วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

CSR4Children ตัวช่วย "ธุรกิจ" ตอบโจทย์สังคม


หลัง จากประกาศของสหประชาชาติที่ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาไปมากแล้ว เงินที่เคยได้รับบริจาคเพื่อมาแก้ปัญหาสังคมซึ่งเป็นเหมือนเส้นเลือดหลักที่ หล่อเลี้ยงองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ ก็หดหายไป ทั้งที่ความจริงไทยยังประสบปัญหาในหลายด้านที่ต้องการความช่วยเหลืออีกไม่ น้อย ถึงจะมีองค์กรภาครัฐให้ความสำคัญและ ส่งเงินเข้ามาอัดฉีดผ่านหน่วยงานต่างๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปัญหาที่มีอยู่

คน ที่จะมาเป็นฮีโร่ในสถานการณ์แบบนี้หนีไม่พ้นภาคธุรกิจ เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นก็จะมีการคืนกำไรกลับสู่สังคม ยิ่งในยุคที่พูดถึงเรื่องซีเอสอาร์ ทำให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาทบทวนว่า การให้เงินบริจาคแบบที่เคย เกิดประโยชน์ได้จริงหรือไม่ และทำอย่างไรโครงการถึงจะมีความยั่งยืน ซึ่งการหาองค์กรเอ็นจีโอดีๆ สักแห่งเข้ามาเป็นพันธมิตรน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับริษัทที่เพิ่ง เริ่มทำซีเอสอาร์ เพราะมีความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านสังคม เพราะที่ผ่านมามักจะพบว่าการให้ของภาคธุรกิจมักจะให้ด้วยความไม่เข้าใจ บางครั้งก็ทำร้ายชุมชนหรือเยาวชน

"พอถึงหน้าหนาวทุกคนแจกผ้าห่ม พอบริษัทไปเยี่ยมและเห็นว่าเด็กอาเจียนใส่ผ้าห่ม แล้วขยำผ้าห่มโยนทิ้ง คนให้ก็ตกใจว่า หนาวแต่ทำไมโยนทิ้ง เขาบอกว่า เดี๋ยวก็มีคนมาบริจาคใหม่อีก ถามว่า เป็นความตั้งใจไม่ดีของบริษัทหรือเปล่า คงไม่ใช่ แต่เขาไม่รู้ เขาไม่มีความชำนาญ" สุกิจ อุทินทุ ที่ปรึกษาองค์การแพลนแห่ง ประเทศไทยกล่าว

การ ให้ของเอ็นจีโอระดับนานาชาติที่ทำงานเรื่องเด็กใน 66 ประเทศ อย่าง "แพลน" (PLAN) จึงไม่ได้มองเพียงความยั่งยืนแต่ยังช่วยประสานการทำงานระหว่าง 2 ขั้ว คือชุมชนและภาคธุรกิจได้อย่างวิน-วิน โดยการเดินเข้าหาบริษัทที่ต้องการทำซีเอสอาร์ เพื่อหาประเด็นและวางกลยุทธ์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับ

" ถามว่า ทำไมภาคธุรกิจถึงเลือกเอ็นจีโอที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะเอ็นจีโอจะมีความรู้ว่า ในชุมชนมีลักษณะแบบนี้จะแก้ปัญหาแบบไหน เราสามารถสร้างเมนูที่วิน-วิน ให้ทั้งภาคธุรกิจได้มาร์เก็ตแชร์และภาคชุมชนก็ได้ด้วย และสร้างผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการให้ที่ถูกต้องและยั่งยืน"

โจทย์ ของแพลนจึงเริ่มจากความคิดที่ว่าภาคธุรกิจมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา เด็กและเยาวชนน้อยมาก ในขณะที่แพลนมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น สิทธิเด็ก การศึกษา สิ่งแวดล้อม อาชีพ สุขภาพ ที่จะช่วยวางกลยุทธ์ให้กับบริษัทต่างๆ ได้ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์ที่จะช่วยดูว่าบริษัทมีทรัพยากรอะไร จะทำโครงการประเภทไหน ออกแบบเฉพาะองค์กร ตามขั้นตอน 4 ด้านที่วางไว้

คือ 1. Give with understanding การให้ความรู้ด้วยความเข้าใจ ที่พาลงไปดูพื้นที่จริง ว่าประเด็นที่เลือกมาเหมาะสมหรือไม่ 2. Team up with Children การดึง พนักงานอาสาลงไปร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนก่อนทำโครงการ เพื่อให้เห็นภาพและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดี 3. Invest in Children ทำเป็นเมนูที่ง่ายต่อการเข้าใจของภาคธุรกิจ ว่าจะลงไปพัฒนาแบบไหน ใช้เงินทุนเท่าไหร่ มีพันธมิตรเป็นใครอีก และช่วยทำอะไรได้บ้าง และสุดท้าย 4. Ba a part of it ก็คือการระดมทุนซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจมีความเชี่ยวชาญ

"ผมว่า ยุคของผู้ให้และผู้รับมันหมดไปแล้ว แต่เป็นยุคของการเป็นพันธมิตรในการพัฒนาสังคมร่วมกันในระดับที่เท่าเทียมกัน ใครมีอะไรก็เอาสิ่งนั้นเข้ามาใส่ในกอง และเราก็ไปร่วมกัน ยกตัวอย่างมีบริษัทหนึ่งสนใจทำซีเอสอาร์เรื่องเด็ก ก็ให้มานั่งคุยกันว่า เคยทำอะไรบ้าง แล้วถามว่า มันใช่หรือไม่ เหมือนการคุยแลกเปลี่ยน วิเคราะห์หรือยังว่าธุรกิจของคุณคืออะไร ทรัพยากรคืออะไร ระยะยาวสิ่งที่ทำมาแล้วมันเข้ากับแนวทางของบริษัทหรือไม่ เราก็จะเริ่มอธิบายให้ฟังว่า การพัฒนาเด็กเป็นอย่างไร และหาจุดร่วมที่น่าจะใช้เป็นประเด็นให้เขากลับไปคุยกับคนในบริษัท ในขณะที่กลุ่มของเราก็มีการคุยกัน สุดท้ายเราก็จะกลับมาเจอกัน ตรงนั้นจะเริ่มชัดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง"

ซึ่งแนวทางการพัฒนาชุมชนของแพ ลนจะเน้นเด็กที่ยากจนที่สุด อาจจะอยู่ตาม ชายขอบ เด็กพิการ ไม่มีสัญชาติ โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางด้วยการสร้างกลุ่มเด็กที่อยู่ในชุมชนให้มีความแข็ง แรง ผู้ใหญ่จะฟังเขามากขึ้นและชาวบ้านต้องมีส่วนร่วม ต้องมีความเป็นเจ้าของในที่สุด เมื่อแพลนออกไปแล้วชุมชนยังอยู่ได้ โดยจะอยู่กับชุมชน 10 ปีขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีคุณภาพชีวิตดีทุกด้าน จากนี้ยังมีแนวความคิดที่จะสร้างฐานข้อมูลของปัญหาและโครงการที่ เกี่ยวกับเด็กเพื่อช่วยเหลือเด็กได้ครบคลุม ทุกด้าน

จากการทำงานที่ ผ่านมาก็ยังพบประเด็นที่ท้าทาย ตั้งแต่การเข้าไปเปลี่ยนความคิดของผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะภาคธุรกิจไม่ยอมให้เอ็นจีโอมาเปลี่ยนความคิด นอกจากนี้การเข้าถึงผู้บริหารภาคธุรกิจหรือการค้นหาหน่วยงานที่ทำซีเอสอาร์ ของบริษัทก็ยังเป็นอุปสรรค รวมถึงการกระจัดกระจายของงบประมาณหรือการเปลี่ยนตัวผู้บริหารที่จะส่งผลต่อ ความต่อเนื่องของการทำซีเอสอาร์

ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการ CSR4Children การทำงานของแพลนอาจอยู่ในช่วงของการ เตรียมพร้อม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครือข่ายเอ็นจีโอเพื่อให้มีหลายเมนูที่จะเป็นทางเลือก ให้กับบริษัทและขยายฐานสร้างความรู้ให้กับบริษัท ในเมืองไทยจึงมีเพียง 10 บริษัทที่เข้ามาร่วมโครงการ โดยสุกิจบอกว่า "เป็นการทำงานแบบมาราธอนที่ไม่ได้รีบเร่งอะไร เพราะต้องทำโครงการให้ดีและเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04230252&day=2009-02-23&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: