วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

เส้นทางสีเขียวที่แท้

ใน ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประเด็น สิ่งแวดล้อมนั้นถูกจุดพลุและกลายเป็นกระแส เคยคุยกับคนทำงานของหลายองค์กรเขาก็ยอมรับกันตรงๆว่า หลายกิจกรรมที่สร้างขึ้นมาก็เป็นการเกิดขึ้นเพื่อรองรับกระแสที่ว่านี้ เราจึงมีโอกาสเห็นกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การลดใช้ถุงพลาสติกไป จนกระทั่งปลูกป่า ฯลฯ ถ้าจะให้ลองนึกจริงๆ อาจจะนึกไม่ออกว่ากิจกรรมไหนใครเป็นคนจัด เพราะมีมากจนจำไม่ไหว

อาจ จะไม่ใช่เรื่องผิดในการโดดร่วมกระแส เพียงแต่กิจกรรมเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนเดียว แถมยังเป็นส่วนปลายในการที่จะบอกต่อผู้คนในสังคมว่า นั่นเป็นพันธสัญญาขององค์กรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม ถ้าจะให้เวิร์กจริงๆ ก็ต้องทำกันตั้งแต่ต้นทาง

เหมือนที่บรรดา ผู้รู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) บอกว่า สิ่งดีที่สุดในการแสดงความรับผิดชอบนั้น ควรจะเริ่มตั้งแต่การรับผิดชอบต่อผลกระทบที่องค์กรเป็นผู้สร้าง สร้างผลกระทบอะไรกับใครบ้าง ก็เริ่มต้นที่จะลดผลกระทบที่ตรงนั้น

ยิ่ง ถ้าเอาเกณฑ์ที่บรรดาองค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์พัฒนาเอกชนในระดับโลกที่ใช้ ประเมินผลองค์กรมาจับ การรณรงค์ให้พนักงานหรือคนในสังคมตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ อย่างเกณฑ์ที่ "ไคลเมท เคาท์" (Climate Cout) และ "คลีน แอร์ คูล" (Clean-Air-CoolPlanet) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมใช้ประเมินในการจัดอันดับองค์กรธุรกิจที่ รักษาสิ่งแวดล้อมที่พึ่งประกาศไปเมื่อไม่นานมานี้

ให้ความสำคัญกับ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการภายในองค์กรทั้งในระบบตรวจสอบ การลดผลกระทบ นโยบายและการรายงานผลกระทบจากการทำธุรกิจที่มีต่อสภาพภูมิอากาศโดยใช้การ เฝ้าสังเกตกิจกรรมขององค์กรที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งลดผลกระทบที่มี ต่อภาวะโลกร้อน (เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ climate footprint) การพิจารณาด้านการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน และโครงการอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบโลกร้อนด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ในโครงการ ฯลฯ

เรียกว่าถ้าจะเป็นธุรกิจสีเขียวที่แท้ย่อมต้องทำและคำนึงถึง ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทางไปจนถึงปลายทาง ที่สำคัญต้องวัดผลและลดผลกระทบได้จริงๆ

อย่างโครงการ GoGreen ครบวงจรของ "ดีเอชแอล" ยักษ์ใหญ่ในแวดวง โลจิสติกส์ที่เพิ่งเริ่มทำมาเพียงปีเดียว แต่ผลการจัดอันดับครั้งนี้นั้นกลับเป็นบริษัทด้าน โลจิสติกส์ที่ทำคะแนนด้านการรักษา สิ่งแวดล้อมสูงสุด ปีที่ผ่านมาบริษัทมีสารพัดโครงการในการปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยก๊าซของยาน พาหนะ โดยมีการทยอยเปลี่ยนยานพาหนะชนิดเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงแบบปกติมาเป็นพาหนะที่ ใช้พลังงานทางเลือกชนิดอื่นๆ เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ

บริษัทยังสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการขนส่งกับลูกค้าผ่านการขนส่งระบบรางและขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นช่องทางการขนส่งที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุดเมื่อเทียบ กับน้ำหนักของสินค้าที่รับบรรทุก

ที่ทุ่มทุนมหาศาลคือการลงทุนครั้ง ใหญ่ในการเปลี่ยนเครื่องบินรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม โดยค่อยๆ นำเครื่องบินรุ่นใหม่มาแทนเครื่องบินรุ่นเก่าที่ให้บริการในเส้นทางบิน ระหว่างทวีป เช่น การใช้เครื่องบินโบอิ้ง B747-400F จำนวน 6 ลำ ในเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยร่วมกับโพลาร์ แอร์ คาร์โก

และ ยังได้ริเริ่มทดลองวิธีการเพิ่มความหนาแน่นในการบรรทุกของเครื่องบินขนส่ง สินค้าโครงการดังกล่าวจะนำไปสู่การใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้สามารถลดปริมาณเที่ยวบินลงได้ ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทั้งลดมลพิษและเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดำเนินธุรกิจ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www. climatecounts.org

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05230252&day=2009-02-23&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: