วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คิดต่าง ฉบับ "ธนชาต" "สะพานเชื่อม" ผู้ให้-ผู้รับ


อาจ เป็นเพราะอัตลักษณ์แบรนด์ของ "ธนชาต" คือ การริเริ่ม เติมเต็ม ที่หมายถึง การผนวกรวมการมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง เข้าใจผู้คน เป็นมิตรและเข้าใจสังคม

กลิ่นอายแห่ง "ความกล้า" จึงปรากฏ ให้เห็นในกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR)

เพราะ ในขณะที่องค์กรจำนวนมากเลือกที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเน้นทุ่มเททรัพยากรไปที่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นหลัก "ธนชาต" กลับเลือกทำในสิ่งที่แตกต่างโดยวางบทบาทตัวเองเป็น "คนกลาง" ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง"ผู้ให้" และ "ผู้รับ" ผ่านโครงการ "ริเริ่ม เติมเต็ม" ซึ่งเป็นแกนในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคาร โดย "ริเริ่ม" ในการมองการให้ในแบบที่ต่างออกไปและเติมเต็มให้กับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรูปแบบที่สนองความต้องการอย่างมีประสิทธิผล

"วิชา กุลกอบเกียรติ" ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) บอกว่า "เราอาจจะแตกต่างจากคนอื่นที่มอบของจนคนจำได้ สำหรับเราเรายอมรับว่าคนอาจจะยังไม่รู้มากนักว่าเราทำอะไร แต่ทั้งหมดที่เราพยายามทำคือการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ให้และผู้รับ เช่นเดียวกับทุกกิจกรรมจะมีความต้องการของผู้รับเป็นศูนย์กลาง"

สะพาน เชื่อม ในความหมายของ "ธนชาต" สะท้อนผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยจับมือกับพันธมิตรกว่า 20 องค์กร อาทิ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น หน่วยทหารพราน โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ฯลฯ ในการ "ริเริ่ม เติมเต็ม" ด้วยการใช้เครื่องมือในการสื่อสารความต้องการของสังคมที่ยังถูกมองข้ามและ ไม่ได้รับการดูแล

ผ่านรายการคนค้นฅน เพื่อเผยแพร่แง่มุมความต้องการของสังคม

หาก ปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้น โครงการ "ริเริ่ม เติมเต็ม ตอน มหกรรมออมบุญ" ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 10-11 มิถุนายน 2552 ที่จะถึงนี้ ที่ลานเอ็มบีเค ฮอลล์ เซ็นเตอร์ จึงเป็นเหมือนการต่อยอดโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เพื่อประชา สัมพันธมูลนิธิเพื่อให้เป็นที่รู้จักกับคนในสังคมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการร่วมระดมทุนให้กับองค์กรเหล่านั้น และวางแผนว่าจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนับจากนี้

ในงานที่จะจัดขึ้นยัง จะเปิดตัวบริการ "ออมบุญ" ผ่านบัตรเอทีเอ็มของธนชาต โดยลูกค้าที่ถือบัตรสามารถบริจาคเงินให้กับ 7 มูลนิธิผ่านเอทีเอ็ม โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

"การทำเอทีเอ็มออมบุญถือเป็นความพยายามในการ จะใช้ทรัพยากรที่ธนาคารมีอยู่ทั้งหมดในการช่วยเหลือสังคม ซึ่งไม่ได้เฉพาะแต่เอทีเอ็มที่ปัจจุบันมี 390 จุด แต่สำหรับสาขาที่มีอยู่กว่า 240 แห่งทั่วประเทศ เราก็มีความพยายามที่จะใช้เพื่อช่วยสังคมด้วย"

ปัจจุบันสำนักงานสาขาทั้งหมดก็ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์กลางในการเป็น สะพานเชื่อมระหว่าง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ" เช่นกัน

โดย ไม่เพียงแต่กิจกรรมหลักที่ดำเนินการโดยสำนักงานใหญ่ ในสำนักงานภาค (hub) แต่ละแห่งจะมีกิจกรรมเพื่อสังคมที่แตกต่างกัน ด้วยความเชื่อที่ว่าพื้นที่แต่ละแห่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน กิจกรรมเพื่อสังคมยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนและสาขาของธนาคารด้วย และเป็นเส้นทางในการผูกมิตรที่จะสร้างความผูกพันที่มีต่อ แบรนด์ในระยะยาว "วันนี้อาจจะยังวัดผลไม่ได้ วัดได้แค่ความรู้สึก แต่ในระยะยาวก็เชื่อว่าใครๆ ก็คงอยากคบคนดี ซึ่งจะเพิ่มพลังความสำเร็จของแบรนด์ ที่เป็นแบรนด์ไอเดีย ของเรา" วิชากล่าว

การ ตัดสินใจใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท ในการเดินต่อโครงการเพื่อสังคมในปีนี้ของธนาคาร จึงเป็น การเพิ่มพลังจุดสัมผัสที่ผู้คนมีต่อแบรนด์ธนชาต

ที่แม้ "วิชา" จะยอมรับว่า "คนอาจจะยังจำไม่ได้และไม่เข้าใจว่าเราทำ CSR อะไร แต่เราก็จะยังคงทำต่อไป"

และรอคอยเวลาที่จะพิสูจน์ ความเชื่อที่แตกต่างในแบบฉบับของตัวเอง !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม่มีความคิดเห็น: