วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

นโยบาย-ผู้นำ-พนักงาน 3 ประสานสู่ Win Together


เมื่อ ครั้งที่ CNBC มอบรางวัลผู้นำธุรกิจแห่งเอเชีย ปี 2008 ด้าน CSR จากสถานีโทรทัศน์ CNBC ให้กับ "อดิเรก ศรีประทักษ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (ซีพีเอฟ) ด้วยเหตุผลที่ว่า "ซีพีเอฟเป็นบริษัทอุตสาหกรรมอาหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีความ เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารแบบครบวงจร และตระหนักว่าความรับผิดชอบของบริษัทคือการสร้างอาชีพแก่เกษตรกรไทย โดยมีส่วนริเริ่มมูลนิธิพัฒนาชีวิตซึ่งให้ความสำคัญในด้านการถ่ายทอด เทคโนโลยีการเรียนรู้และระบบการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง ทำให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยและครอบครัวได้อย่างต่อเนื่อง"

และ เมื่อเขาให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ" สิ่งหนึ่งที่พูดชัดเจนของก้าวเดินในวันนี้ว่า มาจาก "ปรัชญาของท่านประธานธนินท์ (ธนินท์ เจียรวนนท์) ที่วางไว้ว่า การทำธุรกิจจะต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของทุกๆ ประเทศที่เข้าไปลงทุน โดยจะต้องสร้างประโยชน์ 3 ประสานในทุกๆ แผ่นดินที่เปิดโอกาสให้

ซี. พี.เข้าไปทำธุรกิจ นั่นคือต้องก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือผู้บริโภคในประเทศนั้น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทและพนักงานทุกคน ซึ่งเราจะวัด น้ำหนัก ให้ความสำคัญของสามส่วนนี้อยู่ตลอดเวลา

แม้จะมีหลักปรัชญาเป็นฐาน แต่สิ่งสำคัญที่นำมาสู่ความสำเร็จวันนี้อยู่ที่การแปลงหลักคิดสู่การปฏิบัติ

" ในฐานะซีอีโอของซีพีเอฟ ผมจะเป็นผู้นำในการนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งชักชวนเพื่อนผู้บริหารและเพื่อนพนักงานให้เรียนรู้ในทุกโครงการที่ จะผ่านการวางกลยุทธ์ โดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงลูกค้า สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม ผู้ถือหุ้น พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การเป็นบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในระยะยาว"

"ทำให้ใน ทุกๆ หน่วยธุรกิจของซีพีเอฟ ไม่ว่าจะระดับผู้บริหารหรือพนักงานทุกคน ล้วนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องให้ได้มาซึ่งสินค้าคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานการผลิตในระดับโลก และที่สำคัญต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดที่ผมให้คำจำกัดความไว้ว่า Social Business หรือการดำเนินธุรกิจควบคู่การทำประโยชน์เพื่อสังคม"

และการที่ "อดิเรก" จะต้องเป็นผู้นำในการปฏิบัติเองนั้นเขาบอกว่า "ผมคิดว่าความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน บนพื้นฐานของการทำประโยชน์เพื่อสังคม อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำ และการรับเอาแนวคิดไปปฏิบัติให้ได้ ซึ่งการจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยสามส่วนสำคัญ คือนโยบายของบริษัทในการให้ความสำคัญด้าน CSR มีผู้นำเป็นผู้ขับเคลื่อน และ พนักงานผู้มีส่วนร่วม รวมเรียกว่า Win Together ซึ่งซีพีเอฟเองได้นำแนวคิดนี้มาดำเนินใช้ตั้งแต่แรกเริ่ม"

โดยมองว่าปัจจัยที่จะขับเคลื่อน CSR ของ "ซีพีเอฟ" นั้น หัวใจอยู่ที่ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

" การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก บริษัทที่จะประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับได้ จะต้องไม่ใช่แค่การหวังผลกำไรอย่างเดียว เรื่องของภาพลัษณ์ขององค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญ ในการทำให้ธุรกิจยั่งยืน ที่ซีพีเอฟเรามีนโยบายอย่างหนึ่งว่า ในการทำธุรกิจเราจะต้องมีธุรกิจเสริมหรือที่เรียกว่าธุรกิจเพื่อสังคมควบคู่ กันไป เราคำนึงถึงการพัฒนาล่วงหน้า การทำส่วนหนึ่งเพื่อสังคม เงินที่ได้มาต้องใช้ไปในส่วนนี้ด้วย ต้องทำให้เกิดเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ให้ได้

ธุรกิจเพื่อสังคมนี้ เราทำมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว ให้เกษตรกรมีอาชีพที่ยั่งยืนผ่านโครงการต่างๆ ยกตัวอย่าง 30 ปีที่ผ่านมาท่านประธานธนินท์เริ่มทำโครงการประกันราคาเลี้ยงไก่เนื้อกับ เกษตรกรที่ศรีราชา 200 ครอบครัว โดย 1 ครอบครัวเลี้ยง 10,000 ตัว วันนี้เกษตรกรสามารถส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยได้ มีรายได้ที่มั่นคง เพราะบริษัทประกันราคา รองรับความเสี่ยงเรื่องราคาทึ่จะขึ้นลงของเนื้อไก่มาอยู่ที่บริษัท หลังจากเราทำสำเร็จ วันนี้เรากระจายไปทั่วประเทศ

"ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ยังเป็นทิศทางในอนาคต เวลาบริษัทเราทำอะไรจะมอง 2 อย่าง คือเรื่องของ food กับ brand focus และ corporate image ซึ่งจะเน้นไปเรื่อง CSR เพราะเราถือว่าในอนาคตคนจะซื้อสินค้าไม่ได้ซื้อเรื่องคุณภาพอย่างเดียว จะดูด้วยว่าบริษัทนี้ทำอะไรเพื่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เราไม่ได้ทำธุรกิจอย่างเดียว แต่เรามองไปถึง 5 ปี 10 ปี ข้างหน้า เพื่ออนาคตขององค์กรที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว"

"ถึงแม้วิกฤต การเงินโลกวันนี้จะเกิดถดถอย สถานะวันนี้เรามองว่ายังเข้มแข็ง ยังเห็นโอกาสที่จะขยายและพัฒนาต่อไป จุดยืนของบริษัทคือต้องทำอะไรให้เกิดประโยชน์สามประสานนี้ บริษัทหวังว่าในระยะยาวเราอยากเป็นบริษัทอาหารที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยพยายามนำปรัชญาในการดำเนินธุรกิจมาสอดประสานกับการสร้าง แบรนด์ด้วย" อดิเรกกล่าวในที่สุด

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02230252&day=2009-02-23&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: