วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ถอดรหัส "การให้"

ถอดรหัส "การให้" แอมเวย์ ปั้น "เครือข่ายทำดี" เมื่อ 1+1 = 11


แม้ จะยังมีข้อถกเถียงมากมายในเรื่อง "การให้" ผ่านแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ว่า "การให้" รูปแบบใดถึงจะถูกต้องและเพียงพอที่จะเรียกได้ว่าเป็นความรับผิดชอบต่อ สังคมอย่างแท้จริง

แต่น่าสนใจว่า หากละประเด็นความรับผิดชอบในกระบวนการธุรกิจ มาพูดถึงในมิติของโครงการช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอกเพียง อย่างเดียว น่าสนใจว่าในปัจจุบันหลายองค์กรเลือกที่จะใช้วิธี การให้ โดยผ่านมูลนิธิที่บริษัทก่อตั้งขึ้น

"แอมเวย์" บิ๊กเนมในธุรกิจขายตรงก็เช่นเดียวกัน แม้จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธิจะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญเมื่อ 6 ปีก่อน ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งในเวลานั้นประเทศไทยขาดสภาพคล่อง กระทรวงการคลังได้ทำพันธบัตรกู้ชาติโดยขอให้ผู้ที่มีกำลังซื้อในเวลานั้น ซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ และ แอมเวย์ก็เป็น 1 ใน 3 บริษัทต่างชาติที่ร่วมซื้อ เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อครบ 5 ปี บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกาขอเงินต้นคืน แต่ผลประโยชน์ที่มีจากดอกเบี้ยและส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เหลือ กว่า 10 ล้านบาท

"เราคิดว่าเงินส่วนนี้ไม่ควรจะเป็นของบริษัท จึงกลายมาเป็นเงินก้นถุงในการ ก่อตั้งมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย เพื่อช่วยผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล" "ปรีชา ประกอบกิจ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย เล่าถึงที่มาของการก่อตั้ง "มูลนิธิ" ซึ่งเป็นส่วนเสริมเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของบริษัท "ที่ต้องการจะช่วยให้ผู้คนมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น"

แม้ใน มุมมองของเขาจะมองว่า "CSR ไม่ใช่แค่เรื่องการให้ การบริจาค ทำบุญให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น" โดยขยายความว่า ความรับผิดชอบคือส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ เช่น ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ (product responsibility) ของบริษัทที่ชื่อ LOC ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน ที่มีสูตรซึ่งได้รับการคิดค้นให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้ทันทีโดยไม่ปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ ฯลฯ

แต่ ในเวลาเดียวกัน หากมองรูปแบบของ "การให้" ที่ยั่งยืน เขาเชื่อว่ารูปแบบของการทำเพื่อสังคมผ่านมูลนิธินั้น เป็นเหมือนการตอบโจทย์การให้ที่เดินมาถูกทาง โดยเฉพาะการสร้างการมีส่วนร่วมโดยใช้ จุดแข็งในธุรกิจ เครือข่าย

" ธุรกิจของเราเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก นักธุรกิจแอมเวย์ก็มีมากมาย เราจึงพยายามให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม มีการระดมทุนจากนักธุรกิจแอมเวย์ เชิญชวนให้เขาบริจาคโบนัส หรือเป็นอาสาสมัครเมื่อ มูลนิธิจัดกิจกรรม ซึ่งกำลังค่อยๆ ขยายวงออกไป"

โดยโครงการเพื่อสังคมที่ผ่านมา "บริษัท" จะส่งเงินสมทบร่วมกับ "มูลนิธิ" ในสัดส่วนครั้งต่อครึ่ง โดยไม่ได้มีการกำหนดงบประมาณที่แน่นอน หรือแบ่งจากสัดส่วนของกำไร หากแต่จะดูที่เนื้องานของกิจกรรมในแต่ละปีเป็นหลัก

หัวใจสำคัญยังไม่ ได้อยู่ที่การบริจาคเพียงอย่างเดียว แต่ "แอมเวย์" เลือกที่จะใช้จุดแข็งและความถนัดของธุรกิจเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการ บริหารจัดการ และการตลาดมาเป็นส่วนสำคัญในการ ขับเคลื่อน

ภาพชัดยิ่ง ขึ้นหากหยิบโครงการ "One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา" ที่มีแนวคิดจะพัฒนาเยาวชนไทยสู่ความเป็นเลิศทางปัญญา ด้วยการมอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเพิ่งจัดกิจกรรมครั้งใหญ่ขึ้นที่รอยัลพารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในมหกรรมหนังสือเพื่อน้องในการระดมหนังสือจากผู้ที่มีจิตศรัทธา เพื่อนำหนังสือไปร่วมสร้างและพัฒนาห้องสมุดแอมเวย์ ในเบื้องต้น 10 โรงเรียน ที่เชื่อว่าจะสามารถเปิดโลกทัศน์เด็กได้ 3,000 คน เป็นอย่างน้อย

ว่า "แอมเวย์" ใช้ความสามารถหลักมาตอบการทำงานเพื่อสังคมอย่างไร !!

" ปรีชา" อธิบายว่า "การสร้าง One by One ก็ถือเป็นการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่ง เพราะหมายถึง เรามีการช่วยกันทำเพื่อสังคมให้เห็นผล โดยทำทีละคน ทีละคน แต่เมื่อรวมกันแล้วมันคือการสร้างเครือข่ายของการทำความดี เปรียบไปก็เหมือนกับวิธีที่เราใช้สร้างเครือข่ายนักขาย เราไม่ได้หวังจะช่วยคนจำนวนมากๆ เพราะบริษัทไม่มีกำลังและความสามารถพอ แต่ถ้าเราใช้วิธีสะสมกำลังทรัพย์จากผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ คนละเล็กคนละน้อย ในที่สุดก็จะสามารถสร้างผลกระทบทางบวกที่เกิดขึ้นได้มหาศาล"

"เรา กำลังพยายามจะแสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันมีพลังมาก นอกจากการสร้างให้เกิดส่วนร่วมกับคนในสังคมในการสร้างเครือข่ายความดี ในเวลาเดียวกันยังพยายามที่ทำงานกับมูลนิธิต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น"

ความร่วมมือที่ว่ายังรวมไปถึง กระบวน การในการ "สร้างและพัฒนาห้องสมุด แอมเวย์" ยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย โดยดึงพันธมิตรที่เชี่ยวชาญเรื่องเด็กด้อยโอกาส อย่างมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. ในประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และมูลนิธิกระจกเงา ในการค้นหาโรงเรียนที่ขาดแคลนและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยจะทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องไปจนจบโครงการในปี 2553

"เราเชื่อ ว่าการมีความร่วมมือกับส่วนต่างๆ เป็นความพยายามที่จะใช้เงินในการให้เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับสังคมมาก ที่สุด การทำงานครั้งนี้เปรียบไปก็เหมือนกับ 1+1 ที่ไม่ได้เท่ากับ 2 อีกต่อไป แต่ 1+1 เท่ากับ 11" ประธานมูลนิธิ แอมเวย์เพื่อสังคมไทยกล่าวในที่สุด

จะเห็นว่าในการทำงาน ที่แม้จะมี "อีเวนต์" ที่มีสีสันเป็นฉากเบื้องหน้า แต่ทุกครั้งเมื่อย้อนกลับไปดูจะเห็นว่า โครงการที่จะยั่งยืนได้นั้นจะต้องมีรากวิธีคิดอยู่เบื้องหลังเสมอ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04171151&day=2008-11-17&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: