วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์



ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน (carbon reduction label) เพียงแต่เป็นการวิเคราะห์เฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตเท่า นั้น ในขณะที่มาตรฐานต่างประเทศวิเคราะห์การปล่อยก๊าซตลอดวัฏจักรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์

- คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ (carbon footprint of products) หมายถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิต (life cycle greenhouse gas emission of good and service) ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การแปรรูปวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์มาถึงร้านค้าปลีก การใช้และการกำจัดขั้นสุดท้าย

- ฉลากคาร์บอน ซึ่งจะแสดงตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยการ

ติดฉลากจะอยู่บนผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะที่บรรจุ รวมทั้งแสดงข้อมูล ณ จุดขายในรายงานประจำปี แผ่นพับ หรือบัญชีสินค้า

- เร็วๆ นี้ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก องค์กรมหาชน (อบก.) กำลังเตรียมประกาศ 25 ผลิตภัณฑ์นำร่องในการติดฉลากคาร์บอนในไทย

- ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ มีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ เป็นแกนหลัก 3 โครงการ และมีผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วม 5 บริษัท ได้แก่บริษัท เพรสซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด บริษัท คาร์กิลล์ มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยร่วมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02300352&day=2009-03-30&sectionid=0221





ไม่มีความคิดเห็น: