วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

CSR Day @ เกียรตินาคิน

" จะเห็นว่ามีธุรกิจที่ทำซีเอสอาร์สู่ภายนอกจน ได้รับรางวัลมากมาย แต่กลับพบว่าพนักงานไม่ได้มีความรู้สึกภาคภูมิใจกับรางวัลนั้นเลย ไม่ใช่เพราะว่า พนักงานขาดความรู้เรื่องซีเอสอาร์ แต่เป็นเพราะขาดพื้นที่ที่พนักงานจะเข้ามามีส่วนร่วม" ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์กล่าว

กิจกรรมวันซีเอสอาร์ หรือ CSR Day ในสถานประกอบการจึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องของความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และสร้างให้เกิดช่องทางของการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ธนาคารเกียรตินา คิน จำกัด (มหาชน) เป็นสถานประกอบการแรกที่คิกออฟกิจกรรม CSR DAY ตลอดเวลา 3 ชั่วโมงของบ่ายวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 ที่ชั้น 20 อาคารเค ทาวเวอร์ พนักงานของธนาคารเกียรตินาคินทั้งสาขาในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดกว่า 25 คนจากหลายส่วนงานร่วมฟังความรู้จากวิทยากรอย่างตั้งใจเพื่อใช้เป็นฐานความ รู้ในช่วงที่ให้รวมกลุ่มเพื่อเสนอประเด็นซีเอสอาร์ขององค์กร

เมื่อ รวมกลุ่มกันความคิดในการเสนอประเด็นของแต่ละคนก็พรั่งพรูเป็นโครงการปลูก ต้นไม้ 1 คน 1 ต้น ที่เป็นวิธีดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายๆ ที่ให้พนักงานทุกคนร่วมดูแลต้นไม้คนละ 1 ต้น หรือโครงการให้สิทธิพิเศษสำหรับพนักงานในการทำประกันภัยรถยนต์ที่นำไปใช้ใน งานของบริษัท โครงการส่งต่อความรู้ที่นำผู้มีความสามารถในด้านต่างๆ ของบริษัทเข้ามาอบรมกันเองเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณของบริษัท หรือจะเป็นโครงการที่นำหมอดูชื่อดังมาให้ความรู้กับลูกค้าที่ทำธุรกิจ ฯลฯ หลังจากออกมานำเสนอโครงการให้ทุกคนทราบโดยมีผู้วิจารณ์โครงการของแต่ละกลุ่ม แล้ว โครงการปลูกต้นไม้ 1 คน 1 ต้นได้รับการโหวตสูงสุดในประเด็นที่เร่งด่วนที่ควรทำมากที่สุด

หลัง จากจบการอบรม ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า "เริ่มโครงการครั้งแรกวันนี้ก็เห็นถึงความตื่นตัวของผู้เข้าร่วมอบรมที่แข่ง กันเสนอประเด็นซีเอสอาร์อย่างชัดเจนและมีความเป็นไปได้ และสะท้อนความเป็นธนาคารเกียรตินาคินได้อย่างดีว่า การทำงานที่นี่ไม่ได้มองที่ตัวเงินหรือสิ่งที่จะได้รับอย่างเดียว แต่มองไปถึงกิจกรรมเชิงผลกระทบที่ดีในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สังคม สิ่งแวดล้อม เมื่อพนักงานและองค์กรมีเป้าหมายร่วมกัน การจะผลักดันเรื่องใดๆ ต่อไปจากนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งหลังจากนี้เราจะมีการส่งผลสรุปให้อีกครั้งหนึ่ง"

"ฐิตินันท์ วัธนเวคิน" ประธานสายธุรกิจเงินฝากและการตลาด ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับการสร้างค่านิยมให้พนักงานร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าการดำเนินกิจกรรม CSR จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับการขับเคลื่อนอย่างจริงจังจากจิตสำนึก ของ พนักงานทุกคน การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นการปรับมุมมองใหม่ที่จะปลูกฝังให้ทุกคนมีส่วนร่วม รับผิดชอบต่อสังคมได้ทุกๆ วัน ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ของคนด้วยความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ต่อลูกค้า ต่อองค์กร รวมถึงชุมชนและสังคม

แม้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมซีเอส อาร์เดย์ครั้งนี้จะเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ ที่เทียบกับจำนวนพนักงานกว่า 2,000 คน ของธนาคารเกียรตินาคิน แต่หลังจากกลับไปทำงานทั้ง 25 คนนี้ก็จะกลายเป็นตัวแทนของธนาคารที่เรียกว่าผู้แทนด้านกิจกรรม CSR หรือ "KK CSR Agents" เข้าไปจุดประกายการทำซีเอสอาร์ที่เริ่มได้ง่ายๆ จากตนเองให้กับเพื่อนในองค์กร และเป็นผู้นำที่จะขับเคลื่อนงานซีเอสอาร์ให้กับองค์กรในอนาคต เพราะ CSR ในองค์กรจะสำเร็จได้ ต้องเกิดจากทุกคนในองค์กรที่ต้องมีสำนึกของความรับผิดชอบในทุกวัน

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


CSR Club รวมพลองค์กร ทำดี

CSR Club รวมพลองค์กร ทำดี สร้างเครือข่าย-ยกระดับความรับผิดชอบ บจ.

" ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีความตื่นตัวกับแนวคิดเรื่องความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมาก เพียงแต่ยังอาจไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น และยังมีช่องว่างที่ห่างกันมากระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก" เพ็ญศรี สุธีรศาสนต์ ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) กล่าวถึงเหตุผลและทำให้เป็นที่มาของความพยายามในการก่อตั้ง "TLCA CSR Club" ที่มีสมาคมบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ประสานงานและได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน ธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยคาดหวัง ว่า "TLCA CSR Club" จะกลายเป็นศูนย์รวมของผู้ที่ทำงานขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ของบริษัทจดทะเบียน และกลายเป็นชุมทางความคิดและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรระหว่างกัน โดยมีปลายทางไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบริษัทจด ทะเบียนในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมที่นำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

โดยต้องการส่งเสริมให้ความรับผิดชอบเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร

ด้วย ความเชื่อที่ว่าไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่า "ผู้ปฏิบัติงาน" ในองค์กร การก่อตั้ง "TLCA CSR Club" จึงเน้นไปที่ "นักปฏิบัติ" ขององค์กรผู้นำด้าน CSR

โดยการประชุมนัดแรกในการก่อตั้ง "TLCA CSR Club เมื่อสัปดาห์ก่อนจึงระดมพลคนทำงาน CSR จาก 13 องค์กร ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.ซีเอ็ด ยูเคชั่น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.บ้านปู ปูนซิเมนต์ไทย ปูนซีเมนต์นครหลวง บมจ.การไฟฟ้าฯ บมจ.แพรนด้า จิวเวลรี่ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เพื่อร่วมหารือแนวทางในการเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป

"บทเรียนจากการขับ เคลื่อนเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาของสมาคม เช่น การบริหารจัดการความเสี่ยง ฯลฯ เราพบว่าวิธีการที่ดีที่สุดคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทำงานในด้าน นั้นจริงๆ ที่ทำงานประสบความสำเร็จมาแล้ว เราไม่ต้องพูดถึงภาพใหญ่มาก แต่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และจับต้องได้ โดยมีองค์กรที่มีประสบการณ์และทำแล้วเห็นผลมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์"

ใน การประชุมนัดแรกที่ผ่านมา นอกจากจะพูดคุยกันเรื่องหลักการในการก่อตั้งแล้ว ยังมีหลายโครงการที่พร้อมจะเดินหน้าได้ในทันที อาทิ CSR Sharing ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนที่สนใจ ไปเยี่ยมการทำงานในองค์กรและลงพื้นที่จริง เพราะไม่เพียงจะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานภาคปฏิบัติ ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ทำงานอีกด้วย โดยมีการนัดประชุมกันทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน และในครั้งหน้าจะมีการเลือกตั้งประธานและตำแหน่งต่างๆ เพื่อเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป

"คลับนี้จะเปิดกว้างให้กับบริษัทจด ทะเบียนที่สนใจเข้ามาเป็นสมาชิก เราไม่ได้คาดหวังว่าจะมีสมาชิกมากๆ แต่เราต้องการเริ่มจากคนที่ชื่อคล้ายๆ กันกลุ่มเล็กๆ โดยในปีแรกอาจจะมี 20-30 องค์กร แต่สิ่งสำคัญที่เราอยากให้เกิดคือการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ซึ่งสมาคมเป็นเพียงผู้ประสานงาน ส่วนแนวคิดในการทำงานขึ้นอยู่กับบริษัทที่เป็นสมาชิกมองว่าจะเดินหน้าต่อไป อย่างไร" เพ็ญศรีกล่าว

และยอมรับว่า แม้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในวันนี้ยังมีความแตกต่างทางความ คิด แต่เป็นความแตกต่างที่ไม่ได้แตกแยก เพราะในท้ายที่สุดหากตั้งอยู่บนความเชื่อแบบเดียวกันว่าการรับผิดชอบต่อผู้ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็เป็นพื้นฐานสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

CSR ก็เป็นเพียงการทบทวนบางสิ่งบางอย่างที่ผู้บริหารและองค์กรธุรกิจอาจจะหลงลืม !!

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (จบ)

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

บริษัท ที่ทำ CSR สามารถเข้าร่วมในการแก้โดยใช้ CSR เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดผลดีแก่ภาพลักษณ์บริษัท พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และสังคมโดยรวม

แน่นอนผู้ที่ทำ CSR จะต้องใช้ทักษะในการมองวิกฤตด้วยความเข้าใจ และมองหาช่องทางที่จะแปลงมาเป็นโอกาส ซึ่งการกระทำนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่ทำงาน CSR และฝ่ายบริหารของบริษัทที่จะจัดวิเคราะห์วางแผนตรงนี้

ผู้ที่ รู้จักหมวก 6 ใบในการคิดของ Edward De Bono สามารถไล่ประเภทความคิดแต่ละแบบทั้งใบ เพื่อให้ได้แนวทางในการเชื่อมโยง CSR และการตอบโต้วิกฤต ไม่ว่าจะหมวกสีขาวที่ใช้ในการพิจารณาข้อมูลด้วยความเป็นกลาง หมวกสีแดงของไหวพริบ และการมองแง่มุมของสถานการณ์ หมวกสีดำที่ตั้งข้อสงสัย ไว้ก่อนในแง่มุมที่อาจจะมีความเสี่ยง หมวกสีเหลืองที่มองโลกในแง่ดี และมี ความหวังในแนวทางที่จะมีการคลี่คลาย หมวกสีเขียวแห่งความคิดริเริ่ม หรือหมวก สีฟ้าแห่งการกำกับระบบและกระบวนการให้เกิดผล

เครื่องมือ การวางแผนที่สำคัญที่คนทั่วไปมักจะใช้กันอยู่แล้วระดับหนึ่ง คือการวิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน ภายใน และโอกาส ข้อจำกัด ภายนอก

ตาม หลักของ SWOT (strengths, weaknesses, opportunities and threats) แต่แทนที่จะใช้โจทย์ เช่น เป้าหมายการตลาด เราใช้ SWOT จับประเด็นด้านจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท ซึ่งรวมถึงจุดแข็งจุดอ่อนของงาน CSR ที่ทำอยู่ และโอกาส/ข้อจำกัดในการทำงานในวิกฤตแต่ละเรื่อง

ผม ได้ลองตั้งตุ๊กตา คำถามง่ายๆ ที่อาจจะใช้ใน SWOT โดยที่แต่ละคำถามอาจจะตอบเป็นจุดแข็ง หรือจุดอ่อนก็ได้ หรือเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลดี หรือเป็นข้อจำกัดที่ภายนอกองค์กร (ดูตารางประกอบ)

คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ SWOT มาจากความเห็นของทีมงานที่ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และไม่ควรลืมว่าทุกประเด็นที่เป็นจุดอ่อน หรือเป็นข้อจำกัด เราสามารถวางแผนแก้ไขได้

ดังนั้นเครื่องมือนี้ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือก และสามารถช่วยคนในการทำงานได้

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


สร้าง "คุณค่า" เหนือ "คุณค่า" Creating Shared Value Forum



ไม เคิล อี. พอตเตอร์ กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขันและเป็นผู้นำกฎการแข่งขันมาเชื่อมโยงกับแนวคิด ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่เคยเสนอแนวคิด triple bottom line ที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่ความยั่งยืนย่อมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

แต่ความคิดย่อมเป็นแค่ความคิด เมื่อมีสิ่งใหม่มาลบล้าง

ปลาย เดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา บนเวทีการประชุมอภิปรายระดับโลก ที่เนสท์เล่ร่วมกับคณะทูตแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประจำสำนักงานสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ได้จัดการประชุมอภิปรายระดับโลกเพื่อระดมความคิดเรื่องการสร้างสรรค์คุณค่า เพิ่มร่วมกันให้กับสังคม Creating Shared Value Forum

"พอตเตอร์" ยอมรับว่า "triple bottom line อาจจะเป็นได้แค่แรงบันดาลใจ แต่ creating shared value (CSV) กำลังพยายามสร้างวิธีการที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มให้แก่ สังคมและผู้ถือหุ้นได้จริง"

creating shared value หรือการสร้างสรรค์ คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม ซึ่งเป็นมุมมองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ "เนสท์เล่" ซึ่งพัฒนามาจากรากฐานการดำเนินธุรกิจของตัวเองและเผยแพร่แนวคิดที่ว่านี้ อย่างเป็นทางการเมื่อ 2 ปีก่อน โดยไม่ได้มองแค่การบริจาค กิจกรรมเสริม แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน ครอบครัว และคนในสังคมไว้ในกลยุทธ์หลัก ในการดำเนินธุรกิจ

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ "พอตเตอร์" ให้ความเห็นว่า "เป็นมากกว่า CSR"

เขา อธิบายไว้ว่า "แนวคิด CSV จะก้าวข้ามไปอีกขั้น คือการที่องค์กรธุรกิจมุ่งมั่นดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้"

"ตัวอย่างเช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา ได้จัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร วิธีการคิดง่ายๆ ในการจัดซื้อ ก็คือให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ต่ำที่สุด ซึ่งสำหรับแนวคิดแบบ CSV จะบอกว่า ก้าวข้ามไปอีกขั้น ลองหันมาถามว่า เราจะสามารถทำงานร่วมกันกับเกษตรกรเหล่านั้นได้อย่างไร ช่วยเหลือพวกเขาปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มพูนผลิตผล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ"

CSV เป็นการพยายามหาพื้นที่แห่งความสำเร็จร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม เช่นเดียวกับ CSV forum

" ฟอรั่มนี้มีความน่าสนใจในแง่ของการเปลี่ยนบทบาทของคนที่เคยอยู่คนละฝั่ง อย่างธุรกิจเอ็นจีโอ ฯลฯ ให้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น เพราะยิ่งวิกฤต ปัญหายิ่ง ซับซ้อน เราต้องการแก้ปัญหาเร็วขึ้น เปลี่ยนบทบาท โดย

เฉพาะ ธุรกิจต้องมีความเป็นผู้ร้ายน้อยลง เอ็นจีโอเองก็อาจจะต้องเปลี่ยน "นภดล ศิวะบุตร" ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าว

บนเวที CSV Forum ที่จัดขึ้นไม่เพียงมีผู้นำทางความคิด เช่น ไมเคิล อี. พอตเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังมีผู้นำทางความคิดนักพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก อย่าง ซี.เค. ปราฮาลัด แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน น.พ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และโภชนาการระดับแนวหน้าของไทย และผู้นำความคิดรวม 13 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับ สังคม ของเนสท์เล่ (Nestle Creating Shared Value Advisory Board) มาถกกันถึงทางออกของปัญหาที่มองว่าจะสร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจในอนาคต

เพราะ การสร้างคุณค่าต่อสาธารณะเพื่อให้เกิดการพัฒนาโภชนาการที่ดี การปกป้องเรื่องน้ำและการผลิตอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงและเป?นหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะ ยาว ในฐานะผู้ผลิตอาหาร

และเป็นการขยายการทำงานในทางลึกและทางกว้าง ที่ตอกย้ำความเชื่อที่ว่า หากสังคมวิกฤต ย่อมส่งผลกระทบถึงธุรกิจอย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงการสร้างคุณค่าให้สังคมจึงเป็นคุณค่าเหนือคุณค่า กว่าผลลัพธ์และประโยชน์ตื้นเขินเพียงสร้างภาพลักษณ์

ที่มา ประชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01250552&day=2009-05-25&sectionid=0221


วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

22 องค์กร รับผิดชอบยอดเยี่ยม อย. Quality Award 2009

ข่าว การเสียชีวิตของเด็ก 4 ราย และล้มป่วยกว่า 60,000 คน ในประเทศจีนเมื่อปลายปีที่แล้วจากการบริโภคนมที่มีการปนเปื้อนของสารเมลามีน เป็นบทเรียนที่สะท้อนถึงความ รับผิดชอบของผู้ผลิตที่มีต่อผู้บริโภคได้ อย่างชัดเจน

ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพและ ความปลอดภัยของผู้ผลิต จึงกลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ซึ่งทำงานโดยตรงในเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคหันมากระตุ้นผู้ผลิตและจำหน่าย สินค้าในความควบคุมของ อย.ผ่านการประกาศ "รางวัล อย. Quality Award 2009" ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเป็นครั้ง แรกในไทย จากเดิมที่ทำเพียงด้านการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด

นายแพทย์ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า "เนื่องจาก อย.มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ผลิตสินค้าตั้งแต่กระบวนการการผลิตจนกระทั่งสินค้า ออกสู่ตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์รวมไปถึงสุขภาวะของคนงาน แต่ละปีเราลงโทษผู้ประกอบการที่ทำผิดไปแล้วกว่า 1 พันราย เมื่อทำแง่ลบแล้วก็ทำแง่บวกบ้าง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนทำดีอยู่แล้วให้ทำดีต่อไป ขณะที่ผู้ผลิตในภาพรวมจะอยากพัฒนาตามเพราะรางวัลมีผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท"

ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล "อย. Quality Award 2009" ที่พึ่งประกาศผลไปแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์ชุมชน มีผู้ผ่านการคัดเลือก 22 องค์กร

ได้แก่ 1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายสี จ.จันทบุรี 2.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร 3.บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์เฮลท์แคร์ จำกัด 4.บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 5.บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 6.บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 7.บริษัท โชควิวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด ผู้ผลิตและ ส่งออกอาหารแช่แข็ง 8.บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด 9.บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตสินค้ามาม่า 10.บริษัท ไบรด์ บิวตี้ แคร์ คอสเมติก จำกัด ผู้ผลิต ก.ย.15

11.บริษัท ไบโอแลป จำกัด ผู้ผลิตยา 12.บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็น จำกัด ผู้ผลิตแคปซูลและยา 13.บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค 14.บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง 15.บริษัท โรเดีย ไทย อินดัสตรีส์ จำกัด ผู้ผลิตสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค 16.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด 17.บริษัท วันไทยอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตยำยำ, จัมโบ้ 18.บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด ผู้ผลิตถุงมือแพทย์ 13.บริษัท สุรพลนิชิเรฟูดส์ จำกัด 20.บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออชีววัตถุ จำกัด 21.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องสำอาง BSC และ 22.บริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

สำหรับเกณฑ์ ในการพิจารณาการมองรางวัลครั้งนี้ พิจารณาจากองค์กรที่มีคะแนนมาตรฐาน GMP ระบบประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยสูงสุดและคงมาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภครองรับและไม่เคยถูกลงโทษ ซึ่ง อย.ถือเป็นความรับผิดชอบ หลักของ "ผู้ผลิต"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05180552&day=2009-05-18&sectionid=0221


จากคำครู

งาน นี้ บินหลาและจุ้ยถูกผู้ต้องขังกว่า 20 ชีวิต ยกย่องให้เป็น "ครู" ของชีวิต และไม่เพียงเขาทั้งสองจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ยังได้รับประสบการณ์และข้อคิดใหม่ๆ จากโครงการนี้มากมาย

"ผมไม่ เคยเข้ามาอยู่ในสถานที่ที่ถูกตีกรอบแบบนี้ ได้เห็นทั้งความทุกข์และความสุขในตาของผู้ต้องขังเหล่านั้น ได้รับรู้ความรู้สึกของคนที่เป็นแม่และความรู้สึกของลูกกับการอยู่ในสถานที่ ที่ซึ่งไร้อิสรภาพบ่งบอกอยู่ภายในแววตาของเขา และสิ่งดีๆ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ ทำให้เราเรียนรู้ว่า คนเรามักจะมีเรื่องราวดีๆ อยู่ในตนเอง แต่ปัญหาคือไม่สามารถจะถ่ายทอดออกมาได้ การอบรมครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้สิ่งที่เขาต้องการสื่อออกมาเป็นที่รับรู้ของ คนอื่น และจะพบ ความจริงว่าพวกเขามีความดีอยู่ในก้นบึ้งของใจ"

บินหลา สันกาลาคีรี

นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2548

" จากงานนี้ทำให้กลับมามองตนเองว่า เรารู้แล้วว่า การทำบุญเป็นอย่างนี้เอง วิทยาทาน คือการให้ความรู้กับคน นั้นมีค่า เราสอนเขาเรื่องการเขียนชีวิต เห็นได้จากสถิติที่มีอยู่ คนที่ผ่านปัญหาใดๆ มาในชีวิตก็มักจะกลับไปประสบปัญหาเดิม ผู้ต้องขังก็จะกลับเข้ามาในห้องขังอีกครั้งเป็นจำนวนมาก อาจเป็นเพราะว่าเขาเขียนชีวิตไม่ได้ เขาเลยวนอยู่กับสิ่งเดิมๆ ผมคิดว่าถ้าเขาเขียนชีวิตเป็น ก็น่าจะเขียนชีวิตไปสู่สิ่งที่งามที่ดี ที่ชอบได้ ผมเชื่ออย่างนั้น"

ศุ บุญเลี้ยง

นักร้อง-นักเขียน


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



เปิดประตูจินตนาการ นำผู้ต้องขังหญิงสู่เส้นทาง นักเขียน


" แม้จะเป็นผู้ต้องขัง แต่สิ่งที่ไม่ถูกกักขังเลยคือจินตนาการและความคิดต่างๆ หากใครมีความคิดที่ดีและมุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้าแล้ว เชื่อว่าประสบการณ์ที่มีอยู่จะทำให้สามารถเป็นนักเขียนที่ดีได้ใน วันข้างหน้า" เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวในพิธีปิด โครงการ "เปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียน" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน-1 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา

และ เป็นก้าวต่อจากความสำเร็จของ โครงการมติชน-เอสซีจี เปอร์เปอร์ จุดประกายปัญญา "Young Writer Camp" ในปีที่ผ่านมา ที่จัดขึ้นเพื่ออบรมเทคนิคการเขียนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ในปีนี้บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์นำแนวคิดเดียวกันมาต่อยอดในโครงการ "เปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียน" เพียงแต่ครั้งนี้นักเขียนที่ถูกปลุกปั้นนั้นไม่เด็กวัยใส แต่เป็นผู้ต้องขังหญิงจากทั่วประเทศที่ไม่ได้ถูกจองจำความคิดด้วยเครื่อง พันธนาการใดๆ เหมือนกับร่างกาย

หลังจากเปิดตัวโครงการ มีผู้ต้องขังหญิงสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 93 คน และมีผู้ผ่านการคัดเลือก 20 คนที่เข้าสู่การ อบรมเวิร์กช็อปการเขียนกับวิทยากรนักเขียนชื่อดังอย่าง บินหลา สันกาลาคีรี และ ศุ บุญเลี้ยง เมื่อได้รับความรู้เต็มที่ ทั้ง 20 คนก็ต้องแสดงผลงานเขียนออกมาใหม่อีก 1 เรื่อง เพื่อหาผู้ชนะมารับเกียรติบัตรและเงินรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจ ส่วนงานเขียนที่ดีเด่นจะถูกส่งให้สำนักพิมพ์มติชนพิจารณาเพื่อรวมเล่มจัด พิมพ์ต่อไป

"ชลิต กิติญาณทรัพย์" รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มติชนมีโครงการกับกรมราชทัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อย่างการสนับสนุนห้องสมุดพร้อมปัญญาให้กับทัณฑสถานกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้กับ ผู้ต้องขัง และหลังจากได้ทราบว่าผู้ต้องขังมีความสามารถในการเขียนหนังสือจึงนำแนวคิด ของโครงการ Young Writer Camp เข้ามาใช้ จึงหวังว่าโครงการเปิดประตูสู่เส้นทางนักเขียนจะสร้างโอกาสและให้กำลังใจกับ ผู้ต้องขังได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคต

"เราไม่รู้ได้ว่า วันข้างหน้าผู้ต้องขังหญิง ที่ร่วมโครงการครั้งนี้จะออกไปเป็นนักเขียนหรือไม่ แต่บรรยากาศระหว่างทำกิจกรรมในโครงการที่เต็มไปด้วยความรู้ ความสุข และความภาคภูมิใจทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นความสำเร็จที่เราสัมผัสได้ เร็วๆ นี้จะมี โครงการต่อเนื่องให้กับผู้ต้องขังแน่นอน"ชลิตกล่าว

ตลอดระยะ เวลา 3 วันของการอบรม ในชายคาของทัณฑสถานหญิงกลาง บรรยากาศที่คละเคล้าความสุข สนุกสนานที่ชวนให้เกิดแรงบันดาลใจก็เกิดขึ้น วิทยากรทั้ง 2 คือ บินหลาและจุ้ย ร่วมกันสอนถึงวิธีการสังเกตสิ่งรอบตัวให้กับผู้ต้องขังหญิงทั้ง 20 คน เพื่อเรียบเรียงกระบวนการคิดก่อนเขียนรวมถึงแนะนำการใช้ภาษาและเทคนิคในการ เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย หรือวิธีการเขียนใบแบบอื่นก่อนที่จะถึงเวลาลงมือสร้างงานเขียนแล้วส่งผลงาน ให้วิทยากรทั้ง 2 ได้วิจารณ์กัน

หลังจากประกาศผล ผู้ต้องขังหญิงที่ได้รับรางวัล ร่วมกันสะท้อนความรู้สึกถึงโครงการนี้ว่า หลังจากผ่านการอบรมทั้งการเขียนและวิธีคิดของพวกเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

" แม้ว่าการติดคุกจะไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนา แต่วันนี้รู้สึกโชคดีที่ได้มาติดคุก ไม่คิดว่าสังคมจะให้โอกาสขนาดนี้ จากนี้ตั้งใจว่าจะเป็นนักอ่านที่ดี มองโลกให้สดใส และจะใช้หนังสือเป็นครูสอนชีวิต และพัฒนาการเขียนเพื่อสอนให้กับเพื่อนที่สนใจ"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03180552&day=2009-05-18&sectionid=0221


วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (1)

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

ปี 2552 เป็นปีที่มีวิกฤตระดับชาติ และระดับบุคคลที่หลากหลาย รุมกระหน่ำภาวะที่เราเคยชิน หรือที่เรียกว่า "ภาวะปกติ" แต่ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าขณะนี้ พ.ศ.นี้ เราทุกคนยอมรับว่าไม่ปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ดูเหมือนกำลังคืบคลานในอัตราความเร็วที่มั่นคง ไปสู่ความเป็นวิกฤตในระดับชาติ

หากมาไล่แบบสั้นๆ วิกฤตเหล่านี้ รวมถึง

1. ภาวะเสื่อมทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ และภาวะโลกร้อน - หลายคนยอมรับว่าอากาศปีนี้ผันผวน ทั้งช่วงเวลาที่หนาว เวลาที่ร้อน และร้อนจัด รวมถึงความถี่ของพายุต่างๆ นานา พร้อมกันนี้เกิดความวิตกว่าการเพิ่มของอุณหภูมิโลกที่กำลังเกิดขึ้นจริงจะ ส่งผลกับฤดูกาล ทำให้มีภัยพิบัติมากขึ้น โรคระบาด และภัยต่องานด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่สุดของมนุษย์ ซึ่งภาวะโลกร้อนมีผลจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่ยั่งยืน และความเสื่อมทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมลพิษ และสารที่มนุษย์ผลิต

2. โรคระบาดรุนแรง ทุกวันนี้เราติดตามข่าว ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ A H1N1 ที่เริ่มระบาดจากประเทศเม็กซิโก ก่อนหน้านี้ก็มีโรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส นอกจากนั้นโรคติดต่อรุนแรงเก่าๆ เช่น เอดส์ วัณโรคชนิดดื้อยา และโรคมาลาเรีย ก็ยังเป็นภัยที่เห็นชัด เราอย่าลืมว่าโรคเอดส์ที่ส่งผลให้คนเสียชีวิตในประเทศไทยเป็นแสนคนนั้น ก็เป็นเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศเช่นเดียวกับอีกหลายโรค

3. เศรษฐกิจครัวเรือนทรุดหนัก วิกฤตเศรษฐกิจก็เสมือนโรคระบาดที่ติดต่อจากระบบเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกา และส่งผลแก่ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแน่นอนผลที่รุนแรงเกิดแก่ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว ในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ต้มยำกุ้ง จำนวนคนไทยที่จัดว่ายากจนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 11.4 เป็นร้อยละ 15.9 ของประชากร ซึ่งจากการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ สัดส่วนคนจนได้ลดลงอีกครั้งหนึ่ง มาคราวนี้ก็เชื่อว่าสัดส่วนคนจนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อวิกฤตในครอบครัว โอกาสการเรียนหนังสือของเด็กและเยาวชน และคุณภาพชีวิต โดยรวม

4.ความ ขัดแย้งในสังคม วิกฤตที่ต่อเนื่องจากวิกฤตทางการเมือง ส่งผลให้คนไทยทุกวันนี้เหมือนต้องมีอะไรเก็บไว้ในใจ ขณะมองคนอื่นเหมือนไม่สนิทใจเท่าเดิม ความแตกแยกนี้ได้ก่อเกิดวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจหลายครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ ปี และยังอยู่ในภาวะอึมครึม ยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดการปะทุอีกหรือไม่

5. ความเครียด ในช่วงที่มีวิกฤตต้มยำกุ้ง ภาวะความเครียดของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปี 2552 วิกฤตต่างๆ มีความซับซ้อนและทับซ้อนมากขึ้น ทำให้ความเครียดในการทำงาน ความ เครียดในครอบครัว หรือในส่วนบุคคลยิ่งสูงขึ้น วิธีการลดความเครียดโดยใช้ทางศาสนาหรือการรับการรักษาเป็นช่องทาง

เลือก แต่วิกฤตทำให้คนไม่มีเวลาในการดูแลตนเอง หรือดูแลครอบครัวอย่างเพียงพอ

หาก เรามองวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กำลัง กระหน่ำสังคมไทยทุกวันนี้ เป็นการง่ายจะสรุปว่าตัวใครตัวมันแล้วกัน ไม่ใช่สิ่งที่คนคนเดียว บริษัท หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ แต่หากท่านใส่หมวก CSR ท่านย่อมมองหาโอกาสในการทำงาน CSR ที่เกี่ยวข้องหรือลดผลกระทบจากวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น รวมถึงวิกฤตอื่นๆ ด้วย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



ภารกิจปลายทางของ "มีชัย วีระไวทยะ"



คล้าย กับการประกาศวางมือของ "มีชัย วีระไวทยะ" จากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ในวันที่สมาคมที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งกำลังจะมีอายุครบ 35 ปี ในอีกไม่กี่วันนี้ เมื่อเขาตัดสินใจเข้าไปนั่งในตำแหน่ง "ครูใหญ่" โรงเรียนมัธยมลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเพิ่งจะก่อตั้งขึ้นและเปิดเรียนเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็น การขยายผลจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โรงเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาซึ่งสมาคมและผู้บริจาคอย่าง "เจมส์ คลาร์ก" ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยปฏิวัติการเรียนการสอนที่เคยมีมาในระบบการศึกษาไทย และกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานเทียบ เคียงระดับนานาชาติ เป็นโรงเรียนเรียนฟรีที่สามารถทำให้ "เด็กจาก ท้องนา" สามารถ "เทียบชั้นระดับสากล"

"จะว่าไปผมก็ยังทำงาน 2 อย่างไปด้วยกัน สมาคมก็ยังคงทำ แต่ก็ดูในระดับนโยบาย ส่วนเรื่องการบริหารอื่นๆ ก็ปล่อยให้คนอื่นทำก็ได้ และจากนี้ไปผมจะไปทำงานเรื่องเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น คือเป็นทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก โลกของเด็ก ชีวิตส่วนรวมของเด็ก พ่อแม่ยากจนก็ช่วย โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา เพราะถ้าการศึกษาดี คนจะมาชักจูงเราแบบโง่ๆ ไม่ได้"

และเป็นเหตุที่ทำให้เขาสนใจ ลงมาบุกเบิก เรื่องนี้เองแบบเต็มตัว

" ผมเดินมาถึงปลายทางของชีวิตแล้ว ทุกคนก่อนที่ไฟจะหมดชีวิต ควรเป็นครู ผมอยากสอนหนังสือและอยากให้คนในสังคมเป็นครู ผมว่านายธนาคารใหญ่ก็เหมือนกันควรจะลองเป็นครูดูเสียบ้าง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์คือการศึกษา เราสามารถทำให้เด็กเดินได้ เป็นเด็กที่บินได้ ด้วยโอกาสและระบบที่ดีขึ้น ผมว่าคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการควรเก่งกว่านายกรัฐมนตรี ตำแหน่งครู ควรได้รับการยกย่อง และเป็นความจริงจัง ที่ทำให้ผมอยากเป็นครู"

" ปัญหาของการศึกษาไทยอยู่ที่การสร้างมาตรฐานของคนที่เก่งที่สุดในชั้น แต่ที่ ลำปลายมาศ เราไม่ได้บอกว่าเด็กจะเก่งหรือไม่เก่ง แต่จุดสำคัญคือเราต้องการผลิตคนที่ดี คนที่สามารถค้นหาคำตอบได้ คนที่นึกถึงสังคมและมีจิตสาธารณะ เราต้องการเพียงแค่การพัฒนาเด็กให้สามารถใช้ศักยภาพที่มีได้อย่างสูงที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุดในชั้น"

ต่อยอด "ความสำเร็จ"

" ตอนนี้เด็กที่เรียนกับเรามาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจบชั้นประถมกำลังจะขึ้นชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงจะขึ้นชั้นมัธยมศึกษา เราก็ยังคงเชื่อในการจัดการศึกษาแบบเดิม คือเด็กจะได้เรียนใน

สิ่งที่เขาอยากเรียน เพราะธรรมชาติของเด็กถ้าเขาสนุกแล้วก็จะทำได้ดี เขาอยากเรียนอะไรเราก็จัดให้แบบนั้น"

เป็น การเดินต่อจากสิ่งที่เคยทำที่ "ลำปลายมาศพัฒนา" ซึ่งทุกอย่างในโรงเรียนตั้งแต่วิธีการสอน ห้องเรียนถูกออกแบบอย่างละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนหกเหลี่ยม ที่จะทำให้ไม่มีเด็กหน้าห้องหลังห้อง หรือทุกๆ เช้าเด็กๆ และครูต้องกอดกัน เพราะการได้รับสัมผัสที่อบอุ่นจะทำให้สร้างความมั่นใจให้กับเด็ก การจะเรียนอะไรในแต่ละภาคเรียน เด็กจะเป็น ผู้เลือก เช่น ถ้าเขาเรียนเรื่องไดโนเสาร์ ฯลฯ ชั้นนั้นก็จะเรียนเรื่องไดโนเสาร์ ครูมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลว่าสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการให้เด็กรู้ อะไรบ้าง และก็มีการใส่เรื่องต่างๆ ไปในสิ่งที่เด็กอยากเรียน

"เรา เรียนกันแบบนี้ ไม่มีการสอบ แต่พอเราลองให้เด็กไปสอบวัดผล ปรากฏว่าเด็กเราก็ทำได้ดีกว่าโรงเรียนอื่น และเราก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเด็กจนก็พัฒนาได้ ถ้าคุณจัดการศึกษาที่ดี และที่ผ่านมาเราให้เด็กเรียนฟรี คนเรียนต้องยากจน ใช้วิธีจับสลากเข้าเรียน และใช้งบประมาณต่อหัวต่อคนประมาณปีละ 30,000 บาท ซึ่งสูงกว่าภาครัฐไม่มาก"

ไม่แปลกที่วันนี้จะมีหน่วยงานจากภาครัฐ ผู้บริหารโรงเรียน และครู เข้ามาดูงานและฝึกอบรมที่นี่แล้วกว่า 200 โรงเรียน

โมเดลใหม่การพัฒนา

การได้รับการยอมรับอาจเป็นบทพิสูจน์เพียงก้าวแรก "ก้าวต่อ" ที่เขาวางไว้จึงน่าสนใจ

" มีชัย" เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่วางไว้ในอนาคตว่า "วันนี้เราทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงเพราะลูกคนในชุมชนไปเรียนหนังสือ แต่ต่อไปเราจะเปลี่ยนทัศนคติ เศรษฐกิจ สร้างสังคมประชาธิปไตย และช่วยคนในชุมชนขจัดความยากจน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง"

"ใน ระดับมัธยมศึกษา เราจะสอนเรื่องธุรกิจให้กับเด็ก สอน แบ ฟุต เอ็มบีเอ และจะเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาในหมู่บ้าน และจะใช้พื้นที่ของโรงเรียนให้เป็นที่สอนผู้ใหญ่ในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ ในการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพอย่างที่เขาต้องการจะรู้ และในที่สุดก็จะขยายเป็นโครงการพัฒนาในระดับหมู่บ้านและชุมชน ต่อไปเด็กที่เรียนที่โรงเรียนนี้ พ่อแม่ก็จะเลิกจนด้วย และผมว่าคงไม่มีโรงเรียนอื่นที่จะเป็นแบบนี้ ต่อไปเราจะไม่ได้เป็นแค่ต้นแบบของการศึกษาเท่านั้น แต่เราจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาด้วย"

เป็นการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสังคม ในรูปแบบใหม่ที่ใช้ "โรงเรียน" เป็นศูนย์กลาง

" เราจะทำให้โรงเรียนเป็นมากกว่าโรงเรียน โรงเรียนไม่ใช่สถานที่ที่เปิด 7 โมงเช้า ปิดตอน 4 โมงเย็น ในวันจันทร์ถึง วันศุกร์ และเป็นที่เก็บฝุ่นในวันเสาร์ อาทิตย์ แต่เราสามารถใช้สิ่งที่โรงเรียนมีมาต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้ด้วย เรื่องแบบนี้ต้องคิดนอกกรอบ และเราจะไปหวังพึ่งรัฐอย่างเดียวไม่ได้"

"ผมว่าถ้าทำได้ เขาคงทำไปนานแล้ว แต่เราก็จะไปโทษเขาไม่ได้"

ไม่ใช่หน้าที่ "รัฐ" แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน

" มีชัย" กล่าวว่า "เราต้องยอมรับว่าไม่ว่าประเทศใดในโลก กระทั่งสหรัฐอเมริกา ที่รัฐไม่สามารถทำทุกอย่างให้ประชาชนได้ ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วย อะไรที่คิดออกนอกกรอบ แหวกแนว รัฐไม่กล้าทำเพราะไม่ใช่วิสัยของระบบราชการ เพราะฉะนั้นปล่อยราชการทำคนเดียวก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าทำได้เขาคงทำไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จึงไม่ยุติธรรมที่บอกว่ารัฐต้องเป็นคนทำ ผมว่ารัฐต้องมีหน้าที่ตาม คนนำคือประชาชน สังคม คนนำคือธุรกิจต่างหาก"

"เรื่องช่วยในการพัฒนา สังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน คนข้างนอกเองก็ต้องคิด ผมอยากให้ลองคิดว่าเราไม่ใช่เจ้าของสังคมหรือ เราไม่เจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือ อย่างปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น คนที่ไม่เคยสนใจการเมืองเพราะไม่ใช่เรื่องเรา แต่พอเกิดขึ้นแล้ว ไม่เห็นหรือว่าทำให้ธุรกิจทรุดแค่ไหน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคน อย่าคิดว่าเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว มีหน้าที่อย่างเดียวคือล้างมือด้วยไวน์ขาว ล้างเท้าด้วยไวน์แดง คนเราต้องมีความพยายามที่จะช่วยทำให้สังคมดีขึ้นบ้าง"

"สิ่งที่เรา ต้องการจากภาครัฐคือ การช่วยสนับสนุน จุดสำคัญอยู่ที่กระทรวงการคลังต้องช่วยลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจที่ต้องการ บริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียน เพราะขณะนี้การสร้างโรงเรียนสามารถลดหย่อนได้ 200% แต่ในรูปแบบของเรายังไม่ได้ การลงทุนในการสร้างโรงเรียนใหม่ที่เราใช้เริ่มต้นประมาณ 30 ล้านบาท และจากนั้นใช้เงินดำเนินการอีก 6 ปี ปีละประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งในเวลาเดียวกันโรงเรียนก็จะต้องพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม หมายถึงการหารายได้เองจากการทำธุรกิจเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูตัวเอง ซึ่งตอนนี้อย่างลำปลายมาศพัฒนาก็เริ่มหาเงินได้ปีละ 2 ล้านบาท บวกกับเงินรายหัวที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐก็เกือบจะพอแล้ว ซึ่งมีธุรกิจหลายแห่งก็สนใจอยากลงทุน เพราะการสร้างโรงเรียนที่ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในชุมชน ด้วยเงินจำนวนเท่านี้ไม่ได้มากเลย อาจถูกกว่ารถของเศรษฐีบางคนอีก"

เพียงแต่ทุกคนต้องคิดว่า นี่เป็นหน้าที่ เช่นเดียวกับที่รัฐต้องสนับสนุน !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01180552&day=2009-05-18&sectionid=0221



วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หาที่ให้ CSR




โดย อนันตชัย ยูรประถม anantachai@yahoo.com

Q : เมื่อองค์กรกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นมาแล้วจะนำเข้าไปปฏิบัติในช่องทางไหนดี

เห็น มั้ยครับท่านผู้ฟัง CSR ปัญหาไม่กล้วย ไม่มีก็เป็นปัญหา มีก็เป็นปัญหา ผู้ฟังท่านหนึ่งมาพบมาเจอกัน บอกว่าตอนนี้องค์กรเริ่มวางแผน CSR สำหรับองค์กร แล้ว ในระยะแรกสร้างกรอบแนวปฏิบัติด้าน CSR ในประเด็นสังคมแต่ละด้านขึ้นมาก่อน เช่น บรรษัทภิบาล ความรับผิดชอบต่อลูกค้า สังคม เป็นต้น โดยกะว่าเริ่มทำเป็นประเด็นไปก่อนแล้วค่อยปรับเข้าสู่กระบวนการดำเนินธุรกิจ ในระยะต่อไป ทีนี้ปัญหาก็เกิดเพราะว่าเวลาจะนำกรอบแนวทางนี้เข้าไปวางไว้ในกรอบแนวทางการ ดำเนินธุรกิจขององค์กรจะเอาไปไว้ตรงไหนดี เพื่อให้เชื่อมต่อกับสิ่งที่องค์กรมีมา ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหรือแม้แต่จรรยาบรรณขององค์กร เพื่อให้ CSR ไหลไปสู่ระบบขององค์กรมาตั้งแต่ข้างบน เนื่องจากถ้าตั้งเป็นโครงการหรือเป็นกิจกรรมแล้วนำไปประกบด้านข้าง คือเอาไปฝากไว้แต่ฝ่ายหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องก็กลัวว่าจะถูกมองว่าเป็น กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ แล้วพนักงานก็จะรู้สึกว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น ปีหน้าจะยังไงต่อก็ไม่รู้ ที่สำคัญเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับระยะต่อไปที่แผนการพัฒนาความรับผิดชอบจะนำ ไปสู่การพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งองค์กร

ตอบแบบฟันธง คอนเฟิร์ม "ขึ้นอยู่กับองค์กรครับ" ผู้ฟังผมก็บ่นทันที...เอาอีกแล้วอาจารย์คอนเฟิร์มทีไร คอนฟิวส์ทุกทีเลย...ก็จริงนี่ครับ CSR ไม่มีของสำเร็จรูปประเภทตัวเดียวอันเดียว เที่ยวทั่วโลก เราตั้งต้นที่หลักแนวคิดเดียวกัน แต่เวลานำมาปฏิบัติต้องพัฒนาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรเพื่อให้ได้ตาม ที่แนวคิดนั้นได้วางเอาไว้ครับ ดังนั้นเมื่อเราต้องการให้แนวปฏิบัติ CSR ไหลมาจากข้างบน บางองค์กรเรานำไปฝากไว้กับนโยบายแล้วให้ซึมไปสู่กลยุทธ์องค์กรเข้าไปสู่ ระดับฝ่ายส่วนอีกทีหนึ่ง แต่มีบางองค์กรครับ อันนี้ก็น่าสนใจ เราเอาไปไว้กับแนวปฏิบัติด้านจรรยาบรรณ เพราะองค์กรเขามีระบบการนำองค์กรที่ค่อนข้างเข้ม นับตั้งแต่ปรัชญาองค์กรเป็นชั้นสูงสุด มีวิสัยทัศน์เป็นชั้นที่ 2 และแนวปฏิบัติกับหลักจรรยาบรรณเป็นชั้นที่ 3 เชื่อมต่อกันอย่างแนบแน่น พอเห็นอย่างนี้ปุ๊บเราก็เลยทำตัวลีบหาช่องแทรกเข้าไปแอบไปอยู่ชั้นที่ 2 ใต้ปรัชญา ไปขอแอบอิงเคียงข้างกับวิสัยทัศน์ที่อยู่เหนือแนวปฏิบัติ โดย CSR นี่อยู่บนจรรยาบรรณโดยตรงครับ จากนั้นเราก็เริ่มต่อท่อ CSR เข้าไปสู่จรรยาบรรณครับ ทีนี้ก็ได้การแล้วละครับ จัดงานประชันของขลังประจำองค์กรกันทันทีครับ...จรรยาบรรณปะทะความ รับผิดชอบต่อสังคม...รอบแรกเป็นระดับผู้จัดการครับ แล้วรอบ 2 ก็เป็นระดับหัวหน้างาน รอบแรกนี่เอาของขลังมา แจกกันเลยครับ จรรยาบรรณครับที่เคยอยู่แต่บนหิ้ง เอาเข้ามาส่องกันเลยว่าพอมาปะทะกับ CSR แล้วอะไรอยู่ตรงไหน ชี้ให้เห็นกันจะจะ ทุกคนถือคู่มือจรรยาบรรณแย่งกันตอบ สนุกสนานไปเลยครับ กลายเป็นว่าจรรยาบรรณนี่เป็นของสนุกไปเลย รอบ 2 เหมือนเดิมแต่มีของขลังมาอีกหนึ่งครับ พอส่องจรรยาบรรณกับ CSR กันเสร็จ มีโปสเตอร์รุ่น "นายให้มา" เอาไปติดเป็นมงคลด้วยว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีมงคลตามจรรยาบรรณแล้วนำไป สู่ความ รับผิดชอบต่อสังคมกัน ทำกันได้ทุกคน ทุกวัน เห็นมั้ยครับของดีมีอยู่ถ้าจะใช้แนวนี้ก็ไปรื้อๆ ค้นๆ ของขลังของเราลงมาจากหิ้งได้แล้วนะครับ ก่อนที่ของจะเสื่อมซะหมอ...คอนเฟิร์ม

อนันตชัย ยูรประถม เป็นนักวิชาการและที่ปรึกษาด้าน CSR ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกลยุทธ์และการบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์กรเชิงระบบ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDI) นับจากนี้เขาจะมาตอบคำถามทุกข้อข้องใจเกี่ยวกับ CSR ทุกสัปดาห์ สำหรับผู้ต้องการไขคำตอบที่เคยข้องใจสามารถส่งคำถามมาได้ที่ anantachai@yahoo.com


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05110552&day=2009-05-11&sectionid=0221


4 C ที่มากกว่า CSR



โดย สุกิจ อุทินทุ

การ พัฒนาแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility : CSR) ในเมืองไทยเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้าง ไปมากกว่าแค่ภาคเอกชน C ใน CSR จึงไม่ได้ตกอยู่ในมือของเอกชนอีกต่อไป หากแต่มีความเคลื่อนไหวส่งต่อความรับผิดชอบทางสังคมไปสู่แวดวงอื่นๆ

1.City Social Responsibility

ไม่ ว่า C ตัวแรกของ CSR จะเป็น corporate หรือ city ก็มีความคล้ายกันอยู่มากกับการบริหารเมืองนั้น ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานครจะต้องบริหารงานอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย และที่สำคัญที่สุดจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุด 3 ประการ (Triple Bottom Lines) คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนข้าราชการเองก็จะต้องปลูกฝังเรื่องจิตอาสาและการบริการที่สร้างความพึง พอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งในกรณีนี้ก็คือประชาชนนั่นเอง

ปัจจุบัน นี้ เมืองสำคัญๆ ของโลกได้หยิบยกเรื่องเมืองที่ยั่งยืน (sustainable city) มาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ได้มีการสร้างเครือข่ายและลงนามร่วมกันที่จะพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนให้ ไปในทิศทางเดียวกัน แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ร่วมลงนามและได้กำหนดวาระเมืองที่น่าอยู่อย่าง ยั่งยืนเป็นวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเมืองใน 12 ปีข้างหน้า

ดังนั้น การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนจึงสามารถประยุกต์หลักการ CSR จากภาคธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงจะต้องพัฒนา สังคมรอบข้างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือการกำหนดตัวชี้วัดและทำรายงานความ ยั่งยืน ผลของตัวชี้วัดโดยรวมนั้นย่อมมาจากตัวชี้วัดของภาคส่วนย่อยๆ ต่างๆ อาทิ ภาคธุรกิจ ภาคราชการ ภาคประชาชน ดังนั้นถ้าเมืองสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เชิญชวนให้พวกเขาเหล่านั้นมาเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องและต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน มีการกำหนดเป้าหมายร่วม เช่น การลดขยะและมลพิษ การลดการใช้พลังงาน การบริหารจัดการน้ำ การปลูกต้นไม้เพิ่มอย่างมีระบบ การช่วยเหลือผู้ยากไร้และ ด้อยโอกาส การร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน เป็นต้น ผ่านการสร้างกิจกรรมทางสังคม สร้างแรงจูงใจจากระบบภาษี หรือรางวัลจากการชมเชย และตั้งใจให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครตัวอย่างของความยั่งยืนที่ดีกว่ามหานคร ใดๆ ในเอเชีย หรือในโลกนี้อย่างจริงจัง หลังจากที่กรุงเทพฯได้มีการนำซีเอสอาร์มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรกในการวาง แผนนโยบาย และได้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ

2.Country Social Responsibility

ไม่ เพียงในระดับเมืองมีความเคลื่อนไหว ที่ผ่านมา เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนซีเอสอาร์ได้รวมตัวกันและผลักดันให้ ซีเอสอาร์เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนประเทศให้มั่นคง โดยเสนอให้รัฐบาลได้พิจารณาแนวทางสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยใช้ คุณธรรมนำการพัฒนาประเทศไทย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกระดับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา ทั้งนี้ ซีเอสอาร์จึงถูกยกระดับอีกครั้งเป็น Country social responsibility ซึ่งน่าจะเป็นแนวโน้มใหม่ของนโยบายของรัฐบาลในอนาคต แต่ทั้งนี้การทำงานในภาพใหญ่จะสำเร็จได้ต้องมองย้อนกลับไปที่รากฐานคือเด็ก และเยาวชน ซึ่งเป็น C ตัวที่ 3 ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไป

3.Children Social Responsibility

มี หลายครั้งที่นักธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทที่มีประสบการณ์การทำซีเอสอาร์มาอย่างโชกโชนพูดคุยกันว่า อะไรคืออุปสรรคสำคัญที่เราพบเกี่ยวกับการทำซีเอสอาร์ ผู้บริหารหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิถีชีวิตและทัศนคติของผู้บริหารและ พนักงานที่ไม่ได้ถูกสร้างมาตั้งแต่แรก ตั้งแต่สถานศึกษา พวกเขาถูกระบบการศึกษาบังคับให้แข่งขันกันทำคะแนนให้ดีที่สุด วัดความสำเร็จจากเกรดที่ได้ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางสังคม การเป็นอาสาสมัคร หรือการให้บริการชุมชนเลย

ในการประชุมวิชาการที่ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกชื่องาน USR หรือ University Social Responsibility ซึ่งประเทศไทยอาสาเป็นเจ้าภาพซึ่งจัดขึ้นในไทยไม่นานมานี้ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั่วโลกมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันหมดว่า ระบบการศึกษาของโลกต้องการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยไม่เพียงเน้นทักษะทางวิชาการ แต่ต้องบวกความ รับผิดชอบทางสังคม (CSR) การสร้างคนดีเข้าสู่ตลาดแรงงานจะต้องเน้นที่ระดับมหาวิทยาลัย จากนั้นลงไปถึงระดับมัธยม ประถม อนุบาล และเด็กๆ ก่อนวัยเรียน

หาก เด็กๆ ได้รับการอบรมด้านความดีงาม จิตอาสา จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบตั้งแต่เด็ก เมื่อนิสิต นักศึกษาเหล่านี้จบออกมา พวกเขาจะมองหางานในบริษัท ที่ให้โอกาสพวกเขาทำงานที่ดีและสามารถทำงานอาสาสมัครต่างๆ ได้ บริษัทที่ให้ความสำคัญต่อซีเอสอาร์แค่เพียงมีบุคลากรเหล่านี้เพิ่มขึ้นร้อย ละ 10-20 กิจกรรมซีเอสอาร์ของบริษัทก็จะขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ความ วุ่นวายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เกิดจากบางสิ่งบางอย่างที่หายไปจากคน รุ่นใหม่ การยกระดับ CSR ให้แข็งแรงด้วยรากฐานของอีกหนึ่ง C นั่นคือ Children social responsibility

4.Communications Social Responsibility

นอก จากนี้การจะสร้างวัฒนธรรมใหม่สังคมใหม่ที่ทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบ สูงนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือสื่อสาธารณะที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดของ ผู้ชม ผู้ฟัง ดังนั้นสิ่งสำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งก็คือ Communications social responsibility

ดังนั้น C ใน CSR ยุคนี้จึงไม่ใช่เพียง corporate แต่ขยายวงสู่ City country children และ communications ที่หากทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงกัน จะสามารถขยายผลยกระดับความรับผิดชอบไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต !!

เนื้อหา ทั้งหมด เรียบเรียงมาจากบทความ 4 เรื่องของ "สุกิจ อุทินทุ" รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ไมเนอร์ กรุ๊ป และที่ปรึกษาองค์การแพลนประเทศไทย เขาไม่เพียงติดตามความเคลื่อนไหวเรื่อง CSR ของไทยในระดับใกล้ชิด เขายังเป็นคนหนึ่งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ ของ CSR ในระดับนโยบายอยู่อย่างสม่ำเสมอ


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04110552&day=2009-05-11&sectionid=0221



มาร่วมกันเป็นบริษัทพลเมือง (ที่ดี)

มาร่วมกันเป็นบริษัทพลเมือง (ที่ดี) ของโลก Corporate Citizenship


โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org

ใน ภาพรวมแล้วเราสามารถมอง ได้ว่า corporate social responsibility (CSR) เป็นเพียงขั้นขั้นหนึ่งในทางเดินของบริษัทไปสู่ภาวะความเป็นพลเมืองของสังคม ความเป็นพลเมืองตรงนี้หมายถึงการเป็นสมาชิก "เต็มขั้น" ของสังคมหรือของประชาคมโลก ดังนั้นบริษัทมิได้หยิบ CSR มาเป็นเครื่องประดับการทำงาน แต่นำมาเป็นหัวใจ อย่างน้อยห้องหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ

แนวความคิดการเป็นพลเมืองของ โลก เป็นแนวคิดที่ต่อเนื่องจาก CSR โดยมี มุมมองว่าบริษัทที่เดินทางสาย CSR นั่นจะสามารถสมานผลประโยชน์ของบริษัทเข้ากับผลประโยชน์และสิทธิของผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในบริษัทและภายนอกบริษัทอย่างแท้จริงและยั่งยืน ตั้งอยู่บนความเชื่อว่าบริษัททุกบริษัทล้วนแล้วแต่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่คน บางคน หรือคนบางกลุ่มในสังคม แต่คุณค่าจะเกิดเฉพาะกลุ่มนั้น หรือสามารถเกิดผลประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือสังคมโดยรวมแค่ไหน หรือในทางกลับกันขณะที่เกิดผลดีแก่คนบางกลุ่ม บริษัทนั้นก่อให้เกิดผลเสียแก่คนอีกจำนวนหนึ่งไหม

ดังเช่น อุตสาหกรรมหรือบริษัทที่ทำงานโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ในกระบวนการผลิต หรือบริษัทที่ปล่อยของเสียก่อให้เกิดผลเสียทางสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว ทั้งในยุคปัจจุบันจนถึงยุคลูกหลานใน

อนาคตของเรา ซึ่งดูได้จากภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้เกิดจากการกระทำของ มนุษย์ อันรวมถึงการทำงานของบริษัทและองค์กรทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ที่สะสมก่อตัวมาเป็นร้อยๆ ปี



หนังสือ Beyond Good Company-Next Generation Corporate Citizenship ของเบรดลี่ กูกิน, ฟิลิป เมอร์วิส และสตีเว่น โรชิน หยิบยก เรื่องความเป็นพลเมืองของบริษัท หรือ corporate citizenship เป็นหัวใจของหนังสือ และให้นิยามว่าความเป็นพลเมืองของบริษัทมีรากความคิดอยู่ในเรื่องของ จริยธรรม และจรรยาบรรณของธุรกิจ หรือการตั้งอยู่บนฐานของความดี หรือการกระทำเพื่อความดีของส่วนรวม ความรับผิดชอบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และการปฏิบัติภายในกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ เช่น กฎหมาย มาตรฐานด้านธุรกิจ หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพหรือธุรกิจ

การปฏิบัติภายใต้ กรอบกฎหมายและหลักจรรยาบรรณ ธุรกิจต่างๆ สามารถทำได้พอดีกับหลักปฏิบัติเหล่านั้น หรือตัดสินใจที่จะยึดหลักปฏิบัติดำเนินธุรกิจที่สูงกว่าหลักพื้นฐานของ กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์จรรยาบรรณทั่วไป เช่นการทำให้ระดับมาตรฐานที่สูงกว่าข้อกำหนดทางกฎหมายในการจัดความปลอดภัย กับพนักงาน หรือการทำเกินข้อกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

Beyond Good Company จึงหมายถึงการอยู่ในภาวะมากกว่าและดีกว่าการเป็น "บริษัทที่ดี" ทั่วไป หรือการก้าวสู�แนวหน้าเกินกว่ามาตรฐานปกติ

สำหรับ คนทั่วไปอาจจะมองจากภายนอกว่าบริษัทที่ดีเป็นบริษัทที่มีการ "ให้ต่อสังคม" โดยการช่วยเหลืองานด้านสังคมสิ่งแวดล้อม แต่การ "คืนแก่สังคม" มีหลายรูปแบบมากมายกว่าการบริจาคแต่อย่างเดียว เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นนายจ้างที่ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการยกระดับทางสังคมโดยรวมทั้งสิ้น

หนังสือ Beyond Good Company อธิบายว่า ผลกระทบของบริษัทต่อสังคม ไม่ว่าจะแง่ลบหรือแง่บวกเกิดขึ้นจากวิธีการดำเนินธุรกิจมากที่สุด อันรวมถึงการตัดสินใจเลือก และวิธีทำธุรกิจกับบรรดา suppliers ของบริษัท (ผู้จัดหาและส่งสินค้าแก่บริษัท) และ distributor (ผู้รับขายสินค้าจากบริษัทเพื่อกระจายต่อผู้บริโภค) ภาคีเชิงธุรกิจ (เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน) และกระบวนการอื่นๆ จนสินค้านั้นถึงผู้บริโภค บริษัทขนาดใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในเรื่องการจัดการ ด้านสินค้า วัตถุดิบ หรือบริการ เพื่อส่งต่อแก่ร้านค้าย่อย หรือร้านที่ติดต่อ ผู้บริโภคโดยตรง ค่าใช้จ่ายที่มีส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่เงินเดือนและค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวข้องกับพนักงาน ดังนั้นผลกระทบของบริษัทต่อสังคมย่อมเกิดจากวิธีการดำเนินธุรกิจมากกว่าจะ เกิดจากการช่วยเหลือสังคมเป็นครั้งๆ

การริเริ่มกิจกรรมที่อยู่ใน ข่ายความรับผิดชอบของบริษัท หรือ CSR และการก้าวเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม มีนัยในเรื่องการลดผลเสียที่เกิดการทำธุรกิจให้น้อยที่สุด minimize harm และการเพิ่มผลประโยชน์สูงสุด maximize benefit ผลประโยชน์หรือคุณค่าตรงนี้เป็นคุณค่าที่ตกแก่คนหมู่มาก ไม่ว่าจะผู้ถือหุ้น ผู้บริโภค ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต สังคมและ สิ่งแวดล้อมโดยรวม

การใช้ CSR เป็นวิถีดำเนินงาน แต่ไม่ใช่เป้าประสงค์ในตัวเอง และการตั้งเป้า ประสงค์ในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและของโลกจะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็น ภาพรวม และวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจได้ชัดเจน

ทุกวันนี้โลกใบ นี้ของเราประสบปัญหามากมาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ความขัดแย้งทางการเมืองที่สร้างความแตกแยกทางสังคม การตกงานอันเป็นผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจ และล่าสุดโรคระบาดที่สามารถทำลายชีวิตมนุษย์จำนวนมากมาย เราไม่อาจปฏิเสธว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหลายอย่าง เกิดจากประเด็นทางเศรษฐกิจ และผลของการขยายตัวของธุรกิจที่ขาดการกำหนดขีดขั้นความพอดี และมิได้คำนึงถึงผลกระทบในแง่ของความเสียหายต่อชีวิต เราเรียนรู้ว่าลำพังภาครัฐและกฎหมายไม่สามารถป้องกันหรือหยุดยั้งวิกฤตเหล่า นี้ได้

พลังที่ยังไม่ได้เดินหน้าอย่างจริงจัง คือ ภาคธุรกิจเอกชน หากจะตั้งเป้าสู่การเป็นพลเมืองที่ดี สร้างคุณค่าทางสังคม ทั้งโดยการช่วยเหลือ และโดยวิธีดำเนินงานทางธุรกิจ จะเป็นคลื่นของการเปลี่ยนแปลงในแง่บวก เพื่อตอบรับและเอาชนะวิกฤตต่างๆ ที่โลกและมวลมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างดี


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03110552&day=2009-05-11&sectionid=0221

แกะ "กล่องวิเศษ" ความลับว่าด้วย "การสื่อสาร"



จะ ว่าไปเรื่องราวของการทำโครงการรีไซเคิลขยะ ในเชิงความสดใหม่ของกิจกรรมและตัวโครงการอาจจะดูธรรมดา เพราะวันนี้แทบทุกองค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมล้วนแล้วแต่มีโครงการเช่นนี้ทั้งสิ้น

เพียง แต่ความแปลกใหม่และ "ความลับ" ที่ซ่อนอยู่ในโครงการ "กล่องวิเศษ" นั้นกลับมีความน่าสนใจ โดยหากพิจารณาจากโมเดลของโครงการกล่องวิเศษประกอบจะเห็นว่า หัวใจสำคัญของโครงการไม่ได้อยู่ที่เพียงเป้าหมายในการสร้างคุณค่าให้กับสิ่ง แวดล้อมด้วยการลดปริมาณขยะและลดการใช้ต้นไม้ (10 ล้านกล่อง) และเป้าหมายในการสร้างคุณค่าทางสังคมในแง่ของการส่งเสริมการศึกษา (จำนวน 7,600 ชุด) หากแต่หัวใจยังอยู่ที่ "ความรับผิดชอบ" ของบริษัทที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วซึ่งในแต่ละปีจะมีมากถึง 100 ล้านกล่อง โดยการสร้างโรงงานรีไซเคิลใหม่ที่สามารถนำบรรจุภัณฑ์กะทิที่ใช้แล้ว กลับมารีไซเคิลและทำเป็นคลิปบอร์ด ที่จะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างอุปกรณ์การเรียนอย่างโต๊ะ เก้าอี้ และในอนาคตจะพัฒนาไปสู่การทำชั้นหนังสือและไม้ฝาบ้าน ฯลฯ

หัวใจสำคัญ ยังอยู่ที่การสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า คู่ค้า และประชาชนทั่วไป โดยใช้การชิงโชคทองคำกว่า 1.9 ล้านบาท เป็นแรงกระตุ้นให้คนส่งกล่องกะทิที่ใช้แล้วกลับมารีไซเคิล ซึ่งในแคมเปญนี้คาดหวังว่า แคมเปญการชิงโชคที่ผ่านมา เพราะเชื่อว่าสำหรับแม่บ้านบางคนที่อาจจะไม่ชอบชิงโชค แต่ถ้ารู้ว่าส่งกล่องกลับมาแล้วเป็น การช่วยสังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงกระตุ้น

และเป็นการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่สำคัญโครงการนี้ถูกวาดไว้ว่าจะเป็นโครงการระยะยาว ในการเปิดรับกล่องยูเอชทีเพื่อนำมารีไซเคิล

คุณค่าที่ได้รับจาก โครงการนี้จึงไม่เพียงจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม สังคม แต่ยังรวมถึงคนที่เข้าร่วมโครงการที่จะภาคภูมิใจ รวมทั้งองค์กรเองที่จะเป็นตัวเสริมในการสร้างความสามารถการแข่งขันในอนาคต

แม้ ที่ผ่านมาอาจจะมีการกล่าวถึง "การสื่อสาร CSR" ในแง่ลบ ว่าหากการดำเนินได้รับการคิดที่ครบทุกมิติ "คุณค่า" ที่เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนก็อาจจะคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่าย เพราะนี่ไม่ใช่เป็นเพียงเพื่อวัตถุ ประสงค์แห่งการสร้างภาพลักษณ์ แต่มีเป้าหมายปลายทางอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมในระยะยาว !!


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02110552&day=2009-05-11&sectionid=0221

CSR ที่ "อำพลฟูดส์" วันนี้แค่ "ใจ" อาจไม่พอ !!

CSR ที่ "อำพลฟูดส์" วันนี้แค่ "ใจ" อาจไม่พอ !!


การ ตัดสินใจเทงบประมาณเฉียด 40 ล้านบาท ในการเปิดตัวแคมเปญใหม่โครงการ CSR "กล่องวิเศษ" ของ "อำพลฟูดส์" เจ้าของแบรนด์ "กะทิชาวเกาะ" ต้นตำรับกะทิสำเร็จรูป ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง โดยการตัดสินใจลงทุนโรงงานรีไซเคิลกล่องยูเอชทีเพื่อทำคลิปบอร์ด ซึ่งจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของโต๊ะ เก้าอี้ ที่จะนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ด้วยงบประมาณ 3-4 ล้านบาท พร้อมด้วยงบประมาณในการประชาสัมพันธ์อีกกว่า 30 ล้านบาท (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

"มีคนบอกว่า ถ้าเราต้องลงทุนมากขนาดนี้สู้เราเอางบประมาณไปซื้อโต๊ะเก้าอี้ใหม่ให้กับ เด็กๆ เลยจะดีกว่ามั้ย" เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ กล่าวยิ้มๆ เมื่อเขาเล่าถึงโครงการ CSR ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานมานี้

สำหรับเขาคำตอบคือ "ไม่" !!

อาจ เพราะการก่อเกิดของโครงการให้ความสำคัญกับเรื่องราว "ระหว่างทาง" เท่าๆ กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปลายทาง เพราะแม้ผลลัพธ์จะเหมือนกันในการที่เด็กๆ ในโรงเรียนห่างไกลจะมีชุดโต๊ะเก้าอี้ใหม่ใช้และเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม การศึกษาของเด็ก แต่ระหว่างทางของสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่าง "การให้" เพียงอย่างเดียวกับ การเลือกทำ "โครงการกล่องวิเศษ" นั้นแตกต่างกัน

" เป็นเพราะโครงการนี้เราต้องการรณรงค์ให้แม่บ้าน ประชาชนทั่วไป ลดการใช้บรรจุภัณฑ์และรู้จักนำกลับมาใช้ใหม่ เราต้องการรณรงค์เพื่อจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมองว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย แม้ในปีแรกของโครงการจะตั้งเป้าเพียง 10% ของกล่องที่ได้รับกลับมาโดยเทียบเคียงกับแคมเปญการชิงโชคอื่นๆ ที่เราเคยทำ และเชื่อว่าใน ปีต่อๆ ไปจะยิ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น"

ความร่วมมือ (engagement) จึงกลายเป็นจุดสัมฤทธิ์ของโครงการนี้ และถือเป็นโครงการนำร่องของ "อำพลฟูดส์" ในการเดินตามยุทธศาสตร์ด้านความรับผิด ชอบต่อสังคม ที่กำลังเตรียมคลอดออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งการมีส่วนร่วมนี่เองที่จะเป็นจุดวัดและประเมินผลไม่ใช่ที่ยอดขายหรือราย ได้ที่เพิ่มขึ้น

"การสร้างการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม" ถือเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์ CSR ขณะที่อีก 2 ยุทธศาสตร์เป็นเรื่องของ "การให้" (give back) และการเติมเต็มความสุขด้วยพลังอาสาสมัครพนักงานในองค์กร ซึ่งทั้ง 2 ยุทธศาสตร์หลังที่ผ่านมามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

"ภายใต้การทำ CSR ให้เป็นระบบขึ้น จากเดิมที่เราทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือบริจาคอะไร เราก็กลับมาดูในสิ่งที่เป็นเรามากขึ้น อย่างในยุทธศาสตร์การให้ เราก็พยายามให้สิ่งที่เป็นเรา อย่างการมอบอาหารคุณภาพดีที่เราผลิต เพื่อให้คนด้อยโอกาสในสังคมสามารถเข้าถึงด้วย ไม่ใช่เราทำสินค้าคุณภาพเพื่อขายเท่านั้น" เกรียงศักดิ์กล่าว

ยกระดับ CSR องค์กร

จะ ว่าไป "อำพลฟูดส์" อาจจะไม่แตกต่างอะไรกับองค์กรสัญชาติไทยส่วนใหญ่ที่มีรากฐานและจิตสำนึกแห่ง "การให้" มายาวนาน รวมถึงการดำเนินการในองค์กร ก่อนที่คำว่า CSR จะเดินทางมาถึง เพียงแต่ในบริบทโลกธุรกิจแบบใหม่ และบทเรียนที่ผ่านมา บอกกับเขาในฐานะผู้บริหารว่า ต้องหันมาทำเรื่องนี้ในองค์กรแบบเป็นจริง เป็นจังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแต่งตัว เตรียมรอมาตรฐานใหม่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ซึ่งในขณะนี้กำลังเข้าร่วมโครงการ CSR-DIW ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงการมองไปข้างหน้าของการรักษาความสามารถในการแข่งขันขององค์กร โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการให้

บทเรียนหนึ่งเป็นตัวอย่าง เล็กๆ ที่เกิดจากการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ในชื่อ "Volunteer Club" ที่เป็นสิ่งที่บอกว่า CSR จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวัฒนธรรมองค์กร

" บทเรียนจากการทำกิจกรรมสอนเราว่า บางทีกิจกรรมเล็กๆ อย่างการสร้างฝาย การไปเลี้ยงอาหารเด็กกำลังสร้างความรู้สึกอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกของความภูมิใจ สร้างคุณค่าให้กับตัวเองและได้รู้จักการให้ที่ไม่ได้หวังอะไรกลับคืนมา"

" การสร้างความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นในใจเรื่อยๆ เมื่อเขากลับมาในองค์กร เขาก็ไม่ต้องมาถามว่า ทำสิ่งเหล่านี้ให้องค์กร แล้วเขาได้อะไร และผมเชื่อว่าจะทำให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรในอนาคตทำได้ดีมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาความที่เป็นองค์กรที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเรามักจะได้รับ คำถามจากพนักงานเสมอว่า ทำแล้วเขาได้อะไร ถ้าทุกคนก้าวข้ามความคิดแบบนั้นได้เราก็จะทำงานได้ง่ายขึ้น"

ลดความเสี่ยง-สร้างความแกร่งแบรนด์

จาก บทเรียนและการทอดสายตาที่ยาวไกลถึงความยั่งยืนในปลายทางขององค์กร เป็นอีกเหตุผลที่จำต้อง "ปรับเปลี่ยน" และนำเอาความรับผิดชอบเข้ามาใส่ในทุกจุด ตั้งแต่การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีเป้าหมาย Zero Waste ซึ่งยังมีหลายโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา อาทิ การสร้างบ่อก๊าซจากน้ำเสีย ที่จะกลับมาทำพลังงานทางเลือก

"ทุกวันนี้ ผมว่าเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องที่ตามกันทัน เพราะว่าเทคโนโลยีวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว แต่เรื่องที่จะสามารถ แข่งขันกันได้ยากคือศักยภาพคนที่มีอยู่ในองค์กร ความเข้มแข็งของแบรนด์ ความสามารถในการแข่งขัน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้เวลา"

"วันนี้แบรนด์เราเป็นที่รู้จัก แต่ในอนาคตข้างหน้าคนมีความรู้มากขึ้น การที่เราจะมาบอกว่า เราเป็นแบรนด์แรกที่เก่าแก่เริ่มหมดไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคนเริ่มมองของใหม่ ปัจจุบันสินค้าก็เริ่มเป็นนิชมากขึ้น จะหวังแบบนั้นไม่ได้ แต่วันนี้สิ่งที่เรากำลังทำ CSR มันเป็นการเสริมแบรนด์ให้แข็งแรงขึ้นมากกว่า เรายังมองเรื่องความยั่งยืนอนาคตข้างหน้ามากกว่า ถ้าเราร่วมรับผิดชอบ ผมมองว่าวันหนึ่งคนไม่ได้ตัดสินใจเรื่องคุณภาพของสินค้าอย่างเดียว แต่เริ่มมองว่าแบรนด์นั้นๆ มีความรับผิดชอบหรือเปล่า เพราะสุดท้ายคุณภาพของสินค้า สิ่งที่เราคาดหวังกับการทำ CSR จึงไม่ได้เป็นยอดขาย รายได้ แต่เชื่อว่าการทำ CSR วันนี้อาจจะได้ผลในอีก 3-5 ปีข้างหน้า"

ในท้ายที่สุดเขาเชื่อว่า การจะจัดระบบระเบียบและการจะเคลื่อนขบวนความรับผิดชอบใดๆ ก็แล้วแต่ ย่อมต้องไม่ลืมหันกลับมาสู่จุดเริ่มต้นว่า "พนักงาน" ที่ทำงานในทุกวันมีความสุขหรือไม่ เพราะถ้าในบ้านยังไม่เรียบร้อย การก้าวไปแบ่งปันยังคนนอกบ้าน จะด้วยกลยุทธ์ใดๆ ก็ตาม การจะสร้างคุณค่าจากสิ่งที่ทำและจะสร้างความยั่งยืนคงเป็นเรื่องยาก !!


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01110552&day=2009-05-11&sectionid=0221

ยีนหยิบยื่นอนาคต



โดย สุวรรณา (อรรถพันธ์) สมใจวงษ์ TukCSR@gmail.com

วันนี้มีปริศนามาให้ทายค่ะ "5/01 และ 501 คืออะไร"

5/01 นี้หมายถึงวันที่ 1 เดือน 5 ซึ่งก็คือ May day วันแรงงาน

วัน 5/01 นี้มีความหมายพิเศษเฉพาะสำหรับพนักงาน 501 หรือชาวลีวายส์ในชื่อของ "501 day" ชื่อวันนี้ได้มาจากชื่อกางเกงยีนรุ่นโด่งดังที่ชื่อว่า 501 นั่นเอง ในวันนี้พนักงานลีวายส์ในทุกมุมโลกจะพร้อมกันอาสาสมัครช่วยเหลือองค์กรการ กุศลต่างๆ ในเขตชุมชนของตนเอง และยังชักชวนให้ผู้บริโภคทั่วอเมริกาทำสิ่งดีๆ เพื่อช่วยคนและชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลืออะไรก็ได้

ถ้าดูเพียง แค่ส่วนเงินบริจาคเพียงอย่างเดียวที่ระดมทุนได้จากการจัดงาน 501 day นี้ นับแต่ปี 2543 จนถึงวันนี้ได้เงินช่วยชุมชนรวมกันมากกว่า 50 ล้านบาทเลย ทีเดียว โครงการเด่นของวัน 501 day นี้คือโครงการ "Give Jeans" ที่จัดขึ้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 5/01 (วันแรงงาน) ไปจนถึง 10 พฤษภาคม โดยเชิญให้ผู้บริโภคนำยีนเก่ายี่ห้ออะไรก็ได้มาบริจาคให้ร้านลีวายส์บางสาขา ในอเมริกา และยีนเก่าเหล่านี้จะถูก ส่งต่อไปบริจาคให้ กลุ่มกู๊ดวิลล์ อินดัสทรีย์ เพื่อนำไปขายต่อในร้านสาขาต่างๆ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนโครงการฝึกอบรมด้านอาชีพและการศึกษาสำหรับช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสทั้งในด้านการศึกษาและในด้านประสบการณ์ในการทำงาน ผู้พิการ คนทำงานค่าแรงต่ำ และคนหางานทั่วไป ซึ่งกลุ่มกู๊ดวิลล์ อินดัสทรีย์มีการดำเนินงานเพื่อสังคมในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

ไม่ใช่ เพียงให้บริจาคกันเฉยๆ แต่ลีวายส์ยังมอบส่วนลด 25 เปอร์เซ็นต์สำหรับการซื้อกางเกงยีนลีวายส์ตัวใหม่แลกกับน้ำใจ ผู้บริจาค นับว่าเป็นการบริจาคยีนเก่าที่ คุ้มค่า ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องส่วนลดนิดหน่อยตรงนี้ แต่เมื่อใส่ยีนเก่าไม่ได้ ก็นำมาบริจาคให้คนอื่นซื้อไปใส่ต่อ เงินที่ขายยีนเก่านำไปช่วยให้คนที่หางานทำในชุมชนและทักษะ สร้างโอกาสได้งานใหม่ที่ดีและเหมาะกับตน

กลุ่มกู๊ดวิลล์ อินดัสทรีย์เป็นกลุ่มซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลกว่า 184 แห่งในอเมริกา แคนาดา และในอีก 14 ประเทศเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ลีวายส์ให้การสนับสนุน เป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้ว่าลีวายส์จะมีมูลนิธิลีวายส์ สเตร๊าซ์ของบริษัทเอง และมีมูลนิธิเรด แท็ป ซึ่งตั้งโดยอดีตพนักงานลีวายส์เพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อนพนักงานที่ลำบาก ในเรื่องเงินและปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่ลีวายส์ก็ยังขยายความช่วยเหลือเผื่อแผ่ไปให้แก่มูลนิธิอื่นที่ลีวายส์ เชื่อว่าดีและเหมาะสมจริงสำหรับชุมชน

นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ในวันเดียวกันนี้เจ้าหน้าที่ของกลุ่มกู๊ดวิลล์ อินดัสทรีย์จะได้รับเชิญให้ตามประกบ พนักงานของร้านลีวายส์สาขายูเนี่ยนสแควร์ ซานฟรานซิสโก เพื่อเรียนรู้ระบบการจัดการในร้านของลีวายส์นำความรู้ใหม่ไปฝึกอบรมคนหางาน ในอุตสาหกรรมค้าปลีกต่อไป

เพราะลีวายส์มียีนคุณภาพดี ใช้งานได้ทนทานจริง ปรับรูปแบบเสมอ มีตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสม พนักงานได้รับความใส่ใจ รวมถึงมีโครงการ CSR ที่น่าสนใจและน่ารักอย่างนี้ เป็นอีกหนึ่งสินค้าจากบริษัทดีๆ ที่หยิบยื่นอนาคตที่ดีกว่าให้กับสังคม จึงไม่แปลกที่ลีวายส์สามารถยืนหยัดมาได้ร้อยกว่าปี องค์กรไหนอยากอยู่นานๆ แบบมั่นคงและยั่งยืนลองหาแนวทาง CSR ที่เหมาะสมกับองค์กรของเราเองมากที่สุดแล้วมาพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ให้คนในโลกพัฒนาไปให้ไกลกว่าทุกวันนี้


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05040552&day=2009-05-04&sectionid=0221

บริษัทยอดเยี่ยม-ยอดแย่"51

บริษัทยอดเยี่ยม-ยอดแย่"51 กระจกสะท้อน "ความรับผิดชอบ" ธุรกิจ

การ ประกาศผลโหวตจาก โครงการสำรวจความเห็นของ ผู้บริโภคเรื่องผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณา ยอดเยี่ยม/ยอดแย่ ประจำปี พ.ศ. 2551 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและภาคีเครือข่าย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงไม่เพียงเป็นครั้งแรกในไทยที่มีการจัดอันดับบริษัทยอดเยี่ยมและยอดแย่

ใน เวลาเดียวกันนี้เป็นเสมือนสัญญาณ จากผู้บริโภค และอาจจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กรในอนาคต !!

กระจกสะท้อน "ธุรกิจ"

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการทำโครงการนี้เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคและให้ความสำคัญกับ สิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการแม้กระทั่งสื่อโฆษณา ในขณะที่องค์กรธุรกิจเองจะได้เห็นว่าการส่งเสียง ของผู้บริโภคมีผลกระทบต่อผู้ผลิต และเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนให้ผู้ผลิตปรับพฤติกรรมในบางเรื่อง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความเข้มแข็ง ดังเช่นในต่างประเทศการทำแบบนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เรื่องนี้ลง สู่การปฏิบัติที่เป็นจริงมากขึ้น



" ที่ผ่านมาเราได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเป็นจำนวนกว่า 3,000 เรื่อง การจัดกิจกรรมนี้จะทำให้ผู้บริโภคมี ช่องทางในการแสดงความคิดเห็นต่อสินค้า บริการ และโฆษณาที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็จะเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไปพร้อมกันด้วย" รศ.ดร.จิราพรกล่าว

เบบี้มายด์-SCB-ไทยประกันเข้าวิน

สำหรับ ผลการตัดสินจากผลโหวตของประชาชนกว่า 3,000 คนทั่วประเทศ จากการสำรวจของเอแบคโพลและสื่อมวลชนทั้งอินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ ฯลฯ พบว่าบริษัทยอดเยี่ยมแบ่งเป็น 3 รางวัล 1.ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ แป้งเด็กเบบี้มายด์ เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่ากลิ่นหอม เนื้อแป้งละเอียดเนียนนุ่ม ราคาประหยัด ไม่แพ้ง่าย 2.บริการยอดเยี่ยมได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพราะเอาใจใส่ลูกค้า บริการรวดเร็ว ให้คำแนะนำดี (โดยไม่ได้พิจารณาเรื่องโครงสร้างดอกเบี้ย) และ 3.รางวัลโฆษณายอดเยี่ยมได้แก่ โฆษณา ชุดแม่ต้อยของบริษัทไทยประกันชีวิต ด้วยเหตุผลว่า เป็นโฆษณาที่มีเนื้อหากินใจ สร้างสรรค์

ปตท.คว้า บ.ยอดแย่

สำหรับ บริษัทยอดแย่ในสายตาผู้บริโภค 3 รางวัล ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยอดแย่ได้แก่ ก๊าซและน้ำมันของบริษัท ปตท. เนื่องจาก ผู้บริโภคเห็นว่ามีราคาแพง การควบคุมราคาขายของทางร้านไม่ชัดเจน ถังเก่า น่ากลัวอันตราย ไม่ชอบผู้ถือหุ้น มีการขนส่งที่ล่าช้า ใช้ได้เฉพาะรถบางชนิดเท่านั้น และใช้ราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ โดยไม่ยอมใช้ราคาต้นทุนที่แท้จริงทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจ บริการยอดแย่ได้แก่ บริการ รถโดยสารสาธารณะ ที่รวมตั้งแต่รถประจำทางของ ขสมก. รถร่วม รถทัวร์ของ บ.ข.ส. รถไฟ เพราะพนักงานไม่สุภาพ ที่นั่งแคบ ไม่ตรงเวลา และขายตั๋วเกินราคา สภาพรถไม่ดี ขับรถเร็ว รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่พบว่าประเทศไทยมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะเฉลี่ยปีถึงละ 3,000-4,000 ครั้ง ส่วนโฆษณายอดแย่ได้แก่โฆษณาของบริษัททีวี ไดเร็ค โดยให้เหตุผลว่า เป็นการโฆษณาเกินจริง น่าเบื่อ สินค้าไม่มีคุณภาพ เป็นสินค้าไม่จำเป็น ชักจูงเกินไปและหลอกลวง ประชาชน

แม้จะเป็นเวทีเล็กๆ แต่ผลจากเวทีนี้ย่อมเป็นกระจกสะท้อนสำคัญถึงการทบทวนถึงความรับผิดชอบของ องค์กรที่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของใครหลายคน !!


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04040552&day=2009-05-04&sectionid=0221

การเตรียมข้อมูลสำหรับรางวัล CSR



โดย พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์

ถือ เป็นเรื่องปกติสำหรับองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ดำเนินงานด้านบรรษัทบริบาล (Corporate Social Responsibility : CSR) มาอย่างต่อเนื่อง จะคำนึงถึงการเสนอชื่อหน่วยงานหรือโครงการเข้าประกวด เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นวิสาหกิจดีเด่นในการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวด ล้อมจากหน่วยงานผู้มอบรางวัล CSR Award ต่างๆ

คำถามที่เกิดขึ้นใน องค์กรธุรกิจและ รัฐวิสาหกิจที่มีความสนใจเข้าร่วมประกวดส่วนใหญ่คือ จะมีเกณฑ์อะไรในการ คัดเลือกโครงการที่สมควรได้รับรางวัล หรือเรียกว่าเข้าตากรรมการผู้พิจารณามอบรางวัล CSR Award และมีความโดดเด่นกว่าโครงการขององค์กรอื่นๆ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้า ใจกันทั้งฝั่งของผู้เสนอตัวเข้าประกวดและกรรมการผู้ตัดสินรางวัลว่า CSR เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ซึ่งหมายถึงการดำเนินงานขององค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่รวมทั้งงานหรือภาระหน้าที่ในกระบวนการ (CSR in process) และที่ทำเพิ่มเติมโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกกระบวนการ (CSR after process) นับ ตั้งแต่การเยียวยาฟื้นฟูจากที่ติดลบให้กลับเป็นปกติ และจาก

ปกติให้ น่าอยู่หรือเป็นบวกมากขึ้น การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จึงต้องถูกผนวกอยู่ในทุกกระบวนการงานขององค์กร มิใช่เป็นกิจกรรม/โครงการเพื่อสังคม เพียงกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น

ฉะนั้นหากองค์กรใดกำลังพิจารณา ที่ตัวโครงการเพื่อส่งเข้าประกวดเป็นหลัก หรือในฝั่งกลับกัน หากหน่วยงานผู้มอบรางวัลพิจารณาตัดสินที่ตัวโครงการเป็นหลัก ก็ แสดงว่ายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างดีพอที่จะส่งเข้าประกวด หรือที่จะมาพิจารณามอบรางวัลกันทั้งสองฝ่าย ยกเว้นว่าเวทีการประกวดนั้น มีข้อกำหนดที่เฉพาะเจาะจงว่า เป็นการประกวดกิจกรรมเพื่อสังคมหรือโครงการเพื่อสังคม ซึ่งก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นอกจากปัจจัยในเรื่องเนื้อหาการดำเนิน ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ต้องมีความเข้มข้น สามารถตอบโจทย์หรือปัญหาของสังคมได้ตรงตามต้องการ และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างจริงจังแล้ว การให้ข้อมูลหรือการตอบแบบสอบถามเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกรับรางวัล ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะหลายครั้งที่องค์กรซึ่งดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างน่ายกย่อง แต่กลับไม่ได้รับรางวัล เนื่องจากขาดการเตรียมข้อมูลที่ดีพอ และมิได้หมายความว่า วิสาหกิจอื่นซึ่งได้รับรางวัลจะดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมได้ดีไปกว่า องค์กรเหล่านี้แต่อย่างใด

การตอบแบบสอบถามเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัด เลือกรับรางวัลจะต้องประกอบด้วยความแม่นยำ (accuracy) ความ ครอบคลุม (coverage) ความมีนัยสำคัญ (materiality) และความชัดเจน (clarity) โดยประเด็นที่อยากจะกล่าวถึงในที่นี้คือ เรื่องความครอบคลุมและความมีนัยสำคัญของเนื้อหาการดำเนินงานด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม

ในเรื่องของความครอบคลุม การเตรียมข้อมูลการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในส่วนแรกควรมีรายละเอียดที่ระบุถึงความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ขององค์กรที่ เรียกว่าเป็น commitment หรือ engagement ในเรื่อง CSR ซึ่งจะปรากฏอยู่ในนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม หรือแผนการดำเนินงานด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานด้าน CSR ตลอดจนการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ หรือรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมประจำปี

ในส่วนที่ สองเป็นรายละเอียดการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า practices ขององค์กรในเรื่อง CSR ซึ่งควรต้องครอบคลุมในเรื่องหลักๆ ตามแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานทาง CSR ที่เป็นสากลหรือเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร (organizational governance) สิทธิมนุษยชน (human rights) การปฏิบัติด้านแรงงาน (labour practices) สิ่งแวดล้อม (the environment) การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (fair operating practices) ประเด็นด้าน ผู้บริโภค (consumer issues) การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน (community involvement and development) และนวัตกรรม (innovation) ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ใน เรื่องของความมีนัยสำคัญ เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาของแต่ละหน่วยงานผู้มอบรางวัลจะมีราย ละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดีการพิจารณาสาระสำคัญของการดำเนินงานด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมจะมีเกณฑ์ที่คล้ายคลึงกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่

การ มุ่งเน้นหลัก (focus) โดยการพิจารณาว่าองค์กรให้การมุ่งเน้นในการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวด ล้อมนั้นๆ มากน้อยเพียงใด มีการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรในการดำเนินงานอย่างเพียงพอหรือไม่ อย่างไร มีการเฝ้าติดตามวัดความก้าวหน้าของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ และมีการประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ความต่อ เนื่อง (continuity) โดยการพิจารณาว่าองค์กรมีความต่อเนื่องในการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวด ล้อมนั้นๆ มากน้อยเพียงใด มีกำหนดวันเริ่มต้นและ วันสิ้นสุดการดำเนินงานในลักษณะใด มีการจัดทำคู่มือการดำเนินงาน เพื่อการมอบหมายและถ่ายโอนงานอย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ และมีการต่อยอดขยายผลการดำเนินงานไปสู่พื้นที่ดำเนินงานอื่นๆ ด้วยหรือไม่ อย่างไร

การร่วมดำเนินงาน (collective action) โดยการพิจารณาการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ว่าเปิดโอกาสให้ พนักงานและบุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด ตั้งแต่กระบวนการคิดค้นและออกแบบการดำเนินงานไปจนถึงการมีส่วนร่วมในผลลัพธ์ จากการดำเนินงาน หรือเป็นการดำเนินงานที่ร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน และมีการแบ่งสรรทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานร่วมกันอย่างไร

หวังว่า ข้อแนะนำข้างต้นคงจะเป็นประโยชน์ให้แก่วิสาหกิจที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อ สังคมมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ไม่จัดเจนในเรื่องของการเตรียมข้อมูล สามารถที่จะให้ข้อมูลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกรับรางวัล CSR จากหน่วยงานต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03040552&day=2009-05-04&sectionid=0221

Steakholders Engagement @ SCG




เป็น เรื่องธรรมดาของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่แม้จะถึงพร้อมด้วยศักยภาพ ความสามารถ งบประมาณ และพละกำลังในการขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ แต่ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งยากในการลดช่องว่างระหว่าง "องค์กร" กับ "ผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสีย" โดยเฉพาะ "คนเล็กๆ" ในชุมชน

นี่จึงเป็นโจทย์ที่ยาก สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ยิ่งในการดำเนินโครงการเพื่อสังคม ที่ชุมชนถือเป็นกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ "มัทนา เหลืองนาคทองดี" ที่ปรึกษาการสื่อสารองค์กร บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่า "เราต้องพยายามลดช่องว่างตรงนี้"

"ในมุมของเอสซีจี เราเชื่อว่าการทำ CSR ไม่สามารถสำเร็จได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วม ถ้าเอสซีจีเข้าไปทำโครงการแล้ว เราออกมาเขาอยู่ไม่ได้ อย่างนั้นไม่ใช่ CSR แต่เราต้องทำให้ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้เขามีความรู้และดูแลต่อได้"

" มัทนา" ยังถ่ายทอดบทเรียนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการ ดำเนินโครงการฝายชะลอน้ำในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่วันนี้เดินไปสู่จุดหมายปลายทางโดยสร้างเสร็จแล้วครบ 10,000 ฝายว่า ในโครงการเราแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกที่คำนึงถึงในการเข้ามามีส่วนร่วมคือพนักงานและครอบครัว กลุ่มที่ 2 ชุมชน ผู้แทนจำหน่าย ผู้ถือหุ้น และกลุ่มสุดท้ายประชาชนทั่วไป ที่มีทั้งนักเรียน นักศึกษา เอ็นจีโอ บริษัทอื่นๆ ที่ทำให้ในที่สุดมีคนเข้ามาร่วมโครงการกว่า 30,100 คน และเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 3 ปีของโครงการ

โดย แนะนำการสร้างการมีส่วนร่วมได้ 1.ต้องเป็นเพื่อนที่ดี อย่ารู้สึกว่าเราเป็นนายเขา 2.ต้องให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 3.มีความจริงใจ 4.ต้องสร้างความร่วมมือ 5.ต้องทำอย่างต่อเนื่อง 6.มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ 7.ทำจริง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนของโครงการในระยะยาว

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02040552&day=2009-05-04&sectionid=0221


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สร้างคุณค่า "ห่วงโซ่สังคม"

สร้างคุณค่า "ห่วงโซ่สังคม" ติดปีก "ขีดแข่งขัน" องค์กร


ไม เคิล อี. พอตเตอร์ กูรูด้านการตลาดและการจัดการเคยเสนอแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในเชิงการ แข่งขัน ด้วยแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

เพราะเชื่อว่าในทุกกระบวนการของการดำเนินธุรกิจนั้นมีผลต่อการเพิ่มคุณค่าต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือการจำหน่าย

" การเพิ่มมูลค่าในทุกๆ จุดของกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่พอตเตอร์บอกในแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของเขา เช่น ถ้าองค์กรมีเป้าหมายกำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง ก็จะต้องเพิ่มมูลค่าทุกอย่างไปในทุกจุดเพื่อให้เดินไปถึงเป้าหมายที่ว่านั้น " ผศ.ดร.กฤตินี ณัฐวุฒิสิทธิ์ นักวิชาการด้านการตลาด แห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ กล่าว

เพียงแต่ในวันนี้ "ห่วงโซ่ของคุณค่า" ในแบบเดิมอาจจะไม่เพียงพอ

ยิ่งใน "วิกฤต" เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญหน้า

" ถ้าเรามองวิกฤตจะเห็นว่าปัญหาความล้มเหลวของเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาค จุลภาค มีปัญหาหลักอยู่เรื่องเดียวคือความสมดุล ไม่ว่าการขาดความสมดุลของการไปขอเครดิต การขาดความสมดุลของการปล่อยกู้ ดังนั้นเพียงกำไรสูงสุดอาจจะไม่ใช่คำตอบของการนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ได้ แนวคิดของการสร้างคุณค่าใน ห่วงโซ่ของสังคม (Creating Social Value Chain) จึงเกิดขึ้น"

แม้ปัจจุบันจะยังอยู่ในระหว่างการถกเถียงและหา ข้อสรุป ว่ารูปแบบของการสร้างคุณค่าในห่วงโซ่สังคมจะเป็นอย่างไร แต่จากการพูดถึงเรื่องนี้อย่างเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กำลังตอบว่า การจะนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนได้ จำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ในแนว คิดการสร้างคุณค่าในห่วงโซ่ของสังคม (Creating Social Value Chain) จึงหมายถึงการที่องค์กรและสังคมจะเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร

" เวลาเราพูดถึงการสร้างคุณค่าในห่วงโซ่สังคม คนมักจะนึกไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชน แต่วันนี้เรากำลังพูดถึงการนำแนวคิดนี้มาใช้ในองค์กรธุรกิจ ที่สุดท้ายก็ยังต้องพูดถึงเรื่องกำไร เพียงแต่จะทำอย่างไรให้มีกำไรไปพร้อมกับความยั่งยืนของสังคม ซึ่งก็อาจจะเหมือนภาพเดิมในมุมของห่วงโซ่คุณค่า แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการเพิ่มมิติทางสังคมเข้าไปในทุกๆ จุด นอกจากนั้นในแนวคิดนี้ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าไปทีละจุด โดยไม่ได้ดูที่เป้าหมาย

เป็นตัวตั้งเหมือนแนวคิดเดิม เพราะจากบทเรียนขององค์กรจำนวนมากก็บอกกับเราว่า การที่ทำให้คนเห็นภาพรวมในการสร้างคุณค่าให้กับสังคม จะทำให้แต่ละจุดสามารถพัฒนาได้ด้วยตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องตั้งเป้าหมายและคิดว่าจะใส่อะไรมาเพื่อเพิ่มคุณค่า" ผศ.ดร.กฤตินีกล่าว

คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก

คล้ายกับสิ่ง ที่ "ซีเอ็ด" หนึ่งในผู้นำในกลุ่มธุรกิจสำนักพิมพ์และร้านหนังสือใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา องค์กร ซึ่งเรียนรู้จากประสบการณ์ "ทนง โชติสรยุทธ์" กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด ถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารองค์กรไว้ว่า 34 ปีมาแล้วที่ซีเอ็ดเริ่มต้นธุรกิจนี้จากกลุ่มคนที่เป็นวิศวกร และเป็นนักกิจกรรม ด้วยเป้าหมายที่ต้องการจะเอื้ออำนวยให้คนไทยสามารถศึกษาหาความรู้ ในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ แม้ในช่วงแรกจะล้มลุกคลุกคลาน เพราะ ต่างคนต่างไม่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ แต่เมื่อพอตั้งหลักได้ พวกเขาตั้งคำถามว่า จะสร้างความสมดุลอย่างไร ระหว่างความยั่งยืนทางธุรกิจกับอุดมการณ์

โดยเอาปัญหาในการพัฒนา ประเทศมาเป็นโจทย์ในการทำธุรกิจ "เราพยายามสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบนี้ คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก เราจะทำในสิ่งที่เป็นการบุกเบิก และทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ"

ธุรกิจหนึ่งของ "ซีเอ็ด" เป็นตัวอย่างการเกิดขึ้นของโรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะตอบโจทย์ปัญหาสังคมที่ว่า ด้วยการสร้างโรงเรียนให้เด็กไทยสู้ ต่างชาติได้ ไม่เพียงพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ปัจจุบันพบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 มีสาเหตุการเสียชีวิตลำดับแรก มาจากการจมน้ำ จึงมีการผลักดันให้มีวิชาการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ร่วมกับภาคีเพื่อพัฒนาโครงการที่จะขยายองค์ความรู้เรื่องนี้ไปยังครูใน โรงเรียนต่างๆ และเป็นตัวอย่างของความพยายามเชื่อมโยงโจทย์ของประเทศเข้ากับธุรกิจโดยที่ ไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่ต้องลงทุน

ทุกจุดเชื่อมโยงกัน

ผศ. ดร.กฤตินีบอกว่า "การสร้างคุณค่าห่วงโซ่สังคม เป็นการมองภาพแบบองค์รวม (Holistic) มองว่าทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้น และไม่จำเป็นต้องเริ่มนับจาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จนไปถึงเป้าหมาย แต่การมองแบบนี้จะมองความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก 1 ถึง 5 เป็นภาพเดียวกัน เหมือนกรณีของซีเอ็ด จะเห็นว่าเขาสามารถทำให้ พนักงานในภาพรวมมองเห็นว่าธุรกิจที่ทำคือการพัฒนาคน ซึ่งแต่ละจุดก็มุ่งที่จะพัฒนาตัวเอง โรงเรียนก็อาจจะไม่ได้มองว่าจะต้องเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจของซีเอ็ดอย่างไร แต่การที่เห็นภาพรวมของธุรกิจชัดทำให้โรงเรียนพยายามพัฒนาตัวเอง ที่ท้ายที่สุดก็นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ที่อาจจะ สามารถเปรียบเทียบได้กับการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในทุกจุด เช่นเดียวกับที่คุณโชค (โชค บูลกุล) บอก"

เริ่มต้นที่พนักงาน

จาก ประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจเช่นฟาร์มโชคชัยมาเป็นเวลากว่า 17 ปี "โชค" พบว่าสิ่งที่นำพาฟาร์มโชคชัยให้ก้าวยืนบนความสำเร็จได้ในวันนี้ กระทั่งวิกฤต ที่ส่งผลกระทบไปทั่ว ยังไม่สามารถสั่นคลอนการเติบโต เป็นเพราะการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steakholder) โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ใกล้ชิดกับองค์กรมากที่สุดคือ พนักงาน

"ผมว่าสิ่งที่ เราทำมาตลอดที่ทำให้กระทั่งในช่วงวิกฤตอย่างวันนี้เราก็สามารถเติบโต สิ่งสำคัญมาจากการที่เราพยายามสร้างความสุขให้เกิดขึ้นภายในองค์กร สำหรับเรา ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ไม่ใช่การปลูกต้นไม้ แต่เป็นการปลุกจิตสำนึกให้เขา สร้างแรงบันดาลใจและ ส่งเสริมให้เกิดการทำดี ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและสามารถสัมผัสได้จากการที่ผู้บริโภค ใช้สินค้าและบริการ และเชื่อว่าการทำในสิ่งที่ถูกต้องจะมีที่มีทางให้ลง และนำมาสู่การสร้างคุณค่าขององค์กรและสังคมตามมา" โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟาร์มโชคชัยกล่าว

สร้างการมีส่วนร่วม

การ บริหารความสัมพันธ์กับ "พนักงาน" จึงเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น ที่การก้าวสู่การสร้างคุณค่าในห่วงโซ่สังคม ที่จะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนขององค์กร ดังนั้นหากจะกล่าวโดยสรุป ผศ.ดร.กฤตินีบอกว่า "เราจะเห็นว่าทุกธุรกิจที่สร้างคุณค่าได้จากการสร้างความสมดุลในการทำธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น เอาพนักงานเป็นตัวตั้ง เมื่อพนักงานมีความสุข ทำงานมีประสิทธิภาพ ก็นำไปสู่ความสุขของลูกค้าที่ได้รับบริการ พอลูกค้ามีความสุข ผลตอบแทนของบริษัทก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสร้างความพอใจของผู้ถือหุ้น เพียงแต่ต้องเป็นความพึงพอใจแบบมีส่วนร่วม โดยไม่ได้พอใจแต่กำไร แต่ต้องมีความสุขกับการพัฒนาสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้ดำรงอยู่ต่อไป ซึ่งก็จะเป็นแรงกลับมาทำให้พนักงานและองค์กรสามารถสร้างคุณค่าต่อสังคมให้ เดินไปอย่างต่อเนื่อง"

และจะทำเช่นนี้ได้ย่อมต้องอาศัยการมีส่วนร่วม จาก "ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย" ที่เกี่ยว ข้องกับองค์กรทั้งหมด เพราะในโลกความเป็นจริงทางธุรกิจ ไม่มีใครเป็น "ซูเปอร์ ฮีโร่" และอยู่ได้เพียงลำพัง !!


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01040552&day=2009-05-04&sectionid=0221

ได้ทั้งภาพ ได้ทั้งกล่อง (นม)




ต้องยอมรับว่าการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก

นับ ตั้งแต่เริ่มโครงการ "เด็กไทยหัวใจรีไซเคิล" ของ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด นับตั้งแต่ปี 2549-2550 กว่าจะได้ผลในเชิงรูปธรรมอย่างจริงๆ จังๆ ก็เมื่อครั้งทำโครงการ "แจ๋วรักษ์โลก" ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รณรงค์ให้ผู้ชมรายการและประชาชนทั่วไปคัดแยกกล่องเครื่องดื่ม เพื่อนำไปรีไซเคิล ที่ทำให้มีผู้ส่งกล่องนม เข้ามาถึง 249 ล้านตัน หรือ 24 ล้านกล่อง

ก้าวต่อของ "เต็ดตรา แพ้ค" ในปีนี้ จึงเดินบนเส้นทางเดิมคือการจับมือกับพันธมิตร เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางการสื่อสารในการรณรงค์ผ่านรายการโทรทัศน์ มาเป็นการสื่อสารโดยใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า "บิ๊กซี" ที่ร่วมเป็นพันธมิตรในปีนี้ในการรณรงค์ ภายใต้โครงการ "ร่วมรักษ์โลกกับบิ๊กซี และเต็ดตรา แพ้ค"

โดยบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ทั้ง 67 สาขาทั่วประเทศ รับหน้าที่เป็นจุดรับกล่องเครื่องดื่มจากประชาชน พร้อมจัดให้มีกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาในบิ๊กซี 7 สาขา รวมถึงให้ความรู้กับพนักงาน เพื่อสร้างความตระหนักและทัศนคติที่ดีและทักษะการเผยแพร่ข้อมูลโครงการให้ กับพนักงาน ก่อนจะนำกล่องเครื่องดื่มที่รวบรวมได้ ส่งต่อไปยังศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม เพื่อรีไซเคิลและนำไปผลิตเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนและนำไปบริจาคให้กับเด็ก นักเรียนในถิ่นทุรกันดาร

"กลอยตา" กล่าวว่า "เมื่อเดินไปที่ชั้นวางสินค้าของบิ๊กซีแทนที่จะมีการติด โปรโมชั่นก็เปลี่ยนเป็นการติดข้อความที่ให้ข้อมูลประชาชนเกี่ยวกับสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ที่จะกลายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ให้กับผู้ ด้อยโอกาสได้แค่เพียงลูกค้าให้ความร่วมมือ"

งานนี้จึงได้ทั้ง "ภาพ" ได้ทั้งกล่อง (นม)

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04270452&day=2009-04-27&sectionid=0221



สร้าง"องค์กรยั่งยืน" ด้วยห่วงโซ่ทางสังคม



วิกฤต สังคมในวันนี้มีความซ้ำซ้อนมากเกินกว่าธุรกิจจะเข้าถึงต้นสายปลายเหตุของ ปัญหาต่างๆ ได้ ตัวอย่างความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นในวันนี้ชี้ให้เห็นว่าภาคการเมืองมิ ได้มองเห็นปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง เพียงแต่มองไม่พ้นประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องของตนเองเท่านั้น ธุรกิจก็เช่นกันหากยังมีวิธีคิดการทำธุรกิจแบบมี CSR ในกระบวนทัศน์ ที่ไม่ไกลจากวิชาการบริหารกลยุทธ์ทางธุรกิจทั่วไป เราอาจจะจมตัวเองลึกลงไปในกองปัญหาความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย อย่างไม่รู้ตัวก็ได้

และเป็นการจำกัดพลังหรือผลประโยชน์ของ CSR ต่อการสะท้อนคุณค่าแท้จริงขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะคุณค่าที่สร้างสรรค์ในการเป็นผู้นำที่ร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือสุขภาวะของผู้คนในสังคม

เมื่อสำรวจดูกระแสเรียกร้องขององค์กร ระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ISO 26000 ฉบับร่างคณะกรรมการ (committee draft) มีการย้ำจุดสำคัญๆ ที่น่าสนใจหลายประเด็น

1.core value สิ่งที่เป็นแกนกลาง คือการมีหลักธรรมาภิบาลที่ภาคธุรกิจพึงมี เป็นแกนกลางของทุกๆ หน่วยงาน ซึ่งนั่นก็คือจุดตั้งต้นของการแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของภาคธุรกิจ

2.seven issues องค์ประกอบทั้ง 7 ประเด็นนั้นเป็นคำแนะนำที่เชิญชวนให้ธุรกิจหันกลับมาดูนโยบาย กลยุทธ์ และลักษณะการดำเนินงานของตนเองว่าได้มีทำอะไรอยู่แล้ว (due diligence) โดยที่ไม่ได้มีความพยายามบอกว่า CSR คือเรื่องใหม่ หรือเป็นเรื่องการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจแต่ อย่างไร



3.adaptation to local context ได้มีการบอกที่มาของแนวคิดองค์ประกอบของแต่ละประเด็นเป็นการแสดงแนวทางให้ ธุรกิจสามารถประยุกต์ให้เข้ากับธุรกิจของตัวเอง ทั้งมีการกระตุ้นให้พิจารณาถึงความเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น (local context)

4.integrity and social responsibility ความจริงใจและจิตสำนึก เป็นบ่อเกิดสำคัญส่วนหนึ่ง ต้องเริ่มที่ผู้นำเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ผู้ตามและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นมีความสำคัญมิได้แตกต่างกัน กลับเป็นตัวรั้งการพัฒนาที่ยากกว่า การไม่เริ่มที่ผู้นำในบางกรณีด้วยซ้ำไป

5.creating social value chain through stakeholder engagement แม้ว่า ISO 26000 ฉบับ committee draft จะไม่ได้กล่าวเรื่องนี้โดยตรง แต่เมื่ออ่านทุกตัวอักษรได้มีการพูดถึงเรื่อง value chain ในการโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละประเด็น รวมถึงการคำนึงถึง stakeholder engagement เป็นภาคส่วนสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมนี้

หากสังคมไทย จะก้าวข้ามไปที่ความหมายธรรมดาสามัญในฐานะการเป็นพลเมืองที่ดีของธุรกิจ การคิดเพียงสร้างห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของภาคธุรกิจ ก็ยังเป็นรูปแบบแนวคิดการบริหารแบบเดิมๆ ที่เชื่อมโยงภายในการดำเนินธุรกิจ การจะก้าวข้ามมาสู่การสร้างพลังทางสังคมของภาคธุรกิจต้องดูเส้นสายของ value chain ที่ยาวขึ้นโดยมีสังคมเป็นตัวตั้ง และมองให้เห็นห่วงโซที่ยาวมากพอที่จะเชื่อมโยงไปที่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

การเห็นและลงมือทำเช่นนี้แล้ว จะเห็นว่า CSR เป็นคุณค่าและเป็นหลักคิดของการพัฒนาการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของ CSR ที่เรียกว่า corporate sustainable responsibility หรือการสร้าง "องค์กรยั่งยืน" ด้วยห่วงโซ่ทางสังคมจากความรับผิดชอบที่ยั่งยืนขององค์กร โดยที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญในการสร้างห่วงโซ่ (ความสัมพันธ์) เพื่อคุณค่าสูงสุดทางสังคม (social value creation maximization) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ด้วยการคำนึงถึง triple bottom line ได้แก่ การพิทักษ์รักษาสภาวะแวดล้อม (ecology) การสร้างผลตอบแทนและผลกระทบที่ดีต่อสังคม (social) และหลักการบริหารจัดการที่เป็นธรรม ถูกต้อง และโปร่งใส ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม (governance) ควบคู่สอดคล้องไปกับเป้าหมายเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อันเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความมั่นคงและสนองตอบความเจริญเติบโตขององค์กร ในระยะยาวอย่างแท้จริง

โดยมิติที่สำคัญของความยั่งยืนในองค์กรคือ การสร้างความมีส่วนร่วมของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders engagement) ขององค์กร ด้วยความจริงใจ มีความเชื่อถือไว้ใจและความเคารพซึ่งกันและกัน

แม้เมื่อเกิดปัญหา ใดๆ ธุรกิจก็จะสามารถแก้ปัญหาและดำเนินกิจการร่วมกับสังคมไปได้อย่างยั่งยืน และเป็นปัจจัยหนึ่งต่อความสำเร็จและความเข้มแข็งขององค์กรในการฝ่ามรสุมทาง เศรษฐกิจ และสภาวะการเปลี่ยนแปลงจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี

สนใจ สามารถเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ "องค์กรยั่งยืนด้วยห่วงโซ่สังคม และพลังร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย" ที่จัดโดย CSRI และเดอะ เน็ทเวิร์ค ได้ในวันพุธที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 08.30-12.30 น. ห้องศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03270452&day=2009-04-27&sectionid=0221

CSR กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์



โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย

การ ทำ CSR (corporate social responsibilities) เป็นการทำงานเพื่อชุมชน เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตและความเป็นมนุษย์ ผมจำได้ว่าเคยอ่านพบที่ไหนสักแห่งหนึ่งที่เขียนไว้ว่า หลักสำคัญของ CSR อยู่ที่

1.ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (human integrity)

2.ความจริงใจ (sincerity)

3.ความตั้งใจจริง (determination)

4.การเคารพซึ่งกันและกัน (mutual respect)

5.ผลประโยชน์ร่วมกัน (mutual benefits)

ผม ได้เดินทางไปจังหวัดตราด สุดชายแดนประเทศไทย และได้เห็นเหตุการณ์หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ทำให้หลักการดังกล่าวข้างต้นมีคุณค่า มีความหมาย มีชีวิตชีวา และมีผลในทางปฏิบัติต่อชีวิตคนกลุ่มหนึ่งอย่างไม่น่าเชื่อ

ผม ได้รับเชิญจากมูลนิธิรักษ์ไทยให้ไปเยี่ยมชมโครงการเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอ ชไอวี และโครงการแรงงานข้ามชาติที่จังหวัดตราด ร่วมกับ นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ ประธานมูลนิธิและกรรมการของมูลนิธิอีกหลายท่าน เป็นการเดิน

ทางที่ทำให้เกิดข้อสังเกตเกี่ยวกับ "ความรับผิดชอบทางสังคม" และแนวทาง CSR หลายๆ ประการ

เริ่ม ต้นจากสนามบินจังหวัดตราด ที่เข้าใจว่าคงอยู่ภายใต้การดูแลของบางกอก แอร์เวย์ส พอสัมผัสกับสนามบิน ผมได้รับความประทับใจกับการตกแต่งดูแลและการบริหารสนามบิน รถที่มารับเราจากเครื่องบินเป็นรถไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียบง่าย ดูสวยงามให้บรรยากาศของการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติจริงๆ อาคารผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ออกเป็นกระท่อมหลังคาจากที่ไม่มีผนัง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ แต่จัดเป็นสัดส่วนที่ลงตัว ทั้งด้านความสวยงาม เป็นระเบียบและประโยชน์ใช้สอย

แค่เห็นภาพของสนามบินและความเอาใจ ใส่ต่อสิ่งแวดล้อม เราก็คงจะมองออกว่า corporate-culture หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ความจริงใจ (sincerity) และความตั้งใจจริง (determination) ขององค์กรนี้เป็นอย่างไร

เมื่อเดินทางเข้าไปที่ จังหวัดตราด เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิรักษ์ไทย เจ้าหน้าที่ OSCC (one stop crises center) หรือศูนย์พึ่งได้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจังหวัดตราด เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพของจังหวัด ได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอ วี ซึ่งกลายมาเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรงและแพร่ระบาดก่อนที่มูลนิธิรักษ์ไทยและ กลุ่มภาคีจะมาทำงานร่วมกัน เข้ามาช่วยเหลือ สาเหตุหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก "ทัศนคติ" ของผู้ชายที่ไม่ได้รับการอบรม หรือมีความเชื่อกันอย่างผิดๆ ว่า ผู้ชายมีสถานะทางสังคมโดยเฉพาะทางด้านเพศสูงกว่าผู้หญิง ผู้ชายจะทำอะไรก็ได้โดยไม่ถูกครหา ไม่ถูกนินทา เมื่อสังคมให้อิสรภาพกับผู้ชายมากกว่า ผู้หญิง ผู้ชายหลายคนก็ถือโอกาสใช้ความมีอิสระเหล่านี้อย่างไม่มีขอบเขต นำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบต่อเพศหญิง ตั้งแต่การมีภรรยาหลายๆ คนไปจนถึงความรุนแรงภายในบ้าน การทำร้ายร่างกาย การเป็นพาหะเชื้อโรคร้ายมาสู่ภรรยา



กลุ่ม ภาคีที่เข้ามาร่วมทำงานกับมูลนิธิรักษ์ไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี เล่าให้เราฟังว่า รูปแบบของความรุนแรงที่ ผู้หญิงเหล่านี้ได้รับก่อนการติดเชื้อมีดังนี้

- ถูกขืนใจ เมื่อไม่ยอมหรือไม่พร้อม

- สามีมีผู้หญิงอื่น

- สามีนำผู้หญิงอื่นมาค้างที่บ้าน

- ทำร้ายร่างกายเมื่อโมโห ตบตี ด่าทอ

- เวลาเมาก็จะใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูถูก เหยียดหยาม

- แสดงความมีอำนาจ ข่มขู่ โดยเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าเพื่อนๆ

- สามีมีความต้องการทางเพศมาก และไม่สนใจความต้องการของภรรยา

และ ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ สามีมักจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภรรยาติดเชื้อเอชไอวี และเมื่อภรรยาติดเชื้อแล้ว ภรรยาเองก็เผชิญปัญหาภายในบ้าน ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย สามีแทนที่จะช่วยบรรเทาปัญหากลับเพิ่มปัญหาให้กับภรรยา เป็นการซ้ำเติมเข้าไปอีก

- โทษภรรยาว่านำเชื้อมาให้

- ทำร้ายร่างกาย มีการกระทำรุนแรงต่อภรรยาอย่างต่อเนื่อง

- ทำร้ายจิตใจโดยคำพูด กระทบกระแทก ทำลายค่าของความเป็นมนุษย์ของภรรยา

- พยายามที่จะร่วมเพศโดยไม่ใช้ถุงยาง

- แสดงอำนาจข่มขู่ว่าจะไม่เลี้ยงดู

เรา คงจะเดาได้ไม่ยากว่า สภาพจิตใจของกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้จะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้ตัวเองว่ามีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตกับโรคเอ ชไอวี

- แบกความกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับชีวิตตน สุขภาพและอนาคต

- ห่วงใยพ่อ-แม่-ลูก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

- ไม่กล้าตัดสินใจที่จะลงทุนทำอาชีพหรือตัดสินใจอะไร มีผลกระทบระยะยาว

- กังวลกับความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสามี กับพ่อแม่พี่น้อง กับชุมชน กับสังคม

มูลนิธิ รักษ์ไทยได้เข้ามาพูดคุยกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหล่านี้ และได้สร้างเครือข่าย ผู้ติดเชื้อขึ้น โดยมีหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งทางด้านหน่วยงานแพทย์และสาธารณสุข หน่วยงานชุมชน เช่น อบจ. อบต. สถาบันการศึกษา ตำรวจ ผู้นำชุมชน ฯลฯ

เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ปัญหาของผู้ติดเชื้อเหล่านี้

(ดูแผนผัง : เครือภาคีพันธมิตรที่ร่วมมือกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวี)

การ ทำงานร่วมกันในระดับชุมชน ดังกล่าวข้างต้น สามารถช่วยแก้ปัญหาของ ผู้ติดเชื้อไปได้มากทีเดียว ผมได้พบกับผู้ติดเชื้อหลายคนที่มาเล่าปัญหาของแต่ละคนให้ฟัง และอธิบายว่าเครือข่ายและภาคีเหล่านี้ได้ช่วยเหลือพวกเขาอย่างไรบ้าง นอกจากจะมีเครือข่ายที่จะช่วยรับฟังปัญหาแล้ว พวกเขายังได้รับการช่วยเหลือด้านยา ด้านสุขภาพ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ที่จะตามมา

ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ติดเชื้อที่เข้ามาร่วมกับโครงการ "เปลี่ยนชีวิต" ของตนเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากสภาพที่เคยเป็น ผู้ท้อแท้สิ้นหวัง เป็นผู้ที่ถูกกระทำ เป็นเหยื่อของความไม่เป็นธรรมทางสังคม กลายมาเป็น "ผู้นำทางความคิด" มีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง สามารถให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ติดเชื้ออื่นๆ ได้อย่างมีสติปัญญาและประสบการณ์ กลายเป็นผู้ร่วมรณรงค์แก้ไขปัญหาของสังคม ออกไปให้ความรู้กับเยาวชนและ ผู้หญิงคนอื่นๆ ที่จะได้ไม่เข้ามาตกอยู่ในวังวนของปัญหาเหล่านี้ ผมฟังกลุ่มภาคีเหล่านี้พูดถึงปัญหาและพฤติกรรมทางเพศ ใช้ศัพท์และคำพูดที่สุภาพเข้าใจง่าย แต่จริงจังมีเหตุผล พวกเขาสามารถสอนวิชาเพศศึกษา สอนวิชาเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ได้ดีกว่าผู้เชี่ยวชาญ หรือครู อาจารย์ เพราะประสบการณ์จริงในชีวิตของพวกเขา ผมเห็นความเคารพซึ่งกันและกัน (mutual respect) จากคำอธิบายของเขา เขาไม่โทษสังคม ไม่โทษบุคคล แต่ใช้ประสบการณ์ของพวกเขาที่จะมาช่วยแก้ปัญหา ป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

สิ่งที่ผมเห็นก็คือ CSR in action หรือกระบวนการทำงานทางสังคมที่เป็นรูปธรรมที่สุด สิ่งที่ยังขาดไปคือการเข้ามามีส่วนร่วมของตัว C ใหญ่ หรือ corporation นั่นเอง โครงการเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชนเหล่านี้มีอยู่มากมายในประเทศไทย ผู้รับผิดชอบโครงการเหล่านี้ก็มักจะเป็นกลุ่ม NGOs ที่ทำงานร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่น ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ผมเชื่อว่าองค์กรใหญ่ๆ ถ้าเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ CSR จริงๆ การช่วยเหลือเหล่านี้จะแพร่ขยายและจะเป็นระบบที่ดียิ่งขึ้น NGOs ภาคีมีจุดแข็งก็คือ

1.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาอย่างลึกซึ้ง

2.มีการสร้างเครือข่าย สร้างภาคี สร้างความร่วมมือระดับชุมชนอย่างเข้มแข็ง

3.มีความจริงใจ (sincerity) มีความทุ่มเท (commitment) มีความตั้งใจ มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ (determination)

ขณะเดียวกันองค์กรใหญ่ๆ (corpora tions) ก็มีอะไรหลายๆ อย่างที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมโครงการเหล่านี้ได้ อาทิ

- ส่งเสริมทางด้านทรัพยากร (resources)

- ส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยี (techno logy)

- ส่งเสริมทางด้านระบบและวิธีการทำงาน (process and procedures)

- ส่งเสริมทางด้านความรู้ การแนะนำข้อมูล (information and knowledge)

สิ่ง ที่ผมเห็นที่จังหวัดตราด นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัสแล้ว ยังเห็นการพื้นฟู ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในระดับที่น่าอัศจรรย์ทีเดียว ผู้ติดเชื้อได้รับความมั่นใจกลับมา เขาเปลี่ยนแปลงจากผู้รับมาเป็น ผู้ให้ จากผู้ที่เป็นภาระมาเป็นผู้ที่ป้องกันปัญหา และร่วมส่งเสริมสังคมใหม่ที่ดี มาเป็นผู้ที่จะมอบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ถูกเอาเปรียบอื่นๆ อีกต่อไป

โครงการ CSR ที่ดีๆ เหล่านี้ยังรอท่านอยู่อีกมากนะครับ


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02270452&day=2009-04-27&sectionid=0221



สัญญาณเตือนจาก CSRI

สัญญาณเตือนจาก CSRI เสียงที่ "ธุรกิจ" ต้องได้ยิน !!


สำหรับ คนในแวดวง CSR ชื่อของ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) คงเป็นที่รู้จักมักคุ้น จากกิจกรรมให้ความรู้ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางปี 2550 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นด้วยเหตุผลหลักในการส่งเสริม บทบาทด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ

ว่ากัน ว่าการก่อตั้งสถาบันในเวลานั้นยังเป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดเจนของตลาดหลัก ทรัพย์ฯที่ส่งไปยังบริษัทจดทะเบียนในตลาดและนอกตลาดว่า CSR จะเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญขององค์กรในอนาคตและดูเหมือนว่าสถาบันกลายเป็น ศูนย์กลางที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา ในการ ขยายวงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจไทย

แม้ว่าในวันนี้ภาพ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสถาบันหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯปรับโครงสร้าง องค์กรตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยภายใต้โครงสร้างใหม่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมซึ่งเข้ามาอยู่ภายใต้ความรับ ผิดชอบของหน่วยงานใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯก่อตั้งขึ้น "ศูนย์พัฒนาตลาดทุน"

หาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเคลื่อนไหวและทิศทางของสถาบันย่อมผูกโยงอย่างแยกไม่ออกกับทิศทางของตลาด หลักทรัพย์ฯและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ทิศทางของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคมผ่านคำบอกเล่า "ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ" รองกรรมการผู้อำนวยการสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน และกรรมการอำนวยการสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ที่เข้ามารับผิดชอบงานนี้เป็นเวลากว่า 3 เดือน จึงเป็นเสมือนสัญญาณที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับฟังและปรับตัว

โดยเฉพาะเรื่องที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้ !!

ปั้น SR Criteria

เรื่อง หนึ่งคือการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsible Investment : SRI) เรื่องหนึ่งคือการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI)

ใน เรื่องแรก "ชัยยุทธ์" กล่าวว่า "SRI จะสนับสุนนผู้ถือหุ้นให้มีความเข้าใจและมองเห็นว่าเรื่อง CSR เป็นการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ในกระแสโลกนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่มีเกณฑ์ที่เรียกว่า SR Criteria บริษัทไหนที่ดำเนินการด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมก็ให้น้ำหนักการลงทุนมากขึ้น และหลายๆ แห่งในโลกก็มีการจัดทำอินเด็กซ์ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลให้นักลงทุน เช่น ดาวโจนส์ ซัสสเตนนาบิลิตี้ อินเด็กซ์ ฯลฯ แต่ในไทยนักลงทุนสถาบันในบ้านเราอาจจะเพิ่งเริ่มพูดกันเรื่องนี้ ในเรื่องนี้เราก็พยายามจะสนับสนุนให้นักลงทุนมองเห็นคุณค่าของ CSR ว่าบริษัทที่ทำ

เรื่องนี้จะมีคุณค่า (value) มากกว่าบริษัทที่ไม่ทำ เพราะบางทีผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนอาจมองว่าบริษัททำ CSR เพื่อประชา สัมพันธ์ตัวเองแล้วเอาเงินของเขาไปทำ พูดแบบชาวบ้านคือเอาเงินปันผลของเขาไปบริจาค บางครั้งยังมีภาพอย่างนั้น"

" แต่ต้องยอมรับว่า SR Index มีลักษณะเป็นคอมเมอเชียล โปรดักต์ (commercial product) เพราะฉะนั้นเมื่อทำออกมาแล้วก็ต้องเป็นสิ่งที่มีคนต้องการ ดังนั้นเราถึงเชื่อว่าเมื่อไหร่ที่มีความต้องการของตลาด (commercial demand) SR Index ก็จะเกิดเอง"

เพียงแต่ในเบื้องต้นสิ่งที่สถาบัน พยายามทำคือการพัฒนาในเรื่องของแนวปฏิบัติเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนที่มีความ รับผิดชอบ หรือ SR Criteria Guildline เพื่อให้บริษัทที่สนใจสามารถนำมาปรับใช้ได้ โดยไม่ได้บังคับ เพื่อส่งเสริมให้เกิดเรื่องนี้ได้

เตรียมดันมาตรฐาน GRI

สิ่ง ที่ทำควบคู่ไปด้วยกันคือเรื่องมาตรฐานการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI) ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่สถาบันจะเริ่มดำเนินการภายในปีนี้

" ตามกรอบ GRI เน้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล (disclosure) ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถมองเห็นระยะความรับผิดชอบของบริษัทได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็เชื่อมโยงกับ SRI การที่นักลงทุนจะรู้ว่าบริษัทมีความรับผิดชอบอย่างไร บริษัทก็ต้องเปิดเผยข้อมูล แต่ทุกวันนี้บางองค์กรยังตีความไม่ถูก ว่าอันนี้คือบริจาค หรือซีเอสอาร์ และมาตรฐาน GRI ก็จะมีแนวทางในการเปิดเผยเรื่องนี้ ทีนี้คำถามอยู่ที่ว่าจะทำแบบไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไปในครึ่งปีหลัง เพราะจะว่าไป GRI เป็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องของตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะการเปิดเผยข้อมูลเป็นพื้นฐานที่ทั้ง 2 องค์กรใช้กำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน"

"มีหลายคนหวาดเสียวว่า จะเป็นกฎ ระเบียบ ก็ต้องบอกว่า แนวโน้มก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะโดยหลักการก็ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล แต่เราก็เดินเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวังโดยดูผลกระทบที่จะเกิดกับผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียให้ชัดเจน"

"พอเราจะเริ่มทำ บางคนก็บอกว่า เอาง่ายๆ แต่เราก็มองว่า ถ้าง่ายๆ ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนัก เพราะนักลงทุนในบ้านเราก็ยังไม่ค่อยอ่าน แต่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการอ่านก็อ่านไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้นเวลาเราทำเรื่องพวกนี้คงต้องพิจารณาให้ดี"

สร้างสมดุลบริบทโลก-ไทย

เพราะ ปัจจุบัน CSR ในไทยถูกแบ่งออกเป็น 2 กระแส กระแสแรก คือ CSR กำลังกลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า (protectionism) อย่างในการประชุมจี-20 ที่ผ่านมาก็พูดชัดว่า ถ้าประเทศไหนไม่มี CSR บริษัทไหนไม่ทำ CSR ก็จะไม่ทำการค้าด้วย กระแสที่ 2 บอกว่า ไม่ต้องสนใจมาตรฐาน มุ่งเน้นเพียงเรื่องการพัฒนาสังคมและทำในบริบทไทย

เส้นทางอนาคต (อีก) ยาวไกล

ถึง วันนี้แม้จะมีองค์กรป่าวประกาศเรื่อง CSR มาก แต่ดูเหมือนในมุม "ชัยยุทธ์" เขามองว่า "ในทุกเรื่องที่เราจะทำผมมองว่าไม่ได้อยู่ที่เรา เราไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดว่าจะต้องทำให้ได้เมื่อไหร่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าคนเริ่มพูดถึงเรื่องเหล่านี้เมื่อไหร่ก็เริ่มใช้ เหมือนคุณมีเงิน 100 บาท จะไปลงทุนในบริษัทจดทะเบียนก็ยังมองแค่ราคาขึ้นลง มองว่ามีข่าวมั้ย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเริ่มมองว่ามี Corporate Social Performance (CSP) ดีมั้ย ตอนนั้น SRI จะเกิด นี่จึงเป?นงานระยะยาว ที่ต้องทำให้คนเข้าใจ"

ดันหลักสูตรปั้น "CEO CSR"

ดังนั้น สิ่งที่เดินคู่ไปกับการเดินเกมรุกเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ต่างๆ CSRI จึงเลือกมีบทบาทหลักในเครือข่ายทางสังคม (social networking) โดยหลังจากเมื่อไม่นานมานี้ดันโครงการ CSR Day ซึ่งเป็นการมุ่งส่งเสริมเรื่อง CSR โดยเข้าไปฝึกอบรมและสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานภายในองค์กร เพื่อเป็นพลังสำคัญในการเคลื่อนขบวน CSR ในเวลาเดียวกันยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง CSR Club เพื่อสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร รวมไปถึงการแก้ปัญหาในจุดที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งหลักสูตร CSR Academy สำหรับผู้บริหารระดับสูง เพราะผู้นำองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ CSR เดินได้หรือไม่ได้ในองค์กร

และผู้นำองค์กรนี่เองที่ต้องฟังเสียงสะท้อนนี้แล้วต้องได้ยิน


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01270452&day=2009-04-27&sectionid=0221