วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ใช้หัวใจแบบ CSR เพื่อสร้างคน (1)

โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย



ผม อยากจะเขียนเรื่องราวของ CSR (corporate social responsibility) ในแง่มุมของการศึกษามาหลายหนแล้ว แต่ก็พบว่ามีการเขียนบทบาทของ CSR กับการศึกษามากพอประมาณ และก็หามุมมองใหม่ๆที่แตกต่างไปจากมุมมองของผู้เขียนอื่นๆ ยาก จึงลองพยายามรวบรวมว่ามุมต่างๆ ของ CSR เกี่ยวกับการศึกษามีอะไรบ้าง และมองมุมที่แตกต่างออกไปนั้นทางด้านใด

บทบาทของ CSR ในทางการศึกษาทั่วๆ ไป พอจะประมวลได้ว่ามี 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. องค์กรเอกชน ทำโครงการ CSR โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา นี่อาจจะเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมากที่สุด และอาจจะเป็นประเด็น CSR ที่นิยมทำกันมากที่สุด

บริษัท BMRS Asia ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม CSR ในปี 2007 พบว่าในกลุ่มผู้สนใจที่จะทำกิจกรรม CSR นั้น

26% เห็นว่ากิจกรรมที่น่าทำที่สุด คือ กิจกรรมการศึกษา

18% เห็นว่าควรทำกิจกรรมเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม

เมื่อ เจาะลึกลงไปก็จะพบว่าองค์กรใหญ่ๆ ในประเทศไทยมักจะเลือกนำเอากิจกรรมการศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของ CSR ในทำนองเดียวกับในต่างประเทศ กิจกรรม CSR จำนวนมากก็มามุ่งเน้นด้านการศึกษากัน ตัวอย่างของกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ โครงการของ Hong Kong Shanghai Bank ในประเทศฟิลิปปินส์ที่สร้างโครงการ "มาอ่านหนังสือกัน" (Read with Me) โดยไปเจาะเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 จากโรงเรียนหนึ่ง แล้วทดลองสร้างโครงการที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่าน โดยมีการประเมินผลนักเรียนก่อนเริ่มโครงการระหว่างโครงการและหลังโครงการ ปรากฏว่านักเรียนมีการปรับปรุงการอ่านดีขึ้นมาก องค์กรจึงขยายโครงการนี้ออกไป โดยให้สาขาของธนาคารเป็นเจ้าภาพเลือกโรงเรียนที่อยู่ใกล้สาขาสอนในโครงการ นี้

บริษัท Texas Instrument ในสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญของการศึกษาด้าน technology

จึง เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับ technology กับชุมชนและกับส่วนงานการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาความสามารถของเยาวชนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลักสูตรพิเศษหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตร Summer Camp Program ในช่วงปิดเทอม เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในวิชาฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้วิชายากๆ พวกนี้ สนุกน่าเรียนและเห็นประโยชน์อย่างจริงจัง

2.CSR กลายเป็นวิชาหรือหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

เมื่อ องค์กรและบริษัทต่างๆ เริ่มสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับ CSR มากขึ้น ก็เริ่มมีคำถามเกี่ยวกับ CSR เกิดขึ้นมากมาย มีการวิเคราะห์ว่ามีทั้ง CSR จริงและ CSR เทียม เริ่มมีการค้นหาว่าใครที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ CSR อย่างลึกซึ้ง สามารถนำ CSR ลงไปบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ ยิ่งองค์กรหรือบริษัทเห็นว่า CSR มีคุณค่ามากและควรจะต้องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำธุรกิจ การค้นหาคนที่มีความรู้ และองค์ความรู้เกี่ยวกับ CSR ก็ยิ่งมีมากขึ้น

สถาบัน การศึกษาหลายแห่งเริ่มตอบสนองความต้องการเหล่านี้อย่างฉับพลัน Harvard Business School บรรลุหลักสูตรเกี่ยวกับ CSR ลงไปในโครงการ Executive Education มีหลักสูตรที่น่าสนใจหลักสูตรหนึ่งที่ชื่อว่า "Corporate Social Responsibility : Strategies to create Business and Social Value" หลักสูตรนี้ครอบคลุมตั้งแต่การวางกลยุทธ์องค์กรที่มี CSR เป็นส่วนสำคัญไปจนถึงการวิเคราะห์ทางด้านการเงินเกี่ยวกับผลประโยชน์และค่า ใช้จ่ายของการทำ CSR ไปจนถึงแนวทางการสร้างจิตสำนึกในองค์กรที่จะทำให้ CSR เป็นส่วนหนึ่งที่สมาชิกทุกคนในองค์กรเข้าใจและนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง

Queen"s School of Business ในประเทศ Canada เป็นอีกตัวอย่างที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตร CSR ให้กับโปรแกรม MBA ของคณะโดยแฝงแนวคิดของ CSR ลงไปในหลักสูตรเดิม เช่น หลักสูตรการตลาด หลักสูตรเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ การสร้างธุรกิจข้ามชาติ การสร้าง brand และการสร้างผู้นำทางธุรกิจ สำหรับประเทศไทยเองก็เริ่มมีการเรียกร้องให้มีหลักสูตร CSR ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจ หลายสถาบันการศึกษาเริ่มให้ความสนใจและได้บรรจุแนวคิดเกี่ยวกับ CSR ลงในหลักสูตรแล้ว แต่เดิมเรามีเพียงหลักสูตรที่เรียกว่า Business Ethics หรือจรรยาธรรมในการทำธุรกิจ แต่แนวคิด CSR ในปัจจุบันไปไกลกว่าแค่เพียงจรรยาธรรม และสมควรอย่างยิ่งที่จะกลายเป็นหลักสูตรหลักในการเรียนการสอนวิชาธุรกิจ

ที่มา ประชาชาติ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr02010652&sectionid=0221&day=2009-06-01

ไม่มีความคิดเห็น: