วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ไขคำตอบ "ซิตี้ กรุ๊ป" !! เหตุใดปลดคน แต่ไม่ลดงบฯ CSR


หลาย คนเชื่อว่า งบฯที่ใช้ทำ ซีเอสอาร์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ แต่สำหรับซิตี้ กรุ๊ป สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้คิดเช่นนั้นเพราะในขณะที่บริษัท ประสบปัญหาขาดทุนจากวิกฤตซับไพรมจนต้องปลดพนักงานทั่วโลกไปแล้วอย่างน้อย 9 พันคนนับถึงสิ้นเดือนมีนาคมและมีแผนจะปลดอีกหลายประเทศ แต่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินงาน ของมูลนิธิซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะอย่างที่ ปีเตอร์ บี อีเลียต ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ บอก

"เพราะซีเอสอาร์เป็นวัฒธรรมองค์ กรของซิตี้ ถึงในบางประเทศจะมีการปลดคนแต่ก็ไม่ได้ลดเงินสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพราะงบฯจะขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโครงการที่เสนอไปให้กับทางมูลนิธิ ซึ่งเขาจะต้องมั่นใจจริงๆ ว่าโครงการจะประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่องจึงจะให้ทุนมา มูลนิธิจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและเป็นแผนกเฉพาะที่เป็นตัวกลางในการทำ เพื่อสังคม ทุกปีเงินที่ได้จากมูลนิธิมีแต่จะเพิ่มเพราะโครงการเดินหน้าแล้วหยุด ไม่ได้"

สำหรับประเทศไทยเงินจากมูลนิธิซิตี้หลั่งไหลเข้ามาเพื่อทำ กิจกรรมเพื่อสังคมใน 5 ด้านเช่นเดียวกับทั่วโลก ได้แก่ การช่วยเหลือด้านการเงินและผู้ประกอบการระดับรากหญ้า การช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ด้านการศึกษา การให้ความรู้ทางการเงิน และด้านสิ่งแวดล้อม โครงการล่าสุดในฐานะที่ซิตี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจึงร่วมพันธมิตรผู้ มีประสบการณ์ในด้านเอสเอ็มอีนับทศวรรษอย่างสถาบันคีนันแห่งเอเซีย จัดโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็ม อีของไทยให้เข้าอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อกลางเดือนสิงหาคมนี้ ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว

"การให้ความรู้ด้านการเงินเป็นส่วนหนึ่ง ของเป้าหมายหลักขององค์กร การที่เราทำคอร์สเอสเอ็มอีเพราะคิดว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อ ประเทศ แม้กระทั่งบริษัทไมโครซอฟท์ของบิลเกตส์ที่ใหญ่โตทุกวันนี้ก็เริ่มมาจากเอส เอ็มอี เป้าหมายของเราคือจะทำให้ผู้เข้าอบรมเป็นกูรูให้ได้ภายใน 4 วัน วันนี้ซิตี้แบงก์มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 105 แห่ง เราสามารถนำประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องเอสเอ็มอีที่มีอยู่มาถ่าย ทอดได้และในประเทศไทยเรามีพนักงานที่ดูเรื่องเอสเอ็มอีมาเป็นวิทยากร นับเป็นการควบรวมความรู้ในระดับโลกและระดับประเทศมาถ่ายทอดให้กับผู้เข้า อบรม ไม่แน่อาจจะมีคนอย่างบิลเกตส์เกิดขึ้นก็ได้" ปีเตอร์ บอก

วัตถุ ประสงค์หลักประการหนึ่งของซิตี้ที่ย้ำหนักแน่นคือผู้เข้าอบรมจะไม่มุ่งไปที่ ลูกค้า เห็นได้จากการให้สถาบันคีนันแห่ง เอเซียเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจเอสเอ็มอีโดยตรงและเป็น ผู้คัดกรองผู้เข้าอบรม โดยวิทยากรจะมีทั้งอาจารย์และผู้มีประสบการณ์จริงในธุรกิจต่างๆ มาให้ความรู้ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการเป?นวิทยากร

"ในเดือนพฤจิกายนของทุกปีจะมีวัน โกลบอลคอมมิวนิตี้เดย์ พนักงานทั่วโลกจะทำกิจกรรมเพื่อสังคมในวันนั้น เพราะสิ่งที่สำคัญในการทำซีเอสอาร์ของเราคือได้ความมีส่วนร่วมของพนักงาน ไม่ใช่ทำตาม ผู้บริหารสั่งอย่างเดียว ความสำเร็จของเราก็อยู่ที่การมีพนักงานที่มาเป็นอาสาสมัคร ดังนั้นทุกโปรเจ็กต์ของเราจะมีพนักงานเข้าร่วม แต่การที่เราไม่เป็นที่รับรู้ต่อสื่อภายนอกก็เป็นจุดอ่อนเพราะไม่คิดว่าทำ แล้วต้องบอกสังคม แต่อีกด้านเราก็อยากให้พนักงานรับทราบเพราะเขาจะเกิดความภูมิใจ จะปิดทองหลังพระตลอดคงไม่ได้ พนักงานจะไม่มีกำลังใจ"

ที่โครงการ สำเร็จได้ ปีเตอร์ บอกว่าเพราะเขามีพาร์ตเนอร์ที่ดีอย่างสถาบัน คีนันฯ การให้ความรู้มันกว้างมาก ปีนี้เห็นแล้วว่าเอสเอ็มอีสำคัญ ปีหน้าก็จะทำต่อเนื่องเพื่อเพิ่มจำนวนคนให้มากขึ้นเรื่อยๆ และผลของการประเมินที่ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นก็จะทำให้ทราบว่าเรา บกพร่องตรงไหนและมีอะไรที่เขาต้องการ จากโครงการนี้ยังจะต่อยอดขยายผลไปสู่โครงการและในเร็ววันนี้ยังจะมีอีก โครงการหนึ่งที่จะทำร่วมกันคือ women at list เพราะสำรวจพบว่าผู้หญิงที่ทำงานในสถานบันเทิง ได้เงินมาเยอะแต่ทำได้แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่เลิกทำแล้วไม่มีเงินเหลือเลยจึงอยากเข้าไปให้ความรู้เรื่องการออม เงิน การใช้เงิน ซึ่งการให้ความรู้ของซิตี้จะโฟกัสไปในกลุ่มที่มีความต้องการ โครงการให้ความรู้ด้านเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มแรกเพราะเป็นโจทย์ระดับประเทศส่วน ผู้หญิงกลุ่มนี้ก็น่าจะได้รับความช่วยเหลือ แต่ก็เป็นความท้าทายหนึ่งว่าเขาจะเข้ามาฟังหรือไม่ และเป็นอีกก้าวของการทำงาน CSR ของ "ซิตี้" ในประเทศไทย

ที่มาหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: