วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

แนวทางสรรค์สร้าง วิถีการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน


บริษัท ใหญ่ๆ ในปัจจุบันต้องตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตของโลกที่สุดจะคาดเดาว่า ผลกระทบวิกฤตต่างๆ จะเยื้องกรายเข้ามาปะทะธุรกิจของตนเองเมื่อไรและ อย่างไร ทิศทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมก็เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่าง อย่างทางออกที่ปรากฏชัดของบริษัทในขณะนี้ คือ 1.การมุ่งหาวิธีสร้างพลังและความแข็งแกร่งในการทำกิจกรรมทางสังคม และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ การสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคสังคมเพื่อทำให้ผลการสนับสนุนผ่านกิจกรรม CSR ของบริษัทนั้นมีประโยชน์เท่าทวี และ 2.หลายบริษัทมองหาวิธีการประเมินระดับการเข้าไปมีส่วนร่วม และความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาแบบที่เรียกว่า ทำงานร่วมกันเสมือนร่วมลงนาวาเดียวกัน เพื่อการพัฒนาให้พรุ่งนี้เป็นวันที่ดีกว่าสำหรับสังคมและบริษัทอันเป็นที่ รักของทุกคน

สำหรับสังคมไทยซึ่งอยู่ในระหว่างทางแห่งการเรียนรู้ ที่จะนำ CSR ไปใช้ในวิถีของตนเองให้เหมาะกับฐานบริบทของสังคมไทย 7 แนวทาง นี้ได้นำมาซึ่ง รูปแบบ วิธีคิด การเลือก ประเด็นการทำงานเพื่อสังคม คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นช่องทางไปสู่การทำงานกิจกรรมที่สร้างความยั่งยืน ที่เกิดผลประโยชน์ต่อองค์รวมทั้งตนเอง และสังคม

1.ผสานความหลากหลายของความ คาดหวัง

แม้ ว่านัก CSR ต้องเผชิญกับความคาดหวังที่หลากหลาย ไม่ว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทมีผลกำไร ในขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นก็มีความสุขและเห็นว่าได้มีการใช้เม็ดเงินที่มีความ คุ้มค่า ในขณะเดียวกัน "คุณต้องเป็นบริษัทที่ทำดี เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม" เหมือนจะดูเป็นอุปสรรคต่อการคิดค้นนวัตกรรมการทำกิจกรรมเพื่อสังคม แต่อาจจะเป็นแค่ปลายจมูก ถ้าลองผสานความหลากหลายของความคาดหวังให้ได้โดยที่มุ่งให้บรรลุความสุขของ ทั้งสังคมและตนเอง

2.คิดอย่างเดียว...สรรค์สร้างและ ยกระดับวิถีที่ยั่งยืน

โอกาส การทำดีทั้งเพื่อสังคมและเพื่อบริษัท นั้นคู่กับการมองหากลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จระยะยาวของบริษัท วิถีที่ยกระดับที่ยั่งยืนอยู่ที่ "พนักงานและลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มแรกที่จะทำความสำเร็จดังไปไกล" "โครงการที่พิสูจน์ระยะทางและ กาลเวลาจะทำให้ความสำเร็จลงหลักปักรากอย่างเข้มแข็ง" ด้วยการทำงานผสมผสานเป้าหมายร่วมกับองค์กรพัฒนา และยกระดับการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน เพื่อมุ่งร่วมแก้ปัญหาสังคม อย่างที่การผสานคุณค่า พันธกิจ และเป้าหมาย ของทั้งบริษัทและสังคม

3.ดูเหมือนจะพูดง่ายแต่ทำยาก สิ่งสำคัญที่ผู้นำต้องลงมือทำ

ผู้ ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารที่กุ่มนโยบาย ท่านทั้งหลายคือส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด ขาดคุณและการนำทางของคุณ พนักงานคงไม่เห็นทิศทางที่จะร่วมทางไปกับคุณสู่เป้าหมายที่คุณเห็นและอยาก ให้เป็น สิ่งที่สำคัญไปกว่านี้ การนำพาของคุณด้วยความจริงใจจากการกระทำที่มากกว่าคำพูด จะนำไปสู่ประโยชน์ต่อสังคมสาธารณะ หากผู้นำ ร่วมนำทางเช่นนี้ ไฉนเลยความสำเร็จของสังคมและธุรกิจจะไกลเกินเอื้อม เช่นเดียวกัน หากผู้นำประเทศปฏิบัติเพื่อสังคมด้วยความจริงใจแล้วไซร้...สังคมไทยหรือ จะเกิดความแตกแยกเพียงนี้ !

4.หมดยุคการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยเงินตรา...สู่การบูรณาการความร่วมมือ

ยุค ของการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมแบบองค์รวม คือทางออกและทางเลือกที่สำคัญยิ่งกว่าเงินตรา เพราะการทำด้วยการมองเป้าหมายของสังคมเป็นตัวตั้งนั้น ทำให้การทำ CSR ของบริษัทได้มองพ้นประตูการทำเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ แต่จะนำมาซึ่งภาพลักษณ์ของการเป็นพลเมืองที่ดีมีระดับที่คนในสังคมต้องหัน หลังกลับมามอง และอยากรู้ว่าใครคือบริษัทที่แสนดีบริษัทนี้ โดยที่ไม่ต้องมีการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์แต่อย่างไร ความดีนั้นดุจความเค็มในมหาสมุทรที่คงทนและยั่งยืนที่ไม่ต้องใช้ balance scored card หรือการต้องทำตามมาตรฐาน ISO 26000 หรือมาตราวัดตัวใด ง่ายๆ คือเริ่มทำความเข้าใจแก่นปัญหาสังคมที่บริษัทสนใจ มองหาความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาทั้งเชิงพี้นที่และ/หรือเชิงประเด็น และสร้างความร่วมมือเพื่อที่จะประสานนโยบาย พันธกิจ คุณค่าของบริษัทและเป้าหมายของสังคมเข้าไปด้วยกัน พัฒนาโครงการที่บูรณาการสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค จิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจ การสนับสนุนสิ่งของ (ต้องระวังว่าคุณได้ใคร่ครวญว่าสินค้าที่คุณไปสนับสนุนนั้นเป็นสินค้าที่ดี ที่สุด มิได้ค้างสต๊อกจนหมดอายุ) และสิ่งสำคัญพัฒนานวัตกรรม (คุณไม่รู้หรอกว่าการได้นั่งคิดนวัตกรรมการทำ กิจกรรมเพื่อสังคมของพนักงานของคุณนั้นคือการทำการพัฒนาศักยภาพจากได้ ฝึกปรือความสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระ และเกิดความรักที่เขาจะมีมากทวีขึ้นทั้งต่อองค์กรและสังคมหากสนใจเนื้อหา เรื่องจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจ สู่ความสุขในวิถีการทำงานได้ที่ www.ngobiz.org/thai land) สิ่งนี้หรือเปล่า ความสุขของสังคมและ ความยั่งยืนขององค์กรหรือเปล่า ที่พวกคุณกำลังมองหา

5.การตัดสินใจเลือกวิถีใดขึ้นอยู่กับความพร้อมต่อการพัฒนาของบริษัทคุณเอง...หามาตรฐานมาวัดความจริงนี้ไม่ได้

การ พัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม หรือการทำ CSR ที่ใครๆ เรียกติดปากนั้น มีอยู่ประมาณ 6 ขั้นใหญ่ๆ เริ่มต้นจากที่ไม่รู้เรื่องไปจนถึงการพัฒนาสู่ระดับสากลโลก ไม่ว่าบริษัทของคุณจะอยู่ในขั้นไหน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มคิด เริ่มลงมือ หรือทำไปแล้วระดับหนึ่ง (ยกเว้นผู้นำหรือเคยทำแต่ไม่รู้ว่าได้ทำแล้ว เพราะสมัยก่อนเข้าไม่ใช้คำ CSR นี้ ขอให้กล้าพูดให้เต็มปากได้แล้วในขณะนี้ว่า คุณนั้นเป็นผู้นำ เรียนเชิญออกมาเล่าความดีของท่านกันเถอะ) คำตอบต่อการตัดสินใจจะพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของคน ในองค์กรของคุณ และสังเกตด้วยว่าพวกเขามีพฤติกรรมหรือลักษณะการปรับตัว ตลอดจนความเร็วในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ขนาดไหน และความสำเร็จจะเกินคาด คือการเลือกทำกิจกรรมง่ายๆ ของบริษัท ซึ่งต้องผูกรวมไปที่คุณค่า พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กรของคุณ

6.หัวใจสำคัญคือการวัดผลสังคมและองค์กรที่เหมาะสม

สิ่ง ที่สำคัญคือการหาวิธีการวัดผลที่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมองค์กร และต้องเป็นตัววัดผลที่วัดทั้งผลประโยชน์ทางสังคมที่เกิดจากการสร้างความ ร่วมมือในกิจกรรมเพื่อสังคม และผลที่เกิดขึ้นต่อบริษัทของ กิจกรรมนั้นๆ ไม่มีมาตราวัดตัวไหนที่ดีที่สุด เพราะสุดท้ายคุณต้องวิเคราะห์เลือก เครื่องมือที่เหมาะสม และวัดประสิทธิผลของกลยุทธ์การทำกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ส่งผลต่อเนื่องระยะยาวต่อสังคมและองค์กร แต่ขอให้มีความอดทนต่อการทำงานนี้ เพราะประโยชน์ที่จะได้ต่อสังคม ธุรกิจเองนั้นไม่มีจำกัด และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

7.กำหนดนโยบายที่นำไปสู่ความสำเร็จระยะยาวและยั่งยืน

การ วาดภาพใหญ่ต่อผลประโยชน์ทางสังคมและบริษัทนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในขั้นตอนการออกแบบแผนและกลยุทธ์ที่ควรพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายของทุกๆ ด้าน ทั้งบริษัทและสังคม ทรัพยากรที่มีทั้งภายนอกและภายใน ความท้าทาย หรืออุปสรรค หรือวิธีการใดๆ ก็ตาม ล้วนควรตั้งอยู่บนผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทและสังคม

สำหรับ ประเทศไทย CSR อยู่ในระยะการเติบโตและมีความพร้อม บริษัทต่างๆ ควรเริ่มมองหานวัตกรรมที่จะดึงสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยสอดรับกับ พันธกิจและคุณค่าในรูปแบบการทำงาน ของภาคธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การผสมผสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาต่างๆ สู่ความเจริญ ความยั่งยืนที่แท้ของ ทุกๆ ฝ่าย


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: