วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ซีเอสอาร์และทารก


โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com

" หลังคลอดจะออกไปเลี้ยงลูก" คุณแม่คนใหม่ที่รักการทำงานและเป็นลูกจ้างมืออาชีพหลายคนจะทรมานใจกับประโยค นี้ที่ต้องพูดออกมา เพราะใจจริงยังไม่อยากหยุดทำงาน แต่ จำใจต้องหยุดด้วยสารพัดเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นไม่รู้จะฝากลูกเล็กๆ ที่เพิ่งคลอดไว้ให้ใคร ลางานก็ลาได้ไม่นาน แล้วหลังจากลางานแล้วตอนกลับไปทำงานล่ะ ที่บ้านก็ไม่มีใครเลี้ยงลูกให้ ถ้าจะเอาลูกไปฝากใครๆ เลี้ยงก็ห่วงอีก ไม่รู้จะไว้ใจได้แค่ไหน และถึงจะดูแลลูกให้ดียังไงก็ไม่มีทางเท่าพ่อแม่ คิดหลายตลบแล้วหลายคนจึงตัดสินใจลาออกหลังจากคลอด

คุณแม่อีกส่วนที่ ตัดสินใจว่าจะกลับมาทำงานตามเดิม เมื่อกลับมาทำงานอีกครั้งก็วนกลับไปสู่ความกังวลเดิมว่าลูกยังเล็กมาก อายุไม่กี่เดือน จะเป็นยังไงบ้าง โดยส่วนใหญ่คุณแม่จะกลับมาทำงานภายในเวลา 1 เดือนครึ่ง-3 เดือนตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด อย่างไรก็ตามความกังวลนี้บรรเทาได้ ด้วยความร่วมมือจากบริษัทและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง ดีๆ คือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในองค์กรที่มีชื่อว่า สมาคมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการแห่งออนแทริโอ หรือ AMAPCEO ไม่ต้องเสียเวลากังวลกับเรื่องนี้เลยค่ะ เพราะเจ้าหน้าที่ในสมาคมนี้มีสิทธิลาคลอดได้ถึง 1 ปีพร้อมกับรับเงินทดแทนจากสมาคม ใกล้เคียงกับเงินเดือนตลอดระยะเวลาที่ลางานไป และไม่ใช่เพียงแค่คุณแม่ที่ลาคลอดได้เท่านั้น แต่คุณพ่อ คนดีก็สามารถลางานในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอดนี้ได้เพื่อช่วยคุณแม่ดูแลลูก น้อยแรกเกิดได้เป็นเวลา 9 เดือนเลยทีเดียว ใน 9 เดือนนี้ก็ได้รับเงินทดแทนเกือบเท่าเงินเดือนเช่นกัน

สมาคมนี้ไม่ได้ ส่งเสริมแค่คุณแม่คุณพ่อตัวจริงที่ให้กำเนิดลูกน้อยร่วมสายเลือดเดียวกัน เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ในสมาคมซึ่งขอรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมสามารถ ลางานในช่วงแรกของการรับเด็กมาได้เป็นระยะเวลาเท่ากับคุณพ่อคือ 9 เดือนเช่นกัน แถมพิเศษเมื่อถึงวัยที่เจ้าหน้าที่คนใดแปลงร่างเป็นคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย แล้วก็ยังสามารถลางานได้โดยที่ยังได้เงินเดือนอยู่เป็นเวลา 5 วันค่ะ สมาคมนี้ยังสนับสนุนความอบอุ่นในสถาบันครอบครัวด้วยการจัดให้มีการทำงานจาก ที่บ้านได้ ลดวันทำงานแต่เพิ่มชั่วโมงในแต่ละวันตามความต้องการและความสมัครใจของเจ้า หน้าที่ซึ่งแตกต่างกัน

คิดไม่ออกเลยว่า ถ้าใครโชคดีได้เป็น เจ้าหน้าที่ในสมาคมนี้ หรือได้ทำงานในองค์กรที่มีนโยบายดีๆ อย่างนี้แล้ว ใครคนนั้นจะอุ้มลูกตัวน้อยๆ ไว้ในอ้อมกอดก่อนครบขวบแรกแบบไร้กังวลพร้อมกับยิ้มได้กว้างไปถึงไหน ในขณะเดียวกันองค์กรจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้หลายด้านด้วยกัน ไม่เพียงแต่ในด้านความรับผิดชอบต่อพนักงานแล้ว แต่ยังสามารถช่วยขจัด ความกังวลกวนใจของพนักงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไม่ถูกกระทบในด้านลบ ช่วยสร้างเสริมระดับความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร รักษาพนักงานดีๆ ซึ่งมีประสบการณ์และความรู้ไว้ในองค์กรต่อไปได้ในระยะยาว

การทำซี เอสอาร์นั้นไม่จำเป็นต้องวิ่ง ออกไปนอกองค์กรเสมอไป แต่สามารถทำได้ด้วยการดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร อย่างเช่น พนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05300352&day=2009-03-30&sectionid=0221



ไม่มีความคิดเห็น: