วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

"สวิฟท์" บ.เล็กสู่ฝันใหญ่

"สวิฟท์" บ.เล็กสู่ฝันใหญ่ ส่งคุณค่าจากเกษตรกรถึงผู้บริโภค


ท่าม กลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลก ภาคการ ส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่แทบไม่มีผลใดๆ ต่อเจ้าของรางวัล SVN Awards ปี 2551 ประเภทภาคธุรกิจอย่าง บริษัทสวิฟท์ ผู้ส่งออกผักและผลไม้ออร์แกนิกของไทย ยิ่งกว่านั้นยังมีออร์เดอร์เข้ามามากมายจนต้องรับคนเพิ่ม นั่นเป็นเพราะผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทใน การดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาแต่แรก จากแนวคิดที่ต้องการให้สินค้าส่งถึงมือผู้บริโภคด้วยความปลอดภัยสูงสุด

" เราเริ่มตั้งธุรกิจจากความคิดที่ว่า เป็นบริษัทเล็กแต่ฝันใหญ่ คือจะผลิตแต่สินค้าที่มีความปลอดภัยในการบริโภคสูงสุดตามมาตรฐานโลก อะไรที่คิดว่าเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูงสุดเราจะทำ เวลานี้เราพูดถึงเรื่องซีเอสอาร์แต่เราทำมาแล้วกว่า 20 ปี และทำต่อเนื่องมา จากสิ่งนี้ก็สะท้อนกลับมาคือลูกค้าของเราในประเทศต่างๆ เชื่อถือ ไม่ว่าจะเกิดภาวะอะไรก็ตามเราจะได้รับ ผลกระทบน้อยมาก หลายแห่งอาจจะไม่มีออร์เดอร์ หรือลดลง แต่ของเราก็ยังรับ คนเพิ่ม" ไพชยนต์ เอื้อทวีกุล ประธานกรรมการ บริษัท สวิฟท์ จำกัด กล่าว

ทุก 7-10 เที่ยวบินตลอด 365 วัน ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของสวิฟท์จะถูก ส่งออกไปยัง 10 ประเทศในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลางโดยไม่เคยประสบปัญหาสารตกค้างหรือสินค้าไม่มีคุณภาพ เพราะมีการควบคุมมาตั้งแต่ต้นทางและสามารถตรวจทวนย้อนกลับได้จนถึงแปลงปลูก และผู้ปลูกทุกคน โดยมีการติดบาร์โค้ดไว้ที่ผลผลิตทุกชิ้น

"การทำให้ อาหารปลอดภัยต้องรวมกลุ่มเกษตรกรเข้ามาผลิต และเปลี่ยนการเกษตรที่ทำกันทั่วไปให้มีระบบ โดยมีพื้นฐานความรู้ไม่ว่าผู้บริโภคอยู่ที่ไหนจะได้ของที่ดีคุ้มค่า ปลอดภัย นอกจากนี้ยังดูด้วยว่าการปลูกไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือกระทบโครงสร้าง ของระบบนิเวศ และเกษตรกรต้องไม่เป็นอันตรายจากการใช้สารเคมี"

การ ดำเนินงานของบริษัทสวิฟท์ไม่เพียงแต่มองความปลอดภัยของผลผลิตเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่เป็นเหมือนหุ้นส่วนที่ต้องได้รับผล ประโยชน์สูงสุดและพร้อมช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหา นอกจากนี้ยังมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ประกันราคาให้กับเกษตรกรที่ถึง แม้ใน ตอนนั้นราคาตลาดจะสูงกว่าก็ยังจ่ายให้ในราคาตลาด

"อย่างที่ เชียงใหม่ก่อนเก็บผลผลิตมีลูกเห็บลงและดินถล่ม เกษตรกรเก็บผลผลิตไม่ได้ เราก็คำนวณผลผลิตต่อไร่และนำเงินไปให้โดยไม่ต้องมีสัญญาผูกมัดเพราะเห็นว่า เป็นหน้าที่ของผู้มีกำลังมากกว่า และการที่เราทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทำให้เกษตรกรเลือกที่จะทำธุรกิจกับเรา และโมเดลนี้ก็เป็นที่สนใจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาตินำไปขึ้น ที่เว็บไซต์เผยแพร่"

จากวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สินค้าของเกษตรกรขายได้ทุกชิ้นไม่ว่าจะไม่ได้มาตรฐานเพราะบริษัทจะปรับ แนวทางผลผลิตสำหรับสินค้าเหล่านี้ในรูปแบบอื่น เช่น ทำให้พร้อมรับประทานเพื่อใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบได้ 100%

ด้าน สังคม ก่อนหน้านี้บริษัทให้เงินทุนเพื่อช่วยเหลือลูกเกษตรกรของบริษัทด้านการศึกษา มากว่า 3 ปี เพื่อให้ง่ายขึ้นทางบริษัทได้ตั้งมูลนิธิเพื่อนขึ้นมาเพื่อเอาผลกำไรส่วน หนึ่งของบริษัทเข้าไปช่วยเหลือสังคม

โดยเฉพาะเด็กที่ยากจนแต่เรียน ดีมีความตั้งใจจะส่งเสียให้เรียนชั้นสูงสุดเท่าที่จะเรียนได้ โดยได้เงินหลักจากบริษัทและคู่ค้าในต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ

"สินค้า ของเรานอกจากปลอดภัยแล้วคนซื้อจะมั่นใจว่าได้ของที่ดีที่สุดและคุ้มค่า รู้ว่าทุกบาทที่ซื้อเรามาเกษตรกรได้เป็นหลัก และยังเจือจานไปให้ผู้ด้อยโอกาส"

ขณะนี้บริษัทสวิฟท์ยังมีแนวคิด ที่จะทำให้ผู้บริโภคในประเทศรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ราคาถูกและมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยปลูกผักอินทรีย์และกระจายสินค้าขายตามจุดที่เป็นสมาชิกเพื่อขจัดปัญหาพ่อ ค้าคนกลางและลดต้นทุนในการขนส่งและการจัดการ รวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศด้อยพัฒาอย่างพม่าและลาวจากคำเชิญของ FAO

"เราต้องการแสดงให้เห็นว่า การทำธุรกิจสามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ที่เป็นธรรมได้กับทุกฝ่าย ไม่ต้องเอารัดเอาเปรียบใครก็สามารถทำธุรกิจให้เจริญเติบโตได้ ทำแบบนี้จะยั่งยืนกว่า" ไพชยนต์ทิ้งท้าย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04300352&day=2009-03-30&sectionid=0221



ไม่มีความคิดเห็น: