วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย "Play Q" ก้าวต่อของ "บรีส"

งานวิจัย "Play Q" ก้าวต่อของ "บรีส"


" บรีส" ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุด แบรนด์หนึ่งของกลุ่ม ยูนิลีเวอร์ประเทศไทย เช่นเดียวกับโครงการเพื่อสังคม "ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้" ที่ถือเป็นกิจกรรม CSR ที่เป็นธงนำ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2549 และมีแผนจะสร้างลานเล่นทั่วประเทศให้ครบ 200 แห่ง ภายในปี 2552 ซึ่งจนถึงวันนี้ได้สร้างลานเล่นไปแล้ว กว่า 145 แห่ง ที่สามารถให้บริการกับเด็กไปแล้วกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ

" มากกว่าแค่ลานเล่น" น่าจะเป็นคำจำกัดความของโครงการนี้ เพราะในความเป็นจริง โครงการเพื่อสังคมนี้ไม่ได้มุ่งที่จะสร้างลานเล่น แต่ในเวลาเดียวกัน สนามเด็กเล่น เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่หัวใจสำคัญของโครงการในการส่งเสริม "การพัฒนาความฉลาดทางการเล่น" (Play Q) เพราะเชื่อว่าความฉลาดในการเคลื่อนไหวร่างกายจะนำไปสู่การพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ซึ่งถือเป็นแนวคิดใหม่ในช่วงที่ผ่านมา

ดัง นั้นจำนวนของลานเล่นอาจจะไม่สำคัญเทียบเท่ากับผลปลายทางในการพัฒนาความฉลาด ทางการเล่นของเด็กไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดสำคัญในแง่ประสิทธิผลของโครงการที่ผ่านมา

ก่อน ใกล้วันที่โครงการจะเดินไปถึงปลายทางในปลายปีนี้ "บรีส" จึงจัดให้มีการวิจัย "ผลของการเล่นในสนามเล่นที่มี เครื่องเล่นรูปแบบใหม่ของเด็กไทยที่มีต่อความ ฉลาดทางการเล่น" โดยมี รศ.ชัชชัย โกมารทัต หัวหน้ากลุ่มวิชาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 7-12 ปี ก่อนและหลังที่มีลานเล่นจากกลุ่มตัวอย่าง 1,354 คน และพบว่าหลังจากที่ได้มีโอกาสเล่นเครื่องเล่นในลานเล่นบรีสอย่างต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความฉลาดทางการเล่นให้เด็กได้

"อภิชาติ ศาลิคุปต" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้า บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด บอกว่า

งาน วิจัยครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวัดและประเมินผลความสำเร็จของโครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็นภายในองค์กร ได้แก่การที่คนในองค์กรมีส่วนร่วม ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการจนปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ใน 4 ของพนักงานทั้งหมด ขณะเดียวกันทัศนคติของพนักงานที่มีต่อองค์กรในแง่ความภาคภูมิใจในการร่วมงาน กับองค์กรที่ดีมีสูงขึ้น ส่วนภายนอกองค์กร มีการวัดผล การพัฒนาเพลย์คิวของเด็ก การมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของชุมชน ที่ในขณะนี้หลายแห่งลานเล่น กลายเป็นศูนย์รวมของชุมชน รวมไปถึงการวัดทัศนคติที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ ซึ่งพบว่าในปี 2550 มีผลที่เป็นบวกมากขึ้น ฯลฯ

แต่ไม่ว่าผลวันนี้จะเป็นอย่างไร สิ่งที่เขาอยากเห็นที่สุดก็คือ "ผลวิจัยครั้งนี้จะกระตุ้นให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสนับสนุนให้ลูกหลานเล่นกลางแจ้งมากขึ้น เพราะเราอาจจะไม่สามารถสร้างลานเล่นให้กับทุกโรงเรียนได้ ดังนั้นหัวใจสำคัญของเราคือการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสออกไปเล่น"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02060452&day=2009-04-06&sectionid=0221





ไม่มีความคิดเห็น: