วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ชมรมพลังงานเพื่อสังคม

ชมรมพลังงานเพื่อสังคม กับมุมสะท้อนงาน CSR แบบยั่งยืน

โดย ชมรมพลังงานเพื่อสังคม


ความ มุ่งหมายสำคัญของงาน CSR คือ ต้องการให้องค์กรธุรกิจซึ่งเดิมมีเป้าหมายหลักในเรื่องของการแสวงหากำไรสูง สุด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบและดูแลสังคมเพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการบริการสังคมและ ประชาชนเพียงฝ่ายเดียว เพราะความรับผิดชอบ ต่อสังคมถือเป็นหน้าที่ของคนทุกคนในสังคม อย่างไรก็ตามการดำเนินงานด้าน ซีเอสอาร์ของหลายองค์กรกลับไม่ตอบโจทย์ความมุ่งหมายที่แท้จริงดังกล่าว เพราะกลับใช้งาน CSR เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และสร้างแผนส่งเสริมการตลาดของตัวเอง

การ ชูแนวคิด "จิตอาสา พัฒนาสังคม" สู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของ "ชมรมพลังงานเพื่อสังคม" ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีวิชาชีพหลากหลาย แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็น สิ่งที่ต้องการสะท้อนภาพการทำงานด้าน CSR ที่ใช้ต้นทุนการบริหารจัดการที่น้อยแต่มองประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นหลัก

ธิวา สุดใจ ประธานชมรมพลังงานเพื่อสังคมกล่าวว่า ชมรมพลังงานเพื่อสังคม เพิ่งก่อตั้งมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 แต่กลุ่มคนที่เข้ามาร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิก ส่วนใหญ่เข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมในรูปแบบต่างๆ มาก่อนหน้านี้นานแล้ว ซึ่งวัตถุประสงค์ของการตั้งชมรมต้องการที่จะใช้ให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสาขาวิชาชีพใด คุณก็สามารถที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้ หากคุณมีใจที่เสียสละและมีความพร้อมที่จะทำ

"ความรับผิดชอบต่อ สังคมของเราเริ่มต้นด้วยจิตอาสา เพราะนอกจากเราจะได้สมาชิกที่มีใจเสียสละมาทำงานเพื่อส่วนรวมร่วมกันแล้ว ในแง่ของการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ก็มีค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก เพราะทุกคนที่มาร่วมไม่จุกจิก เรื่องมาก ที่สำคัญทำให้เรามีเงินเหลือพอที่จะไปสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มสังคมเป้า หมายได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น และขยายวงพัฒนา เครือข่ายออกไปได้กว้างขึ้น"

ธิวาบอกว่า งานของชมรมพลังงานเพื่อสังคมได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กร ธุรกิจที่มีความเข้าใจงานด้าน ซีเอสอาร์แบบที่ชมรมกำลังดำเนินการเป็นอย่างดี เช่น กลุ่ม ปตท., SCG, เอ็กโก กรุ๊ป, ราชบุรีโฮลดิ้งฯ, เชฟรอนฯ, บางจากปิโตรเลียม, กฟผ., กัลฟ์ เจพี, ไทยออยล์ ซึ่งก็ช่วยให้กิจกรรมของชมรมเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น

ถึง แม้การเปลี่ยน "แนวคิดจิตอาสา พัฒนาสังคม สู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า" ให้เป็นกิจกรรมที่เห็นรูปธรรมชัดเจนและจับต้องได้เหมือนห้องสมุด หรืออาคารเรียน จะเป็นเรื่องยาก แต่ความทุ่มเทและความตั้งใจของสมาชิกที่พร้อมที่จะทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม และเสียงตอบรับของกลุ่มเป้าหมาย ก็พอที่จะสะท้อนให้เห็นได้ว่าการเดินหน้างาน CSR โดยใช้จิตอาสาและกระบวนการพัฒนาสังคมเป็นฐานในการขับเคลื่อน น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้องและสามารถที่จะสร้างคุณค่าและความยั่งยืนให้กับ สังคม



ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05020252&day=2009-02-02&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: