วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิกฤต...จุดเริ่มต้น ปฏิวัติสถาบันการเงินไทย สู่ความรับผิดชอบ (ที่แท้)


สถาบัน การเงินจำนวนกว่า 117 แห่งจาก 42 ประเทศทั่วโลก ที่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดบนเวที Sustainable Banking Awards 2009 ซึ่ง นิตยสารไฟแนนเชียล ไทม์ และ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) หน่วยงานหนึ่งของธนาคารโลก ร่วมกันจัดขึ้นในปีนี้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา

นับเป็นสัญญาณหนึ่งของความตื่นตัวของสถาบันการเงิน ทั่วโลก ที่มีต่อแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เวทีนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพราะจำนวนสถาบันการเงินที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมมีเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ การจัดประกวดครั้งแรกเมื่อ 4 ปีก่อนที่มีส่งผลงานเพียง 48 แห่ง

การ พัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบัน การเงิน (sustainable banking) จึงเป็นแนวโน้มและวิถีใหม่ในโลกการเงิน ที่กำลังเปลี่ยนวิธีคิดการทำธุรกิจในแบบเดิมๆ

แค่เพียงถ้าลองใช้ เสิร์ชเอ็นจิ้นและค้นหาด้วย คำว่า sustainable banking ผลที่ปรากฏจำนวนเรื่องราวกว่า 17,000,000 เรื่องเป็นอีกเครื่องสะท้อน

" เหตุผลทางธุรกิจเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินทั่วโลก ต้องปรับตัวโดยเฉพาะในแง่ของการมองหาตลาดใหม่และการลดความเสี่ยง" สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระและนักการเงิน ที่ติดตามเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

สำรวจความตื่นตัวในต่างประเทศ

Deutsche Bank ถือเป็นสถาบันการเงินในกระแสหลัก ที่เชื่อในแนวคิดนี้ โดยเข้าไปสนับสนุนธุรกิจที่ธนาคารคิดว่ามีความยั่งยืนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ ที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนสินเชื่อเพื่อคนจน อุตสาหกรรมอาหาร ปลอดสารพิษ ฯลฯ เพราะไม่เพียงเป็น การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ในเวลาเดียวกัน ยังเชื่อว่าในระยะยาวการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ ที่มีความยั่งยืนเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกับธนาคาร เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจแบบดั้งเดิม

มีธนาคารอีกหลายแห่งที่มีการ พัฒนาอย่างยั่งยืนที่แหวกแนวและมีนวัตกรรม โดยเฉพาะในตลาดคนจน อย่าง "Triodos Bank" ที่มีสาขา 5 ประเทศในยุโรป ที่เปิดธนาคารขึ้นมาเพื่อให้บริการกับ 5 เซ็กเตอร์ที่บอกว่ายั่งยืน คือ ธุรกิจเพื่อสังคม อาหารปลอดสารพิษ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม และการค้าที่เป็นธรรม (fair trade)

หรือ "root capital" ที่ตั้งขึ้นมาเป็นสมาคมไม่ใช่ธนาคาร เป็นลักษณะกองทุนที่ลงทุนด้านสังคม ในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งให้ สินเชื่อกับคนจน ในประเทศโลกที่สาม

"ไม่ ใช่แค่เหตุผลทางธุรกิจอย่างเดียว วันนี้ยังมีเสียงที่เรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้บริโภค สังคม สื่อ และแรงกดดันจาก ต่างชาติ เพราะในวิกฤตซับไพรมซึ่งมีต้นเหตุมาจากความไม่รับผิดชอบของสถาบันการเงิน ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าสถาบันการเงินต้องมีความรับผิดชอบและสนับสนุนการ เติบโตที่ยั่งยืนและไม่หลอกลวงผู้บริโภค"

"การที่ทั่วโลกพูดเรื่อง sustainable banking ก็เพราะว่ามองว่าสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นความกังวลระดับโลกและการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ดังนั้นสถาบันการเงินในฐานะที่เป็นตัวแทนหลักในการจัดสรรเงินในระบบเศรษฐกิจ ก็จะต้องทำอะไรที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย เช่น มีโครงการอะไรที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่มีมาตรการฟื้นฟู ก็ต้องไม่ปล่อยสินเชื่อให้ หรือพฤติกรรม

ที่รู้อยู่แล้วว่าจะไปทำให้ ฟองสบู่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คือการกู้เงินไปต่อเงิน พอกหนี้ไปเรื่อยๆ ธนาคารก็ต้องไม่พยายามปล่อยกู้ให้กับคนเหล่านั้น"

"ที่ผ่านมาแม้ว่า ธนาคารอาจจะบอกว่ารับผิดชอบแล้วเพราะดูความสามารถในการชำระหนี้ของ เฮดจ์ฟันด์และทุกอย่างตรงตามเงื่อนไขหมด อันนี้ถือว่ารับผิดชอบ แต่หากเอาเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาจับก็จะเห็นว่ายังไม่รับผิดชอบต่อ สังคมเพราะไปสนับสนุนให้เกิดการเก็งกำไรเกินควรในตลาด" สฤณีกล่าว

ย้อนมองจุดอ่อนประเทศไทย

แม้ ปัจจุบันสถาบันการเงินในไทยจะ มีความตื่นตัวในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมและโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ขณะที่บางธนาคารก็เริ่มมี นโยบายในการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างในรายงานการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2551 ของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มีการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อกรุงไทยประหยัดพลังงาน (KTB-Green Loan) ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนในโครงการหรือมาตรการที่ก่อให้เกิดการ อนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยังไม่รวมถึงการประกาศกลยุทธ์ CSR ของธนาคารจำนวนไม่น้อยในช่วงเวลาที่ผ่านมา

แต่ในทางกลับกันถ้าดู ตัวเลขคดีที่ศาลแพ่ง รัชดา รายงานนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551-ธันวาคม 2551 พบว่ากว่า 230 คดีที่ผู้บริโภคฟ้องร้องผู้ประกอบการ ส่วนมากจะเป็นคดีการเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต คดีการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งบริษัทสินเชื่อ

" ไม่มีประโยชน์เลยที่จะประกาศว่าคุณมีโครงการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ สิ่งแวดล้อม แต่พนักงานกลับไปเปิดบัญชีในชื่อคนอื่นแล้วเล่นหุ้น front-running (การลงทุนตัดหน้ากองทุน) ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่เสมอ ประเด็นสำคัญก็คือสถาบันการเงินต้องมีกลไกอะไรบางอย่างเพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานของตนเองจะรักษาหน้าที่พื้นฐานได้อย่างเต็มที่" สฤณีกล่าวย้ำ

จริยธรรมพื้นฐานสำคัญที่สุด

และ เสนอแนะว่า เพื่อให้เข้าใกล้ความรับผิดชอบที่แท้จริง สถาบันการเงินไทยต้องเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับ "หน้าที่พื้นฐานของนักการเงิน"

"นี่เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนที่จะ พูดว่าคุณรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร กล่าวคือ หน้าที่พื้นฐานก็คือการรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าและไม่ทำให้ตนเองตกอยู่ใน สถานการณ์ 3 อย่าง คือ 1.มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตนเองกับลูกค้า 2.มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างลูกค้า 2 ราย เช่น ถ้าเราทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับลูกค้าในธุรกิจเหล็ก ก็ต้องคิดว่าจะเป็นที่ปรึกษาให้กับคู่แข่งเขาด้วยหรือไม่ เพราะเราอาจไม่รักษาผลประโยชน์ของคนทั้งสองได้อย่างเต็มที่ และ 3.ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจหน้าที่โดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม หรือในทางที่เอาเปรียบผู้เล่นคนอื่นในตลาดรวมถึงการรับสินบนจากลูกค้า"

ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ใน แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) หลักการคือวิถีการพัฒนาใดก็ตามที่จะตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดย ไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา โดยต้องให้ความสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรหรือ ความเท่าเทียมของโอกาสที่จะพัฒนาตนเองเพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดของความเป็น มนุษย์และให้ความสำคัญต่อความยุติธรรม ขณะเดียวกันต้องมีมุมมองระยะยาว และต้องคิดอย่างเป็นระบบในการเชื่อมโยงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด triple of bottom line ซึ่งจะเดินไปสู่ทิศทางนั้นได้ต้องบริหารจัดการความต้องการของการมีส่วนได้ ส่วนเสียหลายๆ ฝ่าย ซึ่งในทางปฏิบัติอาจมีคำถามว่าเราจะทำได้อย่างไร เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการไม่เหมือนกัน"

สฤณีกล่าวด้วย ว่า "ถ้ามองในมุมภาคการเงินขณะที่ผู้ถือหุ้นต้องการกำไรสูงสุด และเห็นสถาบันการเงินโปร่งใสและมีความเป็นมืออาชีพ ผู้ฝากเงินก็อยากจะได้ ดอกเบี้ยสูง มีความเป็นธรรมและโปร่งใส หากเป็นผู้กู้ยืมเงินก็ต้องการเห็นธนาคารให้ดอกเบี้ยต่ำในเงื่อนไขที่เป็น ธรรมและโปร่งใส ในวิกฤตซับไพรม ข้อเท็จจริงก็ปรากฏแล้วว่าเงื่อนไขในการปล่อยกู้ของธนาคารเป็นเงื่อนไขที่ เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เยอะ คือซุกซ่อนเงื่อนไขที่ลูกหนี้รู้ไม่ทัน แต่นั่นถือว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหนี้ด้วยเหมือนกัน เวลาปล่อยกู้ก็ควรดูความสามารถในการชำระหนี้ไม่ใช่ว่ารู้จักกับ ผู้บริหาร ซึ่งถ้าทั้งหมดสถาบันการเงินทำได้ก็ถือได้ว่ามีความรับผิดชอบ"

เป็น ความรับผิดชอบ (ที่แท้) และเป็นเสียงเรียกร้องที่ผู้คนในสังคมโลกมีต่อสถาบันการเงิน ที่วันนี้สถาบันการเงินไทยฟังแล้วต้องได้ยิน !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

Did you realize there's a 12 word sentence you can communicate to your man... that will trigger intense emotions of love and instinctual attractiveness to you buried inside his chest?

That's because deep inside these 12 words is a "secret signal" that triggers a man's instinct to love, admire and care for you with all his heart...

====> 12 Words That Trigger A Man's Desire Instinct

This instinct is so hardwired into a man's brain that it will drive him to try harder than ever before to build your relationship stronger.

Matter of fact, triggering this powerful instinct is so mandatory to getting the best possible relationship with your man that once you send your man a "Secret Signal"...

...You'll soon find him open his soul and heart for you in such a way he haven't experienced before and he will distinguish you as the one and only woman in the galaxy who has ever truly fascinated him.