วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความแตกต่างของ CSR

ความแตกต่างของ CSR ในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

หาก เยาวชนสามารถเปรียบได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งอนาคตของแต่ละประเทศ วิธีคิดและความสนใจในประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (corporate social responsibility : CSR) ของเยาวชนก็น่าจะเป็นตัวแทนของวิธีคิดของคนในแต่ละประเทศที่มีต่อเรื่องนี้

ใน โครงการวิจัยที่ชื่อ "A Comparison Between Developed and Developing Countries Implementation CSR : Case study of SIFE projects" ที่จัดทำโดย "ดร.พัลลภา ปิติสันต์" นักวิชาการจากวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบมุมมองของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ SIFE ซึ่งเปิดโอกาสให้ นักศึกษาจาก 41 ประเทศเข้าร่วมคิดโครงการเพื่อสังคม โดยจะมีการแข่งขันในระดับประเทศก่อนแล้วจึงได้งบประมาณลงไปทำจริงก่อนมีการ ตัดสินในรอบระดับโลก ซึ่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีการตัดสินไปแล้วที่ประเทศสิงคโปร์

ดร.พัลลภาบอกว่า "ในโครงการนี้จะตัดผลประโยชน์ที่ได้จากธุรกิจ ในการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการมองความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่ไม่มีผล ประโยชน์ขององค์กรมากำกับ เราจึงสนใจว่าเด็กในประเทศที่พัฒนาแล้วและเด็กที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถือเป็นแบบจำลองของผู้ใหญ่ในสังคมจะมีมุมมองต่อประเด็นทางสังคมที่แตก ต่างหรือไม่" อาทิ โครงการสร้างอาชีพในการทำดอกไม้จันทน์ของผู้ติดเอดส์ของตัวแทนจากประเทศไทย โครงการอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งร่วมกับยักษ์ใหญ่อย่างวอล-มาร์ตได้รับ รางวัลชนะเลิศ ฯลฯ



โดย พื้นฐานจากงานวิจัยครั้งนี้พบว่าจุดร่วมประการหนึ่งคือ ความอยากช่วยเหลือสังคมเหมือนกัน เพียงแต่กระบวนการที่ทำและความสนใจในประเด็นสังคมนั้นแตกต่างกัน

รวม ถึงวิธีคิดที่มีต่อประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ประเด็นทางจริยธรรมที่เด็กในประเทศกำลังพัฒนานั้นสนใจเรื่องนี้มากกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว (ดูแผนภูมิประกอบ)

"เรายังพบว่าเด็กฝรั่งส่วน ใหญ่จะเป็นโครงการที่ลงไปช่วยเหลือประเทศอื่นมากกว่าในบ้านตัวเอง ขณะที่เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจะเน�นไปที่การช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม"

ซึ่ง หากมองเผินๆ แล้วก็ไม่ค่อยแตกต่างอะไรกับองค์กรธุรกิจระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและ ประเทศที่พัฒนาแล้วที่ให้น้ำหนักกับประเด็นทางสังคมและโครงการในรูปแบบที่ ใกล้เคียงกัน

เมื่อมองถึงประเด็นของกระบวนการทำงาน "เราจะเห็นได้ชัดเลยว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีเงิน รวมไปถึงปัญหาของการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเช่น ที่อินเดียซึ่งได้รับรางวัลที่ 3 ของปีที่ผ่านมา เขาลงไปช่วยสร้างอาชีพให้ชาวประมง แต่ปัญหาที่เจอชาวประมงก็จะรู้สึกว่าทำไมต้องทำ เป็น ชาวประมงก็ดีอยู่แล้ว เป็นปัญหาเรื่องทัศนคติของคนที่จะเข้าไปช่วย"

"ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นไม่มีปัญหาเรื่อง งบประมาณเพราะเขามี บริษัทใหญ่ที่ทำเรื่องนี้มากและให้การสนับสนุน"

อย่าง ไรก็ตาม หากมองในประเทศด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือความยั่งยืนของโครงการ จะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความโดดเด่น แต่กลับเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสำคัญน้อยที่สุด

สำหรับ ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นเหมือนการส่งสัญญาณให้กับธุรกิจอย่างที่ ดร.พัลลภาบอกว่า "เราจะเห็นได้ว่าสิ่งนี้มันเป็นการสะท้อนว่าหากธุรกิจจะทำ CSR ว่าแต่ละประเทศมีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างกัน มีการยอมรับจากสังคมที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นจะทำอย่างไรจึงจะเข้ากับบริบทของสังคม และสามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับสังคมได้มากที่สุด และเชื่อว่าไม่มีอะไรผิดอะไรถูกเพียงแต่ขึ้นอยู่กับวิธีคิดและความพร้อมของ แต่ละองค์กร"

แต่อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่เด็กๆ ทำก็เป็นภาพสะท้อนว่า CSR นั้นยังมีความคิดใหม่ๆ เสมอมากกว่าการทำในสิ่งเดิมๆ ที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไปแล้วสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมอย่างไร !!!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04020252&day=2009-02-02&sectionid=0221

ไม่มีความคิดเห็น: