วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

"เปิดโลกทัศน์" กับ "ทรู" CSR ฉบับ "คอนเวอร์เจนต์"



จำนวน โรงเรียน 800 แห่งและการวัดผลในเชิงปริมาณอาจจะไม่ใช่ความน่าสนใจเพียงอย่างเดียวของ "โครงการเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ สู่ 800 โรงเรียนทั่วประเทศ" ที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เลือกที่จะทำโครงการในปีนี้ ภายใต้แนวคิดหลักกิจกรรมเพื่อสังคมของกลุ่ม "ทรู" ที่เป็นที่รู้จักมา ยาวนานอย่าง "โครงการปลูกปัญญา...ปลูกความรู้สู่อนาคต"

ด้วยการมอบ ชุดอุปกรณ์ทีวีและอุปกรณ์จานรับสัญญาณพร้อมช่องรายการคุณภาพที่มีเนื้อหา สาระเพื่อการเรียนรู้และการศึกษาที่คัดสรรแล้วจากทรูวิชั่นส์ กว่า 31 ช่อง ไม่ว่าจะเป็น Explore 1, Explore 2, Explore 3, National Geographic, BBC World, Spark, News 24, News 2, ช่องรายการของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV1-15) ช่องรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ช่องรายการเฉลิมพระเกียรติ (RATV) และ Free TV (3, 5, 7, 9, 11, TITV) ให้แก่ 800 โรงเรียนทั่วประเทศ ที่คัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

แต่ประเด็นที่น่าสนใจกลับอยู่ที่ว่า โครงการนี้เป็นการดึงเอาขีดความสามารถหลักขององค์กร ในฐานะผู้ให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจร มาผูกโยงกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส จากการมอบอุปกรณ์รับสัญญาณผ่านดาวเทียมและถ่ายทอดช่องสัญญาณจากทรูวิชั่นส์ วันนี้ทรูกำลังขยายกิจกรรมเพื่อสังคมโดยดึงขีดความสามารถทางธุรกิจด้านอื่น มา ต่อยอดในการพัฒนาโครงการ

อย่างที่ "อนิรุฒม์ โตทวีแสนสุข" ผู้อำนวยการบริหาร ด้าน Office/SME Solution & Wireless Access บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกว่า การที่เลือกการสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้เพราะทำได้ง่าย สามารถเข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลเพื่อนำเสนอความรู้ที่สมบูรณ์ในรูปของภาพและ เสียง พร้อมความรู้ใหม่ๆ และสร้างแรงบันดาลใจด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างรวดเร็ว

จาก กิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นเพียงการมอบอุปกรณ์รับสัญญาณผ่านดาวเทียมและถ่าย ทอดช่องสัญญาณจากทรูวิชั่นส์ วันนี้ทรูกำลังขยายกิจกรรมเพื่อสังคมโดยดึงขีดความสามารถด้านอื่นทางธุรกิจ มาต่อยอดในการพัฒนาโครงการ อาทิ การมอบสื่อ อินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ขณะเดียวกันกำลังเตรียมที่จะพัฒนาเว็บไซต์ปลูกปัญญา www.prukpanya. com เพื่อนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับรายการดีๆ ที่ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ และเป็นแนวทางสำหรับครูเพื่อแนะนำให้เด็กชมรายการที่เหมาะสม ขณะเดียวกันยังเป็นช่องทางในการสื่อสาร ระหว่างโรงเรียนและบริษัท ในการติดตามผลและทำงานร่วมกันในการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง

เพราะหนึ่งในสิ่งที่ "ทรู" ให้ความสำคัญในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม คือความ ต่อเนื่อง

" อนิรุฒม์" บอกด้วยว่า "เราคำนึงถึงความยั่งยืน จึงไม่ใช่แค่มอบของแล้วจบ แต่เป็นโครงการระยะยาวที่ยังต้องมีการติดตามผลต่อเนื่องว่าเมื่อใช้สิ่งที่ มอบให้แล้วเป็นอย่างไร สามารถนำมาต่อยอดใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง ขาดอะไรเราเติมให้"

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆ ที่มาต่อยอด อาทิ โครงการประกวดเรียงความสำหรับเด็ก เพื่อติดตามผลว่าในแง่ของความรู้ที่เด็กได้รับจากการชมรายการ หรือโครงการประกวดการใช้สื่อการสอนของครู เพื่อให้ครูใช้อุปกรณ์ที่บริษัทมอบให้ไปพัฒนาตนเองและนักเรียน

เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด

อย่าง ไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าการชมรายการของทรูวิชั่นส์ เด็กส่วนใหญ่มีเวลาชมรายการ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง รายการส่วนใหญ่ที่เด็กสนใจจะเป็นการ์ตูนและสารคดี ส่วนจะเห็นผลชัดเจนในแง่ของการจุดประกายความรู้และการพัฒนาตามเป้าหมายที่ ตั้งเป้าไว้ได้หรือไม่นั้นคงต้อง ประเมินผลอีกครั้งในระยะยาว

ก้าวต่อก้าวในการทำงานเพื่อสังคมของ "ทรู" เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการช่วยเหลือสังคมได้อย่างลงตัว !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กรกฏาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04140751&day=2008-07-14&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: