วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

ซูเปอร์ซีเอสอาร์ ที่ "เซนส์เบอรี่ส์"


โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com

การ ได้ไปเที่ยวนอกบ้านเป็นสุขแล้ว แต่ความสุขนั้นสามารถทวีคูณได้ง่ายๆ เมื่อได้ไปเยี่ยมชมซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่ที่ทำให้อิ่มอร่อย ตื่นตาตื่นใจกับอาหารผักผลไม้นานาชนิดแล้ว ซูเปอร์ มาร์เก็ตยังสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมที่ แตกต่างกันของแต่ละถิ่นได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

หนึ่ง ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่สนุกและสุขใจทุกครั้งที่ได้แวะเวียนไปจับจ่ายซื้อของ คือเซนส์เบอรี่ส์ ในประเทศอังกฤษ จำได้ว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ห้างนี้ให้ความสนใจและกลายเป็นเรื่องยอดฮิตของบ้านเราในช่วง 1-2 ปีมานี้คือการรณรงค์ให้นำถุงจ่ายตลาดใบเก่ากลับมาใช้อีก

นั่นเป็น เรื่องเล็กๆ เรื่องหนึ่งที่เขาใส่ใจ แต่ถ้าจะพูดถึงความรับผิดชอบหลักๆ เซนส์เบอรี่ส์ถือเป็นห้างที่ให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม

โดยถือเป็นห้างแรกในประเทศอังกฤษที่เริ่มขายสินค้าออร์ แกนิกมาตั้งแต่ปี 2529 ในปัจจุบันมีสินค้าออร์แกนิกตั้งแต่กล้วย นม ไส้กรอก พิซซ่า ช็อกโกแลต พาสต้า และอีกมากมายกว่า 400 ชนิด ภายใต้ยี่ห้อออร์แกนิกของห้าง



สิ่ง ที่ทำให้เรียกได้ว่าเป็นสินค้าแบบ ออร์แกนิกมาจากความพยายามในหลายด้าน เช่น เนื้อสัตว์ที่วางขายในยี่ห้อออร์แกนิกจะมาจากสัตว์ที่ถูกเลี้ยงด้วยคุณภาพ ชีวิตที่ดีมากกว่าที่ถูกกำหนดด้วยมาตรฐานทั่วไปบังคับไว้

อาหารยอดฮิตอย่างไข่ ที่นอกจากจะมีคุณภาพดีแล้ว ไข่ทุกใบยังมาจากไก่ที่มีความสุข สุขภาพกายและใจดี ออกไข่ตามธรรมชาติ

ห้างนี้ยังซื้อไก่ เนื้อ หมู ไข่ และนมออร์แกนิกจากฟาร์มในประเทศ

บรรจุภัณฑ์กว่า 80% ของสินค้าแบบ ออร์แกนิกของห้างที่วางขายในขณะนี้ เป็นแบบที่ย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่ ผ่านมายังให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวอังกฤษในเรื่องเงินลงทุนและการให้คำแนะ นำทางธุรกิจสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนบทบาทตัวเองให้กลายเป็นผู้ผลิตผลิตผล แบบออร์แกนิกอีกด้วย

ที่เซนส์เบอรี่ส์ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีทาง เลือกในการเลือกสินค้ามากมายยิ่งกว่าเดิม เช่น สามารถดูได้ง่ายๆ ว่าจะซื้อสินค้าแบบที่มีคุณค่าทางโภชนาการในระดับใด โดยริ่เริ่มโครงการฉลากไฟจราจรหลากสี เพื่อจำแนกอาหารที่ใส่ใจสุขภาพจากมากไปน้อย โดยระบุปริมาณไขมัน น้ำตาล เกลือในสินค้าอาหารมาตั้งแต่ปี 2548 นับเป็นห้างค้าปลีกแห่งแรกในประเทศอังกฤษที่ให้ความสนใจกับสุขภาพผู้บริโภค ขนาดนี้

และเมื่อมีการสำรวจความรู้สึกผู้บริโภคต่อโครงการนี้ก็ให้ผลตอบรับที่ดี ผู้บริโภคเห็นว่าฉลากดูง่ายและไม่ซับซ้อน

ผู้ บริโภคมากกว่า 4 ใน 5 ให้ความเห็นว่าฉลากไฟจราจรหลากสีมีประโยชน์และจำนวนผู้บริโภคในจำนวนเกือบ เท่าๆ กันยังยอมรับว่าฉลากดังกล่าวมีความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าของพวกเขาอย่าง มากอีกด้วย ในด้านยอดขายก็พบว่าสินค้าที่มีฉลากไฟจราจรสีเขียวและสีเหลืองนั้นมีแนวโน้ม ในทางบวกเมื่อเทียบกับสินค้าคล้ายๆ กันที่มีฉลากไฟจราจรสีเหลืองและแดง

แม้ วันนี้เซนส์เบอรี่ส์ยังไม่ได้ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง แต่ความรับผิดชอบที่ผสานลูกเล่นน่าสนใจมากมายในห้างก็อยู่ในใจหลายๆ คนอย่างเหนียวแน่น

ในการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเป็นเบอร์หนึ่งเสมอ ไป หากแต่ธุรกิจของเราควรอยู่ได้ด้วยตัวเอง ให้ผลกำไรที่พอเพียง สามารถตอบแทนและดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ ด้านได้ดี

หากคุณผู้ อ่านมีโอกาสแวะไปประเทศอังกฤษอย่าลืมลองแวะไปสัมผัสความละเอียดอ่อนในความ รับผิดชอบต่อสังคมที่แทรกอยู่อย่างเรียบง่ายแต่มีประโยชน์จริง

สุว รรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ จบปริญญาโท สาขาผู้ประกอบการ จากประเทศอังกฤษ ไม่เพียงเป็นหนึ่งที่ติดตามความเคลื่อนไหวด้าน CSR ทั้งในไทยและต่างประเทศ ยังเป็นนักปฏิบัติเรื่องนี้ โดยทำงานในตำแหน่ง CSR Manager ในองค์กรธุรกิจแห่งหนึ่ง จากนี้เธอจะมาอัพเดตมุมมองและความเคลื่อนไหว CSR จากต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอใน "ประชาชาติธุรกิจ"


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05160252&day=2009-02-16&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: