วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

เรียนรู้วิถีอยู่ร่วมกับธรรมชาติ กับ ส.สิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิรากาวา-โก



เอื้อมพร สิงหกาญจน์ กล่าวว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าการได้สัมผัสของจริง

ด้วย เหตุผลนี้ "โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย" จึงพาผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศกิจกรรม "ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา" ไปทัศนศึกษาดูงาน ณ สถาบันสิ่งแวดล้อม โตโยต้าชิรากาวา-โก (Toyota Shirakawa- Go Institute) ต้นแบบโรงเรียนธรรมชาติที่เปิดให้ผู้ที่สนใจได้เข้าถึงแก่นของการใช้ชีวิต ท่ามกลางธรรมชาติอย่างแท้จริง

โครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ของกลุ่มโตโยต้าไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในวันที่โลกโหมกระแสลดโลกร้อน ทว่าโตโยต้าได้ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการนี้ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมุ่งหวังสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนให้กับคนไทยทั่วประเทศ ด้วยการกระตุ้นให้เทศบาลและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้มีการจัดการการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก

3 ปีในการดำเนินโครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็สามารถสร้างสำนึกสาธารณะให้กับคนไทยได้จำนวนไม่น้อย หากดูจากโครงการที่ผ่านการตัดสินจากคณะกรรมการให้เป็นโครงการดีเด่นประจำปี นี้ แต่ละโครงการ น่าสนใจไม่แพ้กัน

โครงการแรก "ชาวตลาดรื่นรมย์ ร่วมใจใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ลดปัญหาโลกร้อน" จัดทำโดยเทศบาลนครตรัง และโรงเรียนเทศบาล 1 (สังขวิทย์) จ.ตรัง

โครงการที่สอง "การฟื้นฟูชีวิตสามล้อถีบเมืองอุดร ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา" โดยเทศบาลนครอุดรธานี และโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จ.อุดรธานี

ถัดมาเป็นโครงการ "ไฟฟ้าพารวย- หนึ่งชุมชน หนึ่งบ้านลดใช้พลังงาน" โดย เทศบาลตำบลอุโมงค์ และโรงเรียนอุโมงค์วิทยาคม จ.ลำพูน

โครงการ สุดท้ายที่เข้าวินคือ โครงการ "ชาวศรีธาตุร่วมสร้างเกราะสีเขียว เยียวยาโลกร้อน" โดยเทศบาลตำบลศรีธาตุ และโรงเรียนศรีธาตุพิทยาคม จ.อุดรธานี

ด้วยพื้นฐานที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะ เรือนกระจกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อคนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสโลกทัศน์ในเมืองใหญ่อย่างประเทศญี่ปุ่น ได้สัมผัสวิวัฒนาการที่ไม่ได้ก้าวไกลเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังให้ความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันด้วย สำนักรัก สิ่งแวดล้อมถึงเพิ่มพูน

ความงดงามของสถาบันสิ่งแวดล้อม โตโยต้าชิรากาวา-โก ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้มาเยือน แต่ยังทำให้หลายคนได้ฉุกคิดถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่าง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิรากาวา-โก (Toyota Shirakawa-Go Institute) ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชิรากาวา-โกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกโลก อยู่ทางตะวันออกเหนือสุดของเขตปกครองจังหวัดไจฟู (Gifu) เชื่อมต่อกับเขตที่เชื่อมต่อกับเขตปกครองจังหวัดโทยามะ (Toyama) ซึ่งมีการเล่าขานกันว่าหมู่บ้านแห่งนี้เคยเป็นถิ่นพำนักของกลุ่มชนชาวไฮคิ (Heiki) ที่อพยพออกจากเกียวโตซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น หมู่บ้านแห่งนี้งดงามด้วยบ้านเรือนหลังคามุงหญ้าที่มีความลาดชันในแบบฉบับ สถาปัตยกรรมกัซโช (Gassho) โบราณของญี่ปุ่น

ในอดีตมีชาวบ้านอาศัย อยู่ประมาณ 10 ครอบครัว แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ในช่วงฤดูหนาวหิมะตกหนักมากสูงถึง 8 เมตร ป่าไม้เริ่มเสื่อมโทรม ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะย้ายถิ่นฐาน แต่ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่รักและหวงแหนธรรมชาติจึงขอความร่วมมือไปยังกลุ่ม บริษัทโตโยต้าฯให้เข้ามาพลิกฟื้นผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ดั่งเดิม แต่ด้วยความที่โตโยต้าไม่สันทัดในเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงขอให้ทางเอ็นพีโอ องค์กรสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาบริหารจัดการ

ภายใต้แนว คิดแห่งการอยู่ร่วมกัน สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิรากาวา-โก ได้ริเริ่มโครงการใหม่และแก้ไขปัญหาต่างๆ หลายโครงการ เช่น โครงการสวนผีเสื้อหลากสายพันธุ์อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณโรงเรียน โครงการคืนชีวิตให้ป่าบีช (Beech Wood) เนื่องจากภายในโรงเรียนยังมีพื้นที่แห้งแล้งอยู่ บางส่วนโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะพลิกฟื้นพื้นที่เหล่านี้ให้เป็นป่าต้นบี ชซึ่งครั้งหนึ่งเคยเขียวชอุ่มทั่วบริเวณหมู่บ้าน

ช่วงเวลาสั้นๆ โรงเรียนธรรมชาติแห่งนี้ได้ปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าของ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวผ่านกิจกรรมง่ายๆ ด้วยการเดินป่าเรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของต้นไม้แต่ละชนิดที่โยงใยกับชีวิต ของคนในชนบทอย่างแยกกันไม่ออก การใช้กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า การแยกก๊าซไฮโดรเจน (H2) ออกจากน้ำเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการ ขับเคลื่อนรถจำลอง ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ หรือแม้กระทั่งการดูแลป่าด้วยการตัดต้นไม้บางต้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้ต้นไม้ อีกจำนวนหนึ่งได้รับแสงอาทิตย์และอาหารเต็มที่ สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์

นอกจากนั้น โรงเรียนแห่งนี้ยังทำให้เด็กๆ เห็นการประยุกต์เทคโนโลยีโดยดึงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในแบบ ที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด เช่น การสร้างห้องเก็บหิมะขนาดใหญ่เพื่อใช้ทำความเย็นในช่วงฤดูร้อนแทนเครื่อง ปรับอากาศ การนำกิ่งไม้มาใช้กับเครื่องทำความร้อนต่างๆ การใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ การผลิตไฟฟ้าโดยใช้กังหันลมมาใช้ภายในอาคารแทนพลังงานไฟฟ้า

เด็กๆ ที่ผ่านเข้ามาในโรงเรียนธรรมชาติแห่งนี้จึงไม่ใช่แค่มองเห็นถึงคุณค่าของ สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติรอบๆ ตัว

" น้องบอล" เถลิงศักดิ์ ทรงศิริ หนึ่งในนักเรียนที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับบทเรียนในห้องเรียนธรรมชาติกล่าวว่า ตอนยังเล็กที่บ้านมีป่าเยอะมาก แต่วันนี้ป่าถูกแผ่วถางไปมาก มีคนเข้าไปหาของป่าแล้วจุดไฟ ซึ่งตรงนั้นเป็นผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเดียวแต่สร้างความเสียหายให้กับคน อื่นๆ อีกมหาศาล จึงได้ร่วมกับเทศบาลทำกิจกรรมรณรงค์การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนด้วยการขี่ จักรยาน ซึ่งหลังจากได้มาเห็นวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นที่มีระเบียบวินัยสูง มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดำรงอยู่คู่กับธรรมชาติแบบสันติ หลังจากกลับไปเมืองไทยคงจะนำเรื่องราวต่างๆ ไปถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ฟัง และจะพัฒนาเมืองที่อยู่ให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี

ด้านน้อง ชานนท์ ไชยแก้วงาม ตัวแทนนักเรียนจากจังหวัดลำพูนบอกว่า ชื่นชมเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทนและการดูแลป่าของคนญี่ปุ่น ซึ่งตรงนี้น่าจะนำไปปรับใช้กับประเทศไทยได้

นี่คือส่วนหนึ่งของควา มุ่งมั่นในการสร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัท โตโยต้า ในวันนี้ที่ถือเป็นอีกด้านหนึ่งที่โดดเด่นและน่าสนใจไม่แพ้การผลิตรถยนต์

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาติธุรกิจ วันที่ 12 เมษายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02120551&day=2008-05-12&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: