วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณเตือนจาก CSRI

สัญญาณเตือนจาก CSRI เสียงที่ "ธุรกิจ" ต้องได้ยิน !!


สำหรับ คนในแวดวง CSR ชื่อของ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) คงเป็นที่รู้จักมักคุ้น จากกิจกรรมให้ความรู้ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางปี 2550 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นด้วยเหตุผลหลักในการส่งเสริม บทบาทด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ

ว่ากัน ว่าการก่อตั้งสถาบันในเวลานั้นยังเป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดเจนของตลาดหลัก ทรัพย์ฯที่ส่งไปยังบริษัทจดทะเบียนในตลาดและนอกตลาดว่า CSR จะเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญขององค์กรในอนาคตและดูเหมือนว่าสถาบันกลายเป็น ศูนย์กลางที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา ในการ ขยายวงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจไทย

แม้ว่าในวันนี้ภาพ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสถาบันหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯปรับโครงสร้าง องค์กรตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยภายใต้โครงสร้างใหม่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมซึ่งเข้ามาอยู่ภายใต้ความรับ ผิดชอบของหน่วยงานใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯก่อตั้งขึ้น "ศูนย์พัฒนาตลาดทุน"

หาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเคลื่อนไหวและทิศทางของสถาบันย่อมผูกโยงอย่างแยกไม่ออกกับทิศทางของตลาด หลักทรัพย์ฯและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ทิศทางของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคมผ่านคำบอกเล่า "ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ" รองกรรมการผู้อำนวยการสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน และกรรมการอำนวยการสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ที่เข้ามารับผิดชอบงานนี้เป็นเวลากว่า 3 เดือน จึงเป็นเสมือนสัญญาณที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับฟังและปรับตัว

โดยเฉพาะเรื่องที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้ !!

ปั้น SR Criteria

เรื่อง หนึ่งคือการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsible Investment : SRI) เรื่องหนึ่งคือการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI)

ใน เรื่องแรก "ชัยยุทธ์" กล่าวว่า "SRI จะสนับสุนนผู้ถือหุ้นให้มีความเข้าใจและมองเห็นว่าเรื่อง CSR เป็นการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ในกระแสโลกนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่มีเกณฑ์ที่เรียกว่า SR Criteria บริษัทไหนที่ดำเนินการด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมก็ให้น้ำหนักการลงทุนมากขึ้น และหลายๆ แห่งในโลกก็มีการจัดทำอินเด็กซ์ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลให้นักลงทุน เช่น ดาวโจนส์ ซัสสเตนนาบิลิตี้ อินเด็กซ์ ฯลฯ แต่ในไทยนักลงทุนสถาบันในบ้านเราอาจจะเพิ่งเริ่มพูดกันเรื่องนี้ ในเรื่องนี้เราก็พยายามจะสนับสนุนให้นักลงทุนมองเห็นคุณค่าของ CSR ว่าบริษัทที่ทำ

เรื่องนี้จะมีคุณค่า (value) มากกว่าบริษัทที่ไม่ทำ เพราะบางทีผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนอาจมองว่าบริษัททำ CSR เพื่อประชา สัมพันธ์ตัวเองแล้วเอาเงินของเขาไปทำ พูดแบบชาวบ้านคือเอาเงินปันผลของเขาไปบริจาค บางครั้งยังมีภาพอย่างนั้น"

" แต่ต้องยอมรับว่า SR Index มีลักษณะเป็นคอมเมอเชียล โปรดักต์ (commercial product) เพราะฉะนั้นเมื่อทำออกมาแล้วก็ต้องเป็นสิ่งที่มีคนต้องการ ดังนั้นเราถึงเชื่อว่าเมื่อไหร่ที่มีความต้องการของตลาด (commercial demand) SR Index ก็จะเกิดเอง"

เพียงแต่ในเบื้องต้นสิ่งที่สถาบัน พยายามทำคือการพัฒนาในเรื่องของแนวปฏิบัติเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนที่มีความ รับผิดชอบ หรือ SR Criteria Guildline เพื่อให้บริษัทที่สนใจสามารถนำมาปรับใช้ได้ โดยไม่ได้บังคับ เพื่อส่งเสริมให้เกิดเรื่องนี้ได้

เตรียมดันมาตรฐาน GRI

สิ่ง ที่ทำควบคู่ไปด้วยกันคือเรื่องมาตรฐานการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI) ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่สถาบันจะเริ่มดำเนินการภายในปีนี้

" ตามกรอบ GRI เน้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล (disclosure) ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถมองเห็นระยะความรับผิดชอบของบริษัทได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็เชื่อมโยงกับ SRI การที่นักลงทุนจะรู้ว่าบริษัทมีความรับผิดชอบอย่างไร บริษัทก็ต้องเปิดเผยข้อมูล แต่ทุกวันนี้บางองค์กรยังตีความไม่ถูก ว่าอันนี้คือบริจาค หรือซีเอสอาร์ และมาตรฐาน GRI ก็จะมีแนวทางในการเปิดเผยเรื่องนี้ ทีนี้คำถามอยู่ที่ว่าจะทำแบบไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไปในครึ่งปีหลัง เพราะจะว่าไป GRI เป็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องของตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะการเปิดเผยข้อมูลเป็นพื้นฐานที่ทั้ง 2 องค์กรใช้กำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน"

"มีหลายคนหวาดเสียวว่า จะเป็นกฎ ระเบียบ ก็ต้องบอกว่า แนวโน้มก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะโดยหลักการก็ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล แต่เราก็เดินเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวังโดยดูผลกระทบที่จะเกิดกับผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียให้ชัดเจน"

"พอเราจะเริ่มทำ บางคนก็บอกว่า เอาง่ายๆ แต่เราก็มองว่า ถ้าง่ายๆ ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนัก เพราะนักลงทุนในบ้านเราก็ยังไม่ค่อยอ่าน แต่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการอ่านก็อ่านไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้นเวลาเราทำเรื่องพวกนี้คงต้องพิจารณาให้ดี"

สร้างสมดุลบริบทโลก-ไทย

เพราะ ปัจจุบัน CSR ในไทยถูกแบ่งออกเป็น 2 กระแส กระแสแรก คือ CSR กำลังกลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า (protectionism) อย่างในการประชุมจี-20 ที่ผ่านมาก็พูดชัดว่า ถ้าประเทศไหนไม่มี CSR บริษัทไหนไม่ทำ CSR ก็จะไม่ทำการค้าด้วย กระแสที่ 2 บอกว่า ไม่ต้องสนใจมาตรฐาน มุ่งเน้นเพียงเรื่องการพัฒนาสังคมและทำในบริบทไทย

เส้นทางอนาคต (อีก) ยาวไกล

ถึง วันนี้แม้จะมีองค์กรป่าวประกาศเรื่อง CSR มาก แต่ดูเหมือนในมุม "ชัยยุทธ์" เขามองว่า "ในทุกเรื่องที่เราจะทำผมมองว่าไม่ได้อยู่ที่เรา เราไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดว่าจะต้องทำให้ได้เมื่อไหร่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าคนเริ่มพูดถึงเรื่องเหล่านี้เมื่อไหร่ก็เริ่มใช้ เหมือนคุณมีเงิน 100 บาท จะไปลงทุนในบริษัทจดทะเบียนก็ยังมองแค่ราคาขึ้นลง มองว่ามีข่าวมั้ย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเริ่มมองว่ามี Corporate Social Performance (CSP) ดีมั้ย ตอนนั้น SRI จะเกิด นี่จึงเป?นงานระยะยาว ที่ต้องทำให้คนเข้าใจ"

ดันหลักสูตรปั้น "CEO CSR"

ดังนั้น สิ่งที่เดินคู่ไปกับการเดินเกมรุกเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ต่างๆ CSRI จึงเลือกมีบทบาทหลักในเครือข่ายทางสังคม (social networking) โดยหลังจากเมื่อไม่นานมานี้ดันโครงการ CSR Day ซึ่งเป็นการมุ่งส่งเสริมเรื่อง CSR โดยเข้าไปฝึกอบรมและสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานภายในองค์กร เพื่อเป็นพลังสำคัญในการเคลื่อนขบวน CSR ในเวลาเดียวกันยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง CSR Club เพื่อสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร รวมไปถึงการแก้ปัญหาในจุดที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งหลักสูตร CSR Academy สำหรับผู้บริหารระดับสูง เพราะผู้นำองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ CSR เดินได้หรือไม่ได้ในองค์กร

และผู้นำองค์กรนี่เองที่ต้องฟังเสียงสะท้อนนี้แล้วต้องได้ยิน


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01270452&day=2009-04-27&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: