วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เหตุและความจำเป็นของ "บัญชีสิ่งแวดล้อม"



ด้วย ความที่มีพื้นฐานของนักวิชาการด้านบัญชี บวกกับความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ รศ.วัชนีพร เศรษฐสักโก อาจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตามเรื่อง "บัญชีสิ่งแวดล้อม" มายาวนาน

ไม่ เพียงตีพิมพ์บทความเรื่องการบริหารธุรกิจเพื่อความยั่งยืนกับการบัญชีเพื่อ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในหนังสือกระบวนทัศน์วิชาชีพบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจ ต้นปีที่ผ่านมา บทความ เรื่อง Determinants corporate sustainability : Thai frozen seafood processors ของ รศ.วัชนีพร ซึ่งทำการศึกษาด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งซึ่งเป็น อุตสาหกรรมหลักของไทยยังได้รับการ ตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการ British food journal อีกด้วย

มุมมองของ รศ.วัชนีพร จึงน่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อ พูดคุยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในยุคสมัยที่แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) กำลังกลายเป็นกระแสในสังคมไทย

- มองกระแส CSR ไทยในอย่างไร

บาง คนเวลาดูเรื่อง CSR ก็จะนึกถึงแต่ผลกระทบทางด้านสังคม การบริจาค ให้ทุนการศึกษา เพื่อให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่ถ้ามีการปรับกันตั้งแต่ภายในกระบวนการผลิต ทำด้วยความจริงใจบางทีค่าใช้จ่ายที่มาทำกิจกรรมภายนอกก็อาจไม่ต้องจ่ายก็ได้ แต่ทำให้ชุมชนรู้สึกดี โดยที่เราปฏิบัติที่ดีอย่างแท้จริงกับชุมชนนั้นๆ หลายครั้งก็มองผ่านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายคนมองเป็นต้นทุน ทั้งๆ ที่การทำเรื่อง CG และ CSR ให้ชัดเจนต้องมองทั้ง 3 ส่วนประกอบคือ คุณค่าที่ได้ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบ้านเรายังขาดตรงนี้มาก ซึ่งบัญชีสิ่งแวดด้อมจะเข้ามาช่วยตรงนี้

- บัญชีสิ่งแวดล้อมจะเข้ามาช่วยเรื่องความรับผิดชอบขององค์กรอย่างไร

บัญชี สิ่งแวดล้อมจะเป็นข้อมูลที่สามารถนำเสนอให้ผู้บริหารเห็นว่า มีประโยชน์และจะได้คุณค่ากลับมาเท่าไหร่ ลดต้นทุนเท่าไหร่ พอเขาเห็นผลประโยชน์ที่กลับมา ความรับผิดชอบจริงก็จะเกิดขึ้น การที่จะทำให้เห็นภาพใหญ่แบบนั้นได้เพราะในแนวคิดของบัญชีสิ่งแวดล้อม มีการบวกรวมเรื่อง ต้นทุนของสังคมและชุมชนเข้าไปด้วย เช่น การปล่อยฝุ่นแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดโรคทางเดินหายใจ ตรงนี้ก็ต้องคิดเป็นต้นทุนของบริษัท ส่วนใหญ่บริษัทมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องผลักภาระให้รัฐ มีการเพิ่มต้นทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้าไป เช่นต้นทุนการกำจัดน้ำเสีย ซึ่งบัญชีแบบเดิมนี่จะใส่ลงไปในการดำเนินการ ฉะนั้นก็จะไม่สามารถเห็นภาพว่าเกิดขึ้นเท่าไหร่ ทีนี่เวลาจะลดต้นทุนในส่วนนี้ก็ลดไม่ได้ แต่ถ้าใช้บัญชีสิ่งแวดล้อมพอเห็นตัวเลขจากรายงานผู้บริหารก็จะเห็นชัดว่าจะ ทำอะไร อย่างไร ที่ผ่านมาถ้าไม่ใช่ในบัญชีสิ่งแวดด้อมอาจจะจับต้องไม่ได้ แต่ทีนี้พอเห็นตัวเลขชัดๆ ก็จะเห็นเลยว่าต้นทุนลดลงเท่าไหร่กับการที่เราจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวด ล้อมต่างๆ ซึ่งก็ส่งผลดีกับบริษัท ชุมชนด้วย ไปจนถึงซัพพลายเออร์ ว่าจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ จับเป็นจุดไม่ได้มองภาพกว้างต้นทางถึงปลายทาง และบัญชีสิ่งแวดล้อมนี่จะทำให้เขาเห็นภาพชัดขึ้น หลายบริษัทก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

- ถึงวันนี้มีความจำเป็นแค่ไหนที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้

ต้อง ไม่ลืมว่า การที่บริษัทจะอยู่รอดได้ คนอื่นก็ต้องอยู่รอดด้วย ถ้าประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คือ เราอยู่รอด ชุมชนอยู่รอด ประเทศชาติก็อยู่รอดไปด้วย เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมมันจะมีผลกระทบตั้งแต่จุดเล็กไปจนถึงจุดใหญ่ อย่างการทำวิจัยเรื่องอาหารแช่แข็ง จะเห็นว่าในอดีตเราทำฟาร์มกุ้งมาก และทำให้สิ่งแวดล้อมรอบๆ บ่อกุ้งเสียไป แม้จะหยุดเลี้ยงกุ้งก็ใช้เวลานานกว่าจะปรับพื้นที่ตรงนั้นให้ใช้ได้ ป่าโกงกางที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงก็เสียหาย ตอนหลังก็เป็นภาระที่ประเทศชาติจะต้องเข้ามาจ่ายเงินทำให้ดีขึ้น นี่เลยถามว่าเขารู้เรื่องนี้ตั้งแต่ต้นนั้น บางทีเขามองแต่จุดเดียวคือทำขายแล้วก็จบ แต่ถ้าความรับผิดชอบจริงๆ ต้องมองไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ดังนั้นถ้าเรามีบัญชีสิ่งแวดล้อมเข้าไปจากเดิมที่เราเคยดูด้านการลงทุน ดูว่าคุ้มทุนมั้ย คราวนี้เราก็จะกลับไปดูต้นทุนของสังคมและชุมชนในอนาคตด้วย มองนอกจากแค่มุมของการค้าขาย นี่เป็นบทบาทใหม่ของนักบัญชี นักบัญชีจะเข้ามาช่วยในส่วนนี้คือจะโชว์ภาพให้เห็นว่า จากกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (green activity) ต่างๆ ที่บริษัททำลดต้นทุนไปได้เท่าไหร่ การลงทุนในอนาคตจะเกิดผลกระทบอย่างไร ซึ่งถ้าเอาแนวคิดนี้ไปใช้จริงในอนาคตก็จะสามารถลดต้นทนุของสังคมและชุมชนได้ ด้วย ซึ่งการที่จะคำนวณผลกระทบทางสังคมต่างๆ ออกมาได้ ไม่ใช่เพียงฝ่าย สิ่งแวดล้อม ฝ่าย CSR แต่ต้องมีการทำงานข้ามสายงานกับนักบัญชีด้วย คือต้องทำงานเป็นทีม ซึ่งบ้านเรายังขาดการทำงาน เป็นทีม


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05220951&day=2008-09-22&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: