วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สูงเสียดฟ้า ซีเอสอาร์ยังต้องมี


โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com


อาคาร สำนักงานสูงเสียดฟ้า แห่งหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มองขึ้นไปเห็นแต่โครงสร้างอาคารที่ยังต้องสร้างต่ออีกมาก คนงานก่อสร้างหลายคนกำลังเร่งทำงานอยู่ข้างบนนั้นให้ทันกับเวลาที่กำหนดไว้ แม้จะรีบเร่งแต่พนักงานเหล่านั้นต่างก็ทำงานด้วยความปลอดภัย สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเหมาะสม ทุกคนปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ทำงานอย่างสบายใจและอุ่นใจ...หากมีสถานการณ์อย่างนี้เกิดกับคนงานที่ต้องทำ งานเสี่ยงอันตรายทุกมุมของโลกคงเป็นเรื่องที่ดี ไม่น้อย

เพราะจะว่า กันตามจริงธุรกิจการก่อสร้างเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุมาก เป็นลำดับต้นๆ ซึ่ง นิตยสารฟอร์บส เคยเก็บสถิติไว้เมื่อปีก่อนว่า ในภาพรวมของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดแม้ว่าจะนำโด่งมาในด้านความ เสี่ยงต่อชีวิต แต่ก็มีหลายหน่วยงานพยายามปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเพื่อช่วยลด การเกิดอุบัติเหตุ

หลายบริษัทพยายามปรับเปลี่ยนขั้นตอนในการดำเนิน งานเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด สำหรับคนงานที่ทำงานที่ต้องเสี่ยงอันตรายทุกคนเทิร์นเนอร์ คอนสตรักชั่น ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างที่มีสาขามากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาและมีสาขาในต่าง ประเทศคือหนึ่งในบริษัทนั้น บริษัทนี้มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใดๆ ต่อพนักงาน ผู้รับเหมา ลูกค้า และทุกคนที่ก้าวเข้ามาอยู่ในบริเวณที่มีการก่อสร้าง หลักความเชื่อของบริษัทในด้านความปลอดภัย คือ พนักงานทุกคนต้องไม่มีใครเป็นอะไร และสามารถกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยในทุกๆ วัน หรือพูดง่ายๆ คือมาทำงานด้วยอวัยวะในร่างกาย กี่ชิ้นก็ต้องเอากลับบ้านไปให้ครบด้วย

"เทิร์นเนอร์ คอนสตรักชั่น" พยายามยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในวงการก่อสร้างผ่านวิธีต่างๆ เช่น ระบบการป้องกันการตกจากอาคารสูง มีขั้นตอนตรวจสอบสารเสพย์ติดอย่างเคร่งครัด มีการฝึกอบรมและการให้ความรู้รวมถึงมีการจัดเตรียมเครื่องมือต่างๆ ให้กับพนักงานของเทิร์นเนอร์ฯเอง รวมไปถึงผู้รับเหมาก่อสร้างในทุกโครงการที่เทิร์นเนอร์ฯดูแลรับผิดชอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงด้วยความตระหนักว่าความ สูญเสียอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา บริษัทกำหนดให้พนักงานเข้ารับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยผ่านทางออนไลน์หลัก สูตร 30 ชั่วโมง ซึ่งได้รับรองหลักสูตรจากหน่วยงานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของรัฐบาล หลังจากนั้นพนักงานยังต้องเข้าเรียนหลักสูตรฟื้นฟูทุกๆ 3 ปี นอกจากนั้นบริษัทยังจัดให้มีกิจกรรมประจำปีด้านความปลอดภัย ซึ่งพนักงานทุกคนทั่วประเทศจะมีเวลาได้วิเคราะห์ถึงการนำหลักความปลอดภัยมา ใช้ในชีวิตประจำวันว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงใด

นอกจากให้ความรู้ความ เข้าใจที่เพียงพอแล้ว ยังมีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งด้วยระบบป้องกันการตกจากที่สูง ซึ่งมีข้อกำหนดใช้กับพนักงานที่ต้องทำงานสูงกว่าพื้นดิน 1.8 เมตร เทิร์นเนอร์ฯยังมีโครงการพัฒนาระบบความปลอดภัยรูปแบบใหม่ให้ดียิ่งขึ้นอีก ร่วมกับกลุ่มบริษัทประกันอีกด้วย

การที่บริษัทใส่ใจในความสำคัญของ ความปลอดภัยผ่านโครงการและแนวทางต่างๆ ไม่เพียงแต่ทำให้พนักงานไม่ต้องคอยกังวลกับความปลอดภัยในชีวิตของตนใน ระหว่างที่ทำงาน ทำให้พนักงานสามารถทำงานให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้ว แต่ยังเป็นสิ่งที่พนักงานสามารถรับรู้ได้ถึงความจริงใจของบริษัทในสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของพนักงาน รวมไปถึงก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งตัวพนักงานและบริษัทในการป้องกันและลดความ เสี่ยงของการสูญเสียทั้งชีวิตพนักงานและทรัพยากรของบริษัทอีกด้วย

ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการทำงานมีมากมาย หลายครั้งมาจากความเคยชินและเหตุผลง่ายๆ เช่น ไม่รู้ - ว่าต้องรู้อะไร และต้องระวังอย่างไร ไม่เข้าใจ - ว่าความเสี่ยงก่อให้เกิดผลลบอย่างไร ไม่ถาม - เมื่อไม่มีความรู้ความเข้าใจ เพียงพอ ไม่ดี - อุปกรณ์เครื่องมือไม่ดีมีความบกพร่อง ไม่มี - ความรู้ความชำนาญในงาน ไม่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เหมาะสม ไม่เอา - มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยพร้อมแต่ไม่เอามาใช้ หรือใช้ไม่ถูกวิธี ไม่พร้อม - ที่จะทำงาน แต่ต้องทำ เช่น สภาพร่างกายและจิตใจไม่สมบูรณ์ ไม่สน - ว่าใครจะเตือนอย่างไร มีกฎอย่างไร ไม่เป็นไรหรอก - ไม่เกิดกับเราหรอก มันไกลตัวเกินไป

มาช่วยกันปรับเปลี่ยนความเคยชินที่เสี่ยงๆ ให้กลายเป็นความเคยชินที่ดีและปลอดภัยที่สุด เพราะชีวิตไม่สามารถเรียกคืนได้ และความสูญเสียไม่อาจตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะมากหรือน้อยเพียงใด

เมื่อพนักงานมีหน้าที่รับ ผิดชอบในงานของบริษัทอย่างดีที่สุด บริษัทก็มีหน้าที่รับผิดชอบในชีวิตของพนักงานที่ทำงานในบริษัทอย่างดีที่สุด เช่นกัน รับผิดชอบกันให้เต็มที่ดีกว่าที่จะบอกเพียงว่า...ไม่ตั้งใจ... ให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้น

อย่าให้ชีวิตของใครโดยเฉพาะพนักงานของเราต้องถูกสังเวยด้วยเหตุผลง่ายๆ เหล่านี้อีกเลย


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05020352&day=2009-03-02&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: