วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

CSR กับการพัฒนาจิตอาสา

CSR กับการพัฒนาจิตอาสา

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย

ขณะ ที่เศรษฐกิจโลกเคลื่อนเข้าสู่วิกฤตการณ์ครั้งที่รุนแรงที่สุด เริ่มมีหลายกระแสที่มองผลกระทบของวิกฤตทางการเงินต่อ CSR หลายบริษัทออกปากว่าไม่สามารถสนับสนุนงานสังคมได้ เพราะทุกอย่างต้องลดลงอย่างมาก รวมทั้งกิจกรรมที่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งโดยตรง เช่น มาตรฐานการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือทางอ้อม เช่น การเสริมสร้างตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (best practice) ทางด้านธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมก็อาจจะถูกชะลอหรือหยุดชะงักไป

ถึงแม้เราจะถือว่า CSR เป็นวิธีการบริหารองค์กร ไม่ใช่ของเติมแต่งเท่านั้น แต่ความรุนแรงของผลกระทบวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้ทุกบริษัทต้องกลับมาทบทวน ทั้งนี้ความอยู่รอดของบริษัทเป็นประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา

ซีอีโอ หรือผู้จัดการที่เริ่มงาน CSR ก่อนหน้านี้ อาจจะวิตกว่ากิจกรรมที่สร้างเสริมมาเป็นเวลา 2-3 ปีอาจจะถอยร่นคราวนี้ เหมือนกับการลงทุนที่อาจจะถูกกลืนหายไปในวิกฤตการณ์

สิ่งสำคัญที่ บริษัทมีการดำเนินงาน CSR ควรหวงแหนในการทำงาน CSR นั่นก็คือ การมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งการมีส่วนร่วมนั้นไม่ใช่วิธีการเกณฑ์พนักงานมาเข้ากิจกรรมเป็นครั้งๆ ไป แต่เป็นการฟูมฟักการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของกิจกรรม CSR เป็นขั้นๆ ไป



ซี อีโอที่ทำงานด้าน CSR จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าของงาน CSR และให้ผลต่อบริษัทที่น่าจะสูงกว่างานประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของพนักงานในหลายครั้งเริ่มต้นจากการที่บริษัทต้องพยายามชัก ชวน หรือเรียกได้ว่า "เกณฑ์" พนักงานมาเข้าร่วมกิจกรรม แต่หากบริษัทดำเนินงานด้วยการชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจในงาน CSR มากขึ้น พนักงานจะเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกิจกรรม ความผูกพันกับบริษัทจะสูงขึ้น รวมทั้งการทำงานเป็นทีมข้ามฝ่ายต่างๆ จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ในเวลาเดียวกันคุณค่าไม่ได้เกิดต่อบริษัท ฝ่ายเดียว แต่เกิดกับตัวพนักงานด้วย ทั้งนี้เมื่อพนักงานเข้าใจถึงมิติการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมก็ดี การมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานทีมก็ดี เท่ากับเป็นการเปิดคุณค่าในตัวพนักงานและเป็นสิ่งที่จะติดตัวต่อไปในอนาคต

นอก จากบริษัทและพนักงานที่ได้รับคุณค่า เมื่อพนักงานเกิดการเติบโตในมิติทางสังคม และการให้ต่อสังคม หรือจิตอาสาเพื่อสังคม ซึ่งเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก จึงสามารถก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวของคนที่มีมิติความเข้าใจงานพัฒนา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและอยู่ในเส้นทางของความยั่งยืนและเข้มแข็งทาง สังคม

ผู้จัดการใหญ่บริษัทต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยท่าน หนึ่ง เล่าให้ผมฟังว่า หลังจากทำงาน CSR ได้เต็มที่แล้ว พนักงานจะเห็นงาน CSR เป็นความ ภาคภูมิใจของบริษัทและของตนเอง งาน CSR ยังเป็นแรงดึงดูดอย่างหนึ่งเวลาที่คนมา สมัครงานใหม่

การสร้างการ มีส่วนร่วมในบางบริษัทอาจจะสร้างได้ง่าย ขณะที่บริษัทอาจจะใช้เวลาซึ่งขึ้นอยู่กับทุนทางสังคมที่บริษัทมีอยู่แล้ว รวมทั้งลักษณะของงานด้วย แต่ปัจจัยที่ฝ่ายบริหาร CSR อาจจะมองว่า กิจกรรมในการมีส่วนร่วมมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การให้พนักงานมีส่วนในการคิดโครงการ ใช้คณะทำงานที่ประกอบด้วยพนักงานหลายฝ่ายมาคิดและร่วมตัดสินใจ หรือความชัดเจนของฝ่ายบริหารที่หนักแน่นว่าเป้าหมายของ CSR เน้นภายในเท่ากับหรือมากกว่าภายนอก บางบริษัทจะมีกิจกรรมในการเตรียมการเพื่อการทำงานพัฒนาสังคมที่เปิดโอกาสให้ เกิด

การมีส่วนร่วม เช่น การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการระดมทุน เช่น การขายหัตถกรรมชาวบ้าน หารายได้เสริมกิจกรรมพัฒนาในระดับชุมชน

ใน ยุควิกฤตทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของพนักงานในงาน CSR ยิ่งจะมีความสำคัญ เพราะบริษัทต้องการสร้างกำลังใจในการทำงานสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะถ้าบริษัทจำเป็นต้องรัดเข็มขัด การทำงาน CSR โดยการใช้กิจกรรมที่พนักงานคิดเองและทำเองเป็นการสร้างความต่อเนื่องของงาน CSR และยังสามารถช่วยเหลือบริษัทด้วยวิธีการอื่นๆ เมื่อพนักงานมีความรู้สึกว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสังคมที่ เข้มแข็ง


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02260152&day=2009-01-26&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: