วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

GSVC ธุรกิจเพื่อสังคม

GSVC ธุรกิจเพื่อสังคม เวลาของผู้ประกอบการ (พันธุ์) ใหม่


" ผมรู้จักเพื่อนร่วมงานในสายผู้ประกอบการบางท่านที่มีความรู้สึกว่าธุรกิจที่ สามารถสร้างกำไรทางการเงินและสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ ธุรกิจที่แท้จริง และออกจะเป็นเรื่องของการทำการกุศล" เอ็ดเวิร์ด รูเบช อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบการสากล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการโครงการประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (GSVC) ครั้งที่ 2 ในไทย ซึ่งกำลังจะ จัดขึ้นในวันที่ 19-20 มีนาคม 2552 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กล่าว

ทั้งๆ ที่มีการศึกษาของสำนักต่างๆ มากมายที่บอกว่า บริษัทที่ให้คุณค่ากับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด Triple Bottom Line ที่ระบุว่าบริษัทที่เป็นพลเมืองที่ดีในการสร้างคุณค่าให้สิ่งแวดล้อม หรือผู้คน หรือดำรงในหลักธรรมาภิบาลสามารถมี ผลงานที่ดีกว่าในตลาดหุ้นเฉลี่ย 15-25%

และยังเชื่อว่าการเกิดขึ้นของธุรกิจเช่นนี้จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญหน้า

โอกาสและความต้องการ

การ จัดการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ GSVC ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน โดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กลี่ย์ มุ่งหวังว่าเวทีนี้จึงเป?นการส�งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและเป?นการสร้างชุมชน ของผู้ที่มีความคิดเดียวกันที่ต้องการจะเห็นโลกและสังคมน่าอยู่มากขึ้นด้วย การร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ และร่วมพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่ ในทุกครั้งของการประกวดจะมีนักวิชาการ นักธุรกิจ นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนประเภทนี้ ฯลฯ เข้ามาร่วมในเวที และตลอดเวลากว่า 10 ปีของการจัดการแข่งขัน ได้สร้างธุรกิจเพื่อสังคมขึ้นมากว่า 70 ธุรกิจในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ไมโครไฟแนนซ์ และอื่นๆ

ในการประกวดยังมุ่งเน้นนวัตกรรมในการวัด มูลค่าของธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Impact Assessment) ให้ออกมาเป็นตัวเงิน ซึ่งบางคุณค่าหรือผลกระทบเป็นเรื่องยากที่จะวัดหรือตีออกมาเป็นมูลค่าได้ และสามารถนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป

มองผ่านโมเดล "ซันไนท์ โซลาร์"

" รูเบช" บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นบนเวทีนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ ที่เชื่อเช่นนี้ ในการแข่งขัน GSVC รอบสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กลี่ย์ เมื่อปีที่ผ่าน ผมได้พบมาร์ค เบนท์ ซึ่งเขาได้รับเชิญไปเพื่อพูดถึงบริษัทของเขาคือ ซันไนท์ โซลาร์ เมื่อมาร์คอธิบายว่าเขาตั้งบริษัทของเขาอย่างไร ผมว่าน่าสนใจมาก"

"เบนท์บอกว่าเขาต้องการที่จะสร้างบริษัทที่ประสบ ความสำเร็จเมื่อมองในแง่ ผลกำไรทางการเงินที่จะสามารถช่วยให้ครอบครัวของเขามีความเป็นอยู่ที่ดี แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ต้องการที่จะแก้ปัญหาหลายอย่างบนโลกใบนี้ที่อยู่รอบๆ ตัวเขา และยังสามารถมองเห็นถึงการแก้ปัญหาที่ทำได้โดยไม่ยาก อย่างเช่นการจัดหาแสงสว่างให้กับชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ บริษัทซันไนท์จึงเริ่มขายไฟฉายที่ได้พลังงานมาจากแสงอาทิตย์ ซึ่งได้รับการชาร์จในช่วงกลางวันและสามารถใช้ในตอนกลางคืน"

" ซันไนท์เชื่อว่าเขาสร้างไฟฉายที่ดีที่สุดในโลก หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนและเอ็นจีโอในระดับนานาชาติหลายแห่งได้ ซื้อไฟฉายนี้เพื่อนำไปให้

ชาวบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยที่ผู้คนสามารถยังทำงานหรือเรียนหนังสือได้หลังจากที่พระอาทิตย์ตกแล้ว การที่พวกเขาสามารถมีแสงสว่างทำให้เด็กๆ สามารถอ่านหนังสือได้นานขึ้น เป็นโอกาสที่ครอบครัวจะสามารถทำงานได้นานขึ้น ทำให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าบริษัทก็มีกำไรเช่นกัน"

นวัตกรรมที่สร้างสรรค์

" นี่เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการนำ นวัตกรรมมาสร้างเป็นธุรกิจและยังช่วยแก้ไข ปัญหาสังคมที่มีมายาวนานได้ อย่างความยากจน การศึกษา มลพิษ และพลังงาน ซันไนท์ยังเป็นบริษัทรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ใช้ความ คิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการที่ไม่ได้ทำเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบตัว" รูเบชกล่าว

เช่น เดียวกันแผนธุรกิจของนักศึกษาที่เข้ารอบ 11 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันระดับภูมิภาค ในปีนี้มีตั้งแต่แผนธุรกิจเพื่อสังคม วีดิโอเกมทางจิตวิทยา ที่ใช้ลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย และใช้พัฒนาทักษะเด็กออทิสติกของทีม Click the Clam จาก University of Auckland นิวซีแลนด์

ธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในชนบท ของทีม Soxcell มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำเสนอพลังงานทางเลือกที่เกิดจาก fuel cell หรือเชลล์ เชื้อเพลิงที่เกิดปฏิกิริยามาจากโซลิดออกไซด์ซึ่งมีราคาถูกกว่าพลังงานทาง เลือกอื่นๆ และสามารถติดตั้งในชนบทห่างไกล ธุรกิจนี้จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน 6 แสนเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างผลตอบแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 8 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 10 ปี

หรือแผนธุรกิจที่พยายามจะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบ ซัพพลายเชนธุรกิจแฟชั่นในเกาหลีใต้ ของทีม Sooda จาก Yonsei University, Korea University, Seoul National University และ KAIST โดยการให้บริการผลิตและจัดจำหน่ายให้ นักออกแบบเสื้อผ้าอิสระกว่า 100 คน เพราะมองว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในเกาหลีใต้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่ กี่แห่งที่มุ่งทำกำไรสูงสุดทางการเงิน โดยการพยายามลดต้นทุนจากการให้พนักงานทำงานหนักในสภาพการทำงานที่เอารัดเอา เปรียบ นักออกแบบเสื้อผ้ามีรายได้ต่ำ ธุรกิจนี้ได้เริ่มต้นในบางส่วนแล้วในกรุงโซล ด้วยเงินลงทุนประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดหวังที่จะสร้างอัตราผลตอบแทนของโครงการต่อสังคมถึง 1800% ในระยะเวลา 10 ปี

จะเห็นได้ว่าทุกแผนธุรกิจไม่ได้เพียงแค่คิด ถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แต่ยังพยายามตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาาทางสังคม และก้าวสู่กระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจใหม่ที่ไม่ใช่เพียงการทำการกุศล !!


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01160352&day=2009-03-16&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: