วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

"ฟอร์ด" อนุรักษ์เต่า One Team One Plan One Goal



จะ ว่าไปถึงวันนี้งานอาสาสมัครพนักงานไม่ใช่เรื่องใหม่ อีกต่อไป หลายองค์กรหยิบเอากิจกรรม "อาสาสมัครพนักงาน" มาเป็นหนึ่งในการเติมพลังในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น

เช่น เดียวกับ "ฟอร์ด" ค่ายรถยนต์อันดับ 2 ของโลก ที่เมื่อวันที่ 11-12 กันยายนที่ผ่านมา "อดิศักดิ์ หวังพงษ์สวัสดิ์" รองประธานฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจผู้จำหน่าย ฟอร์ด ประเทศไทย นำทีมอาสาสมัคร พนักงานและผู้จัดจำหน่ายของฟอร์ด กว่า 40 ชีวิตลงพื้นที่ สร้างแคมป์เฮาส์ส่งเสริมการศึกษาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งเกาะมันใน จ.ระยอง ภายใต้โครงการ "เกาะมันในสู่การเป็นเกาะแห่งการเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ตะวันออกแห่งแรกของไทย" ที่ฟอร์ดสนับสนุน

"การที่เราเลือกสนับสนุน โครงการนี้เพราะเห็นว่าปัจจุบันเต่าทะเลกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจาก ธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า" อดิศักดิ์ หวังพงษ์สวัสดิ์ เล่าถึงที่มาที่ไปว่าเพราะเหตุใด ฟอร์ดถึงเลือกให้การสนับสนุนเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมาได้สนับสนุนโครงการอนุบาลและเผยแพร่พันธุ์เต่าทะเล ในการสนับสนุนศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตะวันออก ในการสร้างบ่ออนุบาลและช่วยชีวิตเต่าและพะยูน และปล่อยเต่าทะเลกลับคืนสู่ธรรมชาติ รวมไปถึงการนำอาสาสมัครลงพื้นที่ในการสร้างแคมป์เฮาส์เพื่อเป็นที่พักสำหรับ เยาวชนและนักศึกษาที่จะสามารถเข้ามาเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชายทะเล ภาคตะวันออก แบบครบวงจรแห่งแรก เพื่อปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนกับเยาวชน

กิจกรรมอาสา สมัครพนักงานครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการลงทุนและลงแรงของพนักงานฟอร์ดในไทยเท่านั้น ในเวลาเดียวกันพนักงานของฟอร์ดทั่วโลก ได้ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมพร้อมกันในโครงการที่ชื่อว่า สัปดาห์ฟอร์ดห่วงใยโลก (Ford Global Week of Caring) ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่พนักงานฟอร์ดทั่วโลกจะร่วมกันทำกิจกรรมอาสา สมัครเพื่อสังคม ในเดือนกันยายนของทุกปี

จบสัปดาห์ฟอร์ดห่วงใยโลก ระหว่าง วันที่ 6-14 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา คาดว่าในปีนี้พนักงานฟอร์ดกว่า 8,000 คนทั่วโลกได้ใช้เวลารวมกว่า 24,000 ชั่วโมงในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในชุมชนกว่า 175 โครงการ

ดวงพร อิศรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ฟอร์ดเซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เรื่องนี้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของเราไปแล้ว หลังจากเริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิ ที่พนักงานของฟอร์ดมาร่วมช่วยกันสร้างบ้าน 100 หลัง ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นโครงการประจำปี เราคิดว่าการพัฒนาชุมชนวันนี้อยู่ใน สายเลือดของฟอร์ดและเราไม่ได้เห่อตามกระแส แต่เป็นการสร้างจิตสำนึกและ ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม"

"เราเชื่อว่าการสร้างจิตสำนึกเรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ เราเชื่อว่างานอาสาสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรได้ เพราะถ้าคุณมีจิตใจที่แบ่งปัน เวลาทำงานก็จะส่งผลให้การทำงานดีขึ้น"

เพราะ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยสร้าง one team ในการสร้างน้ำหนึ่งใจเดียวกันของการทำงานในองค์กรของทุกแผนกทั่วโลก ภายใต้ one plan การกำหนดทิศทางในเชิงรุก และนำไปสู่ one goal ที่จะบรรลุเป้าหมายหนึ่งเดียวในการดำเนินธุรกิจ ในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม

ที่ ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดในโลกก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้จะไม่ค่อยได้สื่อสารกับภายนอกมากนักถึงสิ่งที่ตัวเองทำ แต่ภายใต้ one team one plan one goal ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางในกระบวนการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ฟอร์ดจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายในองค์กร

"ทุกเช้าวันศุกร์ จะมีการประชุมร่วมกันแต่ละแผนกว่าเราทำอะไรกันมา รวมถึงมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร เราเชื่อว่างานจะสำเร็จได้ต้องทำจากภายในออกสู่ภายนอก" ดวงพรกล่าวในที่สุด

เป็น การสร้างการรับรู้และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้แข็งแกร่งจากภายใน ก่อนที่ไปสู่ปลายทางให้คนภายนอกรับรู้ว่า ฟอร์ดคือเพื่อนบ้านที่แสนดีในชุมชน อย่างเป้าหมายที่วางไว้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 29 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05290951&day=2008-09-29&sectionid=0221


ไม่มีความคิดเห็น: