วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผนวกกิจกรรมเชิงธุรกิจมาร่วมสร้างสรรค์สังคม

โดย จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ บริษัท เบเยอร์ จำกัด

ตลอด หลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ บริษัท เอกชนต่างๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิรอบๆ ตัวเราที่สูงขึ้น อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเกิดภัยพิบัติต่างๆ มลพิษทางอากาศ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เราทั้งหลายละเลยไม่เอาใจใส่และไม่เห็นความสำคัญ ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร จากผลที่เกิดและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้น หลายฝ่ายจึงร่วมกันหาแนวทางแก้ไขโครงการที่เป็นประโยชน์กับสังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่างเกิดขึ้นมากมายในหลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน คือ การทำประโยชน์ให้กับสังคม และส่งเสริมให้มีวิถีชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

การแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมมีรูปแบบที่หลากหลาย นักวิชาการต่างๆ จึงมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาองค์กรในแง่มุมต่างๆ อย่างเช่น พอร์เตอร์ และ แครมเมอร์ ได้เสนอแนวทางการพิจารณาองค์กรจากภายในออกสู่ภายนอก (looking inside out) ว่าองค์กรหนึ่งๆ ได้ผนวกส่วนใดของธุรกิจกับ CSR ไปแล้วบ้าง เพื่อที่จะได้มองเห็นจุดที่ยังขาดไปในทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ อันได้แก่ การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นกิจกรรมทางธุรกิจหลัก (primary activities) และกิจกรรมสนับสนุนธุรกิจในแง่ต่างๆ (support activities) ซึ่งกิจกรรมหลักมีตั้งแต่การจัดการขนส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิต การผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการรับใบสั่งซื้อ การโฆษณา การขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ จนไปถึงบริการหลังการขาย อีกส่วนที่สนับสนุนได้แก่ การวางระบบและขั้นตอนในการทำงานต่างๆของบริษัท การจัดการบริหารงานด้านบุคคล การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิตต่างๆ

บริษัท เบเยอร์ จำกัด ผู้ผลิตสีงานไม้และสีทาอาคาร การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของ CSR ได้ถูกดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากความสำนึกในคุณค่าของธรรมชาติ รวมทั้งความตั้งใจจริงของคณะผู้บริหารที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับปัญหาดัง กล่าว โดยได้ผนวก CSR ให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของบริษัทที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม

เมื่อพิจารณาเทียบกับทฤษฎีของพอร์เตอร์ และ แครมเมอร์ข้างต้นแล้ว พบว่ามีการผนวก CSR เข้ากับกิจกรรมสนับสนุนธุรกิจในส่วนของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของ ผลิตภัณฑ์ อาทิ โครงการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ สีเบเยอร์คูล สีกันความร้อนรายแรกของเมืองไทยที่ได้พัฒนาจากผลงานวิจัยในโครงการอวกาศนา ซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับผงสีคุณภาพเยี่ยม ทำให้มีความสามารถในการสะท้อนความร้อนได้กว่า 90% ช่วยประหยัดพลังงาน มีส่วนในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่างๆ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดโลกร้อน หรือสีงานไม้สูตรน้ำที่มีกลิ่นอ่อน ปลอดจากสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาร่วมกับบริษัทที่เป็นผู้นำเคมีระดับโลก

ผลิตภัณฑ์ทั้งคู่ เป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจัด งบประมาณบางส่วนเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ผ่านโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบทของกลุ่มหนุ่ม-สาวชาวรั้วมหาวิทยาลัย ที่สร้างสรรค์งานค่ายดีๆ เพื่อผู้ขาดแคลนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโรงเรียนให้กับเด็กๆ ในชุมชนที่ห่างไกลและชุมชนเมืองที่ยังขาดแคลน รวมถึงการร่วมมือด้าน CSR กับพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาสังคมไทย อย่างยั่งยืนในหลายๆ ด้านรวมไปถึงการลดภาวะโลกร้อนและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การ ดำเนินธุรกิจไม่เพียงแต่มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องรู้จักแบ่งปันคืนให้กับสังคมบ้าง และต้องทำอย่างเป็นรูปธรรม โครงการต่างๆ นั้นต้องทำอย่างจริงจัง และผู้นำต้องให้ความสำคัญในการผลักดันไปพร้อมๆ กับการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท รวมทั้งพนักงานทุกคนต้องเข้าใจและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอย่างเต็มใจ สำหรับเบเยอร์เรามีปณิธานในการมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้อยู่กับเราต่อไปตราบนานเท่านาน


ที่มา หนังสือพิมพ์ประช่ชาติธุรกิจ วันที่ 21 กรกฎาคม2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02210751&day=2008-07-21&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: