรค์สร้าง วิถีการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน


บริษัท ใหญ่ๆ ในปัจจุบันต้องตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตของโลกที่สุดจะคาดเดาว่า ผลกระทบวิกฤตต่างๆ จะเยื้องกรายเข้ามาปะทะธุรกิจของตนเองเมื่อไรและ อย่างไร ทิศทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมก็เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่าง อย่างทางออกที่ปรากฏชัดของบริษัทในขณะนี้ คือ 1.การมุ่งหาวิธีสร้างพลังและความแข็งแกร่งในการทำกิจกรรมทางสังคม และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ การสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคสังคมเพื่อทำให้ผลการสนับสนุนผ่านกิจกรรม CSR ของบริษัทนั้นมีประโยชน์เท่าทวี และ 2.หลายบริษัทมองหาวิธีการประเมินระดับการเข้าไปมีส่วนร่วม และความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาแบบที่เรียกว่า ทำงานร่วมกันเสมือนร่วมลงนาวาเดียวกัน เพื่อการพัฒนาให้พรุ่งนี้เป็นวันที่ดีกว่าสำหรับสังคมและบริษัทอันเป็นที่ รักของทุกคน

สำหรับสังคมไทยซึ่งอยู่ในระหว่างทางแห่งการเรียนรู้ ที่จะนำ CSR ไปใช้ในวิถีของตนเองให้เหมาะกับฐานบริบทของสังคมไทย 7 แนวทาง นี้ได้นำมาซึ่ง รูปแบบ วิธีคิด การเลือก ประเด็นการทำงานเพื่อสังคม คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นช่องทางไปสู่การทำงานกิจกรรมที่สร้างความยั่งยืน ที่เกิดผลประโยชน์ต่อองค์รวมทั้งตนเอง และสังคม

1.ผสานความหลากหลายของความ คาดหวัง

แม้ ว่านัก CSR ต้องเผชิญกับความคาดหวังที่หลากหลาย ไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทมีผลกำไร ในขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นก็มีความสุขและเห็นว่าได้มีการใช้เม็ดเงินที่มีความ คุ้มค่า ในขณะเดียวกัน "คุณต้องเป็นบริษัทที่ทำดี เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม" เหมือนจะดูเป็นอุปสรรคต่อการคิดค้นนวัตกรรมการทำกิจกรรมเพื่อสังคม แต่อาจจะเป็นแค่ปลายจมูก ถ้าลองผสานความหลากหลายของความคาดหวังให้ได้โดยที่มุ่งให้บรรลุความสุขของ ทั้งสังคมและตนเอง

2.คิดอย่างเดียว...สรรค์สร้างและ ยกระดับวิถีที่ยั่งยืน

โอกาส การทำดีทั้งเพื่อสังคมและเพื่อบริษัท นั้นคู่กับการมองหากลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จระยะยาวของบริษัท วิถีที่ยกระดับที่ยั่งยืนอยู่ที่ "พนักงานและลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มแรกที่จะทำความสำเร็จดังไปไกล" "โครงการที่พิสูจน์ระยะทางและ กาลเวลาจะทำให้ความสำเร็จลงหลักปักรากอย่างเข้มแข็ง" ด้วยการทำงานผสมผสานเป้าหมายร่วมกับองค์กรพัฒนา และยกระดับการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน เพื่อมุ่งร่วมแก้ปัญหาสังคม อย่างที่การผสานคุณค่า พันธกิจ และเป้าหมาย ของทั้งบริษัทและสังคม

3.ดูเหมือนจะพูดง่ายแต่ทำยาก สิ่งสำคัญที่ผู้นำต้องลงมือทำ

ผู้ ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารที่กุ่มนโยบาย ท่านทั้งหลายคือส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด ขาดคุณและการนำทางของคุณ พนักงานคงไม่เห็นทิศทางที่จะร่วมทางไปกับคุณสู่เป้าหมายที่คุณเห็นและอยาก ให้เป็น สิ่งที่สำคัญไปกว่านี้ การนำพาของคุณด้วยความจริงใจจากการกระทำที่มากกว่าคำพูด จะนำไปสู่ประโยชน์ต่อสังคมสาธารณะ หากผู้นำ ร่วมนำทางเช่นนี้ ไฉนเลยความสำเร็จของสังคมและธุรกิจจะไกลเกินเอื้อม เช่นเดียวกัน หากผู้นำประเทศปฏิบัติเพื่อสังคมด้วยความจริงใจแล้วไซร้...สังคมไทยหรือ จะเกิดความแตกแยกเพียงนี้ !

4.หมดยุคการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยเงินตรา...สู่การบูรณาการความร่วมมือ

ยุค ของการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมแบบองค์รวม คือทางออกและทางเลือกที่สำคัญยิ่งกว่าเงินตรา เพราะการทำด้วยการมองเป้าหมายของสังคมเป็นตัวตั้งนั้น ทำให้การทำ CSR ของบริษัทได้มองพ้นประตูการทำเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ แต่จะนำมาซึ่งภาพลักษณ์ของการเป็นพลเมืองที่ดีมีระดับที่คนในสังคมต้องหัน หลังกลับมามอง และอยากรู้ว่าใครคือบริษัทที่แสนดีบริษัทนี้ โดยที่ไม่ต้องมีการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์แต่อย่างไร ความดีนั้นดุจความเค็มในมหาสมุทรที่คงทนและยั่งยืนที่ไม่ต้องใช้ balance scored card หรือการต้องทำตามมาตรฐาน ISO 26000 หรือมาตราวัดตัวใด ง่ายๆ คือเริ่มทำความเข้าใจแก่นปัญหาสังคมที่บริษัทสนใจ มองหาความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาทั้งเชิงพี้นที่และ/หรือเชิงประเด็น และสร้างความร่วมมือเพื่อที่จะประสานนโยบาย พันธกิจ คุณค่าของบริษัทและเป้าหมายของสังคมเข้าไปด้วยกัน พัฒนาโครงการที่บูรณาการสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค จิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจ การสนับสนุนสิ่งของ (ต้องระวังว่าคุณได้ใคร่ครวญว่าสินค้าที่คุณไปสนับสนุนนั้นเป็นสินค้าที่ดี ที่สุด มิได้ค้างสต๊อกจนหมดอายุ) และสิ่งสำคัญพัฒนานวัตกรรม (คุณไม่รู้หรอกว่าการได้นั่งคิดนวัตกรรมการทำ กิจกรรมเพื่อสังคมของพนักงานของคุณนั้นคือการทำการพัฒนาศักยภาพจากได้ ฝึกปรือความสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระ และเกิดความรักที่เขาจะมีมากทวีขึ้นทั้งต่อองค์กรและสังคมหากสนใจเนื้อหา เรื่องจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจ สู่ความสุขในวิถีการทำงานได้ที่ www.ngobiz.org/thai land) สิ่งนี้หรือเปล่า ความสุขของสังคมและ ความยั่งยืนขององค์กรหรือเปล่า ที่พวกคุณกำลังมองหา

5.การตัดสินใจเลือกวิถีใดขึ้นอยู่กับความพร้อมต่อการพัฒนาของบริษัทคุณเอง...หามาตรฐานมาวัดความจริงนี้ไม่ได้

การ พัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม หรือการทำ CSR ที่ใครๆ เรียกติดปากนั้น มีอยู่ประมาณ 6 ขั้นใหญ่ๆ เริ่มต้นจากที่ไม่รู้เรื่องไปจนถึงการพัฒนาสู่ระดับสากลโลก ไม่ว่าบริษัทของคุณจะอยู่ในขั้นไหน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มคิด เริ่มลงมือ หรือทำไปแล้วระดับหนึ่ง (ยกเว้นผู้นำหรือเคยทำแต่ไม่รู้ว่าได้ทำแล้ว เพราะสมัยก่อนเข้าไม่ใช้คำ CSR นี้ ขอให้กล้าพูดให้เต็มปากได้แล้วในขณะนี้ว่า คุณนั้นเป็นผู้นำ เรียนเชิญออกมาเล่าความดีของท่านกันเถอะ) คำตอบต่อการตัดสินใจจะพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของคน ในองค์กรของคุณ และสังเกตด้วยว่าพวกเขามีพฤติกรรมหรือลักษณะการปรับตัว ตลอดจนความเร็วในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ขนาดไหน และความสำเร็จจะเกินคาด คือการเลือกทำกิจกรรมง่ายๆ ของบริษัท ซึ่งต้องผูกรวมไปที่คุณค่า พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กรของคุณ

6.หัวใจสำคัญคือการวัดผลสังคมและองค์กรที่เหมาะสม

สิ่ง ที่สำคัญคือการหาวิธีการวัดผลที่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมองค์กร และต้องเป็นตัววัดผลที่วัดทั้งผลประโยชน์ทางสังคมที่เกิดจากการสร้างความ ร่วมมือในกิจกรรมเพื่อสังคม และผลที่เกิดขึ้นต่อบริษัทของ กิจกรรมนั้นๆ ไม่มีมาตราวัดตัวไหนที่ดีที่สุด เพราะสุดท้ายคุณต้องวิเคราะห์เลือก เครื่องมือที่เหมาะสม และวัดประสิทธิผลของกลยุทธ์การทำกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ส่งผลต่อเนื่องระยะยาวต่อสังคมและองค์กร แต่ขอให้มีความอดทนต่อการทำงานนี้ เพราะประโยชน์ที่จะได้ต่อสังคม ธุรกิจเองนั้นไม่มีจำกัด และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

7.กำหนดนโยบายที่นำไปสู่ความสำเร็จระยะยาวและยั่งยืน

การ วาดภาพใหญ่ต่อผลประโยชน์ทางสังคมและบริษัทนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในขั้นตอนการออกแบบแผนและกลยุทธ์ที่ควรพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายของทุกๆ ด้าน ทั้งบริษัทและสังคม ทรัพยากรที่มีทั้งภายนอกและภายใน ความท้าทาย หรืออุปสรรค หรือวิธีการใดๆ ก็ตาม ล้วนควรตั้งอยู่บนผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทและสังคม

สำหรับ ประเทศไทย CSR อยู่ในระยะการเติบโตและมีความพร้อม บริษัทต่างๆ ควรเริ่มมองหานวัตกรรมที่จะดึงสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยสอดรับกับ พันธกิจและคุณค่าในรูปแบบการทำงาน ของภาคธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การผสมผสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาต่างๆ สู่ความเจริญ ความยั่งยืนที่แท้ของ ทุกๆ ฝ่าย


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

"เป๊ปซี่" จัดทัพกลยุทธ์ "ความรับผิดชอบ" ตั้งเป้าสู่องค์กรต้นแบบ "สิ่งแวดล้อม"



ภาย ใต้แนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร (CSR) นั้นมีหลายระดับ ระดับพื้นฐานที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ การทำกิจกรรม เพื่อสังคม ซึ่งเป็นก้าวแรกที่เริ่มต้นง่าย และทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี นักวิชาการด้าน CSR คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประเมินสถานการณ์ CSR ในไทยขณะนี้ว่า ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน และเป็นสิ่งที่เริ่มต้นได้ง่ายที่สุดในการทำ กิจกรรมเพื่อสังคม แต่ในระยะกลางถัดมา คงต้องมองถึงกระบวนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม ก่อนที่จะก้าวไปสู่ระดับที่ยากที่สุดคือการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนในภาพรวม"

แม้ ว่าที่ผ่านมา บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มครบวงจร ค่ายยักษ์น้ำดำ "เป๊ปซี่" อาจจะไม่โดดเด่นเทียบเท่าคู่แข่งในการเข็นกิจกรรมเพื่อสังคมและในด้าน กลยุทธ์ CSR หากแต่บทพิสูจน์จากการที่โรงงานปทุมธานี บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดของบริษัท ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 35 โรงงานจากจำนวน 200 แห่ง ให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรมใน โครงการ "รักแม่ รักษ์แม่น้ำ" ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชเสาวนีย์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำเจ้าพระยา

อาจจะเรียกได้ว่า เป็นทั้งบทพิสูจน์ ของการพยายามพัฒนาความรับผิดชอบภายในกระบวนการธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา

และยังเป็นก้าวสำคัญไปสู่การวางกลยุทธ์และการขับเคลื่อนความรับผิดชอบภายในองค์กร ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอนาคต

" รางวัลที่ได้ถือเป็นพันธสัญญาที่เราจะต้องทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่มาของโครงการ "Serm Suk Green Dimention" ที่เป็นโครงการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยริเริ่มบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในทุกๆ โรงงานของเสริมสุข ที่ปัจจุบันมี 5 แห่งได้แก่ ปทุมธานี นครราชสีมา และนครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และชลบุรี "ฐิติวุฒิ์ บุลสุข" ผู้จัดการทั่วไป โรงงานปทุมธานี บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าว

ถ้ามองเพียง ประเด็น "สิ่งแวดล้อม" เพียงผิวเผิน อาจจะดูธรรมดา แต่ความ น่าสนใจของโครงการนี้กลับอยู่ที่เป้าหมาย ที่ชัดเจนที่ได้วางไว้ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ น้ำ บรรจุภัณท์ พลังงาน สภาพแวดล้อม และคน

การปรับ ขบวนทัพ CSR ในองค์กรครั้งนี้ "ฐิติวุฒิ์" บอกว่า "แม้เรามาทั้งเริ่มทำเรื่องสิ่งแวดล้อมมายาวนานและไม่ใช่แค่ทำ ตามมาตรฐานแต่พยายามทำให้ดีที่สุด ในโครงการนี้จึงพยายามเจาะลึกใน แต่ละด้านมากขึ้น รวมทั้งทำให้เป็นรูปธรรมวัดผลได้ ด้วยเป้าหมายการเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม"

หากดูในรายละเอียดของแต่ละมิติจะเห็นภาพที่ว่าชัดขึ้น

มิติ แรกในด้านแรกการจัดการ "น้ำ" ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ "น้ำ" เป็นทรัพยากรที่ใช้มากที่สุด ที่ผ่านมามีการลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำในโรงงานทั้ง 5 แห่ง กว่า 100 ล้านบาท เพื่อใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ที่สุดเพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำจากธรรมชาติ

"ที่ผ่านมาเราสามารถลด การใช้ทรัพยากรน้ำไปได้ถึง 180 ล้านลิตรต่อปี หรือประมาณ 10% และจากนี้ยังตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการใช้น้ำให้ได้ถึง 20% ภายใน 3 ปีจากนี้ นอกจากนี้ด้วยระบบบำบัดแบบชีวภาพไม่ใช้ออกซิเจนและแบบใช้ออกซิเจน ทำให้คุณภาพน้ำที่ปล่อยคืนสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีความสะอาดกว่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ถึง 5 เท่า และสะอาดกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากครัวเรือนมากกว่า 50 เท่า และติดตามคุณภาพน้ำทิ้ง 24 ชั่วโมง" ฐิติวุฒิ์กล่าว

มิติที่ 2 ด้านบรรจุภัณฑ์ มีเป้าหมาย ในการลดการสิ้นเปลืองพลังงานให้มากที่สุด โดยใช้หลัก 3 R 1) ลดการใช้วัตถุดิบ (reduce) ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัตถุดิบ เช่น การคิดค้นขวดพีอีทีให้มีน้ำหนักลดลง หรือใช้พลาสติกเท่าที่จำเป็น ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกได้ปีละกว่า 1,000 ตัน พร้อมทั้งมีแผนที่จะดำเนินโครงการลดปริมาณกระดาษที่นำมาใช้เป็นถาดบรรจุ ภัณฑ์เท่าที่จำเป็นเพื่อลดการใช้ทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย 2) นำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (reuse) ด้วยการผลักดันการใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วแบบคืนขวด และ 3) การคัดแยกวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อส่งไปยังโรงงาน recycle เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

มิติ ที่ 3 ด้านพลังงาน บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะใช้พลังงานอย่างเต็มคุณค่า โดยมีการนำก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากระบบบำบัดน้ำเสียมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในกระบวนการผลิต ทดแทนน้ำมันเตา ซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาได้ถึง 100,000 ลิตรต่อปี พร้อมทั้งริเริ่ม การขนส่งสินค้าทางน้ำจากโรงงานผลิต ไปยังคลังสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้เรือลากจูงมาลากจูงเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งการลากจูงสินค้าทางเรือ 1 เที่ยว เทียบเท่ากับการใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าได้ถึง 20 เที่ยวทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันได้ถึง 240,000 ลิตรต่อปี และยังช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนน และยังมีการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก เช่น การใช้ก๊าซ NGV, LPG หรือน้ำมันดีเซล B5 มาใช้ในหน่วยรถทุกประเภทของบริษัท

นอกจากนี้ยัง พยายามสร้างสภาพแวดล้อมสีเขียวให้เกิดขึ้นภายในโรงงาน ซึ่งถือเป็นมิติที่ 4 และมิติสุดท้าย "คน" ซึ่งถือเป็น "หัวใจ" ขององค์กร

"เราเชื่อว่า การที่จะนำพาบริษัทไปสู่ การเป็นต้นแบบในการดูแลสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยคน ที่มีใจรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นพลังขับเคลื่อน "ฐิติวุฒิ์กล่าว

นอกจากนี้ยังบริษัทยังมุ่งไปที่การ ขยายผลสู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกับโรงงานด้วยกันด้วยการเข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้ง ระบบน้ำเสียให้กับโรงงานกว่า 40 แห่ง ล่าสุด ยังพยายามปลูกฝังเรื่องนี้กับเยาวชนโดยดำเนินโครงการ "คนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว" ซึ่งดำเนินการ ผ่านมูลนิธิทรง บุลสุข และกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ให้เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

และนี่เป็นอีกตัวอย่าง ของการขยาย ผลความรับผิดชอบจากภายในองค์กร สู่ภายนอก ที่ชัดเจนโดยเฉพาะภายในกระบวนการผลิต แม้ยังไม่เห็นแนวปฏิบัติความรับผิดชอบของกระบวนการดำเนินธุรกิจในด้านอื่นๆ อาทิการทำตลาดผู้บริโภค ฯลฯ แต่หากสามารถทำได้จริงตามเป้าหมายในแต่ละด้านที่วางไว้ ก็น่าจะเพียงพอที่สามารถตอบโจทย์ 3 ขาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ช่วย ในแง่ของการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมไปถึงลดการสร้างผลกระทบ เชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ในระดับที่ยั่งยืนกว่าการทำกิจกรรมเพียงฉาบ ฉวย !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

CSR จะเริ่มอย่างไรดี


ใน ปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจจำนวนมากที่อยากมีส่วนร่วมในการให้โอกาสชุมชนและ สังคมที่ด้อยโอกาส หรืออยากช่วยลดปัญหาความยากจนของคนไทย แต่ก็ยังลังเลไม่แน่ใจจะเริ่ม อย่างไรดี บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยตอบคำถาม และช่วยให้ท่านผู้บริหารที่สนใจจะมีแนวทางที่จะเริ่มโครงการที่ดีและมี ประโยชน์ ผมจึงอยากพูดถึงโครงการที่เกิดขึ้นจริงเมื่อประมาณ 14 ปีมาแล้ว โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการพัฒนาความสามารถด้านธุรกิจชุมชน" โดยโครงการนี้มีคุณชัยชนะ (นามสมมติ) ผู้อำนวยการองค์กรพัฒนาชุมชน เป็น ผู้ริเริ่มและถ่ายทอดความรู้ทางการตลาด และเป็นสื่อที่นำเอาความร่วมมือระหว่างธุรกิจ ชุมชนด้อยโอกาส และองค์กรเอกชน (NGO) มาทำงานร่วมกัน

เมื่อปี 2537 กิจกรรม CSR ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก คุณชัยชนะทราบว่ามีชุมชนแห่งหนึ่งมีสตรีที่มีความสามารถในการเย็บปักถักร้อย ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่มีความสามารถในการควบคุมคุณภาพ การตลาด และไม่มีเงินทุน คุณชัยชนะจึงได้ เข้าพบกับคุณภาษี เจ้าขององค์กรธุรกิจโรงแรมราชา และชักชวนให้ว่าจ้างชุมชน ดังกล่าวให้ผลิตผ้าปูโต๊ะและผ้าเช็ดปากให้กับทางโรงแรม แทนที่จะต้องไปจ้างร้านที่คิดราคาแพงๆ คุณภาษีเห็นด้วยแต่เป็นห่วงเรื่องคุณภาพ เพราะโรงแรมราชาเป็นระดับ 5 ดาว และมีชาวต่างประเทศมาพักมากมาย คุณภาษีจึงเสนอว่าเขาจะเป็นคนซื้อผ้าและว่าจ้างชุมชนเป็นผู้ผลิต เพื่อจะได้แน่ใจว่าผ้าที่ใช้จะมีคุณภาพคู่ควรกับโรงแรม

คุณชัยชนะ ทราบว่าชุมชนไม่สามารถผลิตผ้าปูโต๊ะและผ้าเช็ดปากจำนวนมากด้วยการเย็บมือ คุณชัยชนะจึงไปพบคุณเก่งกาจ ผู้จัดการ บริษัท Songster เพื่อขอให้ช่วยอบรมวิธีการเย็บด้วยเครื่องจักร และขอให้ขายเครื่องเหล่านี้ให้กับชุมชนในราคามิตรภาพ คุณเก่งกาจไม่แน่ใจว่าชุมชนจะหาเงินมาผ่อนค่าจักรเย็บผ้าได้หรือไม่ คุณชัยชนะจึงไปพบคุณวิทยาที่ธนาคารธนบุรี และขอร้องให้ปล่อยสินเชื่อให้ชุมชน ซึ่งเป็นวงเงินที่น้อยมาก และทางโรงแรมราชาได้มีหนังสือรับรองที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ชุมชนผลิต ซึ่งผลปรากฏว่าสินค้า ที่ชุมชนผลิตมานั้นมีคุณภาพและเสร็จ ตามกำหนดเกินความคาดหวังของโรงแรม ทำให้ชุมชนมีรายได้และทุกคนที่เกี่ยวข้อง มีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็น CSR รายแรกๆ ของประเทศไทย ส่วนเครื่องจักรของบริษัท Songster ก็เป็นที่รู้จักในชนบท สามารถเพิ่มยอดขายได้ในระยะเวลาต่อมา ธนาคารธนบุรีก็สามารถทำให้ชุมชนมีความซาบซึ้งและเข้าใจบทบาทการดำเนินงานของ ธนาคารมากยิ่งขึ้น ต่อมาธนาคารได้มอบเงินให้กับคุณชัยชนะจำนวนหนึ่งเพื่อสร้าง ถังเก็บน้ำสะอาด และสร้างห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์และ มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น

ปัจจุบันชุมชนดังกล่าวสามารถรับงานจากโรงแรม อื่นๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเด็กๆ สามารถไปโรงเรียน มีอนาคตที่ดีมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้หลายคนเป็นครั้งแรก อีกทั้งสามารถสลัดความยากจนอย่างถาวร และช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน ทำให้คุณชัยชนะมีความภาคภูมิใจที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ของชุมชน และมุ่งหน้าทำโครงการ CSR ทั้งโครงการใหญ่และโครงการเล็กต่อไป

จาก โครงการดังกล่าวคนที่น่าได้รับการยกย่องเพราะเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งด้าน การเงินและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่อาจใช้ไม่ได้ทั้งหมด คือ คุณภาษี เพราะต้องลงทุนซื้อผ้ามาเป็นจำนวนมาก และยังต้องค้ำประกันเงินกู้ของชุมชน ซึ่งหากชุมชนไม่สามารถผลิตสินค้าตามที่เขาต้องการแล้ว เขาต้องรับภาระใช้หนี้ธนาคารทั้งหมด ปัจจุบัน CSR ทำได้โดยไม่ยากเพราะเราทราบขั้นตอนและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ดังนี้

1. การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) จะได้เปรียบตรงที่ NGO เข้าใจคนในพื้นที่ดี และได้สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นระหว่างชุมชน และ NGO ไว้นานแล้ว 2.ท่านสามารถเชิญผู้แทนจาก NGO ไปบรรยายให้ผู้บริหารรวมถึงผู้ถือหุ้นว่า CSR คืออะไร องค์กรของท่านจะได้อะไรจากการทำ CSR ชุมชนจะได้อะไร และสังคมจะได้อะไร ตลอดจนลักษณะ ของโครงการที่ท่านสนใจ

3.เมื่อท่านพอใจ ท่านควรจะเชิญผู้แทนของ NGO ให้คุยกับพนักงานของท่านให้เข้าใจเรื่อง CSR เพราะ CSR ที่ดีควรจะมีพนักงานขององค์กรท่านเป็นผู้ดำเนินการและมีเจ้าหน้าที่ NGO เป็นพี่เลี้ยง ซึ่ง CSR จะประสบความสำเร็จที่แท้จริงนั้น พนักงานของท่านมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือกับโครงการ CSR 4.ทีมงานของท่านอาจจะไปพบกับชุมชนร่วมกับ NGOเพื่อแสดงความจริงใจให้แก่ชุมชนเพื่อ ความร่วมมือที่ดี

ในโครงการ ตัวอย่างข้างต้น โครงการ CSR ได้ช่วยสร้างอาชีพและชุมชนก็มีรายได้เพิ่มขึ้น มีหมู่บ้านที่ถูกสุขลักษณะอนามัย สามารถลดหนี้สิน พึ่งพาตนเอง และในที่สุดก็ได้เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้อีก นับเป็นโครงการที่ Win-Win ด้วยกันทุกฝ่าย


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

ริชาร์ด เวลฟอร์ด กูรู CSR เอเชีย The Future of CSR



ใน วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2551 ที่จะถึงนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่งานสัมมนาเวที CSR ระดับเอเชีย "CSR Asia" จะมาจัดงานในไทยเป็น ครั้งแรกร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ที่ตอนนี้มีซีอีโอและนักธุรกิจชั้นนำจากต่างประเทศลงทะเบียนมา ร่วมงานแล้วกว่า 300 คน

งานนี้มี "ริชาร์ด เวลฟอร์ด" ผู้ก่อตั้ง CSR Asia หนึ่งในกูรูด้าน CSR ในเอเชีย ที่ไม่เพียงมีผลงานวิจัยด้าน CSR ที่ตีพิมพ์ และเป็นที่ปรึกษาด้าน CSR ให้กับบริษัท ชั้นนำหลายองค์กร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา "ริชาร์ด"บินตรงจากฮ่องกง มาเพื่อบอกเล่าถึงผลสำรวจ "แนวโน้มประเด็น CSR ในทศวรรษหน้า" ซึ่งเป็นผลการสำรวจล่าสุด ที่ CSR Asia ได้จัดทำขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน CSR กว่า 53 คน ซึ่งเป็นทั้งนักวิชาการ ธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เกี่ยวกับเรื่องนี้

" ริชาร์ด" กล่าวว่า "จากการสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อหลาย ปีก่อน ก่อนหน้านี้ในเอเชียเราอาจจะพูดถึงเรื่องความยากจน เรื่องปัญหาสุขภาพ แต่ตอนนี้ประเด็นปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคคาดว่าจะปรากฏในอีก 10 ปี นับจากนี้คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องโลกร้อน พลังงาน การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การไม่มี น้ำสะอาดที่เพียงพอ รวมไปถึงปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของมนุษย์"

10 ประเด็นร้อนแห่งอนาคต

ถ้า ไล่เรียงสิ่งที่ปรากฏซึ่งเชื่อมโยงกับ CSR จากมากไปถึงน้อยใน 10 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1.ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 2.ปัญหาสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะกลายเป็นประเด็นที่ทำให้ธุรกิจต้องมองไปข้างหน้า ทั้งกับพนักงานในองค์กรเอง รวมไปถึงแรงงานของบริษัทที่อยู่ในซัพพลายเชนทั้งหมด 3.ความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นกับการใส่ใจเรื่องความโปร่งใสของบริษัท ซึ่งจะขยับจากรายงานไปสู่สิ่งต่างๆ ที่ต้องสามารถตรวจสอบได้ 4.CSR จะถูกบรรจุ ลงไปอยู่ในกฎหมายและกลายเป็นประเพณีปฏิบัติขององค์กรที่ในอีก 10 ปีข้างหน้าคาดว่าอย่างน้อยที่สุดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 26000 ที่ว่าด้วยความ รับผิดชอบต่อสังคมที่กำลังจะประกาศใช้ 5.มีการสื่อสารที่มากขึ้นระหว่างบริษัท กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)ซึ่งการสื่อสารนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าไปอยู่ในโครง สร้างของธรรมาภิบาล ในองค์กร



6. ความคาดหวังที่กำลังเปลี่ยนไป ของคนทำงาน อาทิ การมองหาคุณภาพชีวิตที่ดี ฯลฯ จะทำให้องค์กรต้องมองในประเด็นเหล่านี้มากขึ้น หากต้องการคนทำงานที่มีความสามารถ 7.รูปแบบของ การให้ของธุรกิจจะเปลี่ยนไปสู่การลงทุน ในชุมชน ซึ่งนั่นหมายความว่าการบริจาค ที่เคยปรากฏจะลดน้อยลง ขณะเดียวกันองค์กรจะมองในแง่ของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน และต้องมั่นใจว่าเงินที่ลงทุนในทางสังคมนั้นจะสามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนให้ ชุมชนและบริษัท 8.ความตระหนักต่อ "ซัพพลายเชน" ในธุรกิจจะมีมากขึ้น เช่น ความคาดหวังในเรื่องสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเชน 9.การเติบโตของผู้ประกอบการทางสังคม (social enterprise) ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า "ธุรกิจเพื่อสังคม" ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสังคมที่ใช้ลักษณะการทำงานในแบบองค์กรธุรกิจ 10.ภาคธุรกิจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ลดปัญหาความยากจนในสังคม โดยธุรกิจจะเข้าไปมีส่วนในการช่วยลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยในประเทศที่ กำลังพัฒนา

ก้าวสู่ CSR value

"ริชาร์ด" อธิบายด้วยว่า "จะเห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่จะเปลี่ยนไปนั้นย่อมทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว และในอนาคตธุรกิจจำเป็นจะต้องมี CSR ในเชิงคุณค่า (value) มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการให้ที่จะเปลี่ยนไปสู่การลงทุนทางสังคม คล้ายๆ กับวิกฤตทางการเงินในขณะนี้ที่เชื่อว่าองค์กรจะใช้เงินในการบริจาคน้อยลง แต่ต้องการ สร้างคุณค่าจากเงินที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือสังคมให้เกิดประสิทธิผลมาก ขึ้น"

เขายังมองว่า "CSR ที่ดีก็คือการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ซึ่งเราอาจจะคิดว่า CSR คือการเข้าไปช่วยในเรื่องการลดปัญหาความยากจน แต่สิ่งที่ท้าทาย กว่านั้นคือความรับผิดชอบในทุกวันของธุรกิจ"

"ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะได้รับการหยิบยกให้มีความสำคัญมากขึ้นจากกลุ่มคนต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อบริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทด้วยกันเอง รัฐบาลและนักการเมืองนักลงทุน ผู้บริโภค พนักงานและสหภาพแรงงาน สถาบันและเวทีในระดับนานาชาติ ผู้นำในภูมิภาค สื่อมวลชน และสถาบันการศึกษา ฯลฯ จากผลสำรวจจะเห็นว่าเอ็นจีโอนั้นมีอิทธิพลสูงสุดที่มักเป็นคนหยิบยกประเด็น ต่างๆ ขึ้นมา เช่น กรณีการไม่ซื้อสินค้าของโคคา-โคลา ในอินเดียจากปัญหาเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ แม้ผู้บริโภคจะไม่ซื้อแต่จะสังเกตว่าประเด็นนั้นถูกหยิบยกขึ้นมาโดยเอ็นจี โอ"

เขายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า "กลุ่มคน ที่สำคัญรองลงมาก็คือบริษัท ด้วยกันเอง ที่ออกมาประกาศ

ความ รับผิดชอบกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์ ในเรื่องการศึกษา ยูนิลีเวอร์ในการประกาศที่จะช่วยลดปัญหาความยากจน คาเธ่ย์ แปซิฟิค ที่ประกาศจุดยืน ในเรื่องการลดโลกร้อน ฯลฯ บริษัท ต่างๆ เหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญในอนาคตที่จะทำให้เรื่องต่างๆ ได้รับความสนใจจากสังคม"

แนะแนวทางบริษัทปรับตัว

ดัง นั้นยิ่งแรงกดดันในสังคมที่มีต่อเรื่อง CSR ยิ่งเพิ่มขึ้นมาก สิ่งที่บริษัทในเอเชีย วันนี้ต้องทำก็คือการเร่งปรับตัว เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

"ริชาร์ด" แนะนำว่า องค์กรควรมีการปรับปรุงความสามารถภายในองค์กรที่มีต่อเรื่องสังคมและสิ่งแวด ล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การสร้างตระหนักให้พนักงานในองค์กร รวมไปถึงการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในประเด็นต่างๆ ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ รวมไปถึงการตัดสินใจสำคัญๆ ในการดำเนินธุรกิจ

นอก จากนี้ควรทำ CSR ให้เป็นส่วนหนึ่งในองค์กร เช่น การพัฒนามุมมองในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบ การทำให้ CSR กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักในธุรกิจ การเชื่อมโยง CSR กับการสร้างแบรนด์ ในเอเชียยังมีหลายประเด็นที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม การมีอำนาจเหนือผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งมีหลายบริษัทใหญ่ๆ ในเอเชียที่ถือครองโดยครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง ฯลฯ รวมไปถึงควรให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของซัพพลายเชน การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ และการพัฒนาคนในองค์กร

SCG คว้าสุดยอดบริษัท CSR ไทย

ล่า สุด CSR Asia ยังได้จัดอันดับบริษัทที่มีการเปิดเผยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ยอดเยี่ยมในเอเชีย โดยวัดจากการเปิดเผยข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ นโยบาย กลยุทธ์ CSR ตลาดและซัพพลาย เช่น สถานที่ทำงาน ทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม ผลจากการจัดอันดับ (ดูรายละเอียดในตารางประกอบ) มีบริษัทไทยเพียงบริษัทเดียวคือ เครือซิเมนต์ไทย (SCG) ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 โดยส่วนใหญ่เป็น บริษัท ในฮ่องกง ตามมาด้วยมาเลเซียและสิงคโปร์

จาก ผลการจัดอันดับ "ริชาร์ด" ประเมินถึงสถานการณ์ CSR ในเอเชียปัจจุบันว่า "จะเห็นได้ว่าบริษัทในฮ่องกงที่มีการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นต่างๆ มากเป็นเพราะเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มานาน แต่ที่น่าสังเกตก็คือความตื่นตัวในเรื่อง CSR ของบริษัทในจีนที่มีมากขึ้น รวมไปถึงมาเลเซียซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่งเสริมในเรื่องนี้ สำหรับไทย ถ้าดูบริษัทไทยจากการสำรวจครั้งนี้จะเห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการ เรื่องนี้ในลักษณะของกิจกรรมเพื่อสังคมมากกว่า แต่ก็มีแนวโน้มการให้ความสำคัญในประเด็นอื่นๆ มากขึ้นเช่นกัน"

ฉะนั้น เมื่อถามถึงสถานการณ์ CSR ในไทย เขาจึงฟันธงว่า "ยังอยู่ในระดับเริ่มต้น แต่มีสัญญาณที่กำลังจะเทกออฟทะยานสู่การแสดงความรับผิดชอบในระดับที่เข้มข้น ขึ้นในเร็ววันนี้" !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

CSR แบบ "ฟิลิป คอตเลอร์" ฉบับ (ภาค) ภาษาไทย



แม้ หนังสือ Corporate Social Responsibility Doing the Most Good for Your Company and Your Cause ของกูรู ด้านการตลาดอย่าง ฟิลิป คอตเลอร์ ซึ่งเขียนถึงแนวคิดและแนวปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ร่วมกับ นักพัฒนาสังคมอย่าง แนนซี่ ลี ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อนจะเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของผู้ที่ศึกษาและติดตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์กร (CSR) มาพอสมควร และถือเป็นคัมภีร์เล่มหนึ่งในยุคต้นๆ ที่นักวิชาการหลายค่ายจะใช้อธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่ใช่ เป็นเพียงการบริจาค

ล่าสุดหนังสือเล่มนี้ได้รับการแปล เป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว โดย ม.ร.ว. รมณียฉัตร แก้วกิริยา ซึ่งจัดพิมพ์โดยบริษัท ยูนิเวอร์แชล พับลิชิ่ง จำกัด และจัดจำหน่ายโดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ในชื่อฉบับภาษาไทยว่า บรรษัทบริบาล (ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร) เพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านกันอย่างเต็มอิ่ม และยังเป็นหนังสือ CSR ภาษาไทยเพียงไม่กี่เล่มที่อยู่บนแผงหนังสือวันนี้

เนื้อหาใจความเป็น การศึกษาถึงความเปลี่ยนไปของรูปแบบกิจกรรมเพื่อสังคมในสหรัฐอเมริกา ที่กำลังก้าวข้ามจากแนวปฏิบัติแบบดั้งเดิมที่อยู่ในรูปแบบของการบริจาคในแบบ ฉบับของการ "ทำดีที่ทำได้ง่ายที่สุด" มาสู่แนวปฏิบัติใหม่ ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยองค์กรมุ่งที่จะเลือกเฉพาะ หัวเรื่องเชิงกลยุทธ์บางประการที่สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กร เลือกทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตอบสนองเป้าหมายของธุรกิจ หรือเลือกประเด็นปัญหาทางสังคมที่สัมพันธ์กับสินค้าหลักหรือตลาดใหญ่ ฯลฯ

ซึ่งทำให้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมเปลี่ยนไปมาสู่การทำงานที่มีแบบแผน มีกลยุทธ์ และให้ความสำคัญกับการประเมินผลมากยิ่งขึ้น

กิจกรรม เพื่อสังคมที่ทั้ง "ฟิลิป คอตเลอร์" และ "แนนซี่ ลี" ได้แบ่งไว้ 6 ประเภท มีตั้งแต่แนวคิดที่มุ่งเน้นการตลาด เช่น การส่งเสริมประเด็นสังคมของบริษัท การตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นสังคม การตลาดเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวคิดที่อยู่นอกเหนือกิจกรรมของ ฝ่ายการตลาด อาทิ กิจกรรมอาสาสมัครพนักงาน รวมไปถึงแนวปฏิบัติทางธุรกิจเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นความรับผิดชอบภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจภายในองค์กร

ซึ่ง การปฏิบัติและการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในมุมมองใหม่นี้ ผู้เขียนระบุว่า ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจจึงถูกปรับมาสู่การวางพันธกิจใน ระยะยาว และเสนอความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น ใช้ผู้ชำนาญการพิเศษ ความสนับสนุนด้านเทคนิค การอนุญาตให้ใช้บริการต่างๆ การจัดหาบุคลากรด้านอาสา

ทั้งยังเป็นการผสานประเด็นปัญหาทางสังคม เข้ากับการตลาดและการสื่อสารองค์กร งานทรัพยากรบุคคล ชุมชนสัมพันธ์ และการทำงานที่จับมือกับพันธมิตรภายนอกองค์กร

ในหนังสือเล่มนี้ยัง ได้จำแนกแยกแยะ ให้ข้อสังเกตทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละกิจกรรม พร้อมข้อควรระวัง อาทิ การไม่คุยโม้โอ้อวดจนเกินไปในการสื่อสาร ซึ่งจะทำให้กิจกรรมที่ทำนั้นดูเป็นการสร้างภาพมากกว่าการตั้งใจช่วยสังคม จริงๆ ฯลฯ

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การรวบรวมแนวทางที่ดีที่สุดในการเลือกประเด็นปัญหาสังคมที่เหมาะกับองค์กร และวิธีการพัฒนาโครงการที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะและเป้าหมายขององค์กร ตัวอย่างเช่น กิจกรรมของสตาร์บัคส์ ในการให้การสนับสนุนชาวไร่กาแฟแบบธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจ ในการเปิดตลาดใหม่ และเปิดโอกาสสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับซัพพลายเออร์ การประหยัดเงินปีละหลายล้านเหรียญสหรัฐของ "ซิสโก้" ที่เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยการใช้กรรมวิธีก่อสร้างแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต หรือการที่ "เบน แอนด์ เจอรี่" สามารถช่วยขยายการรับรู้ของคนในสังคมผ่านการรณรงค์เรื่องโลกร้อน ฯลฯ

แม้ เนื้อหาค่อนข้างจะตรงไปตรงมาในหนังสือที่พูดถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ อาจจะเป็นเรื่องตะขิดตะขวงใจใครหลายคน อีกทั้งแนวคิดยังเต็มไปด้วยกลิ่นอายนมเนยฉบับตะวันตก

หากแต่เปิดใจ ให้กว้าง นี่เป็นอีกมุมมองที่องค์กรธุรกิจในไทยจะสามารถนำมาปรับใช้ โดยอาจปรับไปตามความเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร และบริบทของสังคมไทย เพื่อจะสามารถขับเคลื่อน CSR ในองค์กรได้อย่างถูกทิศถูกทาง และสามารถสร้างประสิทธิผลจากการใช้ทรัพยากรในองค์กรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อก้าวสู่ยุคที่ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า "การทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อ ให้เกิดความดีแบบสุดๆ ไม่ใช่ความดีธรรมดาๆ" ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณที่ว่านี้ค่อยๆ ชัดขึ้นๆ ในไทย !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05131051&day=2008-10-13&sectionid=0221