วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บุก Tetra Pak สิงคโปร์ ตามดูวงจรชีวิต "บรรจุภัณฑ์สีเขียว"



จาก เดิมที่คนไม่เห็นค่าของ กล่องนมเพราะยากต่อการจัดเก็บและผลตอบแทนต่ำ จึงไม่มีใครอยากเก็บมารีไซเคิล ทำให้กล่องนมถูกทิ้งเป็นขยะวันละหลายสิบล้านกล่อง ยังไม่นับกล่องน้ำผลไม้และอื่นๆ ที่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมอย่างมาก แม้ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รายใหญ่อย่าง เต็ดตรา แพ้ค ได้พยายามออกมาประกาศว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ของเต็ดตรา แพ้คสามารถรีไซเคิลได้ ผุดโครงการ "เด็กไทยหัวใจรีไซเคิล" เพื่อชวนให้เด็กๆ ที่ดื่มนมในโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาลมาร่วมแกะ ล้าง เก็บกล่องนม แต่ก็ยังได้ผลในวงแคบเท่านั้น

ปีนี้เต็ดตรา แพ้คเลือกพันธมิตรถูกคน โดยร่วมกับรายการ 30 ยังแจ๋ว ที่ออกอากาศทางช่อง 3 ทำโครงการ "แจ๋วรักษ์โลก" ร่วมรณรงค์ให้คนเก็บกล่องนมมารีไซเคิล ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ระยะเวลา 6 เดือนที่โครงการถูกสื่อสารออกไป ถึงขณะนี้มีกล่องที่ส่งเข้ามาแล้วมากกว่า 6.3 ตัน หรือ 63 ล้านกล่อง ถ้านำมาผลิตเป็นสมุดได้ประมาณ 13,500 เล่ม หรือถ้านำไปผลิตโต๊ะ-เก้าอี้นักเรียนก็จะสามารถผลิตได้ 1,800 ชุด ก่อนที่จะนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในภายหลัง นอกจากนี้การรีไซเคิลแทนการเผาทำให้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปได้ถึง 56.7 ตัน ที่สำคัญแนวคิดนี้ได้กระจายออกไปทั่วประเทศ หลายแห่งมีการจัดตั้งเป็นจุดรับกล่องนมและมีการบอกกันปากต่อปากจนกลายเป็น จิตสำนึก นับว่าโครงการนี้สำเร็จอย่างถล่มทลาย แต่นั่นเป็นเพียงกิจกรรมที่รณรงค์มุ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของคนในสังคม ซึ่งเป็นปลายทางของวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์จะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

หากย้อนไปดูที่ต้นทางของการผลิตบรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้คก็ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

" ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเต็ดตรา แพ้ค ที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมจูล่ง ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล่องนมและน้ำผลไม้ส่วนใหญ่ที่มาจำหน่ายในไทย

"นา ยอง ไล ฮวต" ผู้จัดการด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและ อาชีวอนามัยเต็ดตรา แพ้ค จูล่ง ซึ่งได้รับรางวัลอีโค เฟรนด์ อะวอร์ด ในสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชน จากสถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ ขยายให้ฟังว่า ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของเต็ดตรา แพ้คมาจากปรัชญาธุรกิจที่ล้ำสมัยตลอดของ ผู้ก่อตั้ง นายรูเบน เราส์ซิงค์ ที่ว่า "A package should save more than it costs" หรือบรรจุภัณฑ์ควรจะประหยัดได้มากกว่าราคาของบรรจุภัณฑ์เอง ซึ่งก็หมายความว่า หัวใจการผลิตของเต็ดตรา แพ้คไม่ได้อยู่ที่การออกแบบและวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ เท่านั้นแต่ยังมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะอาด ปลอดภัยและคงคุณค่าของผลิตภัณฑ์จนส่งถึงมือผู้บริโภค และยังคำนึงถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องมาจากทรัพยากรที่สามารถหามาทดแทนได้และคิดค้น เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนให้กับลูกค้า เช่น ลดการใช้พลังงาน มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียกว่าคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทุกวงจรการผลิตจนถึงปลายทางของบรรจุภัณฑ์

" เต็ดตรา แพ้ค จูล่ง เป็นผู้ริเริ่ม นวัตกรรมการผลิตใช้กระดาษเยื้อใยยาวและการเคลือบอะลูมิเนียมและพลาสติกใน ความหนาที่เหมาะสม จึงทำให้สามารถรีไซเคิลได้ และผลิตบรรจุภัณฑ์ขนส่งให้กับลูกค้าเป็นม้วนกระดาษขนาดใหญ่เพื่อไปขึ้นรูป ที่โรงงานของลูกค้าที่มีเครื่องจักรของเราตั้งอยู่ ทำให้ส่งบรรจุภัณฑ์ได้คราวละมากๆ ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและยังคงคุณค่าของสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังออกรณรงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงโรงเรียนว่าผลิตภัณฑ์ของเราสามารถ รีไซเคิลได้ ทำให้ได้กล่องนมจำนวนมากที่พร้อมสำหรับการรีไซเคิล และยังให้ความสำคัญกับการทำคาร์บอนฟรุตพรินต์ (carbon footprints) ที่เป็นตัววัดผลกระทบของคาร์บอนที่เกิดขึ้นและตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนให้ ได้ 10% ภายใน 5 ปี"

เต็ดตรา แพ้คไม่ได้มองเพียงการผลิตใน 43 โรงงานเท่านั้น ทั่วโลกยังมีโรงงานผลิตเครื่องจักรตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในกว่า 170 ประเทศ และมีศูนย์วิจัย 12 แห่งเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมของการเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจร แปรรูปอาหารที่มีความหลากหลาย

และจากความเป็นผู้นำในด้านความสะอาด ปลอดภัยที่ เต็ดตรา แพ้ค จูล่ง กลายเป็นผู้กำหนดมาตรฐานให้กับประเทศสิงคโปร์ และเป็นผู้นำของเทคโนโลยีในระดับโลก เช่น การทำยูเอชที ขณะนี้ที่จูล่งมีศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลืองซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ ของตลาดยุโรป ต่อจากนี้จะมีนักวิจัยจากทั่วโลกมาทำงานในศูนย์วิจัยนี้เพื่อการพัฒนาสู่ สิ่งที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ในหลายประเทศเต็ดตรา แพ้คมีการทำธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อให้เด็กมีอาหารบริโภคอย่างปลอดภัย เช่น ไนจีเรีย แอฟริกา รวมทั้งทำงานร่วมกับ ต้นสายอย่างเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเกษตรกรพัฒนาปรับปรุงการเลี้ยงวัวที่ให้ได้นมมากที่สุด มีการแปรรูปที่สะอาดปลอดภัย จัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ส่งถึงมือผู้บริโภคโดยคงคุณภาพของ อาหารและมีความสะอาดปลอดภัย นับจากนี้อีก 7 ปีทุกผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้คจะมีบาร์โค้ดเพื่อบอกได้ถึงต้นทางของผู้ผลิตว่าใช้วัตถุดิบจากที่ใด เพื่อให้ตรวจสอบได้ถึงต้นทางของผลิตภัณฑ์

สำหรับระบบการจัดการขยะของ ประเทศสิงคโปร์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาดในเขตจูล่ง บริษัท ซูโล จำกัด ได้รับสัมปทานกำจัดขยะจากรัฐบาลสิงคโปร์ ทางบริษัทได้จัดส่งถุง 3 สีไปตามบ้านเรือนเพื่อง่ายต่อการคัดแยกขยะส่งต่อมารีไซเคิลที่โรงงาน

และ ถึงแม้เป็นประเทศที่มีกฎหมายเข้มงวดแต่ในพื้นที่สารธารณะที่มีการตั้งถังแยก ขยะกลับไม่รับความร่วมมือมากนัก เมื่อขยะถูกส่งมาถึงโรงงานก็จะทำการคัดแยกขยะ ส่วนที่รีไซเคิลได้จะถูกส่งไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียหรือไทย ซึ่งรวมถึงกล่องนมของเต็ดตรา แพ้คด้วย ส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จะเผาแล้วนำเถ้าไปรวมไว้ที่เกาะหนึ่งของ สิงคโปร์ ซึ่งทางบริษัทให้ความสนใจในระบบธนาคารขยะของประเทศไทย และคิดที่จะเข้าไปทำในโรงเรียนของประเทศสิงคโปร์อีกไม่นานนี้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03031151&day=2008-11-03&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: