วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

"เป๊ปซี่" จัดทัพกลยุทธ์ "ความรับผิดชอบ" ตั้งเป้าสู่องค์กรต้นแบบ "สิ่งแวดล้อม"



ภาย ใต้แนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร (CSR) นั้นมีหลายระดับ ระดับพื้นฐานที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ การทำกิจกรรม เพื่อสังคม ซึ่งเป็นก้าวแรกที่เริ่มต้นง่าย และทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี นักวิชาการด้าน CSR คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประเมินสถานการณ์ CSR ในไทยขณะนี้ว่า ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน และเป็นสิ่งที่เริ่มต้นได้ง่ายที่สุดในการทำ กิจกรรมเพื่อสังคม แต่ในระยะกลางถัดมา คงต้องมองถึงกระบวนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม ก่อนที่จะก้าวไปสู่ระดับที่ยากที่สุดคือการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนในภาพรวม"

แม้ ว่าที่ผ่านมา บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มครบวงจร ค่ายยักษ์น้ำดำ "เป๊ปซี่" อาจจะไม่โดดเด่นเทียบเท่าคู่แข่งในการเข็นกิจกรรมเพื่อสังคมและในด้าน กลยุทธ์ CSR หากแต่บทพิสูจน์จากการที่โรงงานปทุมธานี บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดของบริษัท ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 35 โรงงานจากจำนวน 200 แห่ง ให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรมใน โครงการ "รักแม่ รักษ์แม่น้ำ" ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชเสาวนีย์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำเจ้าพระยา

อาจจะเรียกได้ว่า เป็นทั้งบทพิสูจน์ ของการพยายามพัฒนาความรับผิดชอบภายในกระบวนการธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา

และยังเป็นก้าวสำคัญไปสู่การวางกลยุทธ์และการขับเคลื่อนความรับผิดชอบภายในองค์กร ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอนาคต

" รางวัลที่ได้ถือเป็นพันธสัญญาที่เราจะต้องทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่มาของโครงการ "Serm Suk Green Dimention" ที่เป็นโครงการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยริเริ่มบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในทุกๆ โรงงานของเสริมสุข ที่ปัจจุบันมี 5 แห่งได้แก่ ปทุมธานี นครราชสีมา และนครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และชลบุรี "ฐิติวุฒิ์ บุลสุข" ผู้จัดการทั่วไป โรงงานปทุมธานี บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าว

ถ้ามองเพียง ประเด็น "สิ่งแวดล้อม" เพียงผิวเผิน อาจจะดูธรรมดา แต่ความ น่าสนใจของโครงการนี้กลับอยู่ที่เป้าหมาย ที่ชัดเจนที่ได้วางไว้ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ น้ำ บรรจุภัณท์ พลังงาน สภาพแวดล้อม และคน

การปรับ ขบวนทัพ CSR ในองค์กรครั้งนี้ "ฐิติวุฒิ์" บอกว่า "แม้เรามาทั้งเริ่มทำเรื่องสิ่งแวดล้อมมายาวนานและไม่ใช่แค่ทำ ตามมาตรฐานแต่พยายามทำให้ดีที่สุด ในโครงการนี้จึงพยายามเจาะลึกใน แต่ละด้านมากขึ้น รวมทั้งทำให้เป็นรูปธรรมวัดผลได้ ด้วยเป้าหมายการเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม"

หากดูในรายละเอียดของแต่ละมิติจะเห็นภาพที่ว่าชัดขึ้น

มิติ แรกในด้านแรกการจัดการ "น้ำ" ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ "น้ำ" เป็นทรัพยากรที่ใช้มากที่สุด ที่ผ่านมามีการลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำในโรงงานทั้ง 5 แห่ง กว่า 100 ล้านบาท เพื่อใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ที่สุดเพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำจากธรรมชาติ

"ที่ผ่านมาเราสามารถลด การใช้ทรัพยากรน้ำไปได้ถึง 180 ล้านลิตรต่อปี หรือประมาณ 10% และจากนี้ยังตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการใช้น้ำให้ได้ถึง 20% ภายใน 3 ปีจากนี้ นอกจากนี้ด้วยระบบบำบัดแบบชีวภาพไม่ใช้ออกซิเจนและแบบใช้ออกซิเจน ทำให้คุณภาพน้ำที่ปล่อยคืนสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีความสะอาดกว่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ถึง 5 เท่า และสะอาดกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากครัวเรือนมากกว่า 50 เท่า และติดตามคุณภาพน้ำทิ้ง 24 ชั่วโมง" ฐิติวุฒิ์กล่าว

มิติที่ 2 ด้านบรรจุภัณฑ์ มีเป้าหมาย ในการลดการสิ้นเปลืองพลังงานให้มากที่สุด โดยใช้หลัก 3 R 1) ลดการใช้วัตถุดิบ (reduce) ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัตถุดิบ เช่น การคิดค้นขวดพีอีทีให้มีน้ำหนักลดลง หรือใช้พลาสติกเท่าที่จำเป็น ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกได้ปีละกว่า 1,000 ตัน พร้อมทั้งมีแผนที่จะดำเนินโครงการลดปริมาณกระดาษที่นำมาใช้เป็นถาดบรรจุ ภัณฑ์เท่าที่จำเป็นเพื่อลดการใช้ทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย 2) นำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (reuse) ด้วยการผลักดันการใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วแบบคืนขวด และ 3) การคัดแยกวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อส่งไปยังโรงงาน recycle เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

มิติ ที่ 3 ด้านพลังงาน บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะใช้พลังงานอย่างเต็มคุณค่า โดยมีการนำก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากระบบบำบัดน้ำเสียมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในกระบวนการผลิต ทดแทนน้ำมันเตา ซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาได้ถึง 100,000 ลิตรต่อปี พร้อมทั้งริเริ่ม การขนส่งสินค้าทางน้ำจากโรงงานผลิต ไปยังคลังสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้เรือลากจูงมาลากจูงเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งการลากจูงสินค้าทางเรือ 1 เที่ยว เทียบเท่ากับการใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าได้ถึง 20 เที่ยวทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันได้ถึง 240,000 ลิตรต่อปี และยังช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนน และยังมีการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก เช่น การใช้ก๊าซ NGV, LPG หรือน้ำมันดีเซล B5 มาใช้ในหน่วยรถทุกประเภทของบริษัท

นอกจากนี้ยัง พยายามสร้างสภาพแวดล้อมสีเขียวให้เกิดขึ้นภายในโรงงาน ซึ่งถือเป็นมิติที่ 4 และมิติสุดท้าย "คน" ซึ่งถือเป็น "หัวใจ" ขององค์กร

"เราเชื่อว่า การที่จะนำพาบริษัทไปสู่ การเป็นต้นแบบในการดูแลสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยคน ที่มีใจรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นพลังขับเคลื่อน "ฐิติวุฒิ์กล่าว

นอกจากนี้ยังบริษัทยังมุ่งไปที่การ ขยายผลสู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกับโรงงานด้วยกันด้วยการเข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้ง ระบบน้ำเสียให้กับโรงงานกว่า 40 แห่ง ล่าสุด ยังพยายามปลูกฝังเรื่องนี้กับเยาวชนโดยดำเนินโครงการ "คนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว" ซึ่งดำเนินการ ผ่านมูลนิธิทรง บุลสุข และกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ให้เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

และนี่เป็นอีกตัวอย่าง ของการขยาย ผลความรับผิดชอบจากภายในองค์กร สู่ภายนอก ที่ชัดเจนโดยเฉพาะภายในกระบวนการผลิต แม้ยังไม่เห็นแนวปฏิบัติความรับผิดชอบของกระบวนการดำเนินธุรกิจในด้านอื่นๆ อาทิการทำตลาดผู้บริโภค ฯลฯ แต่หากสามารถทำได้จริงตามเป้าหมายในแต่ละด้านที่วางไว้ ก็น่าจะเพียงพอที่สามารถตอบโจทย์ 3 ขาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ช่วย ในแง่ของการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมไปถึงลดการสร้างผลกระทบ เชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ในระดับที่ยั่งยืนกว่าการทำกิจกรรมเพียงฉาบ ฉวย !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04201051&day=2008-10-20&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: