วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

มาช่วยกันวัดผล CSR

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย


วันนี้ ผมมาชวนทุกท่านคุยเรื่องการวัดผลงาน CSR ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อนำงาน CSR มาสู่การปฏิบัติ และเกิดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณโดยตรง หรือเวลาของพนักงาน รวมทั้งผู้บริหารในการทำงาน CSR บางคนอาจจะพูดว่า ทำดีแล้วต้องวัดด้วยหรือ แน่นอนความดีเป็นคุณค่าที่วัดได้ยาก แต่กิจกรรมความดีและผลจากกิจกรรมทำความดีนั้นน่าจะวัดได้

การวัดผล ทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินลักษณะของงาน CSR ว่าเป็นรูปแบบอะไร จะเรียกว่า CSR ได้จริงไหม การประเมินแบบนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงาน CSR ในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือธุรกิจ แต่ละกลุ่ม เพราะจะได้รูปแบบ ได้ข้อคิด เช่น งาน CSR ที่ทำอยู่ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ stakeholder กี่กลุ่ม รวมได้ขนาดไหน

นอก จากนั้นจะมีการประเมินงาน CSR เพื่อจัดลำดับ เช่น บริษัท Procter & Gamble (P&G) ได้รับเลือกหนึ่งในร้อยบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในโลก โดยประกาศที่ World Economic Forum ในเมือง Davos ปีนี้ อันเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนท่ามกลางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของโลก ประเด็นของบริษัท P&G ที่ได้รับการยกย่องได้แก่ ความสามารถในการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน นอกจากนั้น P&G ยังได้ทำโครงการด้านสังคมที่ช่วยเหลือเด็ก 60 ล้านคน และช่วยเหลือในการนำส่งน้ำ 430 ล้านลิตร พื้นที่ขาดแคลนทั่วโลก



ส่วน บริษัท Kimberly-Clark ได้รับรางวัล 1 ใน 50 บริษัทที่ใช้พลังงานสีเขียวของประเทศอเมริกา (Top 50 List of America"s largest Green Power Users) โดยการใช้กระบวนการที่ใหม่ที่สามารถนำวัสดุเสียจากกระบวนผลิตเยื่อกระดาษมา เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 7 ของไฟฟ้าที่บริษัทต้องซื้อจากภายนอก

ทั้งสองตัวอย่างเป็นการวัดผล การทำงานที่คาบเกี่ยวระหว่างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสังคมโดยกว้าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของงาน CSR เพื่อลดหรือชะลอภาวะโลกร้อน และรักษาสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากงาน CSR มีหลายมิติ ดังนั้นจึงพยายามวัดในแต่ละมิติด้วย เช่น การวัด integration มีการบูรณาการเข้าไปในทุกส่วนขององค์กรได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ทำเฉพาะเพื่อการประชาสัมพันธ์ การวัด input มีการลงทุนให้เกิด CSR มากน้อยแค่ไหน เปรียบเทียบกับขนาดขององค์กร การลงทุนนั้นทำในระบบภายในองค์กร และภายนอกองค์กรด้วยไหม การวัด implementation การดำเนินงานจริง ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร การวัด innovation ส่งเสริมความคิดใหม่ การลองทำรูปแบบใหม่ involvement การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า ฝ่ายบริหาร impact ตั้งเป้าที่ผล กระทบจริงไม่ใช่ที่กิจกรรม, การมี indicators ตัวชี้วัดที่วัดได้จริง และมีการวัดเป็นระยะ integrity ทำด้วยความจริงใจ ส่งเสริมความถูกต้อง, industry ส่งผลต่ออุตสาหกรรม ให้มีมาตรฐานที่ดี

(ดูโมเดลประกอบ)

เครื่อง มือการวัดไม่ยากลำบากนัก อยู่ที่การตั้งตัวชี้วัดที่ชัดเจน วัดได้จริง และเป็นตัวชี้วัดที่ได้รับการยอมรับในงานนั้น ตัวชี้วัดอาจจะเป็นค่าทาง

วิทยา ศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ในกรณีที่เป็นงานที่เกี่ยวกับระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นค่าทางการเงิน หากประเมินค่าใช้จ่าย และมูลค่า CSR ที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเป็นค่าทางความคิดเห็น หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง หากเป็นการวัดผลที่มีต่อคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทั่วไป ผู้บริหาร หรือลูกค้า

พร้อมๆ กันนี้ก็รับทราบว่าจะเกิดมาตรฐานนานาชาติที่ใช้ในการวัด CSR หรือที่เรียกว่า ISO 26000 หรือ ISO SR โดย SR ย่อจาก social responsibility จะให้ความสำคัญ 7 เรื่อง ได้แก่ 1)การปฏิบัติตามกฎหมายและสามารถตรวจสอบได้ 2)หลักการเคารพในสิทธิมนุษยชน 3)หลักการปฏิบัติด้านแรงงาน 4)หลักการด้าน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน 5)หลักการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 6)หลักการรับผิดชอบต่อผู้บริโภค และ 7)หลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน

ซึ่งจะเห็น ว่าหากนำ CSR มาจับคู่การทำงานของบริษัทต่างๆ จะมีมิติ ความหมายของการรับผิดชอบต่อสังคมที่กว้างขวางมาก และเป็นความรับผิดชอบที่จัดอยู่ในกลุ่มธรรมาภิบาล หรือการบริหารที่มีคุณธรรม ไม่ใช่เพียงการทำงานดี (ส่วนหนึ่ง) เพื่อสังคมเท่านั้น

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03230252&day=2009-02-23&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: