วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ประกายความหวังจาก CSR

เยาวชนของชาติ ประกายความหวังจาก CSR

โดย สุภา โภคาชัยพัฒน์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

พูด ถึงซีเอสอาร์ โดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงการทำกิจกรรมหรือบริจาคให้แก่ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าใน สังคม คนมักจะมุ่งไปที่การบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งช่วยเหลือคนพิการ เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือผู้สูงอายุที่ถูกลืม ในบางที ซีเอสอาร์อาจจะทำประโยชน์ให้กับสังคมในระยะยาวได้มากกว่าที่เราคิดก็ได้ ถ้าเราคิดให้มากๆ ว่า ในองค์กรของเรามีความเชี่ยวชาญอะไรที่เราจะสามารถแบ่งปันให้สังคมได้ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

เดิมทีนั้นเรามักคิดว่าการเรียน รู้เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยคุณครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ แต่ปัจจุบันการเรียนรู้สามารถทำได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดยการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ที่ดีและเร็วมักหนีไม่พ้นการต้องมี coach หรือผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

บริษัทและองค์กรต่างๆ จึงเป็นองค์ความรู้ที่รวมเอาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก ก็ย่อมผ่านประสบการณ์ต่างๆ มาแล้วมากมาย องค์กรเป็นแหล่งรวมของบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาจากหลายแขนงมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนักบริหาร วิศวกร นักบัญชี นักสื่อสารองค์กร นักการตลาด เป็นต้น พนักงานขององค์กรก็สามารถแบ่งปันองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับเยาวชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไปจากที่เรียนกันอยู่ในโรงเรียน ทุกวัน

องค์กรภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติ องค์กรสามารถช่วยภาครัฐเติมเต็มส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประกวด การร้องรำทำเพลง การเล่นดนตรี อย่างน้อยก็เป็นการให้เยาวชนกล้าแสดงออกมากขึ้น และแสดงความสามารถของตัวเอง ปัจจุบันจะเห็นเวทีประกวดร้องเพลง เล่นดนตรีนั้นมีมากมาย แทบจะทุกครอบครัวไทยให้การสนับสนุนเด็กๆ ร้องเพลงและเต้น เพราะรายได้ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม ซี่งในแง่ของการทำ ซีเอสอาร์โดยการเปิดเวทีให้เยาวชนเหล่านี้ ก็นับเป็นความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนค่านิยมเดิมๆ และแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้ที่ผ่านการประกวดทางดนตรี ปัจจุบันสามารถเติบโตเป็นศิลปินชั้นนำของประเทศ และเป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคม เรื่องนี้เป็นการตอกย้ำว่าการทำซีเอสอาร์ต้องมองผลระยะยาวและยั่งยืน การทำ ซีเอสอาร์กับกลุ่มเด็กและเยาวชนก็ควรจะติดตามผลจากโครงการที่ทำขึ้นเป็นระยะ ว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดจากกิจกรรมที่เรา จัดขึ้น

องค์กรธุรกิจควรมองว่าสังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาหรือกำลังจะ เผชิญกับวิกฤตอะไร เช่น สภาพแวดล้อม ปัญหาด้านประชากรผู้สูงวัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น เยาวชนของชาติก็ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการคิดและการแก้ปัญหาร่วมกัน องค์กรธุรกิจก็จะได้ดึงเอาความเชี่ยวชาญของตนเองออกมาเพื่อที่จะสามารถชี้ แนะให้เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น มิใช่ทำตามกระแสของตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรเท่านั้น สังคมยังต้องการการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ด้านการคิดคำนวณ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งด้านสังคมศาสตร์และจริยธรรม เยาวชนของชาติยังรอการค้นพบตัวเองจากกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจอยู่ อีกมาก ขอเพียงคนทำซีเอสอาร์ตกผลึกทางความคิด ดึงความช่วยเหลือจากองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของตนไปยังกลุ่มของเยาวชน และผู้เขียน เชื่อมั่นว่า สังคมไทยจะได้รับวิทยาการอีกมากมายจากกิจกรรมซีเอสอาร์ ซึ่งการติดตามการเติบโตของเยาวชนอย่างต่อเนื่องจะเป็นเครื่องชี้วัดถึงความ สำเร็จของโครงการเป็นอย่างดีว่า สิ่งที่องค์กรจัดขึ้นนั้นมี ประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหน

มองมุมกลับมาที่ตัวองค์กรและผลที่ได้ใน แง่ของการลงทุนกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้เขียนมั่นใจอย่างยิ่งว่า เยาวชนจะจดจำในแบรนด์ที่เขาประทับใจและได้สัมผัสเป็นอันดับแรก ตราบใดที่องค์กรของท่านต้องการ

การเติบโตอย่างมีกำไรอย่างยั่งยืน (sustaining profitable growth) แน่นอนว่าการสร้างทัศนคติที่ดีกับกลุ่มเด็กและเยาวชนนั้นนับเป็นกลยุทธ์ที่ องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะเยาวชนเหล่านี้จะเติบโตมาพร้อมกับองค์กรของท่าน เรื่องนี้เป็นเรื่องของจิตวิทยาทางสังคม กลุ่มเป้าหมายจะจดจำและเห็นสิ่งที่เขาเคยสัมผัสมากกว่าสิ่งที่เขาไม่เคย รู้จัก และเมื่อเวลาที่องค์กรมีการเคลื่อนไหวใหม่ๆ กลุ่มนี้แหละที่คอยให้การสนับสนุน และเมื่อองค์กรเกิดภาวะวิกฤต พวกเขาก็จะคอยปกป้ององค์กรของคุณในรูปแบบต่างๆ

ในภาวะเศรษฐกิจและ สังคมในปัจจุบันต้องอาศัยการพึ่งพาทางสังคมอยู่มาก องค์กรธุรกิจล้วนต้องการการเติบโตและมีกำไรเช่นใด เยาวชนของชาติก็ต้องการเติบโตอย่างมีคุณภาพและอนาคตที่สดใสเช่นกัน

ใน แง่ของภาคธุรกิจและสังคมย่อมต้องเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน เทคนิคง่ายๆ คือ องค์กรของท่านต้องการเติบโตไปในทิศทางใด ก็เสริมจุดแข็งให้กับเยาวชนในด้านนั้นควบคู่กันไป ผลที่ได้นั้นย่อมตกอยู่ที่สังคมและองค์กร ซึ่งนับเป็นการตอบโจทย์ของการทำซีเอสอาร์ให้ยั่งยืนใน ระยะยาว


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05260152&day=2009-01-26&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: