วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (จบ)

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

บริษัท ที่ทำ CSR สามารถเข้าร่วมในการแก้โดยใช้ CSR เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดผลดีแก่ภาพลักษณ์บริษัท พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และสังคมโดยรวม

แน่นอนผู้ที่ทำ CSR จะต้องใช้ทักษะในการมองวิกฤตด้วยความเข้าใจ และมองหาช่องทางที่จะแปลงมาเป็นโอกาส ซึ่งการกระทำนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่ทำงาน CSR และฝ่ายบริหารของบริษัทที่จะจัดวิเคราะห์วางแผนตรงนี้

ผู้ที่ รู้จักหมวก 6 ใบในการคิดของ Edward De Bono สามารถไล่ประเภทความคิดแต่ละแบบทั้งใบ เพื่อให้ได้แนวทางในการเชื่อมโยง CSR และการตอบโต้วิกฤต ไม่ว่าจะหมวกสีขาวที่ใช้ในการพิจารณาข้อมูลด้วยความเป็นกลาง หมวกสีแดงของไหวพริบ และการมองแง่มุมของสถานการณ์ หมวกสีดำที่ตั้งข้อสงสัย ไว้ก่อนในแง่มุมที่อาจจะมีความเสี่ยง หมวกสีเหลืองที่มองโลกในแง่ดี และมี ความหวังในแนวทางที่จะมีการคลี่คลาย หมวกสีเขียวแห่งความคิดริเริ่ม หรือหมวก สีฟ้าแห่งการกำกับระบบและกระบวนการให้เกิดผล

เครื่องมือ การวางแผนที่สำคัญที่คนทั่วไปมักจะใช้กันอยู่แล้วระดับหนึ่ง คือการวิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน ภายใน และโอกาส ข้อจำกัด ภายนอก

ตาม หลักของ SWOT (strengths, weaknesses, opportunities and threats) แต่แทนที่จะใช้โจทย์ เช่น เป้าหมายการตลาด เราใช้ SWOT จับประเด็นด้านจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท ซึ่งรวมถึงจุดแข็งจุดอ่อนของงาน CSR ที่ทำอยู่ และโอกาส/ข้อจำกัดในการทำงานในวิกฤตแต่ละเรื่อง

ผม ได้ลองตั้งตุ๊กตา คำถามง่ายๆ ที่อาจจะใช้ใน SWOT โดยที่แต่ละคำถามอาจจะตอบเป็นจุดแข็ง หรือจุดอ่อนก็ได้ หรือเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลดี หรือเป็นข้อจำกัดที่ภายนอกองค์กร (ดูตารางประกอบ)

คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ SWOT มาจากความเห็นของทีมงานที่ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และไม่ควรลืมว่าทุกประเด็นที่เป็นจุดอ่อน หรือเป็นข้อจำกัด เราสามารถวางแผนแก้ไขได้

ดังนั้นเครื่องมือนี้ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือก และสามารถช่วยคนในการทำงานได้

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: