วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แม่ทัพใหม่ "ยูนิลีเวอร์"

แม่ทัพใหม่ "ยูนิลีเวอร์" ส่งสัญญาณเคลื่อน CSR สู่ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"

ถือ เป็นข้อถกเถียงพอสมควรในช่วงที่ผ่านมาถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนแนวคิด ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (corporate social responsibility : CSR) ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ สำหรับเวลาในวันที่วิกฤตเศรษฐกิจกำลังรุมเร้า

องค์กรธุรกิจควรจะโฟกัสและเร่งแก้ไขแต่เพียงปัญหาระยะสั้น ละวางและพักการทำ CSR เอาไว้ก่อน

หรือในเวลาเช่นนี้จะใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการปรับปรุงการบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นอยู่ ไว้สำหรับอนาคตในระยะยาว

สำหรับ "ยูนิลีเวอร์" ที่แม้จะเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และเป็นหนึ่งในองค์กรผู้นำ CSR ในไทย นี่ย่อมเป็นโจทย์ใหญ่เช่นเดียวกัน

โดย เฉพาะนี่ถือเป็นช่วงจังหวะสำคัญขององค์กรที่กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยน ผ่าน "แม่ทัพใหม่" จาก "ลออิค ทาร์ดี้" ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองประธานอาวุโส กลุ่มผลิตภัณท์ดูแลเส้นผม ประจำภูมิภาคเอเชียและ อาเม็ต และมี "บาวเค่อ ราวเออร์ส" อดีตผู้บริหารศูนย์ลีเวอร์จากสหรัฐอเมริกา มานั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ในประเทศไทยแทน

ใน งานเปิดตัวผู้บริหารใหม่ของ"ยูนิลีเวอร์" เป็นครั้งแรกกับสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากที่ "ราวเออร์ส" เข้ามานั่งในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารเป็นเวลากว่า 2 เดือน บางบทตอนที่เขากล่าวมีนัยสำคัญที่น่าสนใจ เมื่อเขาเล่าถึงกลยุทธ์ ที่เขานำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ในสถานการณ์เช่นนี้

"ในช่วง ที่ผ่านมาเรากำลังจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจให้บริษัทสามารถเดินหน้าต่อไป ได้ แต่จากนี้ไปอีก 2-3 เดือน เราจะพูดถึงสิ่งที่เราจะก้าวต่อไปในอนาคตระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายในการรักษาความเป็นที่ 1 ชนะใจผู้บริโภค ลูกค้า และชุมชน"

นั่นหมายถึงว่าไม่เพียงแก้โจทย์ปัญหาในระยะสั้น ในเวลาเดียวกันต้องมองไปในระยะยาว

เมื่อ มองไปที่องค์กร "ราวเออร์ส" บอกว่า "ยูนิลีเวอร์ในไทยถือว่าเป็นบริษัทที่มีพลัง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าที่ดีมาก บริหารต้นทุนต่ำ รวมไปถึงการบริการที่ตรงเวลา เรื่อง CSR ในไทยก็ถือว่าทำได้ดีอยู่แล้ว"

"บทบาทของผมจึงไม่ได้เข้ามาที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยเป็นมาเช่นในอดีต เพียงแต่เราจะมองมันไปข้างหน้าและทำให้ดีขึ้นอย่างไร"

การมองไปข้างหน้าและทำให้ดีขึ้นในความหมายของเขา มี CSR เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเสมือนเข็มทิศ

"เราจะยังคงทำ CSR ต่อไปโดยไม่ได้ตัดงบประมาณ และไม่ได้เฉพาะแต่กิจกรรมเพื่อสังคม

ใน เวลาเดียวกันเรากำลังขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมในทิศทางใหม่ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับยูนิลีเวอร์ทั่วโลก ในการที่ตัวองค์กรจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่องค์กรทำมากขึ้นกว่าเดิม เรากำลังจะทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี"

"สิ่งหนึ่งที่จะเห็น ในขณะนี้ก็คือการลงทุนในโรงบำบัดน้ำเสียที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะดำเนินการโดยมีมาตรฐานที่สูงกว่าที่กฎหมายได้กำหนดไว้ แล้วก็ตาม แต่เราก็ยังคงเดินหน้าที่จะทำอย่างต่อเนื่อง"

เขายก ตัวอย่าง "ลิปตัน" แบรนด์ชาซึ่งมียอดจำหน่ายสูงสุดทั่วโลกของ "ยูนิลีเวอร์" เป็นตัวอย่างว่า "ในปี 2015 ลิปตันตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเดินไปสู่การเป็น sustanability farming ซึ่งให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตั้งแต่ต้นน้ำถึง ปลายน้ำ ตัวฟาร์มเองจะมีการใช้สารเคมีที่ลดลง มีการดูแลคุณภาพชีวิตคนผลิตชา ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดกระบวนการไปจนถึงมือผู้บริโภค นั่นรวมถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ ในอนาคต"

สำหรับ "การพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน" เป็นโครงการที่ยูนิลีเวอร์ในต่างประเทศพัฒนาขึ้นมายาวนาน ในการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุป ทาน (supply chain) เนื่องจากปัจจุบันสินค้าทางการเกษตรถือเป็น 2 ใน 3 ของวัตถุดิบของยูนิลีเวอร์ที่นำมาผลิตสินค้า ที่ผ่านมามีโครงการนำร่องกับสินค้าทางการเกษตรอย่างชา มะเขือเทศ น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวปฏิบัติในการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงนำไปสู่การมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ในเวลาเดียวกันยังเป็นการปกป้องและปรับปรุงธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น

เพียงแต่น่า สนใจว่าสัญญาณที่ถูกส่งจาก "แม่ทัพคนใหม่" ของ "ยูนิลีเวอร์" ครั้งนี้ จะทำให้การเคลื่อนทัพความรับผิดชอบในไทยเป็นไปในทิศทางใด จึงเป็นอีกความเคลื่อนไหวที่ต้องติดตามในระดับ ห้ามกะพริบตา !!

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01060452&day=2009-04-06&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: