วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ปฏิบัติการล่าฝัน (ใหม่) "แมกโนเลีย" ตอบโจทย์นวัตกรรมเพื่อสังคม


การ สนับสนุนปฏิบัติการล่าฝัน "อะคาเดมี แฟนเทเชีย" ในหลายซีซั่นที่ผ่านมา ที่ส่งให้ชื่อเสียงของ "บ้านแมกโนเลีย" เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จทั้งในแง่แบรนด์และยอดขาย

ปฏิบัติ การล่าฝันครั้งใหม่ที่จั่วหัว มิใช่เป็นเพียงรายการเรียลิตี้ที่คุ้นเคย แต่ครั้งนี้เป็นการเปิดเวทีประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม ในชื่อโครงการ Innovation World"s Care Award หรือชื่อเล่นๆ ว่า iCARE ซึ่งเปิดรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไปส่งแผนธุรกิจเพื่อสังคม ในการจัดตั้ง "โครงการบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุและเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง" โดยผู้ร่วมประกวดผลงานจะต้องออกแบบแนวคิด การบริหารจัดการ แนวคิดอาคาร เพื่อที่จะให้โครงการที่จะจัดตั้งขึ้นสามารถเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

ไม่เพียงเป็นการเปิดเกมรุกในการนำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR : corporate social responsibility) มาทำให้เป็นรูปเป็นร่าง

พันธกิจข้อหนึ่งของกลุ่มบริษัท ดีที ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ MQDC ยังอยู่ที่ว่า "สามารถช่วยเหลือเด็กยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

หลังจากที่ผ่านมา บริษัททำงานส่วนใหญ่ในรูปของการบริจาคและช่วยเหลือเด็กกำพร้า ผ่านมูลนิธิพุทธรักษา ที่จัดตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้

" การทำงานครั้งนี้ถือเป็นการโฟกัสไปที่ประเด็นปัญหา ที่ผ่านมาหลายบริษัทอาจจะทำหลายโครงการ แต่การที่เราเลือกโฟกัสปัญหาเรื่องเด็กเพราะมองว่ามันเป็นแก่นสำคัญในการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ" วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ กรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เล่าถึงที่มาของโครงการนี้

นี่จึงไม่ใช่แค่เวที ประกวดแผนธุรกิจเฉกเดียวกับการประกวดทั่วไป แต่เป?นโครงการที่จะเกิดขึ้นจริงในราวปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า หลังจากผ่านพ้นกระบวนการคัดเลือกแผนธุรกิจเพื่อสังคมทั้งหมดแล้วเสร็จ

แม้ อาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมากนัก แต่ในความเป็นจริง "โครงการบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุและเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง" นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากกระบวนการทางธุรกิจ หลังจากทีมงานวิจัยและพัฒนาของบริษัททำการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในวัยต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการนำมาพัฒนาปรับปรุงการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยใน โครงการทุกโครงการของบริษัท ให้สามารถตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่บริษัทให้ความสำคัญ

แต่ยิ่งศึกษามาก ทำวิจัยมาก ก็ยิ่งทำให้เห็นปัญหามาก

" หลักๆ คือเราเห็นว่าโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุในปัจจุบันกำลังมากขึ้น และประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 6 ล้านคน และกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้าน ายในไม่กี่ปีจากนี้ ในจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมีผู้สูงอายุจำนวนมากถูกทอดทิ้ง ขณะที่เราพบว่าแม้คนวัยทำงานจะลดน้อยลง แต่จำนวนเด็กกำพร้าหรือเด็กที่ทอดทิ้งจะไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย"

ปัญหา หลักๆ เหล่านี้จึงเป็นที่มาของการคิดโครงการเพื่อสังคมที่จะให้เด็กและผู้สูงอายุ มาอยู่ร่วมกัน ซึ่งหากทำสำเร็จนี่ถือเป็นโครงการแรกในไทยและในโลกที่มีการทำโครงการใน ลักษณะนี้

ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาทางสังคมชิ้นใหม่ ซึ่งอาจจะกลายเป็นโมเดลต้นแบบของไทยและทั่วโลก

" เท่าที่เราศึกษายังไม่มีที่ไหนทำโครงการในลักษณะนี้ มีเพียงโครงการคล้ายๆ กันในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละสัปดาห์จะมีเด็กอนุบาลไปอยู่กับผู้สูงอายุเป็นครั้งคราว แต่โครงการเราทั้งเด็กและผู้สูงอายุจะอยู่ในบ้าน

เดียวกัน โดยครั้งแรกจะมีประมาณ 50 คน แบ่งเป็นเด็ก 25 คน ผู้สูงอายุ 25 คน โดยเราจะต้องวางระบบบริหารจัดการที่จะทำให้คนทั้ง 2 กลุ่ม"

เหตุ เพราะมองว่าคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ต้องการการเต็มเติมซึ่งกันและกัน ขณะที่เด็กต้องการความรัก ความอบอุ่นและการสัมผัส การดูแลเอาใส่อย่างใกล้ชิด ผู้สูงอายุเองก็ต้องการความรักและการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้คนทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นทรัพยากรของประเทศที่มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

แม้ว่าในช่วงเริ่มต้น "แมกโนเลีย" จะบริจาคที่ดิน งบประมาณในการปลูกสร้างอาคาร และเงินทุนดำเนินการเริ่มต้นอีก 5 ล้านบาท

แต่ เป้าหมายปลายทางของโครงการนี้อยู่ที่การผลักดันให้โครงการสามารถยืน อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีเงินเลี้ยงตัวเอง ผ่านการหารายได้ซึ่งองค์กรที่ตั้งขึ้นมาจะต้องทำคู่ขนานไปกับการดูแลเด็กและ ผู้สูงอายุ

จะว่าไปการสร้างชุมชนใหม่ครั้งนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับรากฐานในการทำธุรกิจของบริษัท ในการสร้างสังคมที่คนทั้ง 3 เจเนอเรชั่นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยต้องการสร้างพื้นที่ให้คนด้อยโอกาสในสังคมได้มีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นสุขด้วย

เป้าหมายปลายทางของ "แมกโนเลีย" ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายปลายทางของแนวคิด CSR ที่มองว่าไม่เพียงแต่จะช่วยเหลือสังคม แต่การทำงานเพื่อสังคมต้องคำนึงถึง "คุณค่าที่สังคม" จะได้รับด้วย

นี่ จึงเป็นโครงการเพื่อสังคมโครงการแรกๆ ของไทยที่มุ่งสร้าง "นวัตกรรมทางสังคม" ใหม่ และเป็นอีกก้าวของภาพสะท้อนของการขับเคลื่อน CSR ในสังคมไทยอย่างมีนัยสำคัญ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 7 เมษายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01070451&day=2008-04-07&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: