วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

CSR กับบทบาทที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจ


โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล พลาซ่า จำกัด

ภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังลุกลามไปอยู่ทั่วโลก นับวันจะยิ่งรุนแรง และมีผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นทุกที ในระยะแรกมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจตกต่ำรอบนี้คงจะไม่ร้ายแรงนัก และคงจะควบคุมได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะประเทศไทยที่อ้างว่ามีประสบการณ์มาจาก ปี" 40 แล้ว ฐานะ การเงินเรายังมั่นคง ผลกระทบคงมีไม่มาก

แต่ข่าวจาก ต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและอเมริกาก็ไม่ดีขึ้นเลย มีแต่ข่าวการปิดตัวของธุรกิจ การเลิกจ้างคนงาน การล่มสลายของธนาคารและสถาบัน การเงิน ข่าวในประเทศเองก็ไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน ภาวะการส่งออกที่เป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทยติดลบเลขหลัก 2 ตัวติดต่อกัน 3 เดือน ข่าวการเลิกว่าจ้างงานและข่าวปัญหาสภาพคล่องเรื่องการเงิน ล้วนแต่เป็นข่าวลบทำให้ทุกคนเริ่มเห็นแล้วว่าผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ คงจะไม่ธรรมดาเสียแล้ว

พร้อมๆ กับข่าวร้ายทางเศรษฐกิจ เราก็ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของภาวะอากาศในโลก ปีนี้เรามีหน้าหนาวที่ยาวนานติดต่อกันหลายอาทิตย์ อุณหภูมิลดต่ำลงกว่าที่เคยเป็นมา กลายเป็นสถิติที่ ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในหลายปีที่ผ่านมา

เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์และ ระบบเศรษฐกิจสังคมที่เรากำลังดำเนินอยู่นี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรามายืน อยู่ตรงนี้ เราวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของเราอยู่บนการบริโภค (consumerism) อย่างไม่มีขีดจำกัด

ผมเชื่อว่า CSR (corporate social responsibilities) จะกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ และจะเป็นรากฐานหลักในการออกแบบธุรกิจในยุคหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

Allen White เขียนบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนาคตของ CSR ชื่อว่า "Fade, Integrate or Transform ? The Future of CSR" เขาคิดว่าในปัจจุบัน CSR กำลังเผชิญหน้ากับทางเลือก 3 ประการ ได้แก่

ทางเลือกที่ 1 เติบโตอย่างรวดเร็วในแบบแฟชั่น เห่อกันสักพักแล้วค่อยๆ จางหายไปหมด ความสำคัญหรือที่เรียกว่า fads and fade

ทาง เลือกที่ 2 ค่อยๆ หยั่งรากลึกลงไปในองค์กรและในจิตสำนึกของสังคมผสมผสานเป็นส่วนสำคัญของ ธุรกิจและสังคม เริ่มมีบทบาทชี้นำในสังคมมากขึ้น (embeded and integrated)

ทางเลือกที่ 3 ระบบของ CSR เองก็จะต้องเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายๆ รูปแบบจนกระทั่งกลายมาเป็นรูปแบบที่เอื้อประโยชน์กับสังคมและองค์กรในระยะ ยาว (transition and trans formation) จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งถ้าองค์กรและสังคมมองเห็น CSR เป็นเพียงแฟชั่น เป็นเพียงเครื่องมือที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร หรือเป็นหนทางที่จะทำ P.R. ให้กับบุคคลหรือบางส่วนของหน่วยงาน ถ้าทางเลือกเกี่ยวกับ CSR เป็นทางเลือกที่ 1 อีกไม่นานเราก็คงจะเวียนมาเจอกับภาวะที่น่าจะร้ายแรงกว่าภาวะในปัจจุบันเสีย อีก

ผมยังเชื่อว่าบทเรียนที่โลกได้รับจากผลกระทบ ทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะทำให้คนเห็นความสำคัญของ CSR มากขึ้น และจะทำให้ CSR กลายเป็นส่วนหนึ่ง-ส่วนสำคัญในการทำธุรกิจเป็นหัวใจหลักของการออกแบบ model ทางธุรกิจในอนาคต ผมคิดว่ารูปแบบของ CSR จะเปลี่ยนไป (ตามแนวทางที่ 3 มากกว่าแนวทางที่ 2) เพราะการทำธุรกิจจะเปลี่ยนไป องค์กรใดที่ไม่ยอมรับบทบาททางสังคมก็จะถูกสังคมไม่ยอมรับเช่นกัน บทเรียนที่ผ่านมาจะทำให้สังคมตรวจสอบการทำงานขององค์กร ของเศรษฐกิจและของธุรกิจมากขึ้น เราจะเห็นการรณรงค์ เพื่อความโปร่งใส การรณรงค์เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นขณะเดียวกันเราก็ จะเห็นการต่อต้านธุรกิจที่มุ่งประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเดียวมากขึ้น

คุณธรรม ทางธุรกิจ (business ethos) ที่สังคมจะวางเป็นกรอบไว้จะทำให้ธุรกิจในอนาคตจะต้องยึดถือแนวทางดังต่อไป นี้เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ

1.สร้างและ ดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อประโยชน์กับผู้ลงทุนและกับสังคมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 2.ให้ผลตอบแทนกับ ผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรมโดยไม่ไปกระทบหรือทำร้ายกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกลุ่มอื่นๆ 3.ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน แต่จะต้องไม่กีดกันโอกาสทั้งของลูกค้าและผู้ประกอบการอื่นๆ ในอนาคต 4.มีระบบการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมให้กับทุกคนที่มีส่วนร่วมกับองค์กร 5.เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังด้วยจิตสำนึกแห่งสังคมและสิ่งแวดล้อม 6.บริหารด้วยความเที่ยงธรรม โปร่งใส รับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 7.ไม่ละเมิดสิทธิมนุษย์สากลอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจ (ปรับแนวคิดมาจาก ALVARO DE REGIL ที่เขียนในบทความเรื่อง "The Future of CSR will Mirror the Health of Society")

กรอบดังกล่าวข้างต้นมี ความหมายในเชิงปฏิบัติที่ลึกซึ้งและมีผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรและต่อ สังคมอย่างกว้างขวาง หลายๆ องค์กรในปัจจุบันก็ได้ยึดหลักปฏิบัติข้างต้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจ อยู่แล้ว ในอนาคตก็ได้แต่หวังว่าจะมีบริษัทและองค์กรจำนวนมากขึ้นที่เข้าใจในหลักการ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและหันกลับมายึดแนวทางข้างต้นในการดำเนินงานของ องค์กรต่อไป

องค์กรของท่านละครับ เริ่ม CSR บ้างหรือยัง ลองมาสนใจกันดูหน่อย ท่านอาจจะก้าวไกลเกินองค์กรอื่นๆ ได้อย่างไม่รู้ตัว

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03300352&day=2009-03-30&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: