วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ECO Projects บิ๊ก ไอเดีย สร้างวัฒนธรรมสีเขียว




จะว่าไปถ้าพูดถึงโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ยิ่งถ้าพูดถึงการรณรงค์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนผ่านกระบวนการ reuse reduce recycle ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่เช่นกัน เพราะทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน โรงเรียน องค์กรอิสระต่างๆ มีสารพัดโครงการที่ออกมารณรงค์ในเรื่องพวกนี้

แต่เหตุที่ทำให้ "โครงการรักษ์โลก Siam Discovery ECO Projects" ที่มี "ชฎาทิพ จูตระกูล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของ อาคารสยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์ เป?นต้นคิดและหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ซึ่งประกาศเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมามีความน่าสนใจ

ไม่ เพียงเพราะเบื้องหลังในการทำงานก่อนจะมาเป็นโครงการนี้ที่ใช้เวลาระดม สมองกว่า 9 เดือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ฯลฯ หรือเป็นการเปิดตัวกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกันครั้งเดียวมากที่สุด 7 โครงการ 7 คอนเซ็ปต์ ที่จะถูกจัดขึ้นใน 3 ศูนย์การค้า สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน ภายในระยะเวลาครึ่งปีนับจากนี้ (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

แต่ยังอยู่ที่วิธีคิดและกระบวนการทำงานที่ต่างออกไปจากกิจกรรมหรืออีเวนต์อื่นๆ และเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ

อย่าง ที่ "ชฎาทิพ" เล่าให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเบื้องหลังการทำงานครั้งนี้ว่า "เรื่องลดภาวะโลกร้อนทุกคนในกรุงเทพฯก็ทำกัน แต่การทำเราไม่อยากทำอย่างที่คนอื่นทำ ซึ่งเป็นแค่จัดอีเวนต์ ขายกระเป๋าผ้าจบ แต่เรามองว่าศูนย์การค้าเราเป็นพื้นที่สาธารณะ ควรให้ที่ของเราเป็นที่สร้างจิตสำนึกและลงมือช่วยกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงตั้งปณิธานตั้งแต่ต้นว่าทำงานจากนี้ 3 ปีโดยจะทำให้เกิดวงจรที่ครบถ้วน มีรูปแบบที่ชัดเจนต่อเนื่อง เกิดผลเป็นรูปธรรมทำให้คนรู้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก"

การเปิดตัว 7 กิจกรรม 7 แนวคิดที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโครงการ

"ชฎาทิพ" เชื่อว่า "เรากำลังจะสร้างสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ เหมือนที่ซูเปอร์ในพารากอน กว่าลูกค้าจะเอาถุงผ้ากลับมาใส่ของก็ต้องใช้เวลา เขาเริ่มเข้าใจ ทั้งหมดเป็นเรื่องของจิตสำนึก เพราะเราโตกันมากี่ปีในการที่ใช้ทุกอย่างอย่างฟุ่มเฟือย และการจัดกิจกรรมแค่ 1-2 ครั้งเปลี่ยนไม่ได้เราถึงคิดว่าการจะเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่อง"

เธอ ค่อยอธิบายพร้อมกับค่อยวาดโมเดลวงจรของการสร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมระหว่าง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ทุกกลุ่ม ตั้งแต่นักศึกษา ลูกค้า ร้านค้า ศูนย์การค้า พันธมิตร กระทั่งสังคมในชนบท

"วงจรที่ว่าก็คือ เราเป็นศูนย์การค้าอันนี้ประกอบด้วย 3 อัน มีสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน คนแวดล้อมเราก็ประกอบด้วยร้านค้าในสยามเซ็นเตอร์ 350 ร้าน สยามดิสคัฟเวอรี่ 200 ร้าน สยามพารากอน 300 ร้าน ลูกค้าที่เข้ามามีทุกเพศทุกวัย ประมาณ 3.3 แสนคนต่อวัน ถามว่าเราจะจับวงจรทั้งหมดให้ต่อเนื่องกันมาทำได้อย่างไร สิ่งที่เราทำ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือร้านค้าสามารถเอาวัสดุเหลือใช้มาบริจาคที่เรา จากนั้นเราเป็นศูนย์ของการเรียนรู้ว่าวัสดุแต่ละคนมา บริจาคเอามาทำอะไรได้บ้าง มีวัตถุประสงค์ 2-3 อย่าง เพราะการ reuse reduce recycle ต้องทำอย่างมีหลักการ 1.เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง 2.ทดแทนอะไรได้บ้าง ช่วยประหยัด รักษาทรัพยากรอย่างไร ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างไร พอสร้างออกมาได้แล้ว 3.จะมาลงมือช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้นเป็นจริงได้อย่างไร ฉะนั้นเราจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อร่วมลงมือร่วมกันทำให้สำเร็จได้"

นับ ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป จะเห็นกล่องตั้งเพื่อรับบริจาคของมากมายในศูนย์การค้า ไม่ว่าจะกล่องรับบริจาคกระดาษ ยีน วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ฯลฯเพื่อนำไปสร�างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆ

"กลุ่มลูกค้าของเรา เรามีตั้งแต่นักศึกษา คนทำงานรุ่นใหม่ ครอบครัว แต่ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ลูกค้าของสยาม เป็นคนชอบความแปลกใหม่ มีสไตล์ของตัวเองและชอบการเรียนรู้ ลูกค้าสยามไม่ใช่ลูกค้าล้าหลัง เพราะฉะนั้นเรารู้ลูกค้าเราเป็นแบบนี้ จะมีเงินเท่าไหร่ ใช้จ่ายมากน้อย แต่รวมๆ มีหัวคิดสมัยใหม่ ฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำให้เขารักษ์โลกต้องทำในทิศทางนั้น สยามเองการให้ลูกค้าเข้ามาร่วมเรามีกิจกรรมที่สนับสนุนการส่งเสริมความ สามารถอยู่แล้ว อันนี้เป็นที่มาของคีย์เวิร์ดในการคิดกิจกรรม"

หากดู เบื้องหลังวิธีคิดจะเห็นได้ว่า โครงการนี้ถูกพัฒนาจากการวิเคราะห์ "จุดแข็ง" ขององค์กร คือ การเป็นพื้นที่สาธารณะ บวกกับการวิเคราะห์ "ลูกค้า" ซึ่งเป็นคนหัวคิดทันสมัย กิจกรรมจะ "โดนใจ" ลูกค้าและสร้างการมีส่วนร่วมได้จึงต้องมีจุดที่ลงตัว

"ที่สำคัญไม่ เพียงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ แต่สิ่งเหล่านี้ยังสร้างคุณค่าทางจิตใจ เหมือนว่าเรามาช่วยกันทำอะไรที่มันเห็นว่าเป็นการระดมทรัพยากร ระดม ความคิด พอคนเริ่มมาลองทำก็จะเข้าใจ คนก็ต้องพูดกัน สนุกด้วย

" ประเทศไทยตอนนี้เป็นอะไรที่ต้องสูดหายใจลึกๆ แล้วบอกว่ามาช่วยกันทำอะไรหน่อยดีมั้ย ตอนนี้ทำอะไรก็ตามที่มีคุณค่าทางจิตใจ sentimental value อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ นี่มันไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่คุณค่าที่ได้จากเรื่องพวกนี้ ทุกๆ ครั้งที่ทำที่ถือถึงมาหย่อนของลงกล่องจะยิ่งรู้สึกดีขึ้น เรื่อยๆ"

เป็นความรู้สึกค่อยๆ ดีขึ้น พร้อมๆ ไปกับการปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03280751&day=2008-07-28&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: