วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บริหารจัดการ ความรับผิดชอบ ทำแค่ไหนจึงจะพอเหมาะ-พอดี !



" ไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรจะลดงบประมาณในการบริจาคลงในช่วงภาวะเศรษฐกิจ ปัจจุบัน" "แอนดรู ชาน" ผู้อำนวยการบริหารส่วนงานให้คำปรึกษา การบริหารจัดการความยั่งยืน ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศมาเลเซีย กล่าวถึงความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่ทิศทางที่ว่าเกิดขึ้นทั่วโลก

เพราะแม้ความรับผิดชอบต่อสังคมจะมี ความจำเป็น แต่การบริหารจัดการองค์กรเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ยังต้องสร้างสมดุลให้กับทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม "ถ้าเราให้น้ำหนักกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากโดยไม่พิจารณาปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจ ขององค์กรก็อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กร เพราะธุรกิจก็ต้องมีรายได้และต้องอยู่รอดให้ได้เช่นกัน" ชานกล่าว

ระหว่าง การเดินทางมาเยือนไทยเพื่อเปิดให้บริการที่ปรึกษา CR ในไทย เขาร่วมกับ "กุลเวช เจนวัฒนวิทย์" จากไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย พูดคุยถึง "ความพอเหมาะ พอดี" ของการขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบขององค์กร ในภาวะวิกฤตเช่นนี้

"ชาน" บอกว่า "ในช่วงเศรษฐกิจขาลง เราจะพูดถึงการอยู่รอดขององค์กร พูดถึงเรื่องการลดต้นทุน ดังนั้นในระยะสั้นจึงทำให้เราเห็นการบริจาคลดลงไปบ้าง แต่แนวโน้มจะไปอยู่ที่การลงทุนด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่เห็นผลเร็ว อย่างการลดต้นทุนด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (cost efficiency)"



บริหารพลังงานเทรนด์ในวิกฤต

จาก การสำรวจของ 2 Degrees ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอเมื่อปลาย ปี 2551 พบว่า 90% ของซีอีโอมองว่า กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียวถือว่ามีความสำคัญ ในช่วงเศรษฐกิจขาลง

ขณะ ที่ผลสำรวจของ "อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่พบว่ากว่า 50% ของผู้นำองค์กรมองว่า การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การลดต้นทุนขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยใดที่จะมีความสำคัญในการนำองค์กรในช่วง 2 ปีนับจากนี้

" ในการดำเนินธุรกิจมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี ในช่วงวิกฤตจึงต้องกลับมาดูว่าอะไรเร่งด่วน ซึ่งต้องกลับมาดูที่กรอบในการดำเนินงานด้าน CR ที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญ และต้องดูว่าจะสร้างคุณค่าอย่างไรให้เกิดขึ้น"

CR ก้าวต่อของ CSR

อย่าง น้อยที่สุดคุณค่าที่จะเกิดขึ้นได้ "ความรับผิดชอบ" ต้องก้าว ข้ามมากกว่า "การให้" (corporate philanthropy) ผ่านกิจกรรมการบริจาคโดยเชื่อมโยงความรับผิดชอบสู่กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

ใน มุมมองของ "ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์" เรียกว่า การบริหารจัดการความรับผิดชอบขององค์กร (corporate responsibility : CR) ซึ่งเป็นพัฒนาการมาจาก "ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร" (CSR) ที่ทุกวันนี้คน ส่วนใหญ่มักให้น้ำหนักกับความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านโครงการเพื่อสังคม มากกว่าการแสดงความรับผิดชอบในอีกหลายพื้นที่

จากผลการวิเคราะห์ของ "ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์" โดยศึกษาเปรียบเทียบ บริษัทชั้นนำในไทย มาเลเซีย และ"ท็อป 25" ของบรรษัทข้ามชาติพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ในไทยและมาเลเซียยังให้ความสำคัญในมิติของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่บรรษัทข้ามชาติจะให้น้ำหนักใน 4 ด้านใกล้เคียงกัน คือ ชุมชน (commu nity) สิ่งแวดล้อม (environment) สถานที่ทำงาน (workplace) และตลาดสินค้า (marketplace)

"เราไม่ได้มองว่าต้องตามฝรั่ง และไม่ได้มองว่าอะไรผิดอะไรถูก เพียงแต่เราพยายามชี้ให้เห็นว่าในการทำในด้านอื่นๆ มากกว่าทำเพียงชุมชนเพียงด้านเดียวนั้นจะเป็นการช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับ องค์กร"

"โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ เราอยากชี้ให้เห็นเรื่องความรับผิดชอบในส่วนของตลาดสินค้า เพราะความรับผิดชอบในพื้นที่นี้จะช่วยในการลดต้นทุนและยังต่อยอดในเรื่องราย ได้ ซึ่งสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ อย่างโตโยต้า พรีอุส ซึ่งกลายเป็นเจ้าตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก เป็นต้น"

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการความ รับผิดชอบที่จะอยู่อย่างถาวรและยั่งยืน ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ CR และการวางกรอบแนวปฏิบัติ

" บางบริษัทใช้เงินมากแต่อาจจะไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มาก เพราะไม่มีกลยุทธ์ CR ขณะที่บางบริษัท เงินไม่มาก จำนวนกิจกรรมก็ไม่มากนัก แต่สร้างผลกระทบได้มาก เพราะทำอย่างมีหลักการในแบบที่ควรจะทำ"

"หลัก การของ CR ต้องกลับมาที่การเชื่อมโยงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยในทุกกระบวนการภายในองค์กรต้องให้ CR เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ก็อาจกำหนดให้คู่ค้าต้องใช้วัตถุดิบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีการประเมินผล"

สู่ความเป็นไปได้

รวมถึงการจัดทำ รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD report) ที่มี "เธิร์ด ปาร์ตี้" เป็นผู้รับรอง รวมถึงการวิเคราะห์ และพัฒนาการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่ามีความคาดหวังต่อองค์กรอย่างไร โดยไม่ต้องระมัด ระวังการให้ความสำคัญของผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ถูกเหตุผลที่ทำให้องค์กรล้มเหลว

"ความล้มเหลวส่วนใหญ่ที่ เราเห็นที่ผ่านมาเกิดจากเรื่องที่พื้นฐานมากที่สุด คือไม่รู้ว่า CR คืออะไร เพราะเมื่อบอร์ด ฝ่ายบริหาร ไม่เข้าใจโครงการ สิ่งที่เสนอไปก็ไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่เข้าใจหลักการก็ทำกลยุทธ์ CR ไม่ได้ และยังไปฝากงานไว้กับคนที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีความถนัด" ซึ่งทำให้ ความรับผิดชอบก้าวไปไม่ถึงความยั่งยืน

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น: