วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทพิสูจน์ตัวจริงขององค์กร CSR

ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำ บทพิสูจน์ตัวจริงขององค์กร CSR

โดย สุภา โภคาชัยพัฒน์

ท่าม กลางภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอันชุลมุนวุ่นวาย สื่อต่างๆ ก็พากันรายงานถึงความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมรอบตัวเราในเรื่องนี้ไม่ค่อยจะดีนัก และยิ่งมีการนำเสนอเรื่องนี้มากเท่าไร ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะแย่ลงไปมากเท่านั้น สังคมที่รอคอยการช่วยเหลือต่างก็สิ้นหวังมากยิ่งขึ้น ภาวะเช่นนี้จะมีสักกี่องค์กรที่ยังคงสนใจคนและสังคม โดยเฉพาะคนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือทุกคนคิดแต่จะเอาตัวรอดและตัดส่วนที่ เรียกว่ากิจกรรมเพื่อสังคมออกไป สถานการณ์ปัจจุบันที่เรียกว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตเช่นนี้นับเป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญขององค์กรที่ใส่ใจ สังคมอย่างแท้จริง

ที่ผ่านมามีการถกเถียงเรื่องการทำ ซีเอสอาร์เพราะเป็นกระแส หรือแม้กระทั่งประเด็นที่ว่า กิจกรรมไหนคือซีเอสอาร์ของจริง เป็นต้น วันนี้จะเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญของผู้บริหารว่าให้ความสำคัญของการทำซีเอส อาร์จริงหรือที่ผ่านมาเป็นเพียงการสร้างภาพของบริษัท เพราะไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร ผู้เขียนขอยืนยันว่ากิจกรรมเพื่อสังคมยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดของ บริษัทท่ามกลางเศรษฐกิจที่รุมเร้า

ภาพของการเป็นองค์กรที่ยัง ห่วงใยสังคม ยังคงต้องมีต่อไป บางท่านอาจจะแย้งว่า "ปีนี้บริษัทของเราประสบภาวะขาดทุนหรือกำไรลดลง กิจกรรมซีเอสอาร์ควรถูกตัดเป็นอันดับแรก เอาไว้บริษัทมีกำไรเยอะๆ แล้วเราจะกลับมาทำซีเอสอาร์" นี่คือสิ่งที่ง่ายที่สุดที่ทำได้ แต่เยาวชนไทยและสังคมที่ต้องการความช่วยเหลือ ที่กำลังเติบโตก็ยังเติบโตต่อไปอยู่ทุกวันโดยไม่สามารถรอให้เศรษฐกิจดีขึ้น หรือแย่ลง เยาวชนจะต้องโตในแบบที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง โตโดยไม่มีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนกับกิจกรรมหรือเวทีให้เขาแสดงความสามารถออก มาอย่างถูกต้อง แต่กลับเห็นแต่ภาคธุรกิจที่กังวลถึงเรื่องกำไรขาดทุน คิดหรือว่าพอเศรษฐกิจดีขึ้นและเราพร้อมจะกลับมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีก เยาวชนของไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป ความคิดเช่นนี้คงจะพอบอกได้แล้วว่าองค์กรไหนที่ทุ่มเทให้ความสำคัญกับซีเอส อาร์ที่แท้จริง

มาตรฐานของการผลิตสินค้าที่ควรมีคุณภาพฉันใด ผู้เขียนมองว่าการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนก็คือหนึ่ง ปัจจัยที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ ของบริษัท ฉะนั้นแล้วแทนที่หลายบริษัทจะลุกขึ้นมากู้ภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการ เงินด้วยการเปิดตัวแคมเปญ ใหม่ๆ แถลงยอดขาย ผลกำไร จงอย่าลืมว่าสิ่งที่คุณทำดีอยู่แล้วและมอบให้กับสังคมอยู่แล้วนั่นแหละคือ การลงทุนทางธุรกิจที่คุ้มค่าในระยะยาวมากที่สุด และที่สำคัญคือทำด้วยต้นทุนที่น้อยมาก

นโยบายการตัดงบประมาณและการยก เลิกกิจกรรมต่างๆ นั้นทำได้ง่ายมาก แต่การกลั่นกรองถึงเนื้อหาและความสำคัญในระยะยาวของกิจกรรมเพื่อสังคม ตลอดจนการลงมือปฏิบัติโครงการอย่างมีระบบนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า สำหรับองค์กร แน่นอนว่าผลที่ได้นั้นไม่เพียงแต่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรต่อสังคม ภายนอก หากแต่ยังมีผลมัดใจผู้ถือหุ้น พนักงาน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

จะกล่าวไปแล้วภาวะเศรษฐกิจใน วันนี้มองให้เป็นกลางก็คือ ผลของการทำกำไรอย่างไม่มีที่สิ้นสุดขององค์กรธุรกิจในอดีต ความไม่สมดุลทางสังคมนั้นมีอยู่มาก เมื่อกอบโกยกำไรกันอย่างไร้ขีดจำกัดโดยไม่สะท้อนถึงความเป็นไปทางสังคม ความเจ็บปวดจากภาวะดังกล่าวจึงเกิดขึ้นมาก กระแสซีเอสอาร์จะไม่จางหายไปจากภาคธุรกิจหากองค์กรต่างสำนึกถึงการคืนกำไร ให้กับสังคม และวันหนึ่งเมื่อสังคมแวดล้อมหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่านดี ขึ้น องค์กรก็จะกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้นเช่นกัน

วันนี้ องค์กรส่วนมากอาจดำเนินนโยบายในการตัดงบประมาณที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้มี เงินเหลือในกระเป๋าให้มากที่สุด แต่ผู้เขียนยังเห็นว่าอีกนโยบายหนึ่งที่ผู้บริหารควรทำก็คือ การรักษานโยบายการดำรงกิจกรรมเพื่อสังคมไว้เคียงคู่กับองค์กรนั้นจะช่วยยึด เหนี่ยวความภักดีต่อองค์กรจากลูกค้า คู่ค้า พนักงาน เยาวชน ประชาชน รวมทั้งผู้ถือหุ้นและสื่อมวลชนได้เป็นอย่างดี


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03160352&day=2009-03-16&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: