วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

CSR บันไดสู่ปลายทาง "องค์กรแห่งความสุข"



ถ้า ลองสแกนดูหน่วยงานที่ถูกมอบหมายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ขององค์กรธุรกิจไทยวันนี้ ส่วนหนึ่งมีฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดูแล ส่วนหนึ่งมีฝ่าย CSR ที่ถูกตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อการขับเคลื่อนเรื่องนี้ และจำนวนไม่น้อยที่องค์กรมอบหมายงาน CSR ให้ไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR)

เหตุที่ HR กำลังเข้ามามีบทบาทนำในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า "พนักงาน" ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) สำคัญกลุ่มหนึ่งที่บริษัทต้องใส่ใจและรับผิดชอบ พอๆ กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ชุมชนและสังคมในวงกว้าง

"CSR เป็นมากกว่ากิจกรรมเอื้ออาทร ที่ผ่านมาองค์กรมักจะมองความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอก โดยลืมที่จะมองผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายในโดยเฉพาะพนักงาน แต่วันนี้เราพบว่าเริ่มมีสัญญาณบางอย่างในไทยที่สะท้อนให้เห็นว่าองค์กร กำลังให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบต่อพนักงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ความสบายอกสบายใจในการอยู่ในองค์กร และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจในไทยเริ่มมีความเข้าใจ เรื่อง CSR มากขึ้น" ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี นักวิชาการด้าน CSR จากคณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้

พนักงานกับความรับผิดชอบพื้นฐาน

ใน หลายองค์กรบรรจุเรื่องความรับผิดชอบด้านสถานที่ทำงาน อยู่ในกลยุทธ์ของความรับผิดชอบ เช่น บริษัทกลุ�มธุรกิจ โคคา-โคลาในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานตั้งแต่เรื่องพื้นฐานตามกฎหมาย ไปจนกระทั่งระดับขั้นที่สูงกว่า เช่น การส่งเสริมการพัฒนาตัวเองของพนักงาน ฯลฯ และนั่นเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบที่องค์กรมีต่อพนักงาน ซึ่งเป็นมุมมองแรกที่ CSR เข้ามาเกี่ยวข้องกับพนักงาน

ถ้าจะตีความ จากมาตรฐาน ISO 26000 ที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ โฟกัสให้เห็นประเด็นนี้ว่า ใน ISO 26000 จะเห็นชัดเจนว่าการปฏิบัติต่อแรงงาน (labour practice) ถือเป็นหนึ่งในหมวดที่มาตรฐานนี้ให้ความสำคัญ และเป็นมุมมองที่ละเอียดอ่อนมาก โดยมองว่าองค์กรจำเป็นต้องรับผิดชอบตั้งแต่เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ความเท่าเทียม การไม่กีดกันด้วยสีผิว ความพิการ ไปจนกระทั่งการสนับสนุนไม่ให้มีการปิดกั้นการรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อพูดคุย กับนายจ้าง ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้คนเล็กคนน้อยในองค์กรจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น

ขณะที่ในอีกมุมหนึ่ง CSR กลายเป็นตัวช่วยในการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานและนำไปสู่การสร้าง องค์กรแห่งความสุขเมื่อพวกเขาได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท บทพิสูจน์ของ "ธนาคารไทยพาณิชย์" ที่เพิ่งได้รับการยกย่องจาก The Gallop บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยชั้นนำของโลก ให้เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจธนาคารของโลกที่เป็นสถานที่ทำงานยอดเยี่ยม "The Gallop Great Workplace Award 2008" นั้น ชัดเจนว่า CSR ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างความสุขให้กับพนักงานในองค์กรนอกเหนือจากงาน ที่ทำ

CSR ตัวช่วยสู่ "องค์กรแห่งความสุข"

"องค์อร อาภากร ณ อยุธยา" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริหารงานสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า "เมื่อก่อน CSR เป็นเรื่องของคนกลุ่มเดียว แต่ในช่วง 2 ปีมานี้การพยายามใส่เรื่องเหล่านี้ไปให้พนักงาน โดยเปิดโอกาสให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เราทำ เป็นการสร้างความสุขนอกเหนือจากการทำงานซึ่งเป็นการเสริมในฝั่งบุ๋น ในขณะที่ฝั่งบู๊เราก็ทำควบคู่ไปด้วยกันในเรื่องพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ สถานที่ทำงาน วิธีการทำงาน การเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน การให้รางวัล และผลตอบแทน อย่างน้อยเรื่องพวกนี้ก็ต้องให้อยู่ในมาตรฐานของตลาด เพราะเราเชื่อว่าคนเราจะมีความสุขได้ ต้องอยู่ได้ด้วยความไม่เดือดร้อนก่อน อย่างน้อยรางวัลที่เราได้ก็สะท้อนว่าสิ่งที่เราทำตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมานั้นเดินมาถูกทาง"

ความพึงพอใจของพนักงานจากการวัดของ Gallop พบว่าคะแนนความพึงพอใจที่พนักงานมีต่อองค์กรนั้นสูงถึง 4.54 และมีพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตอบแบบสำรวจกว่า 90% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานโลกที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 ความท้าทายนับจากนี้คือการรักษามาตรฐาน "องค์กรแห่งความสุข" และรักษาความพึงพอใจของพนักงานที่มีในปัจจุบันให้คงอยู่ ไม่เพียงที่กิจกรรม CSR ซึ่งจะเริ่มดำเนินการอย่าง "ชวนกันทำดี" ซึ่งเป็นเมนูการทำดีที่ให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมและได้ทำกิจกรรมร่วม กันมากขึ้น ผ่านการสร้างโครงการ 4 แขนง อาทิ จิตอาสาเพื่อหาอาสาสมัครในการไปสอนหนังสือเด็ก กิจกรรมด้านธรรมชาติ การสร้างฝายซึ่งเข้าไปร่วมกับเครือซิเมนต์ไทย ปลูกป่า การบริจาคโลหิต เป็นต้น ที่ธนาคารกำลังจะทำ

SCB Space เครือข่ายสังคมออนไลน์/

ก่อนหน้านี้ไม่นานนักธนาคารเปิดตัว SCB Space ซึ่งการสร้างเครือข่ายทางสังคมบนออนไลน์ให้กับพนักงานของธนาคาร

" การมีชุมชนตรงนี้ทำให้แต่ละคนได้มีโอกาสเรียนรู้แง่มุมและอีกด้านหนึ่งที่ เราอาจจะไม่เคยเห็นของหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน เพื่อนที่อยู่ต่างแผนก บางทีก็มีการโพสต์งานอดิเรก ที่แต่ละคนทำ ซึ่งได้ผลมาก อย่างน้อยก็มีบทสนทนาระหว่างกันมากขึ้นเมื่อเจอหน้ากัน หรือบางคนเราอาจไม่เคยมองเห็นมุมอื่นๆ ของเขามาก่อน ก็ทำให้บรรยากาศในที่ทำงานดียิ่งขึ้นและได้รับการตอบรับที่ดี"

องค์ อรยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย SCB Space "เมื่อเร็วๆ นี้เราได้รับโทรศัพท์ว่าต้องการหาอาสาสมัครไปร่วมระดมทุนรับเงินบริจาค เวลาค่อนข้างจำกัดและไม่คิดว่าจะหาได้ พอเราโพสต์ไปในสเปซไม่นานมีอาสาสมัครเข้ามาทันที 80 คน เราหวังว่าบรรยากาศแบบนี้จะเกิดมากขึ้นอีกในองค์กร"

บรรยากาศที่จะ ยิ่งสร้างความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งในท้ายที่สุดจะย้อนกลับไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้นใน ที่สุด และนี่เป็นผลของความรับผิดชอบที่สุดท้ายผลจะย้อนกลับมาสู่องค์กร

" ในหลายองค์กร CSR ได้พัฒนาจนสร้างจุดแข็งและส่งผลต่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการบริ การ" ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์กล่าวโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา "เจ็ท บูล" โลว์คอสต์แอร์ไลน์ในสหรัฐอเมริกาว่า "องค์กรนี้ให้ความสำคัญกับพนักงานมากถึงขนาดว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลที่บริษัทจัดให้มี 98% พอใจ เหลือเพียง 2% ที่ไม่พึงพอใจ แต่บริษัทก็ไม่ได้ละเลยและขยายจำนวนโรงพยาบาลเพื่อให้พนักงานนั้นพึงพอใจกับ สวัสดิการที่บริษัทจัดให้ทั้ง 100% นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่กลายเป็นจุดแข็งของบริษัทซึ่งส่งผลต่อการบริการที่ดีขึ้น และสามารถสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดกับผู้บริโภค"

เหล่านี้จึงเป็นบทเรียนที่พิสูจน์ว่า CSR เป็นตัวช่วยองค์กรไปสู่บันไดอีกขั้นในการสร้าง "องค์กรแห่งความสุข"


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01140751&day=2008-07-14&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: