วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

3 ยุค "การให้" มูลนิธิ ซี.พี. โรงเรียนฝึกผู้นำ ฉบับเจ้าสัวธนินท์



หาก "เวลา" เป็นเครื่องพิสูจน์ "การกระทำ"22 ปีของมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ที่ก่อตั้งโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) อาจยาวนานเพียงพอที่จะพิสูจน์ "การรู้จักให้" ในแบบที่ยั่งยืน !

"สุปรี เบ้าสิงห์สวย" ในฐานะผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท บอกเล่าถึงมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท มีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชนบทด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้าน เกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน

ด้วยความ เชื่อ "คนพัฒนาอาชีพ อาชีพพัฒนาคน" การพัฒนาคนและส่งเสริมอาชีพจึงเป็นยุทธศาสตร์แรกที่มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ใช้ โดยคัดเลือกลูกหลานของเกษตรกรที่มีแววเข้าพัฒนาอาชีพทางการเกษตรที่ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี พร้อมอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อบ่มเพาะต้นกล้าเกษตรกรรุ่นใหม่ให้กลับ มาทำงานในถิ่นฐานบ้านเกิด แม้จะมีผู้ผ่านการฝึกจากศูนย์ไปแล้วกว่า 1,000 คน แต่กลับพบว่ามีคนที่ทำงานด้านเกษตรไม่กี่คนจึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน

พอ มาถึงยุคที่ 2 ในปี 2537 ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตจึงเกิดขึ้น บริษัทส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากธุรกิจในเครืออย่างซีพีเอฟเข้าไปให้ ความรู้แก่เกษตรกรในแต่ละด้านตามความแตกต่างของพื้นที่ ในหลายพื้นที่ ฯลฯ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเสริมความรู้เดิมเพิ่มความรู้ใหม่ เน้นทักษะการบริหารจัดการเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดพลังในการพึ่งพาตนเองและพัฒนาชุมชน

" ตอนนั้นยังมีคนอีกมากมายที่เข้าไม่ถึงวิชาการความรู้ เราจึงส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่บริษัทมีอยู่เข้าไปให้คำปรึกษาแก่ เกษตรกร รวมทั้งหาช่องทางการตลาดและให้เงินทุนดำเนินการ เมื่อมีกำไรแล้วต้องใช้คืน เราต้องการสอนเรื่องของการให้ที่ไม่ใช่การให้เปล่า แต่อยากให้เห็นคุณค่าและมีแรงผลักที่จะหาเงินมาต่อยอด"

ในยุค ปัจจุบันแม้จะประสบความสำเร็จแต่ผลของการทำงานที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดในแง่ พื้นที่ที่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ บทบาทของมูลนิธินับจากนี้จึงก้าวจากที่ปรึกษาสู่การเป็นนักบริหารจัดการที่ จะช่วยจุดประกายและรวบรวมหน่วยงานรัฐบาล เอ็นจีโอ หรือบริษัทเอกชน มาทำงานร่วมกันให้มากที่สุด โดยใช้ชุมชนต้นแบบที่มีอยู่เป็นโมเดลความสำเร็จ

" คิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้วจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ถ้าเปรียบกับพวงมาลัย เราขอเป็นเส้นด้ายที่ยึดโยงดอกไม้หลากสีเข้ามาไว้ด้วยกัน เหมือนหน่วยงานต่างๆ ที่มีศักยภาพและข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามาร่วมกันแล้วจะลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ เราจะเป็นผู้ประสานงานจัดระบบการทำงานให้ โดยไม่ต้องการเครดิต แล้วจะพบว่าผลจากความร่วมมือนั้นจะทำให้เราทำงานได้กว้างขวางขึ้น"

และ ผลจากการทำงานของมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท อีกด้านยังเป็นโรงเรียนฝึกผู้นำชั้นดี เพราะหากดูรายชื่อของคณะกรรมการมูลนิธิแล้ว ล้วนพบแต่ผู้บริหารระดับสูงของ ซี.พี. ไม่ว่าจะเป็นธนากร เสรีบุรี อดิเรก ศรีประทักษ์ ประเสริฐ พุ่งกุมาร ฯลฯ

อาจจะอย่างที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เคยกล่าวไว้ว่า "คนจะเป็นผู้บริหารที่เก่งและดีได้ ต้องเข้าใจสังคมและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น"

ที่มา ประชาชาติ วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02csr03010652&sectionid=0221&day=2009-06-01


ไม่มีความคิดเห็น: