วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

บทพิสูจน์หลังธุรกิจเอ็นจีโอ 1 ปี "แบ่งปัน"


เป็น เวลากว่า 1 ปีนับตั้งแต่วันแรกที่โครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงานของ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เกิดขึ้น

โดยการวางตัวในการเป็นสะพานเชื่อมหรือ "match maker" ในการจับคู่ให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง "องค์กรธุรกิจ" และ "องค์กรพัฒนาเอกชน" ในการแบ่งปันทรัพยากร ทั้งงบประมาณ เงิน คนและความสามารถที่ทั้งธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ในการช่วยเหลือสังคม

ผล จากการทำงานในระยะเวลาที่ผ่านมาโดยสามารถจับคู่ "ธุรกิจ" และ "เอ็นจีโอ" ไปได้แล้วจำนวน 78 คู่ และเกินกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะเดิมทีใน 2 ปีแรกของโครงการตั้งเป้าไว้ 200 คู่ ซึ่งขณะนี้เพียงปีเดียวก็เดินมาไกลเกินกว่าที่ตั้ง เป้าหมายไว้

และ ถือเป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดาของการทำงานบนโจทย์ที่ท้าทายนี้ เพราะแม้ว่าการทำงานจะตั้งอยู่บนโจทย์ของการเติมเต็มความต้องการระหว่างกัน แต่ต้องยอมรับว่า ทั้ง "ธุรกิจ" และ "เอ็นจีโอ" นั้นพูดคนละภาษา และเป็นเรื่องที่ยากที่สุดที่ทำให้ในรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร ธุรกิจและเอ็นจีโอที่ผ่านมาเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งๆ ที่ในขณะที่ภาคธุรกิจมีเงิน มีความสามารถในการช่วยเหลือแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชน มีทักษะความสามารถในการช่วยเหลือ แต่มีงบประมาณและบุคลากรที่จำกัด

"สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง" ประธานกรรมการโครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืนและประธานเครือข่ายธุรกิจ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "เราจึงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม เป็นเพราะนวัตกรรมในการทำ match maker ยังมีไม่มากนักในไทย และด้วยนิสัยของคนไทยที่โอบอ้อมอารี ถ้าบริจาคอะไรได้ก็บริจาค แต่บางทีหลายคนก็มักตั้งคำถามในใจว่าเงินที่บริจาคถูกนำไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพและเห็นผลหรือไม่ เมื่อเรามีความโปร่งใส และการให้ที่เกิด ผลจริงเป็นผลทำให้โครงการถูกกระจายไปอย่างรวดเร็ว"

ความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ จังหวัดนนทบุรี ภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นจากประสิทธิผลของการให้ที่ เกิดจากการระดมทรัพยากรขององค์กรธุรกิจจำนวนกว่า 10 บริษัท นำความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรที่มีในองค์กร แรงงาน ซอฟต์แวร์ องค์ความรู้ มาต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ แทนการบริจาค จากเดิมที่มูลนิธิแม้จะสามารถฝึกอบรมให้เด็กมีศักยภาพแต่ก็ไม่สามารถสร้าง โอกาสในการทำงานให้ผู้พิการได้

การเข้ามาของ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด ออกแบบหลักสูตร นำวิทยากรมาสอนการทำเว็บไซต์เพิ่มเติมให้นักเรียนอย่างเข้มข้น ทำให้หลายคนได้งานเป็นเว็บมาสเตอร์ การเข้ามาของบริษัท ดอคคิวเมนท์ พาร์เซล เอ็กซ์เพรส จำกัด นำพนักงานมาทำความสะอาดสนาม ซ่อมห้องน้ำให้คนพิการ และติดโปรเจ็กเตอร์ให้ห้องเรียน ทำให้ทั้งครูและนักเรียนสามารถเรียนวิชาการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฯลฯ

ผล จากความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการ "แบ่งปัน" ที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการแบ่งปันทรัพยากรที่แต่ละองค์กรมีเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ในการทำงานที่ผ่านมายังมีรูปแบบของการแบ่งปันในลักษณะของการ "ร่วมแรงร่วมใจ" ที่ภาคเอกชนเป็นคนออกเงินให้และภาคสังคมเป็นผู้ออกแรง อาทิ โครงการห้องเรียนพ่อแม่ ที่ "มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก" ได้ออกแบบกิจกรรมและนำวิทยากรเข้าไปทำกิจกรรมให้พนักงาน ของบริษัท แพรนด้าจิวเวลลี่ จำกัด บริษัทเน็กซ์ โปรดักส์ และบริษัท วันเดอร์เวิร์ล โปรดักส์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตครอบครัวและการเลี้ยงดูลูก ที่ถูกต้อง

รวมไปถึงรูปแบบสุดท้าย คือความร่วมมือและการแบ่งปันทรัพยากรที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้แบบใหม่ ผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคม ภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยศรีปทุม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และโครงการแบ่งปันฯได้มีการจัดหลักสูตร อบรมให้ความรู้ทั้งเรื่องการตลาด ไอที การบริหาร กฎหมาย ให้เอ็นจีโอในกรุงเทพฯกว่า 50 แห่ง

"จากการทำงานที่ผ่านมาพิสูจน์ให้ เราเห็นว่า ถ้าเราสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการ และสามารถไปเสนอในสิ่งที่เขาแบ่งปันได้ เขาก็ยินดี เพียงแต่ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีใครคิดเรื่องนี้ ไม่มีใครป้อนเรื่องนี้ และไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แต่พอมีคนที่สามารถประสานได้เขาก็ยินดีทำต่อ"

เพราะไม่เพียงประโยชน์ ของความสุขใจในการแบ่งปันเพื่อสังคม "จากหลายกรณีจากการแบ่งปันของโครงการพบว่า ผลจากการช่วยเหลือยังย้อนกลับไปยังองค์กร ซึ่งหลายบริษัทสามารถสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรและพนักงานได้เพิ่มมาก ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นทุนเอาไว้ให้บริษัทได้ต่อสู้ในยามวิกฤต"

และ แม้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อ "การแบ่งปัน" บ้าง แต่เงินก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย มากเท่าสิ่งที่โครงการนี้คาดหวังก็คือ การแบ่งปันทรัพยากรและความสามารถที่มีร่วมกันและสร้างแรงกระเพื่อมของการ แบ่งปันออกไปให้กว้างไกลที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 มกราคม 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04050152&day=2009-01-05&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: